เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 61813 จิตรกรรมอยุธยา บนฝาผนังที่ลางเลือน!!!
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


 เมื่อ 04 เม.ย. 09, 22:29

สวัสดีครับ (เพิ่งโพสใหม่ฝากตัวด้วยครับ)

 ที่ผ่านมาได้อ่านข้อความแสดงความคิดเห็นของผู้รู้ทั้งหลาย  ได้รับความรู้มากมาย
แต่ละคนก็มีแนวคิดที่กว้างออกไป เป็นประเด็นที่น่าสนใจมากครับ
เลยอยากจะมาขอข้อมูลเรื่องจิตรกรรมฝาผนังในสมัยอยุธยาดูบ้าง

ตอนนี้ภาพเขียนเหล่านี้ค่อนข้างเหลือให้เห็นอยู่ไม่มาก  เพราะส่วนใหญ่ถูกทำลายทั้งด้วยความชื้นและสภาพวะทางธรรมชาติและก็ฝีมือคน
ไม่รู้ว่าในเหมือนกันว่าในเมืองไทยจะมีภาพเขียนจิตรกรรมผาผนังสมัยอยุธยาเหลืออยู่กี่ที่  เท่าที่ผมรู้มาก็
วัดใหญ่อินทารามอยู่ในพระวิหารรู้มาว่าทรุดโทรมมาก  ตอนผมไปเคยเข้าไปแต่ในพระอุโบสถ  ขออนุญาติลำบากเลยไม่มีโอกาสได้ชมในพระวิหาร
แถมพระวิหารเห็นแล้วร้อง  เพราะมีการทำห้องส้วมไว้แบบว่าผนังห้องส้วมคือผนังด้านหลังพระวิหารเลย  อย่าลืมไปดูบานหน้าต่างที่ด้านหน้า
วัดปราสาท นนทบุรี
วัดบางขนุน นนทบุรี
วัดชมภูเวก นนทบุรี ได้ไปมาหลายครั้งแล้วที่นี่น่าช่นชมมากมาย ทางวัดก็เต็มใจให้เข้าไปด้วย
วัดช่องนนทรี ยานาวา วัดนี้มีสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาที่น่าสนใจ  มีภาพเขียนที่น่าสนใจมาก
วัดเกาะแก้ว เพชรบุรี ไปชมมาแล้วแต่มีปัญหาเรื่องกล้องถ่ายภาพ น่าเสียดายมาก
วัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี ไปชมมาแล้วแต่มีปัญหาเรื่องกล้องถ่ายภาพเช่นกัน
วัดเชิงท่า อยุธยา
วัดสุวรรณาราม อยุธยา
วัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา
วัดเขียน อ่างทอง

ไม่ทราบว่ามีที่ไหนอีก หรือใครมีความรู้เรื่องภาพเขียนก็เข้ามาชี้แจงด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 เม.ย. 09, 22:33

จิตรกรรมฝาผนังวัดชมภูเวกครับ  เชื่อว่าหลายท่านอาจเคยได้เข้าไปชมภาพเขียนในพระอุโบสถหลังเก่า
เพราะมีภาพพระแม่ธรณีที่ลือนามอยู่  แต่ก็ขอเอาภาพมาลงไว้หน่อย


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 เม.ย. 09, 22:41

งานจิตรกรรมผาผนังที่วัดนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานของสกุลช่างเมืองนนท์ ใครพอจะอธิบายได้บ้างครับว่ามีลักษณะโดเด่นยังไง
ผมก็พอดูออกนะครับ  แต่ถ้าจะให้บอกว่าเป็นสกุลช่างไหนหรือระบุยุคให้แน่นอนก็แย่เหมือนกัน

โดยส่วนตัวผมชอบภาพเขียนสมัยอยุธยามาก  เพราะทุกอย่างจะไม่เป็นแบบนาฏลักษณ์ซะทีเดียว
ยังแฝงความหนักแน่นเฉียบขาดไว้แบบเป็นธรรมชาติ  แต่หากเทียบกับงานยุครัตนโกสินทร์แล้วก็ต่างไป
เพราะสวยในอีกลักษณะ 

ภาพนี้เป็นภาพตอนโปรยทานในพระนารทพรหมชาดก  เห็นความวุ่นวายดูแล้วเป็นธรรมชาติ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 เม.ย. 09, 23:01

อันนี้เป็นภาพนรกจากพระเนมิราชชาดก  ภาพนี้ให้ความรู้สึกน่าหดหู่มากครับ
แต่ก็มีปลีกย่อยให้สังเกตคือภาพผู้ชายที่เอื้อมมือไปจับหน้าอก หญิงที่ร่างกายถูกหนามทิ่มแทงเลือดท่วมตัวเลย
ไม่รู้ว่าต้องการสื่อถึงโทษของการผิดลูกเมียผู้อื่น  หรือว่าให้เห็นถึงอารมณ์สนุกของศิลปินที่ใส่ความมีชีวิตชีวาลงไปในภาพ
หรืออาจจะทั้งสองอย่างก็เป็นไปได้  ??



บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 เม.ย. 09, 23:24

จากพระมโหสถชาดก ภาพนี้ใช้สีน้อยกว่าภาพแบบเดียวกันนี้ที่วัดสุวรรดาราม บางกอกน้อย
แต่สำหรับผมแล้วให้ความรู้สึกสวยงามเทียบเท่ากัน  แต่ต่างกันตรงความรู้สึก  คือไม่ทราบว่าท่านอื่นคิดอย่างไรนะครับ
ส่วนตัวผมว่าี้ที่เขียนโดยครูคงแป๊ะที่วัดสุวรรดารามนั้น ให้ความรู้สึกอ่อนหวานปะปนกับความสับสนชุลมุน  คือท่ายืนของพระมโหสถ
เท้าชิดกันเหมือนออกแรงกดแต่ท่วงท่าของร่างกายดูอ่อนหวานสง่างาม
ส่วนภาพของวัดชมภูเวกนี้ เหมือนว่าออกแรงกดที่มือไม่เน้นท่ากดที่ทำให้สง่างามเพราะมีการผ่อนเท้าข้างหนึ่งทำให้ภาพดูเป็นธรรมชาติ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 เม.ย. 09, 23:53

ภาพเขียนที่ผมถ่ายมาลงไว้  ในบร์อดถ้าดูไม่ชัด  ผมลงไว้ในมัลติพาย 
ไปโหลดมาชมได้ครับไม่หวงเลย  http://amonrain.multiply.com/

หรือใครอยากแบบเต็มๆก็ชมได้ที่วัดชมภูเวกครับ ทางวัดเปิดให้เข้าชมได้แต่ต้องไปขอกุญแจมาเปิดก่อน
ทางวัดใจดีครับชมได้ตามสบาย  ไม่เหมือนบางที่ต้องทำเรื่องกันวุ่นวายต้องมีคนมาเฝ้าเพราะกลัวขโมยก็น่าเห็นใจอยู่
แต่ระวังอย่าใช้แฟลตนะครับ เวลาเปิดหน้าต่างประตูระวังไปกระแทกผนังนะครับเดี๋ยวผนังสะเทือน 

  ธรรมดาของพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำความชื้นจะสูงทำให้ความชื้นถูกระบายออกมาตามผิวดิน
แต่เดี๋ยวนี้เรามีการเทปูนกันทั่วไปหมด  ถนนลาดยางคอนกรีตมีทุกที่  ทำให้ความชื้นไม่สมารถระบายออกได้
โบราณสถานสร้างด้วยปูนโบราณมีความสามรถในการระบายความชื้นดี 
ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็ดีอยู่เพราะปูนโบราณจะช่วยทำให้อาคารมีความคงทนผนังไม่เก็บความชื้น  แต่สมัยนี้ความชื้นต้องระบายออกทางนี้ทางเดียว
ผิวปูนทนไม่ได้ก็ร่อนออกไป 
แต่ที่ผมอ่านเจอมา  ภาพเขียสมัยอยุธยาต่างจากสมัยหลังเพราะว่ามีการเคลือบภาพด้วยยางไม้ ทำใ้ห้คงทนติดกับผนัง  จะสลายไปก็ต่อเมื่อผิวปูนหลุดไป
ไม่รู้เหมือนกันว่าอย่างไรพอเวลาไปดูก็เห็นความมันวาวเคลือบอยู่เหมือนกัน  ไม่แน่ใจว่าขาเคลือบใหม่ตอนกรมศิลปบูรณะหรือเปล่า
คงต้องเดือดร็อนผู้รู้มาเฉลยอีกที?ฮืม


ยังไงก็ดีอยากให้ไปชมกันครับเพราะถ้าปกติโบสถ์จะถูกปิดไว้  ถ้ามีคนไปเที่ยวชมบ่อยๆโบสถ์ก็จะถูกเปิด  ความชื้นก็จะได้ระบายออกบ้าง
นอกจากจะได้ไปไหว้พระเอาบุญ ชมศิลปะโบราณ  และยังได้ช่วยอนุรักษ์งานศิลปะโบราณด้วย  คุ้มจริงๆ


ถ้าใครสนใจก็ขับรถไปเลยครับง่ายมาก  ไปที่แยกสนามบินน้ำ มีป้ายบอกทางชัดเจน
รถประจำทางก็ ไปท่าน้ำนนท์ก่อน  แล้วมาขึ้นรถสองแถว 6 บาท สีฟ้า ตรงถนนข้างเรือนจำ ไปวัดชมภูเวก
ป้ายสุดท้ายเห็นซุ๊มประตูวัดซ๊ายมือลงรถ  เดินเข้าซอยไปสัก 300 เมตรก็ถึง

บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 เม.ย. 09, 09:45

เชื่อว่าคนที่เคยไปวัดชมภูเวกแล้ว  อาจไม่ได้เข้าไปชมภาพเขียนในพระวิหารด้านหลังพระอุโบสถหลังเก่า
ภายในพระวิหารมีภาพเขียนสามแถวแถวแรกเขียนเรื่องพุทธประวัติ ด้านบนเขียนภาพพระอันดับหรืออดีตพุทธ ก็ไม่แน่ใจว่าเรียกอย่างไหนดีฮืม?
เรื่องราวพุทธประวัตินั้นเลือนลางเกือบทั้งหมด  ที่เห็นอยู่ก็ให้เดาว่าเป็นตอนไหนเท่านั้น
เพราะส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่ใกล้พื้นลงมาทำให้โดนความชื้นทำลายก่อนเลยเสียหายหนัก
ส่วนภาพพระอันดับนั้นอยู่ถัดขึ้นไปชั้นแรกเขียนภาพพระพุทธเจ้าขนาบด้วยพระสาวก  มีฉัตรกั้นภาพแต่ละชุด  ลายเส้นงดงามมาก
ชั้นบนสุดภาพพระอันดับเล็กกว่าแต่มีความอ่อนช้อยกว่า  องค์พระสาวกประคองอัญชลีน้อมตัวเล็กน้อยดูอ่อนน้อมนุ่มนวลดี

ภาพนี้คือภาพพระอันดับหรืออดีตพุทธ อยู่ในภาพเขียนแถวกลาง


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 เม.ย. 09, 09:48

พระสาวก  ในภาพเขียนแถวสอง


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 เม.ย. 09, 21:08

ภาพนี้เลือนลางมาก อยู่ที่ผนังด้านขวามือพระประธาน
จำได้ว่าเคยเห็นภาพนี้ครั้งหนึ่งไม่รู้ว่าจากที่ไหน  สมัยเด็กๆยังเคยถามว่าทำไมพระอินทร์ต้องประคองหน้าม้าด้วย
ตอนนั้นเห็นภาพชัดเจนกว่านี้มาก  น่าจะถ่ายมาจากที่นี่เมื่อนานมาแล้ว  แต่เห็นสภาพปัจจุบันแล้วทรุดโทรมเหลือเกิน
อย่างที่เห็น  วันนี้เลยพยายามเข้าไปหาภาพนี้ในหอสมุดแห่งชาติดู  ก็ไม่พบในหนังสือเล่มไหนเลย 
ไม่แน่ใจว่ามีท่านใดเคยเห็นหรือเปล่าครับ???
หวังว่าคงมีการคัดลอกหรือถ่ายภาพเหล่านี้เอาไว้บ้าง 


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 เม.ย. 09, 21:21

ถ้าใครมีเรื่องราวดีๆหรือภาพจิตรกรรมที่ถ่ายเก็บไว้ก็เอามาแบ่งปันกันบ้างนะครับ ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 เม.ย. 09, 14:31

       ขอบคุณ จขกท สำหรับภาพงามๆ ที่นำมาแสดง (แต่ภาพเล็กจัง)

        และขออนุญาตเสริม ครับ

ราง ๓, ราง ๆ       ว. ไม่กระจ่าง, ไม่ชัดเจน, เช่น เห็นราง ๆ ภาพราง ๆ.

ลาง ๑               น. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย..
 
ลาง ๒               น. หมาก, ขนุน เรียกว่า หมากลาง. (ไทยใหญ่).
 
ลาง ๓               น. นกกะลาง.
 
ลาง ๔               ว. ต่าง, แต่ละ, บาง, เช่น ลางคน ลางสิ่งลางอย่าง.
 
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 07 เม.ย. 09, 17:43

อ่า  โดนเตือนเรื่องภาษาเลย  อายจัง   แต่ก็ขอบคุณที่เข้ามาติชม

สำหรับภาพที่เล็กไปนั้น ต้องขอให้ไปโหลดมาชมได้ที่มัลติพายนะครับ amonrain.multiply.com
ผมลงไว้ขนาดไฟล์ใหญ่พอสมควรชัดเจนเลยครับ  เพราะที่นี่มันให้ไม่เกิน128 KBครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 07 เม.ย. 09, 18:09

http://amonrain.multiply.com/  เพิ่งลงภาพจากวัดปราสาทเสร็จ เพราะเพิ่งไปมาวันนี้เอง
ที่วัดท่าทางจะมีชื่อเสียงไม่น้อย  มีการจัดที่จัดทางให้คนมาทำบุญอย่างดีแต่สำหรับผมก็ไม่ค่อยชอบเท่าไร
เพราะมีการจัดแบบไปบดบังมุมมองที่ดีของโบราณสถาน  แต่เดี๋ยวนี้ทำใจแล้วเพราะที่ไหนๆก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้น
สำหรับใครที่ไปก็มุ่งไปชมพระอุโบสถกันทั้งนั้น  เพราะมีความงดงามตามแบฉบับอยุธยาที่น่าชมเชย
แต่ที่นี่ก็มีของดีอยู่ที่ศาลาการเปรียญเก่าแก่ทั้งตัวศาลาเองและก็ธรรมาสน์ยอด  มีข้อมูลว่าสร้างขึ้น
พร้อมๆกับพระอุโบสถเลยทีเดียว  แต่ที่นี้ขอลงภาพเกี่ยวกับงานจิตรกรรมฝาผนังดีกว่านะครับ


ทีแรกว่าจะลงภาพเขียนของที่วัดช่องนนทรีก่อนแต่เห็นว่าลงภาพเขียนที่วัดชมภูเวกแล้ว ไม่ลงภาพของที่วัดปราสาทจะยังไงอยู่
ก็ลัดคิวเอามาลงก่อน
   


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 เม.ย. 09, 18:18

เทพพนมกรภาพนี้ตั้งใจเอามาลงเพราะเห็นแล้วนึกถึง  พระราชวิจารณ์เรื่องภาพเขียนที่วัดใญ่สุวรรณาราม
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เกี่ยวกับการเขียนลายการนุ่งผ้าของชาวกรุงเก่าว่าสอดสวมกันอย่างไร
ภาพเขียนที่วัดปราสาทนี้ก็เห็นได้ชัดเจนเช่นกัน  ชฎาที่ใส่อยู่ก็ไม่ได้พุ่งสูงลิ่วแบบภาพเขียนในยุคหลัง 
กรรเจียกหรือจอนหูก็เขียนเป็นหนามๆดูแปลกตาไปจากภาพไทยยุคใหม่กว่า


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 เม.ย. 09, 18:26

ภาพนักสิทธิ์พนมกรมีดอกบัวเป็นช่อมาเลยทีเดียว  ภาพนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจการเขียนศีรษระภาพของนักสิทธิ์ตนนี้
เพราะไว้ผมยาวแสกหน้าคล้ายๆฟรั่งเอาว่าตั้งใจให้เป็นฟรั่งหรือเป็นปกติธรรมดาว่าจะเขียนแบบนี้อยู่แล้ว หรือเปล่า
ฮืม?


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง