virain
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 05 มิ.ย. 09, 17:46
|
|
ขอรบกวนอีกเรื่องนะครับ คราวก่อนไปวัดชมภูเวกมาแล้วเข้าไปในพระวิหารด้านหลังพระอุโบสถหลังเก่า ได้ชมภาพเขียนด้านในที่ชำรุดอย่างมาก แต่สะดุดตากับภาพออกมหาภิเนษกรมณ์ จำได้ว่าเคยเห็นภาพนี้ที่หนังสือเล่มไหนไม่ทราบตั้งแต่สมัยเด็กๆ สิบกว่าปีแล้ว ตอนนั้นเห็นภาพสมบูรณ์กว่านี้ เพราะอาการของพระอินทร์ทำให้สงสัยเหลือเกินเลยจำได้ ไม่รู้ว่าคุณjean1966มีภาพที่สมบูรณ์กว่านี้เก็บไว้บ้างหรือเปล่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 05 มิ.ย. 09, 20:30
|
|
นี่แหละครับของดีที่อดดู เพราะเมื่อก่อนชำรุดทรุดโทรมมากไม่มีโอกาสได้เข้าไปยังสงสัยว่าน่าจะมีภาพเขียน วันนี้ที่บอกจะไปวัดสุทัศน์ก็ไม่ได้ไปกะว่าจะไปวันอาทิตย์นี้แทน แต่ได้เข้าไปที่วัดชมภูเวกเพื่อถ่ายภาพเพิ่มเติม เพราะในอุโบสถเก่าเปิดตลอดแค่เอากุญแจคล้องไว้ ถ่ายเสร็จว่าจะเข้าไปดูวิหารด้านหลังซะหน่อย ปรากฎว่าฝนตกแล้ววิหารก็ปิดเลยต้องกลับก่อน ช่วงเช้าก่อนมาวัดชมภูเวก เข้าไปดูที่วัดตำหนักใต้ ก็สวยดีทีเดียว คติเขียนภาพก็ต่างจากที่อื่น ฝีมือช่างร.3 เสร็จจากวัดชมภูเวกก็ไปต่อวัดบางระโหงมีภาพเขียนสมัยร.4ฝีมือจัดจ้านใช้ได้ วันนี้3วัดมีความสุขจริงๆครับ ว่าแต่คุณVIRAIN นี่ทำอะไรอยู่ครับ เรียนอยู่รึเปล่า เห็นชอบทางนี้แล้วตะเวนถ่ายรูปเหมือนกัน รูปที่โพสต์นี่ถ่ายจากวิหารวัดชมภูเวกเองรึครับเนี่ย มีรูปอื่นอีกมั๊ยครับ โชว์หน่อย(เรื่องที่ถาม ผมคงต้องไปหาฟิล์มเก่าของอาจารย์ที่เพาะช่างดูครับ ท่านอาจจะมี ผมไม่มีเลย) ส่วนนี้รูปที่วัดตำหนักใต้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 05 มิ.ย. 09, 21:14
|
|
วัดตำหนักใต้มีประวัติที่น่าสนใจมาก เพราะบริเวณวัดเดิมเคยเป็นที่พักอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานชั่วคราว ครั้นเมื่อครั้งพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระยาตากสิน)ได้มอบหมายให้พระยามหากษัตริยศึกไปตีเวียงจันทร์ เมื่อเสร็จศึกได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาไว้ที่นีตอนนั้นยังไม่มีวัดมีการสร้างตำหนักรับเรียกว่าพระตำหนักบางธรณีก่อนที่พระเจ้าตากสินจะเสด็จมาอัญเชิญด้วยตนเองกลับกรุงธนบุรี หลังจากนั้นที่ดินบริเวณดังกล่าวซึ่งมีประวัติอ้างกล่าวถึงในหลายเอกสาร ในสมัยรัชกาลที่3 พ.ศ.2367จึงได้สร้างวัดขึ้นและมีการนำชื่อสถานที่ที่เคยเป็นตำหนักมาก่อนมาตั้งเป็นชื่อวัด พอภายหลังเมื่อปีพ.ศ.2464กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จไปทรงตรวจการคณะสงฆ์ ทรงเห็นวัดมีชื่อซ้ำๆกันเลยให้เติมชื่อต่อท้ายด้วยทิศที่ตั้งของวัดคือทิศใต้ จึงได้ชื่อวัดตำหนักใต้ตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่สุดของวัดคือวิหารหลังที่ผมไปถ่ายรูปมา เกืดคู่มากับวัด มีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยร.3 คติที่เขียนก็แปลกกว่าที่อื่น ด้วยวัดอยู่ริมน้ำ ภาพเขียนในวัดที่ค่อนข้างรางเลือน เขียนเป็นชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นมอญ ภาพเขียนระหว่างหน้าต่างลบเลือนเกือบหมดเหลือมากช่วงบนเหนือหน้าต่างไปแล้ว ภาพเขียนบางส่วน ผมสันนิษฐานว่าอาจจะเขียนขึ้นในรัชกาลที่4ด้วยซ้ำ อาจจะเริ่มเขียนร.3แต่มาเสร็จร.4เหมือนหลายวัด หระช่างร.4มาบูรณะ เพราะปรากภภาพเรือใบ เรือกลไฟ อย่างที่นิยมเขียนในสมัยรัชกาลที่4ตามอิทธิพลฝรั่งเช่นที่วัดบรมนิวาส ตอนบนสุดของผนังเขียนเป็นระบายผ้าม่านพร้อมเฟื่องอุบะ ตอนไปถ่ายรูปดูไม่ออกเลยจริง คิดว่าเขียนเป็นอสีติมหาสาวก พอเอารูปลงคอมพ์จึงรู้ ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเป็นราชรถพระอาทิตย์ด้านหลังพระประธานเขียนเป็นพระจันทร์ คงเป็นคติจักรวาลตามความเชื่อของช่าง(พระประธาณที่นี่เป็นปรางค์ป่าเลไลย์ ซึ่งไม่ค่อยมีปรากฎมากนักในเมืองไทย แต่เสียดายต้องทำกรงขังท่านไว้ด้วยทางวัดคงกลัวขโมยมาตัดเซียนท่านไป เหมือนวัดหลายๆแห้งในประเทศนี้ ที่แปลกอีกอย่างคือที่บานหน้าต่างประตูเขียนเป็นเครื่องบูชาอย่างจีนแต่มีคนแบกอยู่บนบ่าอีกที ผมได้สังเกตแล้วเห็นว่าน่าจะเป็นที่เดียวที่เขียนอย่างนี้และที่สำคัญคนที่แบกเครื่องบูชาเหล่านั้นคือเหล่าชน12ภาษา อย่างที่มีเขียนอยู่ที่วัดโพธิ์(เชตุพน)และวัดบางขุนเทียนนอก ซึ่งทั้ง2ที่นั้นเขียนให้ดูว่าเป็นชนชาติต่างภาษาเท่านั้น มิได้นำมาใช้งานแบกของแบบที่นี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 05 มิ.ย. 09, 21:22
|
|
อันนี้ภาพออกมหาภิเนษกรมณ์ที่วัดบางระโหง ครับ เป็นผนังสวยที่สุดและเหลือเยอะที่สุดของจิตรกรรมฝาผนังที่นี่แล้วครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 05 มิ.ย. 09, 21:27
|
|
ผนังเดียวกันตอนต่อกันปลงผมออกบวช
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 05 มิ.ย. 09, 21:31
|
|
อีกผนังที่สวย วันนี้แค่นี้นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฉันรักบางกอก
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 06 มิ.ย. 09, 22:17
|
|
 มากระทู้นี้ แล้วมีความสุขจัง ความรู้ไม่ใคร่จะมีหรอกนะคะ แต่ชอบดูมากๆเลย ยิ่งเก่ายิ่งสวย ยิ่งแปลก เคยเข้าไปวัดบางยี่ขันหรือยังคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กนก นารี กระบี่ คชะ
|
|
|
boonrod
อสุรผัด

ตอบ: 6
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 07 มิ.ย. 09, 15:20
|
|
คุณ virain, jean1966 มีภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่ามาให้ดูอีก แต่น่าเสียดายที่เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ก็ต้องขอบคุณที่เอามาเผยแพร่ก่อนจะเลือนหายไป-ไม่ได้เห็นอีก เคยไปเที่ยวที่วัดสุทัศนเทพวราราม-เสาชิงช้าก็มีจิตรกรรมฝาผนังสวยๆ ไม่ทราบว่ามีถ่ายไว้บ้างรึเปล่า ขอบตุณ-กรุณาส่งให้ที่ boonrod8@yahoo.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 07 มิ.ย. 09, 21:49
|
|
ทั้งวัดบางยี่ขันและวัดสุทัศน์ เคยไปมาหมดแล้วครับรูปถ่ายก็มีทั้ง2ที่ สวยมากๆทั้ง2ที่ วันนี้ก็เพิ่งเข้าไปถ่ายรูปวัดสุทัศน์มา แต่บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย เพราะเป็นวันพระ คนมาฟังเทศน์เพียบ ในโบส์ถก็ขายพระซะเต็มบังจิตรกรรมด้วย แถมยังมีงานบูรณะจิตรกรรมอยู่ คงต้องไปถ่ายอีกที วันนี้ได้มานิดหน่อยแต่ไม่ค่อยดี เพราะแสงรบกวนมาก ลองดูละกันครับ ถ่ายที่พระอุโบสถ ผนังด้านหน้าพระประธาน รูปเหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ณ เขาคันทมาสป่าหิมพานต์ รูปดังของวัดนี้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 07 มิ.ย. 09, 21:53
|
|
นี่พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธตรีโลกเชษฐ(ดูซิครับนักเรียนมาสวดมนเต็มเลย)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 07 มิ.ย. 09, 22:03
|
|
จิตรกรรมฝาผนังที่นี่ไม่น่าห่วง แต่ที่น่าห่วงคือจิตรกรรมในกรอบกระจกเหนือช่องบานหน้าต่างซึ่งปรากฎมีอยู่ทั้งที่อุโบสถและวิหาร ไม่สามารถบรณได้ กระดาษที่ใช้เขียนหลังกระจกเปื่อยยุ่ยไปหลายช่องแล้ว ผมพยายามจะถ่ายเก็บไว้ให้ครบ เพราะเดิมเคยถ่ายไว้แต่ยังไม่หมด เพราะถ่ายยากเนื่องจากอยู่สูงมากๆ (อันนี้ถ่ายแค่ให้ดูตัวอย่าง เพราะแสงจากช่องบานหน้าต่างเข้ามากวน)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 09 มิ.ย. 09, 14:58
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 09 มิ.ย. 09, 15:17
|
|
ขอบคุณคุณjean1966ครับ ผมเรียนอยู่ที่ มจพ. เรื่องจิตรกรรมไทยนี้เป็นความสนใจครับ ภาพเขียนวัดตำหนักใต้เขียนไม่นานเท่าไหร่แต่ดูเหมือนสภาพจะทรุดโทรมกว่าที่อื่นๆนะครับ ที่จริงผมอยากขออณุญาติไปถ่ายภาพในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แต่ตอนนี้กำลังบูรณะอยู่คงต้องรอให้เสร็จก่อน
สำหรับภาพเขียนสมัยอยุธยาหลงเหลืออยู่น้อยมากเท่าที่มีอยู่ก็มักเป็นสกุลช่างท้องถิ่น แต่สกุลช่างหลวงของอยุธยาผมก็ไม่รู้ว่ามีเหลืออยู่ให้ดูที่ไหน คุณjean1966คงเคยได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับวัดราชประดิษฐานในกรุงเก่า ว่ามีภาพเขียนสมัยอยุธยาตอนต้นอยู่ ร.4 และ ร.5 พระองค์ท่านได้มีโอกาสได้ทอดพระเนตร ก่อนที่จะสูญสลายไป ผมแค่ได้อ่านข้อมูลผมก็อยากเห็นเหลือเกินไม่รู้ว่าจะมีซ่อนอยู่ที่ไหนอีกหรือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 09 มิ.ย. 09, 15:18
|
|
คุณ ฉันรักบางกอก ผมเคยไปวัดบางยี่ขันครับ ไม่รู้ว่าjean1966เคยไปหรือเปล่า แต่บังเอิญว่าตอนผมไปเขาซ่อมแซมภาพเขียนอยู่เลยไม่ได้ถ่ายรูปไว้ ถ้าคุณ ฉันรักบางกอก มีภาพเขียนก็ตั้งกระทู้ได้นะครับจะติดตามชม หรือให้คุณjean1966ช่วยลงก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
jean1966
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 09 มิ.ย. 09, 18:22
|
|
ขอบคุณเรื่องรูปครับ คุณvirain วัดบางยี่ขัน ไปมาหลายครับ เพราะสมัยเรียนคัดลอกภาพที่นั่น ตอนนี้เห็นว่ากรมศิลปไปอนุรักษ์อีกแล้ว เตรียมเละแบบหลายที่ที่ผ่านมา เดี๋ยวขึ้นกระทู้ใหม่ดีกว่า เกี่ยวกับสถานที่ที่กรมศิลปไปซ่อมแล้วจิตรกรรมเสียหายมากกว่าดีขึ้น แต่ข่าวดีของผมวันนี้คือ รามเกียรติ์ที่วัดโพธิ์ซึ่งเดิมคิดว่าลบไปแล้ว ยังไม่ลบ ไม่รู้ตอนนั้นไปงงอยู่ส่วนไหนเลยไม่เห็น เข้าใจว่าตอนไปคราวนั้นคงไปผิดศาลา เพราะมันถัดจากกันไม่ไกล แต่สภาพปัจุบันภาพอนุรักษ์หมดแล้ว มีการซ่อมเติมบางส่วนจนผิดฝีมือไปบ้าง ภาพที่อนุรักษ์แล้วหลายภาพปริมาณภาพเหลือน้อยกว่าที่ผมถ่ายภาพไว้ ปัจุบัน บริเวณดังกล่าว เรียกว่าศาลาทิศรอบหอไตร(พระมณฑป)สร้างเป็นห้องกระจก เก็บสมบัติวัดอยู่ ทำให้เข้าดูลำบาก อีกทั้งตู้ใส่ของก็ตั้งบังจิตรกรรมไว้หมด ไม่รู้จะซ่อมทำไม (รูปประกอบ เป็นรูปตอนนึงของผนังที่วัดบางยี่ขัน สมัยที่ไปคัดลอก)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|