เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 27493 จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถพม่ากับฝีมือช่างเชลยชาวไทยสมัยอยุธยา
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


 เมื่อ 24 มิ.ย. 09, 21:06

พระอุโบสถมหาเตงดอ-กยี(Ma Ha Thein Taw Gyi) อยู่ในบริเวณสำนักสงฆ์มหาเตงดอ-กยี เขตเมืองสะกาย สหภาพเมียนม่าร์(พม่า)เป็นพุทธสถานที่ยังคงใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาอย่างต่อเนื่อง และมีร่องรอยการบูรณะอย่างสมำเสมอ ความสำคัญของอุโบสถหลังนี้เป็นที่ประจักษ์จากบทความเรื่อง"An Ayutthayan Connection in Sagaing"ของRujaya Abhakorn จาก Myanmar Historical Commission Conference Proceedings part3 เมื่อพ.ศ.2548 และเป็นที่รู้จักแพร่หลายอีกครั้งผ่านหนังสือ พบหลักฐานสำคัญช่างอยุธยาฝากฝีมือไว้ในพม่าที่เมืองสะกาย โดย ม.ล.สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ และม.ร.ว.รุจนา อาภากร


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 มิ.ย. 09, 21:20

อุโบสถหลังนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสะกาย อันเป็นเมืองใหญ่คนละฝั่งแม่น้ำอิระวดีกับเมืองมัณฑเลย์ ชาวพื้นถิ่นมักเรียกอโบสถแห่งนี้ว่า"ยูน(ยวน)จองเตง(Yun Kyaung Theinx)ตั้งอยู่ในเขต"กา นา ดอ ยับ,กอนนยินตองยวา"(Ka Na Taw Yap,Gon Hnyin Htong Ywar) อันมีความหมายว่า"หมู่บ้านคุก,เขตคุกหรือที่อยู่เฉลย เห็นแล้วใกล้เคียงกับบ้านเราที่บริเวณที่ตั้งวัดสุวรรณารามในปัจจุบันเคยเป็นที่ประหารนักโทษพม่ามาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี(รูปประกอยเป็นภาพบุษบกที่ประทับของพระพุทธเจ้าสประดับส่วนฐานด้วยลายกระจัง เทพพนม ครุฑและสิงห์ขนาบด้วยเครื่องสูง)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 มิ.ย. 09, 21:23

ตำแหน่งภาพดังกล่าวอยู่เหนือประตูทางเข้าพระอุโบสถ(ผนังด้านสกัดหน้า)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 มิ.ย. 09, 21:26

ลายประกอบฐานบุษบกชั้นต่างๆ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 มิ.ย. 09, 21:28

ภาพพระอดีตพุทธเจ้า ผนังด้านข้างทิศตะวันตก


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 มิ.ย. 09, 21:34

ภาพหลังคาตัวอาคาร(ไม่ปรากฎตัวอาคาร)ใต้ภาพอดีตพุทธเจ้า จะเห็นว่าช่วงล่างของผนังก็ประสบปัญหาเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังในเมืองไทย คือชำรุดทั้งสิ้น ส่วนนี้ผมคิดว่าน่าจะเขียนเรื่องพุทธประวัติ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 มิ.ย. 09, 21:38

ภาพส่วนยอดปรางค์และนภศูล ใต้ภาพอดีตพุทธเจ้า ส่วนนี้เองผมคิดว่าเป็นส่วนแสดงให้เห็นชัดเเจนว่าเป็นฝีมือช่างชาวไทย เพราะสถาปัตยกรรมแบบพระปรางค์นี้ไม่มีปรากฎมีในพม่าประเทศหมื่นเจดีย์เป็นแน่


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 มิ.ย. 09, 22:10

ปิดท้ายด้วยรูปภาพบนผนังสกัดหลังลายก้านดอกคดโค้งคล้ายคลึงกับลวดลายที่ปรากฎในปรางค์ทิศวัดไชยวัฒนารามสมัยพระเจ้าปราสาททองมากๆ
ข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดจากบทความเรื่อง ตามรอยจิตรกรรมอยุธยาที่เมืองสะกายในพม่า โดย อรวินท์ ลิขิตวิเศษกุล นิตยสารเมืองโบราณปีที่33ฉบับที่3(กรกฎาคม-กันยายน 2550)
วันนี้เดิมตั้งใจจะเข้าไปวัดราชสิทธารามแต่เนื่องด้วยช่วงเช้าได้เข้าไปที่เพาะช่างเพื่อขอความร่วมมือในการตั้งชมรมอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและศิลปะไทยโดยภาพถ่าย ได้พูดคุยในหลายๆเรื่องแลกเปลี่ยนทัศนคติกับอาจารย์บรรเจิดหัวหน้าแผนกจิตรกรรมไทยซึ่งเป็นรุ่นน้อง โดยอนาคตอันใกล้การทำชมรมของผมน่าจะสำเร็จด้วยดีครับ ใครสนใจจะเข้าร่วมชมรมกันบ้าง หรือมีแนวคิดดีๆอย่างไรจะนำเสนอก็เข้ามาพูดคุยกันครับ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 มิ.ย. 09, 10:40

ตั้งกระทู้ใหม่แล้วเงียบเหงาจังเลยครับ ผมว่าศิลปะไทย มีคนสนใจน้อยลงทุกวัน มิน่าคนที่ร่ำเรียนทุกวันนี้ จึงมีจำนวนน้อยลงมาก อีกทั้งผู้รู้แจ้งเห็นจริงก็เริ่มน้อยลงทุกวัน อีกหน่อยก็คงจะถูกวัฒนธรรมอื่นค่อยๆกลืนไปจนไม่สามารถหากระพี้ของศิลปะไทยได้อีกต่อไป คงจะคิดกันแค่ว่ามีเกิดก็มีเสื่อมเป็นสัจจธรรม เอาเป็นว่าผมบ้าอยู่คนเดียวก็แล้วกัน(รูปประกอบจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเลียบ(ราษฎร์บูรณะ)ตรงข้ามเพาะช่าง สกุลช่างรัชกาลที่1ถูกระเบิดทำลายพระอุโบสถจนราบเป็นหน้ากลองเมื่อปี2488เหลือเพียงภาพถ่ายอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติฝีมือจะเป็นรองก็เพียงแค่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เล็กน้อยเท่านั้น ว่ากันว่าผนังบางตอนเป็นฝีมือพระอาจารย์นาคที่เขียนที่หอไตรวัดระฆังอยู่ด้วย)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 มิ.ย. 09, 10:44

อีกหน่อยรูปถ่ายที่ผมถ่ายก็คงมีคุณค่าเป็นภาพเล่าอดีตเหมือนรูปที่วัดเลียบชุดนี้แหละครับ ตอนนี้ก็มีอยู่หลายภาพแล้วที่ของจริงสิ้นสูญไปแล้ว


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 มิ.ย. 09, 20:37

ขอบคุณข้อมูลดีๆนะครับพี่ยินส์
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 มิ.ย. 09, 20:42

รูปวัดเลียบผมมีแค่รูปเดียวครับพี่ถ้าพี่ยีนส์มีรูปอื่นผมขอข้อมูลทางเมล์แบบละเอียดได้ไหมครับ  เท่าที่เคยเห็นมีบางรูปเป็นรูปพระจันทร์และพระอาทิตย์ทรงรถแต่ผมหาที่หอจดหมายเหตุเจอรูปนี้รูปเดียวครับขอบคุณล่วงหน้าครับพี่


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 01:42

เห็นภาพจากวัดเลียบแล้วน่าสะเทือนใจมากครับ  ทำไมงานศิลปกรรมบ้านเราถึงมีกรรมเช่นนี้
การเขียนภาพเครื่องบนอาคารงดงามเป็นพิเศษมากครับ  ถ้าไงก็ขอไฟล์ภาพเช่นกันนะครับ


วันนี้ผมลองเขียนภาพไทยดู  ตามจริงก็เขียนเพื่อฝึกฝนแต่เขียนแล้วมองดูทำให้ผมนึกว่า
ทำไมภาพเขียนเก่าๆนั้นถึงได้มีคุณค่าและมีความลึกล้ำมากมายนัก ทั้งๆที่ภาพเขียนไทยรุ่นใหม่ๆในสมัยนี้
ใช่ว่าฝีมือจะไม่ดี เท่าที่เห็นบางภาพก็มีความสวยงามไม่น้อย  แต่เมื่อเอาไปวางเทียบกับภาพเก่าๆแล้วกลับสู้ไม่ได้
ทั้งที่เรื่องสีสันและเส้นสมัยนี้รู้สึกจะเป็นต่อด้วยซ้ำ


ภาพนี้เป็นภาพฉากบังเพลิง (รึเปล่า) จากงานของสมเด็จย่าผมถ่ายมาจาพพิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
เป็นภาพเขียนสีใหม่มีความสวยงามไม่น้อยเลย



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 01:50

ผมเลยมีข้อข้องใจอยู่ว่าทำอย่างไรภาพเขียนของเราถึงจะมีคุณค่าเทียบเท่าภาพเขียนโบราณได้
อันที่จริงผมไม่ได้เก่งถึงขนาดคิดไกลจะวัดรอยเท้า แต่ผมแ่ค่สงสัยว่าภาพที่วาดขาดอะไรไป
คือความคิเห็นและข้อสงสัยส่วนตัวนะครับ ผมรับผิดชอบคำพูดคนเดียวแบบไม่มีทฤษฎีรองรับ



จากภาพใน คคห ที่แล้วเมื่อเทียบกับภาพนี้(วัดใหญ่ฯ) ส่วนตัวนะครับผมมองว่าภาพนี้สวยกว่า


บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
******
ตอบ: 1599


สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 26 มิ.ย. 09, 03:22

ผมขอเอาความรู้อันน้อยบอกพอที่ผมจะบอกได้นะครับคุณวิเรน
๑.โครงสร้างงานสมัยใหม่ไม่ได้   ผิดเพี้ยนดูหนาและหนักไม่สง่างามเเละเพรียวเหมือนวัดใหญ่
๒.ความสัมพันธ์ของเส้นไม่มี  ไม่ลื่นไหล  เส้นขัดกันไปหมดการออกแลื่นไหลบบลายประกอบไม่พริ้วไหวดูหนัก   ไม่เบาลอยพริ้วไหวเหมือนงานโบราณ
๓.ผู้เขียนไม่มีความรู้ในการเขียนภาพ   เนื่องจากลองสังเกตลายผ้านุ่งกับชายไหวชายเเครง  เป็นลายคนละแบบกัน  ความจริงการนุ่งผ้าแบบอยุธยานั้นผ้านุ่งกับชายไหวชายแครงเป็นผืนเดียวกันเพราะฉะนั้นลายผ้าจะเป็นสีและลายเดียวกัน  ดูจากงานวัดใหญ่ได้ครับ
๔.การใช้สีฝุ่นโบราณซึ่งมีนำ้หนักไม่เท่ากัน  ทำให้งานมีระยะไม่ทึบตันเหมือนสีสมัยใหม่ครับ
๕.ไม่มีความรู้เรื่องการตัดเส้นคือตัดเเล้วไม่กลม   ดูแบนๆ งานไทยนั้นเป็นงานที่งามด้วยเส้นถ้าตัดแล้วดูแล้วไม่รู้สึกกลมจะไม่งาม  อีกอย่างหนึ่งคือการเน้นเส้นขอบอันนี้เข้าใจผิดอย่างมากว่าต้องมีเส้นใหญ่เส้นเล็ก
บางครั้งทำให้งานดูหนักและแข็งกระด้างด้วยซ๊ำไปดูฉากบังเพลิงเป็นตัวอย่าง
ส่วนภาพด้านล่างที่นำมาให้ดูเป็นงานของเพื่อนผมครับ เป็นรูปแบบรัชกาลที่๓เขียนไม่นานมานี้  เอามาประกอบหลักฐานว่างานที่งามนั้นจะต้องเรียนรู้การดูงานให้เป็นรู้สุนทรียภาพและคติค่านิมยมของศิลปกรรมไทยครับ   ซึ่งส่วนใหญ่เด็กที่เขียนงานไทยพอเขียนได้นิดหน่อยก็คิดว่าเก่งแล้วเรียนหมดแล้ว   มหาลัยก็สอนให้ประยุกต์งานหารูปแบบใหม่  ของเก่ามันเชยไม่พัฒนาสร้างสรรค์   ความคิดแบบนี้เป็นความคิดของคนบ้องตื้น  โข่เขลา  ไม่รู้คุณค่าของครูโบราณที่ท่านสร้างสรรค์ไว้นี่เป็นสาเหตหนึ่งที่งานไทยหมดลงทุกวัน   ผมเองศึกษางานไทยมายิ่งเรียนยิ่งรู้ว่ามีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมาก  ยิ่งเรียนยิ่งเห็นว่าสิ่งที่เราเรียนรู้จากครูโบราณมีอีกมากครับ  ผมจึงบอกว่าการร่วมกลุ่มกันโดยเอาความรู้ที่รู้มาแลกเปลื่ยนสรูปถกกันโดยมีใจเป็นกลางทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆคงสืบต่อลมหายใจของงานไทยได้บ้าง   ส่วนความรูขั้นสูงๆลึกๆคงต้องให้พี่ ยีนส์มาเสริมให้ครับ  อ้อแล้ววันไหนไปดูวัดผมอาจจะมีเพื่อนไปสักคนสองคนนะครับ   ราตรีสวัสดิ์ครัับพี่ยีนส์ น้องวิเรน   และคุณสวัสดีบางกอกแล้วเจอกันครับ



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง