เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 11198 ราชสกุล รองทรง
Mom Luang Oe
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


 เมื่อ 19 พ.ค. 09, 22:46

อยากจะทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ ค่ะ ทราบแต่ว่าท่านทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ หรือ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ และทรงเป็นต้นราชสกุล รองทรง เลยอยากทราบเกี่ยวกับพระชายา และ พระโอรส และ พระธิดาค่ะ
บันทึกการเข้า
khunkaewnandavan
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 พ.ค. 09, 14:57

ไม่น่าเชื่อว่าจะมี ราชสกุลนี้  พอเข้ากูเกิ้ล  เอ้ยมีแฮะ
บันทึกการเข้า
Mom Luang Oe
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 พ.ค. 09, 14:27

เท่าที่ทราบมี พระโอรสคือพระวรวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าวัฒนา   ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการ   มณฑลฝ่ายเหนือหรือต่อมาเปลี่ยนเป็นมณฑลอุดร   แต่ไม่ทราบชื่อพระชายาค่ะ
แล้วก็มีหม่อมเจ้าหญิงเม้า และหม่อมเจ้าหญิงสุวรรณ ไปเสกสมรสกับกรมหลวงสรรพสาตร์ศุภกิจ ต้นราชสกุลทองแถม แต่ไม่ทราบว่าจากพระชายาเดียวกันหรือไม่ และมีอีกกี่องค์
ไม่ทราบว่าควรจะไปหาข้อมูลที่ไหนได้อีกคะ หาจาก internet ได้แค่นี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 พ.ค. 09, 17:19

สวัสดีครับ เดี๋ยวผมจะเอาข้อมูลมาให้นะครับ ซึ่งในหนังสือจะบอกถึงโอรสและพระธิดด้วยะครับ แล้วจะนำมาบอก........
บันทึกการเข้า
Mom Luang Oe
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 พ.ค. 09, 18:25

ขอบคุณค่ะ จะรอข้อมูลอย่างใจจดใจจ่อเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
Lonelybankz
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 พ.ค. 09, 21:24

มรอฟังด้วยนครับ เคยอ่านมาว่าหม่อมเจ้าหญิงเม้า รองทรงไม่โปรด พระโอรสองค์หนึ่งของกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจเลยไม่ได้เป็นหม่อมเจ้า เป็นแค่นายทองเจือ ตอนหลังเป็น พระยาไพชยนเทพ ต้นตระกูล ทองเจือ
บันทึกการเข้า
Mom Luang Oe
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 พ.ค. 09, 15:15

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/K3477721/K3477721.html

ลองดูที่นี่นะคะ

ส่วนตัวก็เคยได้ยินญาติผู้ใหญ่เล่ามาทำนองนี้แต่ขอไม่ comment ต่อนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 พ.ค. 09, 16:34

วังคลองตลาด ตามข้อมูลที่ผมได้มาเป็นวังที่ประทับของ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ พระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เชื่อว่าต่อมาน่าจะเป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าจินดา ตามที่คุณหยดน้ำท่านระบุไว้ครับ ส่วนวังนี้พบแล้วว่าอยู่เชิงสะพานเจริญรัช สน พระราชวัง ย่านปากคลองตลาด
http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=381288&chapter=5
( กรมหมื่นสิทธิฯ ต้นราชสกุล รองทรงฯ ส่วนพระองค์เจ้าจินดา ไม่มีพระทายาท )

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1864.40;wap2

-------------------------------
๒๘. พระองค์เจ้าชายรองทรง
ประสูติเมื่อปีชวดอัฐศก จ.ศ. ๑๑๗๘
เจ้าจอมมารดาภู่(อิเหนา)
ในรัชกาลที่ ๔ โปรดฯให้สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ
ทรงกำกับโรงทอง
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึน ๑๒ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จ.ศ. ๑๒๓๘
ทรงเป็นต้นสกุล รองทรง
http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C/
บันทึกการเข้า
Mom Luang Oe
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 พ.ค. 09, 23:33

เกี่ยวกับเรื่องวังที่ประทับนั้น ดิฉันเจอข้อมูลนี้ค่ะ

"วังคลองตลาด วังที่ ๑ วังนี้อยู่สุดข้างเหนือของหมู่วังซึ่งพระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชทานพระเจ้าลูกเธอ ที่ริมคลองคูเมืองเดิม (คลองตลาด) ฝั่งเหนือ ตอนใกล้ปากคลองข้างใต้ เดิมเปนที่บ้านของบิดาเจ้าจอมมารดากรมหมื่นสิทธิสุขุมการ ๆ ได้ทรงรับมรดกจึงสร้างวังเสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ เมื่อรัชกาลที่ ๕ แล้วหม่อมเจ้าชายใหญ่ ซึ่งทรงสถาปนาเปนพระองค์เจ้าวัฒนาในรัชกาลที่ ๕ กับหม่อมเจ้าในกรมอยู่ต่อมาจนรื้อทำถนน

วังคลองตลาด วังที่ ๒ วังคลองตลาดวังที่ ๑ เปนวังของกรมหมื่นสิทธิสุขุมการในกรมพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๒ ได้พรรณาไว้ในตอนว่าด้วยวังครั้งรัชกาลที่ ๒ แล้ว วังที่ ๓ ก็อยู่ริมคลองตลาดฝั่งเหนือ เขตร์ต่อวังที่ ๑ ไปจนเชิงสพานช้างทางปากคลอง สร้างพระราชทานพระองค์เจ้าจินดา ประทับอยู่ไม่ช้าสิ้นพระชนม์แต่ในรัชกาลที่ ๓ นั้น วังนี้หาปรากฎว่าเจ้านายพระองค์ใดเสด็จมาอยู่ต่อมาไม่ นึกสงสัยว่าวังที่ ๑ กับวังที่ ๒ ที่คลองตลาดนี้ เดิมจะเปนวังพระองค์เจ้าจินดาวังเดียวดอกกระมัง บางทีจะแบ่งที่พระราชทานกรมหมื่นสิทธิสุขุมการต่อในรัชกาลที่ ๔ ก็อาจจะเปนได้ ที่ ๒ วังเดี๋ยวนี้ทำเปนถนนราชินีทั้งนั้น"

ส่วนข้อมูลอื่นๆที่เจอคือ

"สำหรับพระวรวงศ์เธอ   พระองค์เจ้าวัฒนา   ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการ   มณฑลฝ่ายเหนือหรือต่อมาเปลี่ยนเป็นมณฑลอุดร   พระองค์เจ้าวัฒนามีชายา (ภรรยา) เป็นชาวนครพนมชื่อ   หม่อมบัว   หม่อมบัวเป็นหลานสาวพระยาพนมนครานุรักษ์ฯ (กา   พิมพานนท์)   ผู้ว่าราชการเมืองนครพนมในลำดับต่อมา"

หาไม่เจออีกนะค่ะ เลยอยากทราบว่าพอจะไปหาข้อมูลที่ไหนได้อีกน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 พ.ค. 09, 21:20

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจ้ารองทรง กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ(ประสูติ 2359 สิ้นพระชนม์ 4 พ.ค.2419...60 ปี) ทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์(2315-2361...46 พรรษา) กับเจ้าจอมมารดาภู่(อิเหนา)....มีโอรส-ธิดา ดังนี้
   1.หม่อมเจ้าชาย วัฒนา  รองทรง(พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา) พระนามเดิม หม่อมเจ้าใหญ่...(2391-2461...70 ปี)
   2.หม่อมเจ้าชาย ภูษา  รองทรง
   3.หม่อมเจ้าหญิง เม้า  ทองใหญ่(2401-2479...78 ปี)...พระชายาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงสรรพศาตร์ศุภกิจ(2399-2467...68 พรรษา)
   4.หม่อมเจ้าชาย หวอ  รองทรง(2404-2431...27 ปี)
   5.หม่อมเจ้าหญิงปุก  รองทรง(2405-2431...26 ปี)
   6.หม่อมเจ้าชาย  พระราชทานเพลิง พ.ศ.2405
   7.หม่อมเจ้าชาย ขาว  รองทรง(2410-พระราชทานเพลิงเมื่อ 4 ต.ค.2465)
 และอีก 3 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนามและไม่ทราบว่าเป็นพระโอรสหรือธิดา

ข้อมูลนี้อ้างอิงจาก หนังสือ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี โดย พล.ต.ม.ร.ว.ศุภวัฒน์  เกษมศรี และรัชนี  ทรัพย์วิจิตร พ.ศ.2543
บันทึกการเข้า
Mom Luang Oe
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 พ.ค. 09, 23:40

ขอบคุณมากค่ะ

แต่ หม่อมเจ้าหญิงเม้า เป็นพระชายา ของกรมหลวงสรรพศาสตร์ฯ ราชสกุล ทองแถมค่ะ ไม่ใช่ ทองใหญ่

หนังสือของคุณนี่ยังพอจะหาซื้อได้อีกไหมคะ พิมพ์ออกมานานหรือยังคะ

มีรูปบ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
sugar
มัจฉานุ
**
ตอบ: 53


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 ก.ย. 09, 13:59

สนใจความเกี่ยวข้องของราชสกุลรองทรงและราชสกุลทองแถมเข้าไปที่ www.thongthaem.org/ ได้เลยค่ะ
บันทึกการเข้า
รามจิตติญาณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 10:48

พระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ แห่งราชวงศ์จักรี และ แห่งราชสกุล "รองทรง" และราชสกุลอื่นๆ นับย้อนขึ้นไปเท่าที่จะพอนับได้

๑.  เจ้าแม่วัดดุสิต
 
   เจ้าแม่วัดดุสิต หรือ พระนมบัว (พระนามเดิม "บัว") ทรงเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ ที่จะยังพอสืบย้อนขึ้นไปได้ และมีความเป็นไปได้มากที่สุด พระองค์เป็นพระนมชั้นเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระประวัติท่านไม่แน่ชัด บางตำราอ้างว่า ท่านเป็นราชนิกูลชั้น "หม่อมเจ้า" จากราชวงศ์พระมหาธรรมราชาสืบเชื้อสายจากราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย บางตำราก็อ้างว่า เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ พระนามว่า "หม่อมเจ้าหญิงอำไพ" ต่อมาในรัชสมัยพระนารายณ์มหาราช ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "พระองค์เจ้าบัว กรมพระเทพามาตย์" ในราชสำนักทรงได้รับพระฉายาว่า "เจ้าแม่ผู้เฒ่า"

๒.  พระยาโกษาธิปดี (ปาน)

   พระยาโกษาธิปดี (ปาน) โอรสเจ้าแม่วัดดุสิต ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าเจิดอุภัย แห่งราชวงศ์พระร่วง บางตำราอ้างว่า หม่อมเจ้าเจิดอุภัยนี้ เป็นขุนนางผู้ซึ่งมีเชื้อสายมอญ มีโอรสที่เป็นราชบรรพบุรุษ แห่งราชวงศ์จักรีคือ พระยาโกษาธิปดี (ปาน) ได้รับราชการ 2 สมัย คือ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และในรัชสมัย สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง (สมเด็จพระเพทราชา) แห่งอาณาจักรอยุธยา เมื่อในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระยาโกษาธิปดี (ปาน) เป็นเอกอัครราชทูตคนสำคัญคนหนึ่ง ในครั้งนั้นดำรงตำแหน่ง "ออกพระวิสุทธิสุนทร" พระยาโกษาธิปดี (ปาน) นี้ท่านได้เป็นส่วนหนึ่งในการต่อต้านฝรั่งเศส ในปลายรัชสมัยพระนารายณ์ซึ่งฝรั่งเศสเข้ามามีอำนาจในราชสำนักสยามมากเกินไป ดังนั้นท่านจึงร่วมกับข้าราชการอื่นๆ รวมถึง พระเพทราชาด้วย หลังจากนั้น พระเพทราชาได้ทำการปราบดาภิเษก (ล้มล้างราชวงศ์ปราสาททอง) ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ภายหลังท่านถึงแก่อนิจกรรมในสมัยสมเด็จพระเพทราชานั้นเอง

(*สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ท่านก็ชิงราชสมบัติจาก พระศรีสุธรรมราชา และ พระศรีสุธรรมราชา ท่านก็ชิงราชสมบัติจาก สมเด็จเจ้าฟ้าไชย มาเหมือนกัน* ชิงกันไป ชิงกันมา วัฏจักรของกฏแห่งกรรมแท้ๆ)

๓.  เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง)

   เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) ท่านเป็นบุตรของพระยาโกษาธิปดี (ปาน) ไม่ทราบนามมารดา เข้ารับราชการเป็นเสนาบดีด้านการต่างประเทศในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ  มีบุตรที่เป็นราชบรรพบุรุษ แห่งราชวงศ์จักรีคือ พระยาราชนิกูล (ทองคำ)

๔.  พระยาราชนิกูล (ทองคำ)

   พระยาราชนิกูล (ทองคำ) ท่านรับราชการ ตำแหน่งปลัดว่าการมหาดไทย ในรัชสมัย สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ หรือ สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาท้ายสระ (พระนามเดิม "เพชร") ราชวงศ์บ้านพลูหลวง แห่งอาณาจักรอยุธยา มีบุตรที่เป็นราชบรรพบุรุษ แห่งราชวงศ์จักรีคือ หลวงพินิจอักษร (ทองดี) ต่อมาเลื่อนเป็น "พระอักษรสุนทรศาสตร์" ครั้นในลำดับต่อมามีหลานชื่อ "ทองด้วง" ซึ่งต่อไปจะเป็นพระปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์

๕.  พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี)

   พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) มีภรรยา บางตำราอ้างว่าท่านแต่งสองคนเป็นพี่น้องกัน คนผู้พี่ชื่อดาวเรือง คนผู้น้องชื่อหยก บางตำราก็ไม่ได้กล่าวถึงเลย กล่าวถึงแต่ชื่อ "ดาวเรือง" ซึ่งเป็นบุตรีของคหบดีชาวจีน ฐานันดรเป็นสามัญชนชั้นกลาง มีบุตรชายด้วยกันชื่อ "ทองด้วง" ต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาจักรี ว่าที่เสนาบดีกรมมหาดไทย

๖.  เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)

   เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ท่านเกิดในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ในขณะนั้นดำรงตำแหน่ง หลวงพินิจอักษรเสมียนตราประจำกรมมหาดไทย ต่อมารับราชการเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี

   จากนั้นในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช) เลื่อนขั้นเป็นเจ้าพระยาจักรี ว่าที่เสนาบดีกรมมหาดไทย บิดาชื่อ พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) และ มีมารดาซึ่งบางตำราอ้างว่า ชื่อ "ดาวเรือง" บางตำราอ้างว่าชื่อ "หยก" แต่จาก วิกิพีเดีย จัดสายลำดับชั้นแล้ว ได้ระบุว่า มารดาของเจ้าพระยาจักรีชื่อ "หยก" ซึ่งผิดกว่าเอกสารบันทึกอื่นๆ ที่ว่า มารดาชื่อ "ดาวเรือง" ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก ต้องหาหลักฐานทางวิชาการให้ได้อย่างน้อยซัก ๒๐ เล่มขึ้นไปมายืนยัน อย่างไรก็ตามชื่อของมารดาเจ้าพระยาจักรีไม่ได้เป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะ เจ้าพระยาจักรี นี้ในลำดับต่อมา ได้ทำการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี

   เมื่อปราบดาภิเษกแล้ว ทรงผ่านพิภพลีลาเข้าสู่มหาเศวตฉัตรเป็นปฐมบรมราชวงศ์จักรี ทรงฉลองพระนามเต็มว่า "สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลยคุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร" พระนามที่เราคุ้นคือ "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" แล้วทรงสถาปนาพระราชบิดา ขึ้นเป็น "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก" พระมารดา ขึ้นเป็น "สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนนี"
   
   การสมรส หลวงยกกระบัตรสมรสกับนางนาก เดิมเป็นสามัญชนชั้นกลาง อาศัยอยู่ ณ  บ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา อำเภอเมืองสมุทรสงคราม บิดาชื่อ "ทอง" มารดาชื่อ "สั้น" เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ จากหลักฐานที่กระผมค้นคว้ามานั้น สมเด็จฯ ท่านฉลองพระยศตามโบราณราชประเพณีแก่ "คุณนาก" เป็น "สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง" และต่อมาได้ฉลองพระยศให้เป็น "สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี" และ ฉลองพระยศให้มารดา "คุณสั้น" เป็น "สมเด็จพระรูปศิริโสภาค มหานาคนารี" ส่วนบิดาที่ชื่อ "คุณทอง" นั้นได้ถึงแก่พิราลัยไปเสียตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้แต่เรียกว่า "พระชนกทอง"

   สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม "ทองด้วง") ทรงมีพระราชโอรส ที่เป็นปฐมราชสกุล "รองทรง" ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (พระนามเดิม "นาก") ในลำดับที่ ๗ คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ (พระนามเดิม "จุ้ย","เจ้าฟ้าชายจุ้ย") พระยศเดิมคือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงเสนานุรักษ์


๗.  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงเสนานุรักษ์ (เจ้าฟ้าชายจุ้ย)

   เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงราชาภิเษกเป็น "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย" ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อุปราชาภิเษก "เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์" เป็น "สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์" ตำแหน่งพระมหาอุปราช ประทับวังหน้า พระองค์ทรงมีพระราชโอรส อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาภู่ (อิเหนา) คือ พระองค์เจ้าชายรองทรง ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ เมื่อ พ.ศ. 2410 ในรัชกาลที่ 5 ทรงว่าการโรงทอง ทรงเป็นต้นราชสกุล "รองทรง"

   จึงขอจบการลำดับสายเชื้อพระวงศ์ตั้งแต่ พระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ แห่งราชวงศ์จักรี จนถึงต้นราชสกุล "รองทรง" และราชสกุลอื่นๆ ซึ่งอยู่ในสายนี้ด้วย ซึ่งสายอื่นๆ กระผมไม่ได้นำมากล่าวเพราะตั้งใจจะ ลำดับแต่ ราชสกุล "รองทรง" นับย้อนขึ้นไปเท่านั้นขอรับ

   
   ผิดถูกประการใด ขอกราบอภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยขอรับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ก.พ. 11, 09:35 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 04 ก.พ. 11, 13:20

พระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ แห่งราชวงศ์จักรี และ แห่งราชสกุล "รองทรง" และราชสกุลอื่นๆ นับย้อนขึ้นไปเท่าที่จะพอนับได้

๑.  เจ้าแม่วัดดุสิต
 
   เจ้าแม่วัดดุสิต หรือ พระนมบัว (พระนามเดิม "บัว") ทรงเป็นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ ที่จะยังพอสืบย้อนขึ้นไปได้ และมีความเป็นไปได้มากที่สุด พระองค์เป็นพระนมชั้นเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระประวัติท่านไม่แน่ชัด บางตำราอ้างว่า ท่านเป็นราชนิกูลชั้น "หม่อมเจ้า" จากราชวงศ์พระมหาธรรมราชาสืบเชื้อสายจากราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย บางตำราก็อ้างว่า เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ พระนามว่า "หม่อมเจ้าหญิงอำไพ" ต่อมาในรัชสมัยพระนารายณ์มหาราช ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "พระองค์เจ้าบัว กรมพระเทพามาตย์" ในราชสำนักทรงได้รับพระฉายาว่า "เจ้าแม่ผู้เฒ่า"

เจ้าแม่วัดดุสิต มี ๒ องค์
องค์แรก คือ พระนมในสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นมารดาของออกญาโกษาเหล็ก ออกญาโกษาปาน เชื่อกันว่าเป็น บรรพบุรุษของพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ องค์นี้ไม่ได้เป็น "กรมพระเทพามาตย์"
องค์ที่สอง คือ พระอัครมเหสีในพระเพทราชา ในรัชกาลพระเจ้าเสือ ทรงมีฐานะเป็นพระมารดาเลี้ยง ได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระเทพามาตย์"

กรมพระเทพามาตย์  เป็นพระนามกรมของพระราชชนนี ที่เป็นอัครมเหสีในรัชกาลก่อน ตั้งแต่ปลายอยุธยาจนถึงกรุงธนบุรี

ในกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ยังยึดธรรมเนียมนี้ แต่แปลงพระนามให้เป็นการเฉพาะพระองค์ เช่น กรมพระอมรินทรามาตย์ ในรัชกาลที่ ๒ กรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ในรัชกาลที่ ๔ กรมพระเทพศิรินทรามาตย์ ในรัชกาลที่ ๕
พระญาติของพระราชชนนี ที่เป็นพระอัครมเหสีในรัชกาลก่อน (เว้น กรมพระศรีสุลาลัย ที่ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเจ้า หลังพระราชโอรส คือ ร. ๓ ขึ้นครองราชสมบัติ) หากไม่ได้เป็นเจ้า
 เป็นราชนิกุล ก็จะถือว่าเป็น "ราชินิกุล"  แต่เท่าที่สังเกต  ช่วงต้นรัตนโกสินทร์  ราชินิกุล  ก็ถูกจัดเข้าไปรวมใน ราชนิกุล ด้วย

ต่อมา ในรัชกาลที่ ๖ ได้เปลี่ยนพระยศฝ่ายในเป็น สมเด็จพระ แทน กรมพระยา กรมพระ จนมาถึงปัจจุบัน จึงเป็น
สถาปนาแก้พระนามเดิม สมเด็จพระอมรินทรา ฯ สมเด็จพระศรีสุลาลัย ฯ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา ฯ สมเด็จพระเทพศิรินทรา ฯ
สถาปนาใหม่ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา ฯ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา ฯ สมเด็จพระศรีนครินทรา ฯ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ


   สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม "ทองดี")    

อันนี้ คงพิมพ์พลาดไป เพราะเห็นที่อื่นพิมพ์ถูก พระนามเดิมคือ "ทองด้วง" ครับ
บันทึกการเข้า
รามจิตติญาณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ก.พ. 11, 02:55

ขอกราบอภัยสำหรับข้อมูลที่กระผมได้พิมพ์พลาดด้วยขอรับ ด้วยน้ำใสใจจริง
กระผมตาลายมาก ๆ พอทำเสร็จก็เช้าเสียแล้ว คงจะพลาดในตอนขาดสติ ตั้งใจเอาข้อมูลที่พอมี
เรียบเรียงแต่สุดท้ายพลาดขอรับ ขอให้ท่านที่เข้ามาอ่านข้อมูล แก้ตามที่ท่าน Bhanumet ได้แนะนำมาครับ
กระผมขอกราบอภัยในความสะเพร่าไม่รอบครอบ ขอรับ มือใหม่มากๆ
หากท่านเจ้าเรือนไทย สามารถแก้ไขให้ได้ ขอความเมตตาช่วยเข้าแก้ข้อมูลให้ กระผมสักหน่อยขอรับ จักเป็นพระคุณยิ่ง
พระประวัติของท่านเหล่านั้น จะได้ไม่เสียหาย หากมีคนที่เข้ามาแล้วไม่ได้อ่านกระทู้ล่าง ๆ รีบคัดลอกแบบไม่ดูตาม้าตาเรือตามที่ท่าน Bhanumet ชี้แจงมา

ด้วยความเคารพอย่างสูง
รามจิตติญาณ
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง