เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 27420 จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 09:41

สวัสดีทุกคนคะ

รู้สึกเหมือนกันคะ ว่าของใหม่ดูแข็ง ไม่มีอารมณ์เท่ากับของเก่า แล้วทำไมช่างสมัยใหม่ ไม่ทำแบบเก่าหล่ะคะ หรือเพราะต้องการสร้างความแตกต่าง
 
บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 11:43

รูปที่คุณvirainนำมาประกอบกระทู้นั้นก็เป็นไปตามที่คุณยุทธนาวิจารณ์ไว้แหละครับ แต่ผมขอเสริมเรื่องการวาดภาพไทยของช่างเขียนในปัจจุบันที่ยึดถือคติแบบโบราณแล้วทำไมดูฝีมือไม่เทียบเท่าของโบราณ อันนี้ต้องบอกว่ารูปแบบของจิตรกรรมไทยได้ผ่านวิวัฒนาการมาจนถึงจุดสูงสุดแล้วในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นร.3พอสมัยร.4ที่เริ่มเอาอิทธิพลของตะวันตกเข้ามาทำให้ศิลปินบางส่วนเห็นว่ามันเริ่มสู่ยุคเสื่อมของจิตรกรรมไทยที่นิยมเขียนแบบคตินิยม ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากในปัจจุบัน ที่บางคนชื่นชอบผลงานของอ.จักรพันธุ์ บางคน ชอบของอ.เฉลิมชัย จนเรียกกันว่าเป็นแบบสไตล์ใครสไตล์มันหรือเป็นเอกลักษณ์นั่นเอง สำหรับคนที่ยึดคติการเขียนแบบโบราณนั้นก็ไม่ได้ผิดอะไรเพียงแต่ว่าการเขียนในปัจจุบันจะหาผู้มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการอย่างโบราณแท้หาได้ไม่ อีกทั้งในสมัยโบราณการสร้างงานนั้นมักเกิดจากศรัทธาเป็นที่ตั้ง อามิสสินจ้างเป็นส่วนรอง การทำงานจึงบอกได้ว่าเกิดจากใจ การทำงานของช่างเขียนในปัจจุบันจึงไม่อาจเทียบได้กับงานโบราณ อีกทั้งส่วนนึงของผู้มองที่พอจะมีภูมิ ย่อมจะมองการเขียนของช่างเขียนในปัจจุบันนั้นเป็นแต่เพียงการลอกเอาอย่างโบราณเท่านั้น ให้เขียนดีเท่าไหร่ ก็ไม่อาจเทียบโบราณได้อยู่ดี ดังนั้น ถ้ามองอย่างเป็นกลาง การเขียนให้ดีเทียบเท่าโบราณนั้นก็ต้องมีพื้นฐานในการทำงานได้อย่างโบราณ รู้ซึ้งถึงเทคนิควิธีการอย่างโบราณ และต้องแม่นในเรื่องตัวภาพ(สัดส่วน เครื่องทรง ภูษาทรง)และองค์ประกอบอื่นๆเช่นการเขียนต้นไม้ โขดหิน เขามอ สิงห์สาราสัตว์และเนื้อเรื่องที่จะเขียนโดยละเอียด ซึ่งมิใช่เรื่องง่ายๆต้องใช้ระยะเวลาและการฝึกฝนเป็นอย่างสูงจนทำให้ดูเป็นเรื่องยากไปเลย ศิลปินในปัจุบันจึงมุ่งเน้นไปสร้างงานอย่างสมัยใหม่ซึ่งทำได้ง่ายกว่าซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร นอกจากไม่ถูกใจในพวกหัวอนุรักษ์อย่างพวกเราก็เท่านั้น(รูปประกอบผลงานคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ของผม)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 12:06

สำหรับภาพเขียนที่วัดเลียบนั้น ผมสแกนมาจากหนังสือเมืองโบราณซึ่งต้นฉบับก็ไม่ชัดนักครับ ก็ว่าจะเข้าไปที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเหมือนกัน คุณยุทธนาเคยเข้าไปแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
สำหรับการเดินทาง เนื่องจากมีคนจะเดินทางกันไปหลายคน ผมว่าน่าจะใช้รถตู้นะครับ แต่มันจะมีค่าใช้จ่ายทั้งค่าเช่ารถค่าน้ำมัน แต่มันสะดวกตรงที่ไปรวมกันได้ เพราะถ้าต่างคนต่างไปก็จะต้องมานั่งรอกันนะครับ โดยส่วนตัวผมมีญาติขับรถตู้อยู่ราคามาตราฐาน สะดวกตรงที่เป็นญาติกัน ไปไหนจะได้ไม่มีบ่นครับ เห็นด้วยหรือติดขัดอย่างไรไม่บอกกันมาเลยครับ เพราะเงินก็เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกันยิ่งหายากอยู่ด้วย 555555555 สำหรับน้องฉันรักบางกอกให้ข้อมูลเรื่องวัดในอยุธยาไปแล้วนะทางเมลล์ได้ความอย่างไรก็บอกกันบ้าง


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 16:10

ไปรถตู้ก็น่าจะดีเหมือนกันครับ สมาชิกท่านอื่นๆว่าอย่างไรผมก็ว่าตามนั้นล่ะครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ให้มาครับทั้งคุณยุทธนาและพี่ยีนส์  แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่คงต้องฝึกดูสักพัก
ตอนแรกผมก็สงสัยอย่างที่คุณฉันรักบางกอกสงสัยว่าทำไมไม่ทำแบบช่างโบราณ  ทั้งๆที่ขนาดผมยังดูรู้ว่างามกว่า
แต่พอพี่ยีนส์อธิบายผมก็พอเข้าใจ  อีกอย่างคนที่เขียนภาพโบราณก็ไม่อยู่แล้วประวัติก็ไม่มีสมุดร่างเก่าๆก็ไม่ปรากฏ
ทำให้การศึกษางานโบราณกระท่อนกระแท่น


ผมไม่ค่อยเข้าใจบางอย่างจากคำอธิบายของคุณยุทธนา คำว่าตัดเส้นแล้วไม่กลมผมยังนึกภาพไม่ออกน่ะครับ
เรื่องสีนี่ผมไม่ค่อยมีความรู้เลย แต่การจัดระเบียบสีในภาพเขียนสมัยนี้สู้โบราณไม่ได้หรือครับ
อย่างเช่นภาพเขียนอยุธยานั้นสีน้อยก็เขียนอย่างหนึ่งให้ภาพออกมาดูงาม
ภาพรัตนโกสินทร์ตอนต้นใช้สีมากและดูแรงๆก็เขียนออกมาดูงามแบบหนึ่งเหมือนกัน

ผมเคยเปิดดูหนังสือเกี่ยวกับภาพเขียนของ RAPHAEL เขามีภาพจริงและก็ภาพจากสมุดร่างตัวจิงให้ดู
เปรียบเทียบลายเส้นก่อนลงสี การร่างแบบกายวิภาค ถ้าเรามีแนวทางการรวบรวมข้อมูลของภาพเขียนโบราณให้ดีๆ
ผมว่าก็น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อยอย่างคุณยุทธนาบอก ว่าภาพไทยที่แท้จริงจะมีผู้สนใจสืบทอดต่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 18:30

การจะฝึกเขียนลายไทยให้ดีให้เก่งก็คงต้องใช้เวลาศึกษาและลองปฏิบัติจริงมากๆนะครับ อย่างโบราณท่านคงไม่ได้มีทฤษฏีสีให้ร่ำเรียนอย่างปัจจุบัน และอุปกรณ์การทำงานก็ไม่ได้ไปหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนเป็นแต่การจัดทำขึ้นมาเองส่วนสีนั้นแต่สุโขทัยอยุธยาที่เขียนสีเป็นแบบเอกรงค์นั้นก็เพราะสมัยนั้นมิได้มีสีให้ใช้มากมายอย่างปัจจุบัน เป็นแต่การทำสีใช้จากธรรมชาติ ต่อเมื่อมีการค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน จึงเริ่มมีสีมาใช้มากขึ้น ซึ่งอันนี้มันเกี่ยวเนื่องกับประว้ติศาสตร์เลยละ ถ้าเล่าละก็ยาว ส่วนเรื่องที่คุณยุทธนาใช้คำว่าตัดเส้นแล้วไม่กลม ผมว่าโบราณเค้าใช้คำว่าตัดเส้นไม่ขาด(กระทบเส้นไม่ขาด หมายถึงไม่มีนำหนักและความมั่นใจ ทำให้เส้นดูไม่ต่อเนื่องหรือมีนำหนักเท่ากันไปหมดดูไม่มีมิติ ซึ่งลักษณะนี้เป็นเทคนิคการใช้ภูกันสร้างมิติมนภาพเขียนของช่างโบราณนะครับ*คำว่ามิติคงไม้ได้ใช้กันในโบราณแต่อธิบายแบบสมัยใหม่เพื่อความเข้าใจ*ลองดูการกระทบเส้นในรูปประกอบครับ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 18:40

ถ้าสังเกตจะเห็นน้ำหนักของสีที่ใช้ตัดเส้นจะมีน้ำหนักอ่อนเข้มอยู่ด้วยมิได้เท่ากันหมด การตัดเส้นก็เป็นไปอย่างชำนาญและสวยงาม การทำงานของช่างที่ชำนาญแล้วอาจไม่ต้องใช้การร่างเลยก็ได้ แต่เท่าที่มีหลักฐานที่พบเช่นสมุดข่อยภาพร่างตัวภาพต่างๆเช่นที่วัดหน่อพุทธางกูร สุพรรณบุรี ที่ลูกของช่างเขียนยังเก็บผลงานไว้(ภาพประกอบ สมุดภาพไทย(ร่างภาพของอาจารย์ เลิศ พ่วงพระเดช )


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 18:53

คุณvirainดูการตัดเส้นของครูคงป๊ะในภาพมโหสถวัดสุวรรณซิครับเจ้าตำรับภู่กันหนวดหนู ฝีมือการเขียนเส่นอย่างอิสระทั้งรูปแบบทั้งน้ำหนักในการเขียนอีกร้อยปีจะมีคนมีฝีมืออย่างนี้รึเปล่ายังไม่รู้


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 19:01

ส่วนรูปนี้ภาพรามเกียรติ์ในกรอบกระจกเหนือหน้าต่างพระอุโบสถวัดสุทัศน์ สวยเหลือเกินครับ(ภาพตอนองคตจับสี่เสนา)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 19:07

ผมสังเกตว่ากระทู้ผมก็มีคนเปิดดูพอสมควรแต่ทำไมมีคุยกันอยู่แค่4คน ท่านอื่นๆที่เปิดดูทักทายกันบ้าง หรือมีอะไรอยากรู้อยากถามก็โพสต์กันได้นะครับ จะได้เปิดโลกทัศน์ด้วยกัน(ปิดท้ายด้วยรูปรามเกียรติ์อีกสักรูป)


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 22:20

วันนี้ดีจริงๆเลย  ได้ชมภาพงามๆทั้งจากพี่ยีนส์และคุณยุทธนา
ภาพแต่ละภาพงามจับใจจริงๆเลยครับ  โดยเฉพาะวันนี้ได้เห็นภาพองคตจับสี่เสนาแล้วทึ่งใจมาก
วันไหนคงต้องรบกวนพี่พาผมไปดูของจริงนะครับ


สำหรับเรื่องเส้นนั้นผมคงต้องศึกษาอีกมากมายจริงๆ  ต้องไปนั่งดูภาพเนมิราชกับมโสถชาดกที่วัดสุวรรณฯนานๆล่ะ


ท่านอื่นๆที่มีความรู้หรือข้อคิดเห็น ยินดีต้อนรับเช่นกันครับ
จะขอติดตามประเด็นบ้าง



บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 27 มิ.ย. 09, 21:08

คงหาคนมีความรู้ความสามารถทางด้านนี้ยากเต็มทน เลยไม่มีใครเข้ามาพูดคุย นี่แหละครับ สาเหตุของการเสื่อมสลายของศิลปะไทย ที่ขาดผู้รู้ผู้เอาใจใส่อย่างจริงจัง ไอ้เราก็ทำได้แค่นี้หารูปมาเปิดประเด็นไปเรื่อยๆ อย่างรูปนี้ใครเคยเห็นบ้างว่าเป็นตอนอะไร


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 27 มิ.ย. 09, 22:08

คล้ายๆสหัสเดชะเลยครับ  แต่คงไม่ใชรามเกียรติ์
ถ่ายที่ไหนหรือครับ มีตัวช่วยไหมครับ
บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
****
ตอบ: 334



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 27 มิ.ย. 09, 22:44

ขอตอบว่า


ไม่ทราบคะ

แต่มาตอบให้กำลังใจพี่ๆ แหะๆๆๆๆ

ขอบคุณพี่jean1966 สำหรับความกระจ่าง และแนะนำวัดที่อยุธยานะคะ
บันทึกการเข้า

กนก นารี กระบี่ คชะ
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 มิ.ย. 09, 10:31

เฉลยรูปดังกล่าวคือตอน พระอุปคุตทรมานพญามารจิตรกรรมฝาผนัง วัดประตูสาร สุพรรณบุรี
ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ประมาณ พ.ศ. ๒๑๘ ปี ณ  นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย)  พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราช (พระเจ้าอโศกมหาราช)  ได้ผ่านพิภพมไหสวรรค์ราชสมบัติ  พระองค์ทรงเลื่อมในในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  ได้ทรงสถาปนาสร้างพระวิหารและพระสถูปนัยว่าถึงแปดหมื่นสี่พันแห่งทั่วชมภูทวีป  และได้ทรงขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุมาไว้เพื่อนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง  เมื่อได้ทรงขุดค้นรวบรวมหมดแล้ว ก็อัญเชิญไปสู่นครปาตลีบุตร  ทรงกระทำการสักการะสัมมานะโดยเอนกประการ  แล้วทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือเข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่อีก ๑  องค์สูงถึงกึ่งโยชน์ที่ฝั่งแม่น้ำคงดา ใกล้นครปาตลีบุตร  แล้วนำพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่นั้นและก็ทราบว่ามีบางส่วนที่ส่งไปบรรจุไว้ในต่างแคว้น

เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พระองค์ก็ทรงปรารภที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสีพันองค์นั้น  เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน  ในระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้การฉลองสมโภชเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปราศจากอุปสรรค  จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพที่ทรงอิทธิฤทธิ์  เป็นผู้คุ้มครองงานให้ปราศจากการรบกวนจากมาร้ายต่าง ๆ

พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร  ไม่มีองค์ใดที่จะรับเป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ได้  โดยเฉพาะพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย  พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ องค์  ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์  ซึ่งจำพรรษาอยู่กลางมหาสมุทรมาช่วยรักษาความปลอดภัยในงานมิให้งานสมโภชองค์พระสถูปเจดีย์พบอุปสรรค  ให้ดำเนินไปโดยตลอดปลอดภัยทุกประการ

เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์จากผู้แทนพระสงฆ์เมืองปาตลีบุตรแล้ว  ก็เดินทางมานมัสการและรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น  พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบ  ผู้จะเข้ามาทำหน้าที่รักษาการงานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์  พระสงฆ์แนะนำพระอุปคุตเถระให้ทรงทราบ  เมื่อพระองค์ทรงทรงทราบผู้จะมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในงานแล้ว  ก็ทรงนึกแคลงพระทัย  เนื่องจากพระอุปคุตเถระมีลักษณะอ่อนแอร่างกายผ่ายผอมเกรงจะทำหน้าที่ไม่ได้สมบูรณ์แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร

รุ่งขึ้นวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น  พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชใคร่จะทดสอบดูฤทธิ์พระเถระ  จึงทรงปล่อยช้างซับมัน ( ช้างตกมัน )  ให้เข้าทำร้ายพระเถระพระมหาอุปคุตเห็นดังนั้นจึงสะกดช้างที่กำลังวิ่งเข้ามาให้ยุดอยู่กับที่  ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา

เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส  จึงเสด็จไปขอขมาโทษพระเถระ ที่ได้กระทำการล่วงเกิน โดยเจตนาจะทดลอง  พระมหาอุปคุตเถระ ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชและพญาคชสาร  พญาศรีธรรมาโศกมหาราชทรงพอพระทัย  ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง  ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์  ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคาสว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่พระองค์ทรงกำหนดไว้  บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพและพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดพุทธศาสนิกชน  ทั้งในนครปาตลีบุตรและต่างแดนจากจตุรทิศ  ได้เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน  ต่างก็มีเครื่องสักการะบูชาอยู่ในมือเพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์  และเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

ท่ามกลางบรรดานักแสวงบุญ ที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณงานนั้น  พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร  ( เทพบุตรที่เป็นมาร ) ได้โอกาสงามเช่นนี้  ก็แปลงร่างจากปรนิมมิตตะวัสสวดีเทวโลก อันเป็นที่อยู่ของตน  ปนเปกับนักบุญทั้งหลายเพื่อทำลายพิธีกรรมอันยิ่งใหญ่นั้น

ในขณะนั้นพระมหาเถระอุปคุต  ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยในบริเวณงานทั้งหมด  หยั่งทราบด้วยญาณอันวิเศษ ถึงมหาภัยที่กำลังคุกคามอยู่เบื้องหน้า  ที่ปลอมมาในรูปของนักบุญจึงเนรมิตร่างสุนัขเน่าที่กำลังขึ้นหนอน  อธิฐานให้เข้าไปคล้องไว้กับคอพญามารแล้วอธิฐานว่า  แม้เทพดามหาพรหมยมยักษ์ภูตผีปีศาจที่มีฤทธิ์เข็ดขลัง  ก็อย่าสามารถนำร่างสุนัขเน่านี้ออกจากคอพญามารได้  แล้วขับพญามารหนีออกจากบริเวณงานทันทีพญามารพยายามแก้ร่างสุนัขเน่าด้วยฤทธานุภาพอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ออกได้

พญาวัสสวดีมาร ยอมแพ้แก่พระอุปคุตเถระผู้ทรงฤทธิ์ เมื่อสิ้นคิดที่จะแก้ไข  ก็ยอมออกจากบริเวณงานโดยดีแต่ขอร้องให้มหาอุปคุตเถระแก้ร่างสุนัขเน่าออกจากคอของตน  เพราะทนต่อกลิ่นเหม็นไม่ได้พระมหาอุปคุตป์ก็อนุโลมตามแต่ไม่ไว้ใจพญามารสนิทนัก  เพราะเกรงพญามารอาจคิดกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง  จึงอธิษฐานประคตเอวให้เป็นดังโซ่เหล็กผูกพญามารติดไว้กับเขาลูกหนึ่งนอกบริเวณงาน  แล้วบอกแก่พญามารว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว  จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ

เมื่องานฉลองสมโภชมหาเจดีย์ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน  สิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย พระมหาเถระจึงได้ไปหาพญามารที่เขานอกเมือง  เพื่อสังเกตดูว่าพญามารจะสิ้นพยศหรือยัง  ก็ทราบว่าสิ้นพยศแล้วทั้งยังกล่าวสดุดีพระพุทธเจ้าว่า “  สมเด็จพระพุทธชินสิห์” องค์ใด ทรงมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่  ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้ เป็นที่พึ่งพำนักแก่สัตว์โลกทั้งมวล  ในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้นเป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง  ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์โดยประการต่างๆ แต่พระองค์  ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ มิได้กระทำการโต้ตอบแก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้  สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุตไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย  กระทำกับข้าพเจ้าให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่งถ้าหากว่า  ข้ายังมีบุญกุศลที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน  ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิฐานปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต”

เมื่อพระอุปคุตเถระ  ได้ยินคำกล่าวสดุดีพระพุทธคุณและแสดงความเสียใจของพญามารออกมาเช่นนั้น  ก็เห็นว่าพญามารสิ้นพยศแล้ว จึงแก้โซ่เหล็กออก  ปล่อยให้พญามารเป็นอิสสระอีกครั้งหนึ่ง

พระอุปคุตนั้น เกิดขึ้นหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วประมาณ พ.ศ. ๒๑๘  ปี เราไม่ทราบภูมิเดิมของพระมหาเถระอุปคุตละเอียดเท่าที่ควร  ว่าเป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร ที่ไหน  เท่าที่สันนิษฐานตามตำนานพระเถระอุปคุตน่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร  เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ  จนสามารถแสดงอภินิหารได้ร่ำลือมาจนทุกวันนี้ ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่  มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตรเรือนแก้ว  ( กุฎแก้ว ) ขึ้นในท้องทะเลหลวง ( สะดือทะเล )  แล้วก็ลงไปอยู่ประจำที่กุฎแก้วตลอดเวลา  และคงจะขึ้นมาบิณฑบาตที่นครปาตลีบุตรเป็นประจำ  เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ เมื่อ  มีผู้นิมนต์ท่านก็ขึ้นช่วยเหลือด้วยความเต็มใจเสมอ  เป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพาน  สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก  เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 มิ.ย. 09, 22:20

ฝากรูปจิตรกรรมฝาผนัง ที่ผมเพิ่งได้ไปพบ จะว่าโดยบังเอิญก็ได้ เป็นวัดในกรุงเทพไม่ใกล้ไม่ไกล ฝีมือเข้าขั้นช่างหลวงแม้ไม่ถึงก็จัดเป็นช่างพื้นถิ่นที่มีฝีมือมาก ใครเคยเห็นบ้างลองทายดูว่าวัดไหน เท่าที่ผมดูจิตรกรรมฝาผนังมา ยังไม่เคยพบมีหนังสือเล่มไหนกล่าวถึงวัดนี้ ลองดูครับแล้วทายกันเล่นๆว่าอยู่ที่ไหน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง