เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 24164 ทริปท่องอยุธยาดูจิตรกรรมฝาผนังและศิลปะไทยของชมรมฯชมรม
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 18:19

ดูกันต่อ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 18:35

คุณค่าทางจิตรกรรมของวัดนี้ ทางศิลปะเป็นจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่4 เขียนภาพแสดงความคิด และอารมณ์ ส่วนใหญ่ให้ความรู้สึกสบายและสนุกสนาน การใช้สีตรงข้ามตัดกันโดยมีพื้นหลังขาว ทำให้เส้นสีงามเด่น อีกทั้งยังมีการใช้สีบางสีที่มักไม่ปรากฎในภาพเขียนที่วัดใดๆ(เข้าใจว่าเป็นสีแดงลูกหว้า ออกม่วงน้ำตาลแบบลูกหว้า สีแดงลูกหว้านี้ได้จากการนำเอาขี้ครั่งที่ติดอยู่ตามต้นฉำฉา นำเอามาชงกับน้ำร้อน แล้วจึงนำไปต้มจนเดือดดีแล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วนำไปต้มอีกครั้งเคี่ยวจนแห้งขอดเหลือกากตะกอนเป็นสีแดงคล้ำอย่างสีลูกหว้าแล้วนำไปบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกาวเพื่อเขียนระบาย)*ดูภาพประกอบตอนชูชก


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 18:40

ขอจบเรื่องของวัดประดู่ทรงธรรมแต่เพียงเท่านี้(ภาพวิหารที่มีภาพเขียน) อีก2ท่านที่ไปด้วยจะเข้ามาเสริมก็ไม่ว่านะครับ คนเดียวมันเหงา


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 19:06

วัดกุฎีดาว เป็นวัดขนาดใหญ่ สมัยอยุธยาตอนปลายคู่กับวัดมเหยงคณ์ ไม่ปรากฎประวัติการสร้างวัดแต่มีร่องรอยโบราณสถานสมัยอยุธยาตอนต้น เช่นเจดีย์ประธานที่มีการพอกทับในสมัยหลัง พระอุโบสถที่ซ้อนทับอยู่บนฐานพระอุโบสถเดิม ซึ่งน่าจะสร้างในคราวปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระโปรดเกล้าฯให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้และวัดมเหยงคณ์ ในช่วงปีพ.ศ.2252-2255โดยพระองค์ทรงควบคุมดูแลการการบูรณะที่วัดมเหยงคณ์ส่วนพระมหาอุปราช(สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในสมัยต่อมา)ดูแลวัดกุฎีดาว(ภาพเจดีย์ประธานกลางวัดซึ่งองค์ระฆังและปลียอดพังทลายลงมาเสียตั้งนานแล้ว ครั้นบูรณะก็ยังทิ้งใหเป็นซากตามธรรมชาติอยู่นั่นเอง)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 19:13

ภาพพระอุโบสถด้านท้ายของวัดมีจุดเด่นคือเสาปูนปั้นประดับอาคารด้านนอกหัวเสาทำเป็นบัวแวงซึ่งยังทำสืบต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 19:16

บัวแวงพระอุโบสถ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 19:27

ตำหนักกำมะเลียน เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ขณะเสด็จมาดูแลการบูรณะวัดนี้ ตัวอาคารแสดงเทคนิคการก่อสร้างอาคารทรงตึก2ชั้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 19:34

เสาพระวิหารยอดทำเป็นบัวหัวเสา ลักษณะเสากลมเช่นนี้เป็นเอกลักษณ์ของอาคารที่สร้างโดยพระมหาอุปราช ส่วนอาคารที่ใช้เสาเหลี่ยมจะสร้างโดยพระมหากษัตริย์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 19:43

ร่องรอยการบูรณะของตัววิหารบริเวณซุ้มจรณัมบานหน้าต่าง


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 19:49

ภายในวิหาร(ส่งท้ายวัดนี้ครับ)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 20:22

วัดศาลาปูนวรวิหาร เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็กสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งเสียกรุงเมื่อ พ.ศ.2310 เนื่องจากอยู่ใกล้พระนครก็คงจะถูกทำลายจนกลายเป็นวัดร้างจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่1 จึงได้เริ่มมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่ตั้งจิตรกรรมอยู่ในพระอุโบสถ ลักษณะอาคารเป็นแบบอยุธยาแต่มีการสร้างเพิ่มเติมสมัยรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะคงมีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่4 ทำให้ศิลปกรรมต่างๆในวัดเช่น ประติมากรรม จิตรกรรมและมัณฑนศิลป์ที่ปรากฎอยู่มีทั้งแบบอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลักษณะพระอุโบสถ ขนาด1ห้องกว้าง3ห้อง ก่ออิฐถือปูนทรงชะลูด เครื่องบนเป็นไม้ปรุงขึ้นให้มีทรงสูงเพรียวเข้าไม้สลับซับซ้อนหลายชั้นฝีมือวิจิตรบรรจงประณีต มีเสาแปดเหลี่ยมหัวเสาบัวแวงตั้งขึ้นรับเครื่งบนหลังคาและเสาอิงฝังในผนัง ตั้งขึ้นรับเต้าและหลังคาปีกนก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาปลายมน มีชั้นลด1ชั้น มีมุขหน้าหลัง มีเสาขึ้นรับมุขซึ่งเป็นไม้ของเก่าอยู่ที่ท้ายจระนำ หลังพระอุโบสถ ทำซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ในคูหาเขียนภาพทะเลมีเรือสำเภาหลายลำ เขียนแบบงานจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่4(*ส่วนนี้ทำให้ผมพบว่าจิตรกรรมที่วัดตำหนักใต้ที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประวัติว่าภาพเขียนเขียนสมัยรัชกาลที่3ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับที่นี้ทั้งภาพเขียนและเรื่องราวรวมไปถึงพระประธานในวิหารที่วัดตำหนักใต้ก็เป็นปางป่าเลไลยก์เช่นกัน ทำให้คิดได้ว่าไม่ที่ใดก็ที่นึงอาจให้แรงบันดาลใจกับอีกที่ หรือไม่แน่อาจเป็นช่างเขียนชุดเดียวกันก็ได้)



บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 20:30

ซุ้มคูหาด้านหลังพระอุโบสถที่ประดิษฐานพระป่าเลไลยก์


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 20:39

จิตรกรรมในพระอุโบสถเขียนเรื่องเทพชุมนุม พุทธประวัติและวิทยาธร เดิมน่าจะเป็นภาพเขียนสมัยอยุธยา แต่มาซ่อมสมัยรัตนโกสินทร์เสียสิ้น แต่ยังคงมีเค้าลางอยุธยาอยู่บ้าง ถึงกระนั้นภาพเขียนก็บังชำรุดเสียมาก


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 20:45

ด้านหน้าพระประธานเขียนเรื่องมารผจญ สภาพลบเลือนมาก


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 ก.ค. 09, 20:52

ร่องรอยภาพพระพุทธเจ้าในตอนมารผจญ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง