เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9664 ประวัติ คุณหญิงนิ่ง สุรพันธเสนี
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


 เมื่อ 27 เม.ย. 09, 16:43

วันนี้เปิดหนังสือพิมพ์ เห็นข่าวงานศพ คุณหญิงนิ่ง  สุรพันธเสนี จึงอยากทราบว่าท่านผู้นี้คือใคร ชาตะ มรณะ ประวัติส่วนตัวนะครับ ผู้ใดทราบก็ช่วยตอบด้วยนะครับ.....ขอบคุณมากที่สุดครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 เม.ย. 09, 18:43

คุณหญิงนิ่ง   สุรพันธเสนี   เป็นธิดาของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ(นพ  ไกรฤกษ์)  กับ คุณ ลมุล
เกิดในเดือนมกราคม  พ.ศ. ๒๔๕๒


เรื่องราวของคุณนิ่ง  อ่านมาจาก  หนังสืออนุสรณ์ คุณพูนเพิ่ม  ไกรฤกษ์  ธันวาคม  ๒๕๔๙
เล่มที่หน้าปกเป็นรูปบ้านไกรฤกษ์   บทที่ ๔  คนมรดก  หน้า ๓๐ - ๓๗



ขอย้อนเล่าถึงพี่น้องและญาติของคุณ นิ่ง พอเป็นสังเขป ดังต่อไปนี้
(หนังสืออนุสรณ์  ขรัวยายไข่  ไกรฤกษ์ ๒๔๗๗)

ท่านขรัวยายไข่ เป็นธิดานายอยู่ เจ้ากรมไม้สูงฝ่ายพระราชวังบวร  มารดาชื่อแจ่ม 
สมรสกับขุนท่องสื่อเสมียนตรากรมท่าซ้าย
ตั้งบ้านเรือนอยู่ปากคลองโอ่งอ่าง นอกกำแพงพระนคร   มีบุตรธิดาที่เจริญวัยต่อมา ๗ คน

ธิดาชื่อ ชุ่ม เป็นเจ้าจอมมารดาในรัชชกาลที่ ๕  มีพระเจ้าลูกเธอ ๒ พระองค์ คือ
พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี



บุตรชื่อ นพ  เป็นมหาเสวกเอก พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ   มีบุตรธิดา ๑๗ คน

บุตรคนที่สองคือ นับ  ต่อมาเป็นหลวงไกรฤกษ์ราชเสวี อธิบดีกรมไปรษรีย์โทรเลข
ลูกคนที่ ๗  คือ คุณนิ่ง


ที่พยายามเขียนมาด้วยความระมัดระวัง  เขียนตามความในเอกสารอ้างอิงทุกประการ   

หวังว่าคงชอบเพราะเป็นเรื่องเก่าของบุคคลในประวัติศาสตร์ และ สาแหรกของสกุลขุนนาง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 เม.ย. 09, 19:32

เจ้าจอมมารดาชุ่มได้เลี้ยงเด็กหญิงชายไว้หลายคน    ส่วนใหญ่จะเป็นหลาน ๆ ในตระกูลไกรฤกษ์
บางคนโชคดีได้เฝ้าแหนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิด
เช่น ด.ช. นับ   สามารถเข้าเฝ้าฯได้สมำ่เสมอ เพราะพระพุทธเจ้าหลวงทรงคุ้นเคย



"ค่ำวันหนึ่งในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๒  ขณะที่ทรงพระสำราญอยู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานนั้น   ทรงได้ยินเสียงเด็กผู้หญิงร้องไห้ด้วยเสียงอันดัง
จึงรับสั่งถามขึ้นว่า  "ลูกใคร  ร้องจัง"

ด.ช. นับ ไกรฤกษ์  จึงอุ้มน้องสาวอายุ ๑๑ เดือนเข้าสะเอวแล้วนำขึ้นเฝ้าถวายตัว

เมื่อทรงทราบว่าเป็นหลานสาวของเจ้าจอมมารดาชุ่มจึงทรงรับมาไว้ที่พระเพลาแล้วรับสั่งว่า  "นิ่ง"

เด็กน้อยผู้นั้นก็หยุดร้องไห้ในทันทีเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก
เป็นเหตุให้พระราชทานนามหลานสาวคนใหม่ของเจ้าจอมมารดาชุ่มผู้นี้ว่า  "นิ่ง"


"เป็นบุญของคุณนิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระพุทธเจ้าหลวงเมื่ออายุเพียง๑๑ เดือน
ถึงแม้จะจำเหตุการณ์ในครั้งนั้นไม่ได้   
แต่จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่ได้ทำให้เธอภาคภูมิใจเป็นที่สุดว่าได้เคยนั่งบนพระเพลาพระพุทธเจ้าหลวงมาแล้วครั้งหนึ่งในชีวิต"


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 เม.ย. 09, 19:47

คัดลอก "คนมรดก"

เมื่อคุณนิ่งอายุได้ ๑ ขวบกับ ๙  พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคต

อีกแปดเดือนต่อมา  เจ้าจอมมารดาชุ่มถึงแก่อนิจกรรม



คุณนิ่งจึงกลายเป็นคนมรดก  ตกทอดมาถึงพระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้าสุจิตราภรณี(เสด็จพระองค์เล็ก)
คุณนิ่งได้เข้าโรงเรียนประจำ ณ โรงเรียนราชินี  ได้รับพระราชทานเงินค่าขนมหนึ่งสลึงทุกวันจันทร์เมื่อเข้าเฝ้าทูลลากลับเข้าโรงเรียน

เสด็จของคุณนิ่งสิ้นพระชนม์ ในเดือน ตุลาคม ๒๔๖๑ด้วยโรคอินฟลูเอนซ่า  หมอประจำพระองค์คือหมอสมิท

เสด็จพระองค์ใหญ่ทรงรับอุปถัมภ์ข้าหลวงของพระขนิษฐาต่อมา


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 เม.ย. 09, 19:55

พระยาสุรพันธเสนี(อิ้น  บุญนาค)สมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ผู้เป็นหม้ายได้มารู้จักกับเธอผ่านทางเจ้าจอมมารดาอาบ
ผู้มีเรือนของตนเองอยู่ที่สวนสุนันทา  แต่ได้ย้ายมาประจำที่ตำหนักของเสด็จพระองค์อาทร

เจ้าคุณสุรพันธ์ เคยมีครอบครัวมาแล้วและมีบุตรธิดาถึง ๕ คน  แต่คุณหญิงเจียมได้เสียชีวิตไปนานแล้ว
เจ้าคุณได้กราบทูลเรื่องราวต่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต  เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

ทูลกระหม่อมชายได้ทรงมีพระอักษรเพื่อขอประทานคุณนิ่งต่อเสด็จพระองค์อาทรด้วยถ้อยคำที่งดงาม
เสด็จฯก็ทรงพระอักษรตอบว่า  ยินดีถวายสาว "นิ่ง" ให้แก่พระยาสุรพันธ์ฯ

เสด็จได้ประทานเสื้อผ้าอาภรณ์ เครื่องเพชรเครื่องประดับพร้อมข้าวของเครื่องใช้ให้คุณนิ่งติดตัวไปมากมายหลายหีบ

รับสั่งว่า  "ต้องให้สมหน้าสมตากับที่ฉันได้เลี้ยงดูเธอมา"
คุณนิ่งเป็นพระญาติที่ได้แต่งงานไปอย่างหรูหราและได้รับพระราชทานสิ่งของจากเสด็จพระองค์อาทรฯ มากที่สุด

งานแต่งงานจัดขึ้นอย่างใหญ่โตที่วังบางขุนพรหม
เจ้าสาวกลับเข้ามานอนค้างในวังสวนสุนันทาเป็นครั้งสุดท้าย


เสด็จพระองค์อาทีทรงตื่นบรรทมแต่เช้าเพื่อให้คุณนิ่งเข้าเฝ้าทูลลา
เจ้าคุณนำรถม้านำรถยนตร์มาคอยที่หน้าประตูวังตั้งแต่มืดเพื่อขึ้นรถไฟเดินทางไปยังจังหวัดราชบุรีทันที
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 เม.ย. 09, 20:04

คุณหญิงนิ่ง มีบุตรธิดา ดังต่อไปนี้
(สาแหรก  สกุลบุนนาค)
อรรณพ
ยรรยง
นิตย์ศรี  แต่งงานกับ กฤตย์  ไวทยานุวัติ
นิวัตื  แต่งกับคุณ อรทิพย์  เกตุกุล
อนงค์ทิพย์  แต่งกับ  ประจักษ  รัตนภักดี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 เม.ย. 09, 20:37

เรื่องประทานเข้าของเครื่องใช้ให้คุณนิ่งนี้  ได้อ่านพบมาในเอกสารอื่น ๆ นานแล้ว
มาพบการยืนยันในบท การเปลี่ยนแปลงการปกครอง  หนังสืออนุสรณ์ นายพูนเพิ่ม  ไกรฤกษ์
ว่านอกจากเสื้อผ้าอาภรณ์ทั้งผ้่าไหมและผ้ายกหลายพับ
ได้ประทานเครื่องนากทั้งชุดเพื่อไว้ใช้รับเสด็จเจ้านายที่จะแวะมาที่จวน
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 เม.ย. 09, 20:48

สรุปคือ
คุณหญิงนิ่ง  สุรพันธเสนี สกุลเดิม ไกรฤกษ์ เกิดเมื่อเดือนมกราคม 2452 ในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 เป็นบุตรีของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพไกรฤกษ์**2417-2501...84 ปี)
   สมรสกับพันเอกพระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค**2427-2515...88 ปี) มีบุตร-ธิดา ดังนี้
    ได้แก่ อรณพ
             ยรรยง
             นิวัติ
             นิตย์ศรี เป็นภรรยากฤตย์ ไวทยานุวัติ
             อนงค์ทิพย์ เป็นภรรยาประจักษ์ รัตนภักดี
คุณหญิงนิ่ง  สุรพันธเสนี ถึงแก่อนิจกรรม สิริอายุ 100 ปี
......................
ขอบคุณมากนะครับที่ให้ข้อมูล
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 เม.ย. 09, 21:08

ขรัวยายไข่  ไกรฤกษ์ คุณย่าของท่านก็อายุ ๙๕  นะคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 เม.ย. 09, 21:25

เมื่อมีเอกสารหรือหนังสือ  ก็ยินดีตอบคำถามเสมอค่ะ
และจะใส่อ้างอิง จนกระทั่งเลขที่หน้าเพื่อให้ท่านที่เข้ามาอ่านนำไปใช้ประโยชน์ได้

เอกสารบางอย่างก็ต้องพิจารณาตรวจสอบกลับไปกลับมา  และสอบถามเพื่อน ๆ


ดิฉันอ่านหนังสือเพื่อความสนุกสนานเป็นหลัก   เกร็ดประวัติอันยิ่งใหญ่ของแต่ละท่านทำให้สามารถโยงเรื่องราวกับตอนอื่นๆของประวัติศาสตร์ได้แม่น
อีกหน่อยก็อยากจะเล่น  สาแหรก บ้าง
ตอบได้เท่าที่มีเอกสารค่ะ

เมื่อ คุณ ritti018 มีคำถามคราวต่อไป   ขอตอบเป็น ประวัติย่อเลยนะคะ 
บันทึกการเข้า
Sompob
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 เม.ย. 09, 09:28

เมื่อ คุณ ritti018 มีคำถามคราวต่อไป   ขอตอบเป็น ประวัติย่อเลยนะคะ 


ขอบคุณคุณวันดีมากครับ

เเต่แนะนำคุณวันดีว่าอย่าไปตอบคำถามคุณ ritti018 ก็ดีครับ
มีหรืออุตส่าห์นำข้อมูลที่มีสีสรรค์มาให้
กลับตัดบท และสรุปย่อคำตอบของคุณวันดีซะอีก
ราวกับรำคาญเกร็ดที่นำเสนอเต็มที
พิลึก!
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 เม.ย. 09, 11:37

ขอขอบคุณ คุณwandee มากนะครับ ที่อุตส่าห์ หาข้อมูลมาให้ เพราะผมชอบเรื่องคนเก่าๆแก่ๆขุนนาง ประวัติบุคคลในราชสำนักมากๆเลยนะครับ ก่อนอื่นก็ต้องกราบขออภัย ที่ตัดเอาบางส่วนมาสรุป เพราะผมคิดว่าบางท่านไม่ได้ใส่ใจอะไรมากนักเพียงแค่เข้ามาอ่าน แล้วผ่านไป เลยจะเอาแค่ว่าเขาคนนั้นคือใคร เกิด ครอบครัว ตาย สั้นๆ ส่วนรายละเอียดลึกๆนั้น เมื่อคุณ wandee ได้บรรยายมามากแล้ว ผมจะยกมาซ้ำทั้งหมดก็เป็นการไม่สมควร ซึ่งคงไม่เป็นการตัดหน้าหรือเสียมารยาทจนเกินไปนะครับที่จะยกมาบางส่วน เพียงเพื่อต้องการสรุป เหมือนเวลาเข้ามาดูอนุสรณ์งานศพในเวปของสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยต่างๆก็บอกเพียงแค่ ชื่อเรื่อง ชื่อบุคคล แล้วก็ปีที่เกิดและตาย แต่อย่างไรก็ดีก็ต้องขอขอบคุณ คุณ Sompob มากนะครับที่เตือนให้เห็นถึงมารยาทที่ดี คราวต่อไปถ้าจะทำสิ่งใด ผมคงต้องขออนุญาตจากเจ้าของข้อมูลให้มากกว่านี้ครับ....ว่าแต่ว่า คุณwandee มีเรื่องของบุคคลในราชสำนัก หรือประวัติศาสตร์แนวๆนี้อีกมั้ยครับ ผมชอบมากเลย.....ขอบขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 เม.ย. 09, 12:52

ขอบคุณคุณสมภพที่แสดงความคิดเห็นนะคะ
จะพยายามหาเอกสารที่คุณสนใจมาลงเพิ่ม
ขอเสนอแต่ฉบับที่ยังพอมีหมุนเวียนตามตลาดหนังสือ


คุณ rittti018คะ  ดิฉันชอบสนทนาเรื่องเก่าๆ เพื่อชวนให้ไปหาหนังสืออ่านกันต่อไป
นึกนิยมความตั้งใจและสนใจของคุณ
ถ้าคุณจะเก็บข้อมุลเป็นแบบประวัติย่อ  ก็เป็นการง่ายที่จะตอบด้วยซ้ำ
โปรดอย่าคิดให้มากเรื่องไป
เชิญเข้ามาพูดคุยกันให้สนุก

ดิฉันมาตอบคำถามในที่นี้ก็เพียงอยากได้คำแนะนำของอาจารย์เทาชมพูและท่านอื่น ๆ
ข้อสังเกตของอาจารย์มีประโยชน์กับดิฉันมาก  ทำให้ระมัดระวังในการอ่าน
 
คนที่จะสรุปการเขียนได้นั้น  ตามความเข้าใจของดิฉัน  ต้องอ่านได้แม่นยำมากและต้องอ่านมามากพอ
ดิฉันเองไม่สามารถคิดแทนท่านผู้เข้ามาอ่านได้ว่าท่านจะอ่านแบบผ่าน  หรือสนใจรายละเอียด

รายการหนังสืออนุสรณ์ของสถาบันต่างๆนั้น  ดิฉันเคยเห็นมาแทบทั้งหมดแล้วเพราะมีเพื่อนที่ทำวิจัยในเรื่องนี้ ๓ คน
และมีเพื่อนรักอีกหนึ่งคนที่มีโกดังหนังสืออนุสรณ์




สกุลไกรฤกษ์ เป็นสกุลมหาศาล  สมาชิกในสกุลเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย
ม.ร.ว. เบญจาภา  จักรพันธ์  ไกรฤกษ์เขียนใน แลวังหลังตำหนัก  อย่างน่าอ่านเป็นที่สุด
เรื่องนายเริกที่เป็นขุนท่องสื่ออักษรในกรมท่าซ้าย  ที่คุณหญิงเขียนไว้ในคำนำ หน้าสาม ก็มีเสน่ห์ทุกบันทัด
เริ่มตั้งแต่จีนแซ่หลิม ไปมาค้าขายกับประเทศสยามตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 


การบรรยายเรื่องคุณนิ่งแต่งงานและออกจากวังละม้ายกับเรื่องของ แม่พลอยมาก
การที่ ด.ญ. นิ่งได้นั่งบนพระเพลาของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ก็สำคัญพอ ๆ กับที่ ม.ร.ว คึกฤทธิ ขึ้นไปแผลงฤทธิอยู่บนพระเพลาของพระพันปี

เรื่องคุณหญิงนิ่งนั้น สำหรับดิฉัน สนใจมาเป็นเวลานานแล้ว เพราะท่านเป็นมารดาเลี้ยงของคุณอ้อม จรรยงค์
บันทึกการเข้า
Sompob
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 เม.ย. 09, 13:44

ส่วนรายละเอียดลึกๆนั้น เมื่อคุณ wandee ได้บรรยายมามากแล้ว ผมจะยกมาซ้ำทั้งหมดก็เป็นการไม่สมควร ซึ่งคงไม่เป็นการตัดหน้าหรือเสียมารยาทจนเกินไปนะครับที่จะยกมาบางส่วน เพียงเพื่อต้องการสรุป เหมือนเวลาเข้ามาดูอนุสรณ์งานศพในเวปของสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยต่างๆก็บอกเพียงแค่ ชื่อเรื่อง ชื่อบุคคล แล้วก็ปีที่เกิดและตาย แต่อย่างไรก็ดีก็ต้องขอขอบคุณ คุณ Sompob มากนะครับที่เตือนให้เห็นถึงมารยาทที่ดี

็ไม่เป็นไรครับ มิสาหัสสากรรจ์ อะไรพอจะบอกกล่าวได้ก็บอกไว้

ผมเห็นว่าในเมื่อคุณ wandee ได้บรรยายมามากแล้ว ตามจังหวะจังโคนของการเล่าเรื่อง
คุณก็ไม่มีเหตุที่จะยกมาซ้ำ หรือไปสรุป ชื่อเรื่อง ชื่อบุคคล ปีที่เกิดและตาย
เพราะข้อมูลนั้นทนโท่อยู่

การสรุปพึงทำในกรณีเดียว: เมื่อคนเล่าเล่าสับสน ยอกย้อน วนเวียน น้ำท่วมทุ่ง
 
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 เม.ย. 09, 14:37

ขอขอบคุณ คุณ Sompob และคุณ Wandee มากๆเลยครับ....ผมเคยไปอ่นหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณพูนเพิ่ม ถ้าจำไม่ผิดนะครับ แต่รายละเอียอผมจำไม่ได้แล้ว ถ้ามีเวลาจะไปหาอ่านบ้าง เท่าที่จำได้ คุณพูนเพิ่ม สมรสกับท่านผู้หญิงกุณฑี  ไกรฤกษ์ แล้วมีลูก6 คนได้มั้ง ถึงแกอนิจกรรมเมื่อ 2545 อายุประมาณ 80 ปี ประวัติท่านน่าสนใจมากครับ ......ออนึกได้ว่าไปอ่านเพิ่มจากนังสือหลานของท่านนะครับ คุณทิพนิภา  ไกรฤกษ์ หลานท่านที่เป็นมะเร็งนะครับ.................
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 20 คำสั่ง