B
บุคคลทั่วไป
|
Khun Taochompoo ka, I just read your article about เจ้าฟ้ากุ้ง again, and I would like to ask you a question ka. I think from "49 Rachinee Thai,' which I read many years ago, เจ้าฟ้ากุ้ง had love affairs with Jaofah Nim and Jaofah Sangwal. But you only mentions Jaofah Sangwal. What's about Jaofah Nim?
If I remember it incorrectly, I apologize ka.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 16:09
|
|
Oops! mention ka, without "s."
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 16:28
|
|
ในพระราชพงศาวดารกล่าวถึงเจ้าฟ้านิ่มและเจ้าฟ้าสังวาล แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเป็นองค์เดียวกันค่ะ เจดีย์ที่วัดไชยวัฒนารามก็มีอยู่แค่ ๒ องค์ กล่าวกันว่าเป็นของเจ้าฟ้าสังวาลและเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไม่มีเจ้าฟ้านิ่ม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แจ้ง ใบตอง(คนซื่อ)
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 18:26
|
|
ผมอ่านเรื่องทหารเอกพระบัณฑูรย์ ของไม้ เมืองเดิมมีตอนสำคัญอยู่ช่วงหนึ่ง ที่ได้เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับ เจ้าฟ้ากุ้ง เจ้าฟ้าสังวาลย์และเจ้าฟ้านิ่ม...
แต่เหตุไฉนผมจึงได้เอานิยายมาเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลในการตอบเล่า?
เนื่องจากผมได้ทราบว่าก่อนที่ไม้ เมืองเดิมจะเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ สักเรื่อง ต้องค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เพื่อมิให้โครงเรื่อง ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์นั้นผิดเพี้ยนไป บางครั้งก็ยกเนื้อความในพงศาวดารมาใส่เลยทีเดียว
นักเขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์บางคนผูกโครงเรื่องได้อย่างน่าติดตาม แต่ยังขาดความ ระมัดระวังเรื่องคำศัพท์...เช่น ผมเคยเจอคำว่า "ลงแขก" (ที่แปลว่าข่มขืน) ในเรื่อง ท้าวศรีสุดาจันทร์ ผมวางหนังสือเล่มนั้นทันที ไม่อ่านต่อเพราะรู้สึกอ่านแล้วเสียอรรถรส บางคนเขียนนิยายย้อนยุคก่อนสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่มีการอ้างถึงพระสยามเทวาธิราชแล้ว ผมก็วางอีกเหมือนกัน เพราะก่อนหน้านั้น เรายังไม่เคยมีพระสยามเทวาธิราช นั่นแสดงถึงการขาดความเอาใจใส่ที่จะค้นคว้าข้อมูลของผู้เขียน ซึ่งผมถือว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ ที่ด้อยคุณภาพ
แต่สำหรับไม้ เมืองเดิมผมยังไม่เห็นความบกพร่องในการใช้ภาษา หรือแม้กระทั่ง การบิดเบือนประวัติศาสตร์ เพียงแต่ว่า ไม้ เมืองเดิม ใช้บันทึกของใครมาเป็นโครงเรื่อง ในการเขียนเท่านั้น
ดังนั้น การที่ผมนำนิยายของไม้ เมืองเดิมมาอ้างถึง ก็น่าจะเชื่อถือได้ในส่วนหนึ่ง (ผมว่างั้นนะ หากโครงเรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่ไม้ เมืองเดิมเขียนไม่เป็นจริง นั่นก็คงเป็นอักษรานุภาพ /...ขออนุญาตยืมคำคุณ นกข..../ของนิยายที่มีต่อผม)
เอาเป็นว่า เรามาดูกันดีกว่า ไม้ เมืองเดิม เขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องที่คุณบีถามอย่างไร...
" ครั้นถึงในแรมค่ำหนึ่งในเดือน ๙ ปีกุนนั้น มีพระราชโองการรับสั่งให้ผูกกรมพระราชวังบวร แล้วจึงให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนได้ ๒๐ ทีลมจุก กรมหมื่นสุนทรเทพก็ตรัสว่า จุกหนักขอพระราช ทานแก้เสีย ครั้นวันแรม ๒ ค่ำ รับสั่งให้เฆี่ยนอีก ๒ ยกเป็น ๖๐ ทีแล้วให้นาบพระบาทด้วย แลให้กระทู้ ต่อพระราชวังบวรว่า อ้ายปิ่นกลาโหมคบหาทำชู้กับเจ้าจอมมารดามิตรเป็นภรรยา ให้เฆี่ยนถึง ๗๐๐ ตาย อยู่กับคา แต่นี่คบหาทำชู้กับสามีภริยาทั้งสองพระองค์ แล้วก็มีพระราชบุตรด้วยสามสี่พระองค์ และ ๗๐๐ นั้น ก็โปรดให้แบ่งออกเป็นสามส่วน จะให้เฆี่ยนแต่ส่วนหนึ่งสองร้อยสามสิบ จะว่าประการใด กรมพระราชวังบวรให้การกราบทูลว่า จักขอรับพระราชอาญาสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเถิด กรมหมื่นเทพพิพิธจึงเอาคำให้การขึ้นกราบบังคมทูลดำรัสถามว่าเฆี่ยนได้เท่าไรแล้ว กรมหมื่นเทพพิพิธ ก็กราบบังคมทูลว่าลงพระอาญาได้ ๖๐ ที แล้วจึงดำรัสสั่งว่า ให้เฆี่ยนยกสามสิบทีไปจนกว่าจะครบสองร้อยสาม แล้วให้เสนาบดีแลลูกขุนพิพากษาโทษว่าจะเป็นประการใด จึงท้าวพระยามุขมนตรีก็พร้อมกันปรึกษาโทษ ต้องด้วยพระราชกำหนดมณเทียรบาล จึงกราบทูลพระกรุณาว่า กรมพระราชวังบวรโทษเป็นมหันต์ถึงประหาร ชีวิตเป็นหลายข้อ จักขอพระราชทานสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามขัตติยราชประเพณี จึงทรงพระกรุณา ตรัสขอชีวิตไว้ แต่ให้นาบพระนลาตถอดเสียออกจากเจ้าเป็นไพร่ และฟ้านิ่มเจ้าฟ้าสังวาลย์นั้น ให้ลงพระ ราชอาญาเฆี่ยนองค์ละยกสามสิบที ให้ถอดลงเป็นไพร่และจำไว้จนกว่าจะสิ้นชีวิต และเจ้าฟ้าสังวาลย์นั้นอยู่ ได้สามวันก็สิ้นพระชนม์ แต่กรมพระราชวังบวรสมเด็จพระมหาอุปราชนั้น ต้องรับพระราชอาญาเฆี่ยนอีกสี่ยก เป็นร้อยแปดสิบทีก็ถึงดับสูญสิ้นพระชนม์ จึงรับสั่งให้เอาศพทั้งสองไปฝังไว้ ณ วัดไชยวัฒนาราช"
จากนิยายที่ผมอ้างมานั้น จะเห็นว่า มีทั้งเจ้าฟ้าสังวาลย์และเจ้าฟ้านิ่ม แต่สิ้นพระชนม์ในช่วงเดียวกัน คือเจ้าฟ้ากุ้ง กับเจ้าฟ้าสังวาลย์ จึงมีเจดีย์อยู่เพียง ๒ องค์ ตามที่คุณเทาชมพูได้กล่าวถึง ในส่วนของเจ้าฟ้านิ่มนั้น ผมสันนิษฐานว่าถูกจำแล้วจะสิ้นพระชนม์ในภายหลัง ในประวัติศาสตร์จึงมิได้กล่าวไว้
ผิดพลาดก็ขออภัยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 19:36
|
|
เรื่องนี้ พูดได้เป็น ๒ ประเด็นค่ะ ๑)การถือพระราชพงศาวดารเป็นบรรทัดฐาน ๒)การตีความพระราชพงศาวดาร หรือไม่ได้ถือพระราชพงศวดารเป็นบรรทัดฐานเสียทั้งหมด ถือไว้บางส่วน
ดิฉันเข้าใจว่า ไม้ เมืองเดิม ยึดข้อแรกเป็นหลักในการเขียนนิยาย ส่วนสมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ทรงใช้ข้อที่ ๒ ค่ะ ทรงเลือกที่จะเชื่อว่าเจ้าฟ้านิ่มคือองค์เดียวกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ แต่เสียดายจริงๆดิฉันยังหาข้อมูลไม่พบว่า ทำไมถึงทรงสันนิษฐานเช่นนั้น
การแต่งนิยายอิงประวัติศาสตร์ของไทย มี ๒ แบบ ๑) แต่งโดยไม่ยึดรายละเอียดความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ เพียงแต่เอาบางส่วนมาเป็นฉากหลังเพื่อให้ได้ " กลิ่นอาย" ของประวัติศาสตร์ เพราะฉะนั้นจะผิดจะเพี้ยนอย่างไรก็ถือว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ประเด็นคือเอารสชาติไว้ก่อน
ตัวอย่างก็คือ "ดาบศักดิ์เหล็กน้ำพี้" ของ "อายัณโฆษ" ซึ่งพระเอกเป็นนายทหารสมัยสมเด็จพระนเรศวร แต่ก็พูดจาอย่างสมัยใหม่ นางเอกเป็นเจ้าหญิงก็ปลอมตัวเป็นชาย ไปไหนมาไหนได้สะดวก แถมเรือนหอพระเอก ยังมีซุ้มประตูเขียนชื่อเจ้าของบ้านเอาไว้ เหมือนบ้านสมัยรัชกาลที่ ๖ นิยมทำกัน
งานหลายชิ้นของหลวงวิจิตรวาทการก็ออกมาในรูปนี้ อย่าง "ครุฑดำ" ซึ่งเป็นขบวนการกู้ชาติสมัยสมเด็จพระนเรศวร
๒) นิยายประวัติศาสตร์ที่พยายามจะเน้นความสมจริงทางรายละเอียด โดยยึดพระราชพงศาวดาร เกร็ดประวัติศาสตร์ เป็นหลัก สี่แผ่นดินก็คือตัวอย่างที่ชัดมากที่สุด อีกเล่มหนึ่งคือ "ฟ้าใหม่" ของศุภร บุนนาค
ถ้าคุณแจ้งอ่านแล้วระคายกับคำว่า " ลงแขก" ก็อ่านข้ามไปเถอะค่ะ เอารสชาติในเรื่องไว้บ้างคงไม่เสียเวลานัก ดิฉันเองก็เคยอ่านนิยายประวัติศาสตร์ เล่าถึงปลายอยุธยา สาวชาวบ้านนุ่งกระโจมอกห่มผ้าขนหนูคลุมไหล่ลงอาบน้ำในคลองมาแล้ว ทั้งที่สมัยนั้น ผ้าขนหนูถือกำเนิดมาในโลกหรือเปล่าก็ยังสงสัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 20:49
|
|
From บทสังวาส: สองสุขสองสังวาส แสนสุดสวาทสองสู่สม สองสนิทนิทรารมณ์ กลมเกลียวชู้สู่สมสอง แย้มยิ้มพริ้มพักตรา สาภิรมสมจิตปอง แสนสนุกสุขสมพอง ในห้องแก้วแพรว พรรณราย Do you think that "สอง" gives a "clue" that he had sex with these two princesses at the same time?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 21:34
|
|
ขอบคุณคุณเทาชมพูครับที่ให้แนวคิด แต่ผมก็ยังอยากที่จะ "เลือกอ่าน" อยู่ดี เพราะว่า เมื่อผมต้องการอ่านนิยายย้อนยุคหรืออิงประวัติศาสตร์แล้ว นั่นแสดงว่าผมย่อม ต้องการอรรถรสอย่างนั้นจริงๆ มันเหมือนกับการไปดูหนังย้อนยุคสักเรื่อง เอาเป็นว่า เรื่องบางระจัน ก็แล้วกัน หากผมเจอนายจัน หนวดเขี้ยว ไว้ผมรองทรง ถือดาบ ฟันขาวแหง ใบหน้าลูกครึ่ง ผมก็คงจะผิดหวังในหนังเรื่องนั้นมาก ถึงหนังเรื่องนั้นจะสนุกเร้าใจ แค่ไหนก็ตามที เพราะนั่นมันไม่ใช่ภาพที่ผมได้จินตนาการไว้ครับ...
ผมอ่านนิยายเพื่อความบันเทิง หากมันไม่บันเทิงเสียแล้วผมก็เลิกอ่าน (เปลี่ยนไปอ่านพวกวิชาการดีกว่า) จริงอยู่ในหนังสือนั้นอาจจะมีส่วนอื่นที่ดีๆอยู่ด้วย แต่ผมก็ทำใจให้ยอมรับไม่ได้ ผมจะไม่เสียเวลา อ่านหนังสือเหล่านี้ เพราะถือว่ายังมีหนังสือดีๆอีกมากมายที่รอให้ผมไปอ่าน เหมือนอย่างเพชรพระอุมา ผมก็อ่านหมดทั้งสามภาค แต่ผมก็เลือกที่จะอ่านซ้ำเฉพาะภาคแรกเท่านั้น เพราะผมคิดว่ารพินทร์ของผม ในภาคสองสามไม่เหมือนเดิมแล้ว...
ความคิดอาจจะคับแคบไปหน่อยครับ แต่รับรองได้ว่าความคิดในด้านอื่นไม่คับแคบ แน่นอน มาเข้าเรื่อง "หญิงสองชายหนึ่ง" กันต่อดีกว่าครับ
คุณบีครับผมว่าในสมัยก่อนนี่คงจะไม่โลดโผนอย่างนั้น หรอก เพราะว่าน่าจะต้องเกรงสิ่งที่มองไม่เห็นบ้าง อย่างน้อยก็เป็นผีตำหนักล่ะเอ้า
แต่เมื่อผมมาอ่านตรง...
"สองสนิทนิทรารมณ์ กลมเกลียวชู้สู่สมสอง"
ผมชักจะคล้อยตามคุณบีแล้วล่ะครับ เพราะว่าบทกวีตรงนี้มันชัดเจนเสียเหลือเกิน สลับคำว่า "สู่สม" เสียหน่อยก็โป๊ะเชะเลย เจ้าฟ้ากุ้งคงจะต้อง "กลมเกลียวชู้สู่สมสอง" บ้างล่ะน่า ถึงบรรยายมาเป็นบทกวีได้ไพเราะได้จับใจนัก
ถึงตรงนี้ผมนึกอยากฟังบทพิศวาสในน้ำของพระอภัยกับนางเงือกบ้างแล้วล่ะครับ ท่านว่าสุนทรภู่คงมีอะไรๆ กับใครในน้ำบ้าง จึงได้บรรยายออกมาจนเห็นภาพกระทั่งความรู้สึกเช่นนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 22:06
|
|
Khun Jang may forget the story of Pra Law ang Puen+Pang. In my opinion, our ancestors many hundreds years ago could have that kind of sexual relationship. From Sipandin, we know about "Lenpuen" and I used to read that in the period of King Rama III, there was a prince (Sorry that I cannot remember his name.), who was punished because he had sexual relationships with actors (or musicians?).
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 22:15
|
|
By the way, I have not read the love scene of Praabai and the (little) mermaid yet. Could you please show me some?
Hae...hae..this topic is kind of "Tid rate" na ka.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 22:16
|
|
ขอนั่งยันยืนยันค่ะ
สองสุขสองสังวาส แสนสุดสวาทสองสู่สม สองสนิทนิทรารมณ์ กลมเกลียวชู้สู่สมสอง แย้มยิ้มพริ้มพักตรา สาภิรมย์สมจิตปอง แสนสนุกสุขสมพอง ในห้องแก้วแพรว พรรณราย
กลมเกลียวชู้สู่สมสอง แปลว่า สองคนนั้นก็สมสู่กันอย่างสมัครสมานเป็นอันดี ถึงมีคำอธิบายต่อมาว่า แย้มยิ้มพริ้มพักตราไงคะ
สองในที่นี้คือชายหนึ่งหญิงหนึ่งค่ะ รวมเป็นสอง เหมือนเราใช้คำว่า "สองต่อสอง" ก็ไม่ใช่สี่คนนะคะ คือหนึ่งต่อหนึ่ง
ว่ากันว่ากาพย์เห่เรื่องกากี เป็นความในพระทัยของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ สะท้อนความรักต้องห้ามของพระองค์ท่าน ในเรื่อง พญาครุฑพานางกากัไปวิมานฉิมพลี ก็คือหนึ่งหญิงต่อหนึ่งชาย ไม่ปรากฏว่าแอบมีนางอะไรอีกคนมาสมทบด้วยบนวิมานฉิมพลีเป็นหนึ่งชายสองหญิง เท่าที่อ่านวรรณคดีภาคกลางมา บมอัศจรรย์ในวรรณคดีจะเป็นการจับคู่กันหนึ่งต่อหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าฝ่ายชายมีภรรยาหลายคน ก็ไปเยือนทีละคนค่ะ (พยายามอธิบายชนิดไม่ให้ติดเรทเลยนะคะ) อ้อ ยกเว้นเรื่องเดียวซึ่งมีบรรยากาศฝ่ายเหนือปะปนอยู่ในการใช้ศัพท์และสำนวน คือลิลิตพระลอ ที่อยู่กันสามคนในห้องเดียว
เรื่องนางเงือกจะไปหามาให้ค่ะ คุณแจ้งนี่ก็ช่างคิดเสียจริงจริ๊ง ถ้าไปสอนวรรณคดีเด็กนักเรียนคงตาสว่างไม่ง่วงหลับแน่ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 22:35
|
|
คุณบีทายแม่นจังเลย ผมยังไม่เคยอ่านเรื่องพระลอเลยครับ แต่เรื่อง "ตามไก่" ก็เคย เจอมาบ้าง "เล่นเพื่อน" เคยอ่านเจอในสี่แผ่นดิน แต่จำไปไม่ได้แล้วว่าใครเล่นกับใคร รู้สึกว่าโครงกระดูกในตู้ที่คุณชายคึกฤทธิ์เขียนก็น่าจะมีการ"เล่นเพื่อน" เหมือนกันครับ ผมลืมนึกถึงเรื่องนี้ไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 22:39
|
|
ผมว่าทางเหนือคงไม่ถือเรื่องนี้มั้งครับคุณเทาชมพู เพราะว่า ตอนหมอชีคแกไปทำธุรกิจที่นั้น แกก็ตั้งฮาเร็ม หาสาวเหนือมาบำเรอความสุขเลย ทีละหลายๆ คนด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 15 ม.ค. 01, 23:49
|
|
คุยไปคุยมากระทู้ทำท่าจะติดเรท ไม่เป็นไรค่ะ อธิบายอย่างวิชาการคงลดเรทลงมาได้บ้าง ในสมัยรัตนโกสินทร์ และก็คงอยุธยาตอนปลายด้วย เพราะสืบสานวัฒนธรรมต่อเชื่อมกัน เพศสัมพันธ์ที่ถือว่าต้องห้าม ผิดปกติ คือรักร่วมเพศ
หญิงกับหญิงเรียกว่าเล่นเพื่อน ใน" โครงกระดูกในตู้" คุณป้าชุ่มของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เล่นเพื่อนกับสตรีชาววัง โดยตัวท่านเป็นชาย(เรียกว่าเป็นทอมรุ่นเก๋า) ก็ถูกสักหน้าประจาน ห้ามเข้าวังอีกต่อไป สตรีชาววังที่เล่นเพื่อน มีอยู่ในเรื่อง "คุณโม่ง" และ "หม่อมเป็ดสวรรค์" ซึ่งก็รู้กันว่าคู่ทอมและดี้ในเรื่องเป็นใคร แต่ก็ไม่พบว่ามีการลงโทษ เป็นเรื่องเอามาหัวเราะถากถางกันเสียมากกว่า เป็นที่รู้กันว่าสมเด็จพระนั่งเกล้าฯไม่โปรดเรื่องการเล่นเพื่อนในวัง ถือว่าเสียหายเท่ากับการคบชู้
ชายกับชายเรียกว่า สวาท หรือเป็นสวาทกัน ไม่พบว่าถูกจำคุกหรือเฆี่ยนตี แต่มีผู้ที่ถูกสำเร็จโทษคือกรมหมื่นรักษรณเรศร์ (หม่อมไกรสร พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑) เพราะเหตุใหญ่มีความผิดต่อความมั่นคงของแผ่นดินด้วย เรื่องที่ท่านไปคบตัวละครผู้ชายเป็นหนึ่งในหลายเหตุ แต่จะเล่นเพื่อนหรือเล่นสวาท ก็เป็นหนึ่งต่อหนึ่งนะคะ ไม่ใช่ ๓ คน สามคนพร้อมหน้ากัน ยังไม่เห็นจะจะในวรรณคดีภาคกลาง ไม่ว่าอิเหนา พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน คิดว่าเราไม่มีขนบนี้นะคะ เพราะถ้ามีเป็นเรื่องปกติ ต้องแต่งตามกันมากกว่าหนึ่งเรื่อง เพราะกวีไทยนิยมแต่งตามขนบอยู่แล้ว
ได้แล้วค่ะ บทพระอภัยมณีกับนางเงือก
อัศจรรย์ครั่นครื้นเป็นคลื่นคลั่ง........เพียงจะพังแผ่นผาสุธาไหว กระฉอกฉาดหาดเหวเป็นเปลวไฟ...พายุใหญ่เขยื้อนโยกกระโชกพัด เมขลาล่อแก้วแววสว่าง...................อสูรขว้างเขวี้ยงขวานประหารหัด พอฟ้าวาบปลาบแปลบแฉลบลัด........เฉวียนฉวัดวงรอบขอบพระเมรุ พลาหกเทวบุตรก็ผุดพุ่ง..................เป็นฝนฟุ้งฟ้าแดงดังแสงเสน สีขรินทร์อิสินธรก็อ่อนเอน...............ยอดระเนนแนบน้ำแทบทำลาย สมพาสเงือกเยือกเย็นเหมือนเล่นน้ำ..ค่อยเฉื่อยฉ่ำชื่นชมด้วยสมหมาย สัมผัสพิงอิงแอบเป็นแยบคาย...........ไม่เคลื่อนคลายคลึงเคล้าเยาวมาลย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 16 ม.ค. 01, 00:28
|
|
ขอบคุณมากครับ บทอัศจรรย์ระหว่างพระอภัยกับนางเงือกนี่ดูน่ากลัวจังเลย ไม่เหมือนบทอัศจรรย์ระหว่างพลายแก้วกับนางสายทอง แถมตอนท้ายก็ยังเอาไปเปรียบกับนางพิมเข้าเสียอีก ..ไหนๆก็ไหนๆแล้วนะครับ..
ตัดตอนมาจาก ขุนช้างขุนแผน ฉบับอ่านใหม่ของคุณชายคึกฤทธิ์
พลางเป่าปัถมังกระทั่งทรวง..................สายทองง่วงงงงวยระรวยนิ่ง ทำตาปริบปรอยม่อยประวิง...................เจ้าพลายอิงเอนทับลงกับเตียง ค่อยขยับจับเขยื้อนแต่น้อยน้อย.............ฝนปรอยฟ้าลั่นสนั่นเปรี้ยง ลมพัดซัดคลื่นสำเภาเอียง.....................ค่อยหลีกเลี่ยงแล่นเลียบตลิ่งมา พายุหนักชักใบได้ครึ่งรอก.....................แต่เกลือกกรอกกลับกลิ้งอยู่หนักหนา ทอดสมอรอท้ายอยู่หลายครา..................เภตราหยุดแล่นเป็นคราวคราว สมพาสพิมดุจริมแม่น้ำตื้น......................ไม่มีคลื่นแต่ระลอกกระฉอกฉาว ปะสายทองดุจต้องพายุว่าว....................พอออกอ่าวก็พอล่มจมลงไป
สังเกตมั้ยครับ พอมีบทอัศจรรย์ทีไร กวีต้องนำไปเปรียบกับพวกพายุหรือไม่ ก็เรือลำน้อยเข้าคลองทุกทีเลย ผมไม่ทราบว่าบทสมพาสสายทองของพลายแก้ว นี้ใครเป็นผู้แต่ง เพราะชัดเจนเห็นภาพดีเหลือเกิน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 16 ม.ค. 01, 00:38
|
|
คุณเทาชมพูครับ หม่อมไกรสรนี่ใช่เจ้านายองค์สุดท้ายที่ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ หรือเปล่า เคยอ่านเจอว่าเมื่อก่อนท่านก็เป็นเจ้ากรมทำหน้าที่สอนเพชรฆาตเกี่ยวกับเทคนิค การสำเร็จโทษเจ้านายโดยไม่ให้ทรมาน ด้วยการทุบท่อนจันทน์ที่คอต่อ...
เลี่ยงออกจากบทอัศจรรย์แล้วนะครับ จะได้ไม่ติดเรทมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|