เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 45526 การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 11 มิ.ย. 09, 16:31

สำหรับวัดสระบัวนั้น ไม่ได้เป็นภาพเขียนสี เป็นภาพเขียนเส้นทองรูปทวารบาลมารแบกและรูปมังกรบนฝ้าเพดาน สิ่งสวยงามในวัดก็คงเป็นซุ้มใบเสมาและตัวพระอุโบสถครับ รูปผมก็มี เร็วๆนี้คงได้ไป สำหรับรูปที่วัดใหม่เทพนิมิตร ผมมีหมดแล้วเยอะด้วยครับ ไม่นานมานี้ก็เข้าไป แต่วัดเงียบมากเลยไม่ได้เข้าไปถ่ายถาพ(รูปประกอบ รูปหน้ากาลผนังหน้าพระประธานตอนมารผจญ) เออผมถามจริงๆครับ คุณvirainเรียนจิตรกรรมไทย หรือศิลปะที่ไหนรึเปล่าครับ



บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 มิ.ย. 09, 16:51

ภาพซ้อนกันในกระทู้เพราะระหว่างพิมพ์ มีกระทู้มาคั่น ไม่เป็นไร สำหรับคุณvirain ถ้าพอหาสตางค์ได้ ให้หาซื้อกล้องดิจิตอลเอสแอลอาร์ เอาแบบไลน์(ไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์)ก็ได้ไม่แพงมาก ซูมกำลังสูงๆ จะดีกว่าคอมแพคธรรมดามากครับ จะได้ภาพออกมาสวยงาม ส่วนวัดใหม่เทพนิมิตรนั้นหรือวัดไหนๆถ้าวัดไม่เปด ก็เปิดเองซิครับ ผมไปวัดไหน ไม่เคยมีปัญหา สงสัยขาใหญ่ เส้นใหญ่ด้วย 5555555555555 ตอนนี้กรมศิลป์อยู่ระหว่างผลาญงบครับ เลยบูรณะมันซะทุกที่ ดีๆก็ดีไป ถ้าเละก็ได้แต่ทำใจ อ้อเมื่อวานเข้าไปที่วัดโพธิ์มา ได้เข้าไปถ่ายภาพบานทวารบาลที่(น่าจะเรียกว่าศาลาการเปรียญด้านข้างศาลาทิศรอบพระมณฑปทรงมงกุฎใกล้ๆเจดีย์4รัชกาลเป็นภาพเขียนเดิมฝีมือเหมือนที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เลยครับ)ดูรูป


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 มิ.ย. 09, 17:32

ตอนนั้นพระที่วัดใหม่ฯ ท่านรีบน่ะ่ครับ  ผมมีเวลาครึ่งชั่วโมงได้ เลยไม่อยากเสียเวลาเปิดปิดหน้าต่าง
กะเอาว่าถ่ายได้น้อยไม่เป็นไร  ได้ดูก็ยังดี แหะๆ

ส่วนเรื่องกล้องก็อยากได้อยู่ครับ คงต้องรอเก็บเงินไปก่อน
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 มิ.ย. 09, 17:33

เรื่องภาพเขียนผมก็ไม่ค่อยมีความรู้เท่าไหร่น่ะครับ  อาศัยหาอ่านและก็ไปหาดูเอาตามโอกาสเท่าที่ทุนจะเอื้ออำนวยครับ
อะไรดูแล้วอ่านแล้วก็ลักจำมา  เรื่องสุนทรียในงานจิตรกรรมจริงๆก็ยังอ่อนหัดนัก
ส่วนใหญ่ที่ไปถ่ายภาพมาผมชอบนำมาศึกษาลายเส้นน่ะครับ พวกการเดินตัวลาย  แต่สำหรับกายวิภาคในลายไทยเป็นงานที่สุดยอดมาก
อย่างภาพนางเมขลาที่วัดสุวรรณารามของครูทองอยู่ ผมเห็นแล้วรู้สึกว่าสวยงามอย่างบอกไม่ถูก (ยังแอบเสียดายภาพรามสูรที่ลอกไป)

ก็อย่างที่คุณjean1966บอกนะ่ครับ  ภาพเขียนในสมัยอยุธยาบางภาพอาจดูไม่สวย(อย่างที่วัดเกาะ) ถ้าไม่เข้าใจในสุนทรีย
ผมเลยพยาศึกษาย้อนไปหาดูจิตรกรรมยุดเก่าๆน่ะครับ  แต่ก็แอบได้ยินว่ามีจิตรกรรมของสุโขทัยย้อนไปอีก
ยิ่งรู้แล้วก็ลึกไปเรื่อยๆ เป็นอะไรที่ลึกซึ้งมาก  ก็เรียนมหาลัยอยู่แต่ไม่ใช่ทางด้านศิลปะเลยไม่ได้ศึกษาได้เต็มรูปแบบ

ได้อ่านข้อความของคุณjean1966เป็นการต่อยอดความรู้ครับ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 มิ.ย. 09, 18:22

ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวครับ เป็นเทคนิคการฉลุปิดทองหรือเดินเส้นด้วยทองคำเปลว บางครั้งก็ใช้รง(ยางไม้ชนิดนึงมีสีเหลือง (โบราณใช้ซับหนุนในการปิดทองนอกจากใช้ชาดแล้วเพื่อให้ทองดูสุกสว่างขึ้น)แทน สมัยอยุธยาตอนปลาย สภาพค่อนขางจางจนแทบมองไม่เห็นแล้วครับ เสียดายที่ผนังไม่มีภาพเขียนเลย สำหรับคุณvirainยังเป็นนักศึกษาอยู่ แต่ให้ความสนใจทางด้าน ศิลปะไทย ผมก็ขอชื่นชมครับ มีโอกาสก็ขอให้สื่อให้เพื่อนฝูงญาติสนิทมิตรสหายได้รับรู้ให้มากก้จะเป็นการดี หนังสือทางศิลปะที่มีรูปสวยๆดีๆก็ค่อนข้างมีราคาแพง ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตก็น้อยมากโดยเฉพาะศิลปะไทย ผมเองมีความตั้งใจรวบรวมข้อมูลให้ได้มากเพื่ออนาคตอาจทำเว็ปไซด์เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจ อีกทั้งทำหนังสือเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังอยู่ แต่คงใช้ระยะเวลาอีกสักพักนึง ส่วนรูปวัดราษฎร์บูรณะ จะทยอยสแกนส่งให้นะครับ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 13 มิ.ย. 09, 14:56

กระทู้นี้ทำไมคนเข้ามาพูดคุยน้อยจัง เมื่อวานเดินทางไปราชบุรี ตั้งใจว่าจะไปถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดคงคาราม แต่มีอันต้องผิดหวัง เนื่องด้วย พระท่านทำพิธีในพระอุโบสถทั้งวัน ฝนก็ตกหนัก เลยตัดสินใจกลับ แล้วเดินทางไปที่วัดไทรอารีรักษ์ไม่ไกลจากกันนัก เนื่องจากทราบว่าที่วัดนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังอยู่เหมือนกัน ก็ไม่ผิดหวังครับ วัดนี้เป็นวัดสร้างสมัยรัชกาลที่4 ภาพเขียนก็น่าจะประมาณร.4-ร.5 ลักษณะการเขียนเป็นช่างชาวบ้าน แต่เขียนได้อย่างมีจินตนาการหากจะไปเปรียบเทียบกับฝีมือช่างหลวงย่อมไม่ได้ แต่ลักษณะการเขียนก็ช่างมีเสน่ห์ถูกใจผมจริงๆในพระอุโสบถ ลักษณะกางวางโครงเรื่องคล้ายจิตรกรรมทางภาคเหนือเช่นวัดภูมินทร์ วัดบวกครกหลวง วัดพระสิงห์ แต่ตัวภาพวาดอย่างภาคกลางมิได้วาดแบบล้านนา ส่วนด้านหน้าทางเข้าพระอุโบสถเขียนสีสรรค์ตัวภาพเหมือนจิตรกรรมแถบภาคอีสานที่เรียกพระอุโบสถว่าสิม เชิญท่านท่านทัศนากันได้เลยครับ(เริ่มจากด้านหน้าพระอุโบสถ)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 13 มิ.ย. 09, 15:07

ภาพด้านหน้าพระประธานตอนพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพาน(ภาพเขียนทั้งหมดเขียนเหนือผนังระหว่างหน้าต่าง)


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 13 มิ.ย. 09, 15:10

ไม่รู้จะคุยอะไรครับ เพราะไม่มีความรู้ แต่เข้ามาอ่านเรื่อยๆครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 13 มิ.ย. 09, 15:19

ไม่เป็นไรครับ ไม่มีความรู้ ก็ลองตั้งคำถามที่อยากรู้ก็ได้ครับ จะได้ต่อยอดความรู้กันครับ หรืออยากหาหนังสืออ่านก็จะได้แนะนำครับ(ตอนนี้ชอบมากถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า ในภาพจะมีการละเล่นประกอบมากมาย ลองดูครับว่ามีอะไรบ้าง เสียดายอยู่นิดทางวัดเดินสายไฟทับไปบนจิตรกรรมซะ เซ็งจริงๆ)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 13 มิ.ย. 09, 15:25

ภาพเขียนที่นี่ยังสอดแทรกพฟติกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันไว้ด้วย เช่นการอุจจาระ ปัสสาวะ แล้วก็ทำได้อย่างน่ารักซะด้วย(รูปแรกการฉี่ของนางสนมกำนัลในวัง หลับตาพริ้มเลย ถ้าจะมีความสุขที่ได้ปลดปล่อย หรืออาจจะละเมอก็ได้ เพราะเพื่อนข้างๆยังหลับอยู่เลย


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 13 มิ.ย. 09, 15:30

อันนี้กำลังนั่งอุจจาระแต่หามีความสุขไม่ เพราะไอ้สุนัขเจ้ากรรมมันดันได้กลิ่น จ้องจะมาตอดอุนจิไปเป็นอาหารอันโอชะ เลยต้องถือไม้คอยไล่ มิให้มาฉก เรียกว่าขี้ของข้าใครอย่าแตะ 55555555555


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 มิ.ย. 09, 15:59

อันนี้เหล่าสนมกำนัลใน นอนหลับผ้าผ่อนหลุดลุ่ยโชวของสงวนอร้าอร่าม แบบว่าถ้าเป็นสมัยนี้ รับรอง เกิดคดีขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์เป็นแน่แท้


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 13 มิ.ย. 09, 16:15

ปิดท้ายด้วยรูปนี้ น่าจะสันนิษฐานได้ว่าช่างเขียนที่นี่อาจจะเป็นช่างที่ได้ไปเขียนทางภาคเหนือในวัดที่ผมบอกไม่วัดใดก็วัดหนึ่งเป็นแน่ จึงนำรูปลักษณ์ของคนพื้นเมืองแถบนั้นมาเขียนไว้ตามที่ได้เห็นมา เห็นม๊บครับ ว่าจิตรกรรมฝาผนังนั้น มีอะไรให้ศึกษามากมายจริงๆครับ(วันนี้ขอจบเท่านี้ครับ)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 13 มิ.ย. 09, 20:50

ข้อมูลที่ผมเกริ่นข้างต้นเป็นแต่เพียงข้อมูลวิเคราะห์ของผมเท่านั้น แต้ในความเป็นจริงของข้อมูลวัดมีดังนี้ครับ
วัดไทรอารีรักษ์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี นับเป็นวัดศูนย์กลางของชาวมอญอีกวัดหนึ่ง ซึ่งมีถาวรวัตถุศิลปแบบมอญ รวมถึงภาพเขียนที่สื่อถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชนชาติมอญ โดยภาพเขียนที่หอระฆังบริเวณกุฏิเจ้าอาวาสภาพบางส่วนลบเลือนมาก ส่วนที่อุโบสถมีภาพที่ผนังด้านใน กับมุขสกัด ด้านริมแม่น้ำแม่กลองเขียนเป็นเรื่องอดีตพระพุทธเจ้า พุทธประวัติ และพระอาริยะสงฆ์ ในรายละเอียดของภาพได้สะท้อนให้เห็นชีวิต สังคม วัฒนธรรมของกลุ่มคนชาวมอญในอดีต จากหลักฐานเชื่อว่าเป็นภาพเขียนราว พ.ศ.2450 ซึ่งอยู่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าบางส่วนของภาพเขียนจะเลือนรางแต่ความมีคุณค่าทางด้านศิลปะ ภาพจิตกรรมฝาผนังที่บ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของชนชาวมอญที่ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในลุ่มนำแม่กลอง เฉกเช่นที่วัดไทรอารีรักษ์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
        ภาพจิตรกรรมในอุโบสถวัดไทรอารีรักษ์ อำเภอโพธาราม จังหวัด
ราชบุรี เขียนขึ้นด้วยความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายมอญในชุมชนรอบ
วัด ในภาพจึงแสดงประเพณีของชาวมอญ และสังคมไทยในท้องถิ่นราชบุรี
เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ที่น่าศึกษา
        ส่วนบนของผนังเป็นภาพอดีตพุทธเจ้า แสดงถึงความเชื่อเฉพาะ
ของชาวมอญ ด้วยในสมัยรัชกาลที่ 5 จิตรกรรมไทยทั่วไป ไม่นิยม
วาดภาพอดีตพุทธนี้แล้ว ใต้แถวพระอดีตพุทธเป็นภาพพุทธประวัติ และ
อริยสงฆ์ ภาพบุคคลแต่งกายแบบชาวมอญ จีน และกระเหรี่ยงที่อาศัยอยู่
มากแถบอำเภอสวนผึ้ง อาคารเป็นทรงประสาทแบบศิลปะมอญ มีส่วนยอด
เป็นเครื่องไม้สามชั้นผนังสกัดด้านนอกเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าโปรด
พุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีรูปพระ-อาทิตย์ พระจันทร์ที่มีวิถี
โคจรระดับยอดเขายุคนธรตามเนื้อหาคัมภีร์โลกบัญญัติ
วัดไทรอารีย์รักษ์ ตั้งอยู่ในแถบชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ อำเภอ
โพธารามภาพจิตรกรรมในอุโบสถจึงเป็นเสมือนภาพบันทึกประเพณี
มอญที่สำคัญ เช่น ตอนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน มีภาพการจัดงานปลง
พระศพอย่างละเอียด ตั้งแต่ขบวนแห่พระศพที่มีการลากราชรถซึ่งเครื่อง
บนเป็นทรงปราสาทแบบศิลปะมอญหรือพม่า พระโกศบรรจุพระศพ
มิได้เป็นทรงกลมสูงแบบงานพระศพไทยทั่วไป แต่เป็นโลงศพสำหรับ
พระสงฆ์ชั้นเจ้าอาวาสแบบมอญที่เรียกว่า "ลุ้ง" หรือเรียกตามภาษา
ชาวบ้านว่า โลงยอดดอกผักบุ้ง ด้วยมีลักษณะสอบล่างผายบน ในปัจจุบัน
ก็ยังใช้กันอยู่ในงานศพพระสงฆ์แถบนี้
       ภาพถวายเพลิงพระศพนี้มีมโหรสพสมโภชน์เอิกเกริกในย่านนี้เช่น
การแสดงหนังใหญ่ จากวัดขนอน วงปี่พาทย์มอญ หุ่นละครเล็ก โรงหุ่น
ประดับธงรูปช้างเผือก ธงชาติไทยสมัยเเรกก่อนเปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์
ในสมัยรัชกาลที่ 6



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 15 มิ.ย. 09, 17:12

อย่างที่คุณ jean1966 บอกครับ  ภาพเขียนเป็นฝีมือชาวบ้านจะให้งดงามเหมือนภาพเขียนในวัดคงคารามก็ใช่ที่
แต่ก็มีคุณค่าในการบันทึกภาพวิถีชีวิต  สำหรับยุคก่อน

ขอบคุณที่นำมาให้ชมครับ


ภาพเขียนในสมัยอยุธยาจะมีการเคลือบด้วยกาวโบราณชนิดหนึ่งซึ่งทำให้ภาพมีความคงทนมาก  (อย่างที่วัดช่องนนทร๊ กับวัดปราสาท)
ไม่รู้ว่าเป็นกาวประเภทไหน รบกวนถามคุณjean1966ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง