ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
>
ตู้พระธรรมวัดเซิงหวาย
หน้า: [
1
]
2
3
พิมพ์
อ่าน: 17717
ตู้พระธรรมวัดเซิงหวาย
virain
นิลพัท
ตอบ: 1655
AmonRain
เมื่อ 29 เม.ย. 09, 19:30
ได้มีโอกาสได้เข้าไปถ่ายภาพในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครมา
เลยนำภาพตู้ลายทองหรือลายรดน้ำของวัดเซิงหวายอันโด่งดังมาให้ชม
เผื่อว่าท่านใดสนใจเกี่ยวกับงานศิลปะลายไทย และยังไม่มีภาพถ่ายตู้ลายทองของวัดเชิงหวาย
จะได้มาดาว์นโหลดไปศึกษา เพราะมีคำกล่าวยกย่องมากมายเหลือเกินว่ามีการเขียนผูกลาย
สอดผสานกับภาพธรรมชาติได้งดมงามจับใจไม่เลี่ยนจนเกินไป
ผมลงให้เต็มขนาดภาพที่ถ่ายมา เห็นรายละเอียดดีพอใช้
ภาพด้านหน้าครับ
http://amonrain.multiply.com/photos/hi-res/16/1?xurl=http%3A%2F%2Famonrain.multiply.com%2Fphotos%2Falbum%2F16%231
ภาพด้านข้าง
http://amonrain.multiply.com/photos/hi-res/16/2?xurl=http%3A%2F%2Famonrain.multiply.com%2Fphotos%2Falbum%2F16%232
http://amonrain.multiply.com/photos/hi-res/16/3?xurl=http%3A%2F%2Famonrain.multiply.com%2Fphotos%2Falbum%2F16%233
บันทึกการเข้า
Sompob
อสุรผัด
ตอบ: 9
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อ 01 พ.ค. 09, 14:25
ได้ยินชื่อมานาน เพิ่งได้ชมวันนี้เอง
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
ตอบ: 1655
AmonRain
ความคิดเห็นที่ 2
เมื่อ 15 พ.ย. 09, 22:29
เพราะมีผู้สนใจเมลล์มาขอภาพของตู้ใบนี้เพิ่มเติม จึงขอลงส่วนขยายให้กับผู้สนใจลายสกุลวัดเชิงหวายนี้ครับ
ตู้ใบนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ริมท้องสนามหลวง อยู่ในอาคารด้านหลังโรงเก็บราชรถ
ไปเล็กน้อยครับ
ภาพขยาย
http://amonrain.multiply.com/photos/hi-res/16/4?xurl=http%3A%2F%2Famonrain.multiply.com%2Fphotos%2Falbum%2F16%23photo%3D4
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
ตอบ: 1655
AmonRain
ความคิดเห็นที่ 3
เมื่อ 15 พ.ย. 09, 22:30
ภาพขยาย
http://amonrain.multiply.com/photos/hi-res/16/5?xurl=http%3A%2F%2Famonrain.multiply.com%2Fphotos%2Falbum%2F16%23photo%3D5
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
ตอบ: 1655
AmonRain
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อ 15 พ.ย. 09, 22:31
ภาพขยาย
http://amonrain.multiply.com/photos/hi-res/16/6?xurl=http%3A%2F%2Famonrain.multiply.com%2Fphotos%2Falbum%2F16%23photo%3D6
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
ตอบ: 1655
AmonRain
ความคิดเห็นที่ 5
เมื่อ 15 พ.ย. 09, 22:32
ภาพขยาย
http://amonrain.multiply.com/photos/hi-res/16/7?xurl=http%3A%2F%2Famonrain.multiply.com%2Fphotos%2Falbum%2F16%23photo%3D7
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
ตอบ: 1655
AmonRain
ความคิดเห็นที่ 6
เมื่อ 15 พ.ย. 09, 22:32
ภาพขยาย
http://amonrain.multiply.com/photos/hi-res/16/8?xurl=http%3A%2F%2Famonrain.multiply.com%2Fphotos%2Falbum%2F16%23photo%3D8
บันทึกการเข้า
ฉันรักบางกอก
พาลี
ตอบ: 334
ความคิดเห็นที่ 7
เมื่อ 15 พ.ย. 09, 22:37
ปาดดดดด
ขอยอมรับ ว่าเพิ่งเคยเห็นเหมือนกันคะ
กินข้าวอร่อยไหมจ๊ะน้องชาย
บันทึกการเข้า
กนก นารี กระบี่ คชะ
virain
นิลพัท
ตอบ: 1655
AmonRain
ความคิดเห็นที่ 8
เมื่อ 17 พ.ย. 09, 11:52
พอดีเจอบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม เลยอยากจะเอามาลงไว้เ้พื่อเป็นข้อมูลประกอบ ไว้ในชื่อของ ตู้พระธรรม ตู้ลายทองหรือตู้ลายรดน้ำ สกุลช่างวัดเซิงหวาย
ยอมรับกันว่าเป็นฝีมือครู เป็นเอกในงานประณีตศิลป์ชิ้นนี้ครับ
ต้นไม้แห่งชีวิต ในลายรดน้ำวัดเชิงหวาย
โดย : จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์
งานศิลปกรรมชิ้นหนึ่ง ซึ่งได้รับยกย่องในฐานะ งานช่างชั้นครูชาวสยาม ได้แก่ “ลายรดน้ำตู้พระธรรมวัดเชิงหวาย”
ที่ได้ชื่อนี้เพราะเดิมตู้พระธรรมอยู่ที่วัดเชิงหวาย อยุธยา ต่อมาได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดนางนอง ฝั่งธนบุรี แล้วย้ายไปยังหอพระสมุดวชิรญาณ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
ลายรดน้ำบนตู้พระธรรมวัดเชิงหวาย รังสรรค์ขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าน่าจะช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งเป็นยุคทองของประณีตศิลป์ไทย บานประตูด้านหน้าผูกลวดลายทองบนพื้นรักสีดำ รูปต้นไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขา มีฝูงนก กระรอก และสัตว์น้อยใหญ่อยู่อาศัย ตอนล่างเขียนภาพก้านของพันธุ์พฤกษ์ประกอบลวดลายกระหนก สะบัดปลายคล้ายเปลวเพลิง พร้อมรูปสิงห์ในอิริยาบถที่แตกต่างกัน บางตัวกำลังคาบขบลายดูคล้ายต้นไม้ที่เพิ่งจะงอกงามเป็นต้นอ่อน
ความงามของลายรดน้ำวัดเชิงหวายอยู่ที่การวางจังหวะช่องไฟ เส้นสายอิสระ สอดประสานกับภาพสิงสาราสัตว์ในท่วงท่าต่างๆ ทำให้ภาพดูเคลื่อนไหวงามแปลกตา ได้รับยกย่องในฐานะงานชั้นเลิศของศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และนับเป็นแบบแผนลายเก่าแก่ที่สุดลายหนึ่งในประวัติศาสตร์ เรียกกันว่า “ต้นไม้แห่งพระเจ้า” หรือ “ต้นไม้แห่งชีวิต”
ต้นไม้แห่งชีวิต (The Tree of Life) เป็นคติความเชื่อร่วมกันในหมู่ชนชาติยุคโบราณย้อนไปถึงสมัยอียิปต์และอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ในอียิปต์โบราณต้นไม้แห่งชีวิตคือสัญลักษณ์ของการเกิดและการฟื้นคืนชีพ สำหรับวัฒนธรรมอัสสิเรีย ต้นไม้แห่งชีวิตจะขนาบข้างด้วยเทพเจ้าที่มีปีก 2 องค์ พบมากในภาพประติมากรรมนูนสูง เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาซึ่งยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้แห่งชีวิตของอียิปต์และเมโสโปเตเมียส่งต่อไปยังชนชาติยิวและอาหรับ ปรากฎอยู่ในคติทางศาสนาสำคัญของโลกคือยูดาย คริสต์ และอิสลาม
........................................
ต้นไม้แห่งชีวิตในภาพจิตรกรรมคริสต์ศาสนา ศตวรรษที่ 14
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
ตอบ: 1655
AmonRain
ความคิดเห็นที่ 9
เมื่อ 17 พ.ย. 09, 11:53
ชาวยิวเชื่อว่าต้นไม้แห่งชีวิตหมายถึงต้นอะคาเซีย (Acacia) หรือต้นสีเสียด หรือต้นยางอาหรับ ซึ่งชาวยิวได้นำไม้จากต้นอะคาเซียมาทำหีบบรรจุศิลาพระบัญญัติ 10 ประการของพระเจ้าซึ่งประทานมาให้แก่พระศาสดาโมเซส (Moses-ยิวและคริสต์) หรือมูซา(Musa-อาหรับ) นอกจากนี้ต้นไม้แห่งชีวิตซึ่งล้อมรอบด้วยเปลวรัศมีหรือเพลิงยังเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจแห่งพระเจ้า โดยอิงกับเรื่องราวครั้งที่พระศาสดาโมเซสได้รับบัญญัติจากพระยะโฮวาบนเขาซึ่งพระเจ้าทรงสำแดงพระรัศมีหรือเปลวเพลิงเหนือต้นไม้ ชาวคริสต์ถือว่าต้นไม้แห่งชีวิตคือเครื่องหมายแทนการฟื้นคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้า
ในโลกมุสลิมคติความเชื่อเรื่องต้นไม้แห่งชีวิตมีความซับซ้อน รูปลักษณ์ของต้นไม้ที่เต็มไปด้วยสัตว์น้อยใหญ่อาศัยตามกิ่งก้านและร่มเงา แสดงถึงพลานุภาพแห่งการสร้างสรรค์ของพระเจ้า พระเมตตาที่มีต่อสรรพชีวิตทั้งปวง ต้นไม้แห่งชีวิตได้กลายเป็นลวดลายที่ปรากฎในจิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์ จนถึงลายแพรพรรณและพรมเปอร์เซียอันงดงาม
ทางพุทธศาสนา ต้นไม้ที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่ ศรีมหาโพธิ์ซึ่งเปรียบได้กับต้นไม้แห่งชีวิตของชาวยิว คริสต์ และอิสลาม แต่รูปลักษณ์แบบแผนของต้นไม้แห่งชีวิตที่ปรากฎในลายรดน้ำตู้พระธรรมวัดเชิงหวายใกล้เคียงลวดลายในศิลปะมุสลิมของเปอร์เซียมากกว่า เป็นไปได้ว่าศิลปินสยามอาจเคยพบเห็นภาพต้นไม้แห่งชีวิตจากสิ่งของต่างๆ ของชาวเปอร์เซียที่เข้ามาครั้งสมัยอยุธยา เช่น พรม หนังสือ หรืองานประณีตศิลป์ จึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต้นไม้แห่งชีวิตของมุสลิมจึงไปปรากฎเป็นภาพประกอบตู้พระไตรปิฎกทางพระพุทธศาสนา
แม้หลายคนจะมองว่าต้นไม้แห่งพระเจ้าเป็นเพียงคติความเชื่อเก่าแก่แต่ก็มีรากฐานมาจากการเรียนรู้ถึงความสำคัญของพืชพันธุ์ธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์ อย่างน้อยความเป็นสากลของศรัทธาโบราณคงทำให้ผู้คนยุคปัจจุบันตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติ
เพราะหากปราศจากป่าและต้นไม้แล้วไซร้ ชีวิตก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ต่อไป
.........................................................
(ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Life Style : ศิลปวัฒนธรรม
วันที่ 30 ตุลาคม 2552
ที่มา :
http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=9561
บันทึกการเข้า
somchaisuriya
อสุรผัด
ตอบ: 51
ความคิดเห็นที่ 10
เมื่อ 17 พ.ย. 09, 15:44
แวะมาชมภาพครับ
อ้างถึง
ผมลงให้เต็มขนาดภาพที่ถ่ายมา เห็นรายละเอียดดีพอใช้
ผมตามไปดูภาพเต็ม ใน มตพ. ลองเซฟมาดูได้ขนาด 1200x900 พิกเซล
ถ้าเต็มขนาดที่ถ่ายมา ก็แค่ 1 ล้าน 8 หมื่นพิกเซลเองครับ กล้องไรทำไมเล็กจังครับ?
บันทึกการเข้า
เป็นภารโรงอยู่ที่
www.cameraeyes.net
yutthana
สุครีพ
ตอบ: 1599
สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย
ความคิดเห็นที่ 11
เมื่อ 18 พ.ย. 09, 00:01
เห็นตู้พระธรรมสกุลช่างวัดเซิงหวายแล้วทำให้นึกถึงตอนเรียนศิลปะไทยใหม่ๆอย่าว่าแต่ผมเลยเชื่อว่าทุกคนก็เป็นอย่างผมที่มุ่งที่จะชอบลายสกุลช่างกลุ่มนี้ พอดีมีรูปสกุลช่างนี้ซึ่งเป็นหีบพระธรรมอยู่เลยเอามาแบ่งกันชมครับชมไปพรางๆครับ และขอบคุณทุกๆคนที่นำงานมาลงกันนะครับ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
ตอบ: 1599
สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย
ความคิดเห็นที่ 12
เมื่อ 18 พ.ย. 09, 00:02
ต่อครับ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
ตอบ: 1599
สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย
ความคิดเห็นที่ 13
เมื่อ 18 พ.ย. 09, 00:02
ต่อครับ
บันทึกการเข้า
yutthana
สุครีพ
ตอบ: 1599
สุนทรียภาพแห่งศิลปไทย
ความคิดเห็นที่ 14
เมื่อ 18 พ.ย. 09, 00:03
ต่อครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
2
3
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.038 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...