เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 23249 ช่วยดูคำแปลกลอนนี้หน่อยครับผม ไม่รู้ผมแปลถูกมั๊ย
kingy
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


 เมื่อ 22 มิ.ย. 09, 19:58

เป็นตอน ศึกกะหมังกุหนิง ของอิเหนาครับ ,,,
พอดีเพื่อนบอกให้ลองเข้าบอร์ดนี้ดู อาจช่วยได้บ้าง
ผมอาจจะเข้าใจตัวละครบางตัวผิดไป ใช้ชื่อผิด หรือแปลไม่สละสวย ถ้าผิดยังไงก็ช่วยบอกด้วยครับ ขอบคุณครับผม...

แปลคร่าวๆ นะครับ

     ครั้งถึงนิเวศน์วังใน                  ลงจากมโนมัยผายผัน
ยุรยาตรนาดกรจรจรัล                   เข้าพระโรงสุวรรณทันใด
     บัดนั้น                                  ดะหมังกุเรปันกรุงใหญ่
จึงรีบไปหาเสนาใน                       แถลงไขข้อความตามคดี
     บัดนั้น                                  อำมาตย์หมันหยากรุงศรี
ได้แจ้งแห่งดะหมังเสนี                   ก็พาไปยังที่พระโรงคัล
     ก้มเกล้าประณตบทมาลย์          พระผู้ผ่านเวียงชัยไอศวรรย์
ทูลเบิกดะหมังเสนานั้น                  ว่าพระปิ่นกุเรปันใช้มา
     บัดนั้น                                  ดะหมังผู้มียศถา
นบนิ้วบังคมคัลวันทา                     ทูลถวายสาราพระภูมี

 แปล :: เมื่อถึงวัง ท้าวกุเรปันก็ได้เดินเข้าไปที่พระโรงทันที ...และได้สั่งเสนาให้ไปบอกท้าวหมันหยา
          ฝ่ายทหารของท้าวหมันหยาได้ไปแจ้งให้ท้าวหมันหยาทราบ และพาเสนาของท้าวกุเรปันไปเข้าเฝ้า
             เมื่อไปเข้าเฝ้าแล้วเสนาของท้าวกุเรปันก็บอกว่าท้าวกุเรปันใช้มา ......

****แล้วผมก็แปลต่อไม่ได้แล้ว = =  ยังไงก็ช่วยดูปรับคำให้เหมาะสมรวบรัด ให้ผมหน่อยนะครับ ขอบคุณจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 มิ.ย. 09, 11:44

ดะหมังเสนี คือคนที่ลงจากม้า เดินเข้าไปในท้องพระโรงเมืองหมันหยา    ไม่ใช่ตัวท้าวกุเรปัน
แต่เป็นเสนาของท้าวกุเรปัน
ก็ติดต่อกันตามระเบียบขั้นตอนของราชการ
คือเสนาท้าวกุเรปัน  ไปแจ้งเรื่องกับเสนาท้าวหมันหยา
พอรู้เรื่องกันว่าถือสาส์นมาจากเมืองกุเรปัน  ทางฝ่ายหมันหยาก็พาตัวเข้าเฝ้าท้าวหมันหยา
แล้วดะหมังก็ทูลให้ทราบว่าถือสาส์นมาถวาย

ท้าวกุเรปันไม่มาเองหรอกค่ะ   เป็นพี่ใหญ่   ถ้ามีเหตุอะไรก็ใช้คนถือหนังสือมาให้
เหมือนสมัยนี้ ผู้นำของประเทศหนึ่งก็ย่อมไม่ขึ้นเครื่องบินถือหนังสือราชการ  เดินเข้าไปในทำเนียบของผู้นำอีกประเทศด้วยตัวเอง
แต่ต้องส่งผ่านเอกอัครราชทูต หรือตัวแทนรัฐบาล  ให้มาแทน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 มิ.ย. 09, 13:53

แปลเอาความย่อๆ ว่า เมื่อเดินทางมาถึงเขตวัง ดะหมังกุเรปันก็ลงจากม้าเดินเข้าท้องพระโรงรีบไปหาเสนาในท้องพระโรงนั้นเพื่อแจ้งความที่เดินทางมาเข้าเฝ้า ฝ่ายเสนาอำมาตย์เมืองหมันหยาทราบความแล้วก็นำดะหมังกุเรปันเข้าไปที่ท้องพระโรงเข้าเฝ้าท้าวหมันหยา แล้วเสนาอมาตย์เมืองหมันหยาก็กราบทูลท้าวหมันหยาขอพระราชทานพระราชานุญาตเบิกตัวดะหมังกุเรปันซึ่งท้าวกุเรปันโปรดให้มาเฝ้า จากนั้นดะหมังเมืองกุเรปันก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของท้าวกุเรปันที่ทรงมีมาถึงท้าวหมันหยา

ที่คุณเทาชมพูพูดนั้นก็ถูก แต่ยังไม่หมด ตามปกติ กษัตริย์กับกษัตริย์ด้วยกันจะทรงส่งพระราชสาส์นแจ้งความถึงกันโดยโปรดให้ขุนนางผู้ใหญ่เป็นผู้ถือไป (เรียกว่าจำทูลพระราชสาส์น) กษัตริย์จะไม่เสด็จไปเอง การที่ทรงเลือกใช้ขุนนางผู้ใหญ่ก็เพื่อให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นผู้รับพระราชสาส์น  และเพื่อประสิทธิภาพในการติดต่อหากกษัตริย์ฝ่ายที่รับพระราชสาส์น มีพระราชกระแสรับสั่งซักถามหรือตอบพระราชสาส์นอย่างไร ขุนนางผู้ใหญ่ที่จำทูลไปก็จะได้ใช้ปฏิภาณกราบทูลได้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติและไม่เสียราชการด้วย 

การเข้าเฝ้าของขุนนางต่างเมือง ไม่ว่าจะอยู่ในเขตอาณาจักรแคว้นเดียวกันหรือต่างชาติต่างภาษา เมื่อมาขอเฝ้ากษัตริย์ของอีกแคว้นหนึ่ง  ตามธรรมเนียมการเข้าเฝ้าในราชสำนักที่ถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณนั้น  ต้องมีขุนนางผู้ใหญ่ของเมืองนั้นประเทศนั้นเป็นผู้นำเฝ้าหรือเบิกตัวเข้าเฝ้า  ขุนนางต่างเมืองที่จำทูลพระราชสาส์นมาไม่สามารถเข้าเฝ้าได้เอง  ดูกรณีชาวต่างประเทศที่มาขอเฝ้าฯ พระเจ้าอยู่หัว  ก็ต้องมีคนไทยนำเฝ้าฯ เสมอทุกครั้ง  ยิ่งกรณีทูตเฝ้าฯ ถวายสาส์นหรือพระราชสาส์นตราตั้งนี่ ยิ่งเห็นชัด เดิมจะมีสมุหราชมณเฑียรเป็นผู้นำเข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลเบิกทูตเฝ้าฯ ถวายสาส์นหรือพระราชสาส์นตราตั้งทีละคน ต่อมา ได้เป็นหน้าที่ของรองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายที่ประทับ เป็นผู้ปฏิบัตินำเฝ้าฯ แทน กรณีเป็นแขกของหน่วยงานราชการหรือของรัฐบาล ก็จะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี หรือปลัดกระทรวงเป็นผู้นำเฝ้าฯ ตามแต่กรณี.
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 มิ.ย. 09, 15:14

ดะหมัง เป็นคำชวา เป็นตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่

ปัญหาการอ่านอิเหนา อยู่ที่เรื่องความหมายของคำศัพท์ที่ปรากฏ หลายคำเป็นคำชวา บางคำเป็นคำเก่าที่ไม่นิยมใช้กันแล้ว หรืออาจจะยังใช้อยู่แต่ความหมายไม่ตรงกับที่ใช้ในปัจจุบัน
ลองดูพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp และ
พจนานุกรมฉบับ อ.เปลื้อง ณ นคร ที่ http://guru.sanook.com/dictionary/%E0%B8%81/ นะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 มิ.ย. 09, 16:50

ดีใจที่เห็นคุณเทาชมพูแวะมา


พึ่งอ่าน วิจารณ์นิทานปันหยีหรืออิเหนา  เรื่องพระราม  พระนิพนธ์ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา
คงอีกนานจึงจะพอเข้าใจค่ะ

เรียนคุณเทาชมพูว่าตอนอายุน้อย  อ่านอิเหนาแล้วหลงใหล   ต่อมาก็อ่าน ขุนช้างขุนแผน

ตอนอายุมากทำไมสนใจ พระอภัยมณี ก็ไม่ทราบ    หาตัวละครในพงศาวดารจีนได้หลายตัว

ขุนช้างขุนแผนก็ยังชอบอยู่มาก  ยังมีที่สงสัยอยู่บางจุด




เรียนคุณ CrazyHOrse

ในจินดามณี หมอบรัดเล  มี ศัพท์เขมร หลายหน้าเลยค่ะ  พอใช้ทีเดียว
อ่านอิเหนาแล้วพอจะเข้าใจโดยไม่ต้องใช้พจนานุกรม


ไม่ทราบว่าแถวนี้  จะถามเรื่อง จิวถอง  ตัวละคร ตัวหนึ่งในสามก๊กได้ที่ใครคะ
หาเองแล้ว  ได้แต่ จิวถ่าย   ซึ่งคงไม่ใช่กระมัง


ขอประทานโทษที่ออกนอกเรื่องไปบ้าง   


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 มิ.ย. 09, 16:57

นึกไม่ออกว่า จิวถอง คือใครครับ

แต่ถ้าเป็น จิวฉอง ล่ะก็ จะเป็นทหารคนสนิทของกวนอูครับ คนที่แบกง้าวให้กวนอูนั่นแหละครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 มิ.ย. 09, 17:54

โอ.....ขอบคุณในความพยายามค่ะ

จิวถองแน่ๆ

หรือจะมั่วส่งจิวถ่ายไปให้แทน


สุดสงสารมาตาชะราลง          กลับมาช่วยทำกินตามถิ่นบ้าน          ไม่เลือกการเบาหนักชักเลือกส่ง          ทั้งขึ้นปีนแจวพายถ่อกายทรง
ทั้งอาจองค์ตีรันคันคะเยอ          เสพย์สุราบ้าบิ่นทมิฬมืด          เค็มไม่จืดเรื่องหัวไม้เพราะใจเห่อ          จนมารดาได้พ่อเลี้ยงแกเที่ยงเธอ         
รักเสมอบิดาตนท่านคนดี          ท่านว่าวรสอนสั่งฟังคำนับ          เคารพย์รับถ้อยคำฟังถ้วนถี่          ล้วนแก่นสารการสอนค่อนข้างดี
ท่านผู้นี้เทียบจิวถองทำนองความ

(ศิริพจนภาค  ปกสวย รวมเล่ม   พานิชกิจอุดม  ศก ๑๒๖   ราคา ๑๒ บาท)


จิวถอง  ในเรื่องอืนๆอีก ๓๓ เล่มก็ไม่เด่นพอค่ะ
จะว่าจำไม่ได้ก็ไม่ใช่ทีเดียว



อ่าน สามก๊กมา สามชุดแล้วค่ะ  จนมานึกออกว่า ต้องเป็นของเจ้าพระยาพระคลังหนเอง
ไม่น่าไปอ่านชุดอื่นเลย

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง