เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 13349 รบกวนผู้รู้ช่วยสืบหาว่าวัดพระยาไกร หายไปไหนครับ ทำไมจึงเหลือแต่ชื่อ
ballwarut
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


 เมื่อ 19 มิ.ย. 09, 17:03

รบกวนผู้รู้ช่วยสืบหาว่าวัดพระยาไกร หายไปไหนครับ ทำไมจึงเหลือแต่ชื่อ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 มิ.ย. 09, 23:08

เว็บ map.longdo.com ระบุตำแหน่งไว้ดังในภาพท้ายกระทู้นี้นะครับ คลองข้างๆน้ันชื่อคลองสวนหลวง

มีเงื่อนงำอยู่เล็กน้อยในประวัติหลวงพ่อวัดไตรมิตร http://wattraimitr.com/prawatbuddha3.html ขอคัดลอกมาดังนี้นะครับ

แต่เดิม พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรหรือพระพุทธรูปทองคำสุโขทัย ไตรมิตรปูชนียวัตถุมหัศจรรย์องค์นี้มีปูนปั้นพอกปิดบังอำพรางไว้ และประดิษฐานอยู่ที่ พระอุโบสถวัดโชตนารามพระอารามหลวงหรือวัดพระยาไกร ตั้งอยู่ในเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันนี้ก็คือสถานที่ตั้งของบริษัท อิสเอเซียติก จำกัดนั่นเอง
           วัดโชตนารามนั้น ในอดีตแต่เดิมมีชื่อว่าวัดพระยาไกร ปรากฏตามหลักฐานจดหมายเหตุที่พระพุทธรูปปูนปั้นหรือพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรนี้ ก่อนที่จะ อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม มีหลักฐานว่าเป็นวัดที่สร้างมาก่อน ปีพุทธศักราช ๒๓๔๔ กาลภายหลังต่อมา พระยาโชฏีกราชเศรษฐี (เจ้าสัวบุญมา) ซึ่ง เป็นข้าหลวงเดิมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๓ ได้ทำการ บูรณะปฏิสังขรณ์เสร็จแล้วได้น้อมถวายเป็นพระอารามหลวง ในรัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็นพระอารามหลวงมีนามว่าวัดโชตนาราม
           ต่อ มา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า รัชการที่ ๕ วัดโชตนาราม พระอารามหลวงแห่งนั้นได้กลายสภาพเป็นวัดร้าง ไม่มีผู้ปกครองดูแลปล่อยให้เสนาสนะสงฆ์พร้อมทั้งพระอุโบสถอันเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นก็คือพระพุทธ รูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรองค์นี้ ต้องปรักหักพังชำรุดทรุดโทรมเสียหายมาโดยลำดับ สถานที่ภายในบริเวณวัดโชตนารามทั้งหมดจึงกลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ประกอบ กับทางบริษัท อิสเอเซียติก จำกัด ได้แสดงความประสงค์ขอเช่าสถานที่ของวัด โชตนารามทั้งหมดเพื่อดำเนินกิจการของบริษัท เมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ ดำเนินกิจการของบริษัทแล้ว ก็ได้ทำการรื้อถอนเสนาสนะสงฆ์ที่ปรักหักพังจนหมดสิ้น คงเหลือไว้เพียงพระอุโบสถที่มีพระพุทธรูปปูนปั้นและพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ซึ่งมี องค์พระขนาดใหญ่เท่ากันเพียง ๒ องค์เท่านั้นที่ยังประดิษฐานอยู่ ทางการคณะสงฆ์ ในสมัยนั้นจึงมีเถระบัญชาให้วัดไตรมิตรวิทยารามและวัดไผ่เงินโชตนารามไป อัญเชิญ พระพุทธรูป ๒ องค์ขนาดใหญ่นั้นนำไปประดิษฐานเก็บรักษาไว้ แล้วในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ นั้นเองทางวัดไผ่เงินโชตนารามก็ได้ไปอัญเชิญพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ซึ่ง ประดิษฐานอยู่ด้านหน้านำไปประดิษฐานรักษาไว้ ณ วัดไผ่เงินโชตนาราม
           ส่วนทาง วัดไตรมิตรวิทยาราม โดยมีพระมหาเจียม กมโล เป็นประธาน ก็ได้ไปอัญเชิญพระพุทธ รูปปูนปั้นองค์ที่ยังเหลืออยู่ นำมาประดิษฐานรักษาไว้ ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม โดย ครั้งแรก ประดิษฐานที่เพิงสังกะสีข้างองค์พระเจดีย์ที่ชำรุดเสียหายทางด้านทิศ ตะวันออกของพระอุโบสถหลังเก่าเพราะยังหาสถานที่ประดิษฐานที่เหมาะสมไม่ได้


ส่วนที่ว่าทำไมวัดพระยาไกรถึงได้ร้างไป ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่โดยข้อเท็จจริง ในสมัย ร.๓ พื้นที่แถบนี้น่าจะไกลปืนเที่ยงมาก เพราะในสมัย ร.๔ ทรงให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูเมืองชั้นนอกเพื่อรองรับการขยายตัวของกรุงเทพ พื้นที่นี้ก็ยังอยู่ไกลจากแนวคลองผดุงกรุงเกษมออกมาอยู่มาก ที่สำคัญวัดนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ปากบางริมแม่น้ำเจ้าพระยา มาอยู่ลับแลเสียปลายบางอย่างนี้ ก็ต้องพึ่งพาชุมชนในบางนี้เป็นหลัก ถ้าชุมชนนี้เบาบางไป วัดก็คงอยู่ไม่ได้ครับ


บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
amm
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 มิ.ย. 09, 23:06

อยากทราบว่าลิลิตพระลอกับสังคมปัจจุบันเกี่ยวเนื่องกันรึไม่ อย่างไร
บันทึกการเข้า
Pudtan
อสุรผัด
*
ตอบ: 0



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 เม.ย. 21, 16:35

ขออนุญาติเจ้าของกระทู้ครับ

ผมและทีมงาน พุดตาน ได้มีการค้นคว้า ทำบทความเกี่ยวกับประวัติ วัดพระยาไกรครับ ขออนุญาติฝากบทความไว้เพื่อเป็นความรู้ให้แก่ผู้ที่เข้ามาเปิดดูนะครับ

ขอบคุณครับ

อ่านบทความประวัติวัดพระยาไกร คลิก >>> http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7206.0

วีดีโอ ประวัติวัดพระยาไกร คลิก >>> https://bit.ly/3bnvP1F



บันทึกการเข้า

พุดตาน คือกลุ่มคนที่สร้างสรรค์ผลงาน จากความรัก และความชื่นชอบ นำเสนอออกมาในรูปแบบของสื่อต่างๆ เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่รัก และความรู้
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.03 วินาที กับ 19 คำสั่ง