virain
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 07 เม.ย. 09, 18:36
|
|
สีวิกาแบบอยุธยา ภาพนี้เห็นแล้วนึกขึ้นได้เลยถ่ายมาให้ชมครับเพราะเคยเห็นข้อมูลเกียวกับภาพนี้ในหนังสือ สกุลช่างนนทบุรี ของน ณ ปากน้ำ ว่าลักษณะของสีวิกาในสมัยอยุธยาแบบภาพนี้มีมุขประเจิดยื่นออกมาอีกชั้น สันของหลังคาประดับบราลีเล็กๆ ด้านล่างติดกระจังปฏิญาณโดยตลอด ประมาณนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 07 เม.ย. 09, 18:49
|
|
ภาพเขียนเรือนยอดแบบอยุธยา ภาพนี้เห็นเป็นสองยอดทับกันอยู่ ผมไม่ทราบว่าเรือนยอดที่ติดถัดรองลงมามีชื่อเรียกพิเศษหรือเปล่า ต้องขออภัยด้วยว่าต้องวานผู้รู้มาตอบอีกที ลักษณะของเรือนยอดใหญ่นั้นเขียนเป็นมุขยื่นออกมามีบราลรเล็กๆไม่ใช่บันแถลงแบบเรือนยอดทั่วๆไป แต่ยอดรองนั้นเป็นบันแถลงปกติ ด้านล่างของภาพเห็นลักษณะการเขียนผ้าม่านที่เห็นการแขวนกับการพันเก็บ ไม่ได้เป็นแบบซ่อนไว้ตามต้นเสา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 07 เม.ย. 09, 18:52
|
|
อันนี้ต้องขอถามนะครับเพราะไม่ทราบจริงๆว่าสิ่งที่วางอยู่กลางปราสาทคืออะไร ผนังฝั่งนี้เขียนเรื่องมโหสถชาดกครับ เผื่อมีใครอ่านผ่านมาช่วยตอบด้วยนะครับ  ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 07 เม.ย. 09, 19:02
|
|
กองทัพบุกเมืองมิถิลาจากมโหสถชาดก ภาพนี้เห็นแล้วรู้สึกมีคุณค่ามากในแง่ประวัติศาสตร์ เพราะการแต่งกายของกษัตริย์ที่นั่งบนหลังช้างนั้นดูจะเป็นแบบของกษัตริย์สมัยก่อนจริงๆ ไม่ได้เป็นแบบชุดโขนหรือห้อยสังวาลย์ แต่ถ้ามีภาพแบบใส่เสื้อเกราะแบบในยุคพระนเรศวร ซึ่งก็น่าจะเคยมีบ้างที่อยุธยาบนฝาผนังวัดที่ถูกเผาทำลายไป ใครคิดเหมือนผมบ้าง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 07 เม.ย. 09, 23:42
|
|
อยากลงรูปใหญ่ๆลงไปในกระทู้แต่ลงไม่ได้ ไม่เป็นเลย,,, เพราะภาพเขียนที่ถ่ายมาสภาพจริงค่อนข้างเสื่อมโทรมมาก เห็นไม่ค่อยชัดแล้วภาพที่ลงยังเล็กนิดเดียว คนที่เข้ามาดูอาจเซ็งเพราะไม่เห็นรายละเอียด ........  ภาพเหล่านี้คงจะเสื่อมจากครั้งที่ อ.ศิลป์ พีระศรีไปดูอยู่มากมาย แต่คาดว่ากรมศิลปคงคัดลอกหรือถ่ายภาพไว้หมดแล้ว ผมก็อยากไปหาชมภาพที่เขาคัดลอกไว้เหมือนกัน ไม่รู้ว่าจะได้ดูหรือเปล่าข้อมูลที่ผมลงไปนั้นไม่แน่ใจว่าจะถูกต้องตรงใจหรือเปล่า ก็ไม่แน่ว่าอาจมีผิดพลาดอยู่มากมาย เพราะยังไม่ได้เจนจัดเท่าไร หวังแต่แค่อยากจะเผยแพร่งานเหล่านี้ให้คนไทยได้รู้จักกันกว้างๆ คิดแล้วก็น้อยใจมากเพราะภาพเขียนโบราณในเมืองไทยทุวันนี้ มีให้ชมอยู่บ้างสภาพก็ย่ำแย่เหลือเกิน เห็นภาพจิตรกรรมบนฝาผนังอันลือเลื่องในวังวาติกันของไมเคิลแองเจลโล่แล้ว ว่าของเขาสมบูรณ์ดีอยู่มากแทบทุกส่วน ถ้าคนไทยสนใจสมบัติของชาติในแง่อนุรักษ์มากกว่านี้คงดี ทุกวันนี้อะไรๆก็เป็น เปลือกนอกสวยหรูแต่ก็ฉาบฉวย พูดไม่ออกบบอกไม่ถูก ท่านที่ได้พบเห็นได้สัมผัสก็คงเข้าใจดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นางมารน้อย
พาลี
   
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 08 เม.ย. 09, 20:44
|
|
ขอบคุณนะคะที่นำมาให้ชมค่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 08 เม.ย. 09, 22:51
|
|
อันนี้เป็นภาพเขียนสมัยอยุธยาเช่นกัน ถ่ายมาจากวัดช่องนนทรี ยานาวา มีข้อสันนิฐานว่าเขียนสมัยต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ทำให้ภาพพระเจ้าอังคติจากเรื่องพระนารทชาดกภาพนี้ถูกมองว่าเป็นสมเด็จพระนารายณ์ไปเลย อันนี้คิดเองนะครับ ภาพเขียนที่นี่ทำให้เห็นภาพในสมัยอยุธยาได้ชัดเจน จากลักษณะการแต่กาย เครื่องสูง สิ่งของต่างๆคล้ายๆว่าใกล้เคียงกับสภาพอยุธยาจริงๆ และสภาพก็สมบูรณ์มากทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 08 เม.ย. 09, 22:53
|
|
ลักษณะการเขียนภาพต้นไม้ใบหญ้าของที่นี่ดูต่างไปจากที่วัดชมพูเวกถ้าลองสังเกตดู เพราะมีข้อสันนิฐานว่าภาพเขียนที่วัดชมภูเวกได้ถูกซ่อมไปแล้วบ้างอาจเป็นช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับที่นี่เป็นแบบอยุธยาแท้ๆ ภาพนี้ท่าเดินของผู้คน ช้าง ม้า ดูเป็นจังหวะ ที่ปลายงวงช้างมีภาพกระต่ายกระโดดมีชีวิตชีวามาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 08 เม.ย. 09, 22:54
|
|
ภาพนี้เป็นอีกภาพหนึ่งที่สวยงาม เพราะการจัดวางภาพที่ทำให้พระนารทพรหมดูสง่างาม มีภาพนกยูงมาทำให้ดูล่องลอยแบบว่าเหาะมา 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 08 เม.ย. 09, 22:55
|
|
รูปราชรถเสี่ยงทายจากเรื่องพระมหาชนก เป็นรูปแบบราชรถของอยุธยาไม่มีคันทวยค้ำเรือนยอด เคยเห็นลักษณะของบุษบกอย่างนี้เป็นภาพถ่ายของธรรมาสน์ยอดสมัยพระนารายณ์ที่ลพบุรี จากหนังสือ Arts and culture of Thailand การจัดองค์ประกอบภาพนี้ไม่คำนึงถึงความเป็นจริงเลย จะเน้นให้จุดสำคัญเด่นขึ้นมาจริงจังทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
virain
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 08 เม.ย. 09, 23:23
|
|
ภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาที่ผมลงไว้ทั้งหมดนั้น ถ้าเล็กเกินไปดูไม่ชัดอย่างไรก็ขอให้ไปโหลดที่ http://amonrain.multiply.com/ นะครับย้ำอีกที เพราะอยากเป็นอีกแรงน้อยๆต่อชีวิตให้กับภาพเขียนนี้ ผมมีโอกาสได้คุยกับ คุณจารุวรรณ เจ้าหน้าที่ที่ทำการบูรณะภาพเขียนตามหลักวิชาการของกรมศิลปากรที่วัดบางยี่ขันเขาบอกว่าคนที่จะสนใจงานเหล่านี้ทุกวันนี้มีน้อยเหลือเกิน จะทำงานซ่อมแซมพวกนี้ลำบาก เพราะถูกติเตียนว่าซ่อมไปแล้วก็เห็นเก่าๆพังๆอยู่แบบเดิม เพราะคนที่ติเตียนไม่ได้เข้าใจว่างานเหล่านี้เป็นงานของครูช่างมาแต่เดิม ค นรุ่นหลังจะไปเขียนทับทั้งหมดก็ใช่ที่ และอีกร้อยแปดปัญหากดดันที่ต้องใช้ความอดทนในการทำงาน และไหนการทำลายจากสภาพแวดล้อมภายนอก การเทปูนทั่วบริเวณหรือการฉาบผิวผนังด้านนอกใหม่ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการทำลายงานจิตรกรรมทั้งนั้น และยังไม่รวมผลกระทบด้านองค์ประกอบโดยรวม การจัดวางสิ่งปลูกสร้างในวัดตามหลักของคนสมัยก่อนนั้นอาคารต่างๆต้องจัดวางอย่างถูกต้องกลมกลืนมีแบบแผน สมัยนี้อะไรเก่าก็รื้อถอนแล้วสร้างใหม่จนเสียหมดองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมเดิม งานศิลปะดั้งเดิมนั้นสร้างด้วยช่างที่ตั้งใจบรรจงด้วยถวายเป็นพุทธบูชาฝากผลงานไว้ไห้ได้ชื่นชม 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
offzaa
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 13 มี.ค. 10, 01:50
|
|
สวยมากมาย...จิตรกรรมไทยสมัยอยุธยาดูแล้วเบิกบานห่างไกลจากศิลปะของรัตนะโขเชียว (ต่อไปวันหน้าเราคงจะเขียนได้แบบนี้บ้าง หุหุ...ผมกำลังเรียนช่างเขียนคับ.. 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 14 มี.ค. 10, 09:08
|
|
โชคดีที่ได้ดู
ชอบภาพใน คคห ๒๑ มาก มีชีวิตจริง ๆ
ช้างท่าทางดุ ท้ายช้างที่เชิญพระแสงสงบเสงี่ยมงาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
yuttasin
อสุรผัด

ตอบ: 24
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 11 พ.ค. 10, 21:24
|
|
ไม่รู้ว่าถึงตอนนี้ถ้าถ่ายได้จริง สภาพของภาพจะเป็นอย่างไร เลยเอาภาพจากหนังสือสมัย 2530 (เกิดพอดี) มาลงดู  เเต่สวยนะครับ?หนุมานดึงต้นซากุระรึเปล่าครับเน้ย อิอิ เเต่ก็เสียดายภาพศึกพรหมมาสตร์ (รู้สึกว่าอาจารย์จักรพันธ์ก็เอาไปเป็นต้นเเบบเขียนงานเขาด้วยใช่ไหมครับ) ถ้าพี่น้องหรือใครๆมี ก็ ขอแบ่งกันเป็นวิทยาทานหน่อยนะครับบบบ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|