เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 10757 เรื่องของนกนางนวล
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
 เมื่อ 04 มี.ค. 09, 23:38

ปลายเดือนนี้ (มีนาคม) นางนวลที่ปากน้ำก็จะอพยพกลับไปวางไข่และฝักไข่ยังตอนเหนือของทวีปแล้ว คงต้องรอจนถึงเดือนตุลาคมกว่านางนวลรุ่นใหม่จะโตพอที่จะได้กลับมาให้เราได้ชื่นชมอีกครั้ง มันหนีอากาศหนาว มาใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าช่วงวัยเจริญพันธุ์ บริเวณสถานตากอากาศบางปู จากช่วงที่ตัวสวยๆหัวขาวๆ จนกลายเป็นตัวคล้ำๆหัวดำๆเมื่อโตเต็มที่ จับคู่เคียงข้างกันแล้วบินอพยพกลับไปวางไข่อีกครั้ง วนเวียนอยู่อย่างนี้ทุกปี ทำให้บางปูบ้านผมเป็นพื้นที่ที่ไม่น่าเบื่อจำเจ มีระยะเวลาครึ่งปีแห่งความคึกคักมีชีวิตชีวา อีกครึ่งปีแห่งความว่างเปล่าและรอคอย

ยังพอมีเวลานะครับ สำหรับคนที่ไม่เคยได้สำผัสความน่ารักของนางนวลที่บางปู จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนใครที่มีความหลังครั้งเก่ากับเรื่องราวการเดินรับลมที่สะพานสุขตา แล้วเข้าไปทานอาหาร ลีลาศ ที่ศาลาสุขใจ ใช้เวลาเดินทางไม่ถึงชั่วโมงก็จะสามารถกลับมารำลึกอดีตได้ทุกวัน และถ้าจะเต้นรำด้วยก็ทุกบ่ายวันอาทิตย์ครับ



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 มี.ค. 09, 00:32

      ในอดีตนั้น นางนวลไม่ได้อพยพมาอยู่รวมกันที่บางปูหรอกนะครับ แต่จะเข้ามาอาศัยตรงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากสถานตากอากาศบางปูทางถนนสุขุมวิท ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ต่อเมื่อมีการก่อสร้างท่าเรือที่คลองเตย ทำให้มีเรือสินค้าขนาดใหญ่เข้าออกปากน้ำตลอดเวลา จนเกิดเป็นที่รบกวนนางนวล และปลาเล็กๆ ที่เป็นอาหารของมีน สุดท้ายนางนวลจึงต้องหนีไปอยู่สถานที่ที่เงียบสงบกว่า นางนวลเป็นนกที่น่ารัก เมื่ออยู่กันเป็นฝูงใครเห็นใครก็อดชื่นชมหาอาหารมาป้อนไม่ได้ และด้วยความหมายของชื่อ บวกกับความขาวนวลนุ่ม ทำให้เรามักเปรียบนางนวลกับหญิงสาวที่เรารัก

        ครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบรรยายสถานที่อยู่ของนางนวลที่หน้าเกาะป้อมผีเสื้อสมุทร ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ ในเรื่อง ระยะทางเสด็จประพาสจันทบุรี คราวเสด็จผ่านปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ความว่า

        “.....ในแม่น้ำ ตั้งแต่หน้าป้อมผีเสื้อสมุทร มาจนถึงปากอ่าว มีนกนางนวลชุมกว่าแต่ก่อน ลอยมาใกล้ๆเรือ....ดูงามนัก.... คราวนี้เห็นปลาชุมมากกว่าแต่ก่อน นกจึงชุมขึ้น ที่จริงนกนางนวลนี้ งามจริงๆ ดีกว่านกยางมาก มีคำในกาพย์เห่เรือ ว่าไว้ว่า

     นางนวลนวลน่ารัก ไม่นวลพักตร์เหมือนทรามสงวน
แก้วพี่นี้สุดนวล           ดั่งนางฟ้าหน้าใยยอง

เราอยากช่วยเติมโคลงห่อเข้าอีกบท แต่ไม่เคยทำกาพย์ห่อโคลงเลย จะถูกฤาไม่ถูกไม่ทราบ

      นางนวลนางปีกแผ้ว               พึงรัก
ไม่ผ่องเหมือนนวลพักตร์              นิ่มน้อง
แก้วพี่พิมลลักษณ์                      ลออเอี่ยม องค์เอย
ดั่งอนงค์ในห้อง                         หกฟ้ามาปูนฯ


จากนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ยังได้พระราชทานโคลงอักษรล้วน เป็นของแถมให้อีกบท

“…….นางนวลนึกหนึ่งหน้า     นางนวล
ชายชิดแช่มช้อยชวน            ชื่นชู้
ใส่สิส่งเสียงสรวล                  สวยสุด
ริร่ำรำร่ายรู้ เรื่องร้อง              เริงรมย์ฯ”


หนังสือ ระยะทางเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองจันทบุรี วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๑๙
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 มี.ค. 09, 22:31

นางนวลเป็นสัตว์ที่ปรับตัวเก่งมากชนิดหนึ่ง เพราะผมเคยเห็นภาพที่มันมุดอยู่ในน้ำที่ข้างๆเป็นหิมะ แล้วก็เคยเห็นมันบินตากแดดอุณหภูมิ ๔๐ องศา ได้โดยไม่เป็นอันตราย เคยเห็นภาพมันอยู่ไปทั่วเอเชีย ทั้งญี่ปุ่น เกาหลี เมืองจีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ 

ในส่วนของเมืองไทยนั้น ยังไม่มีใครให้เหตุผลได้ว่า ทำไมนางนวลที่อพยพเข้ามา จึงได้เลือกที่จะอาศัยอยู่ที่ปากน้ำ เพราะที่อื่นที่บรรยากาศเหมือนกันก็ไม่เห็นมันจะสนใจไป ทราบเพียงเรื่องที่ผู้ใหญ่เคยเล่าให้ฟังตั้งแต่เด็กว่า จะมีนางนวลสีคล้ำตัวใหญ่ จะเห็นไม่ถึง ๑๐ ตัว เป็นผู้นำทางเข้ามา ซึ่งก็เข้าใจว่ามันคงเป็นนางนวลรุ่นพี่ ที่เคยอาศัยอยู่ตรงปากน้ำเมื่อปีก่อนๆ ถึงได้จำที่อยู่เดิมได้

ภาพ ปากน้ำเจ้าพระยา สถานที่อยู่เดิมของนางนวลในเมืองไทย ฝั่งตรงข้ามเป็นเกาะป้อมผีเสื้อสมุทร (บังพระสมุทรเจดีย์)



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 มี.ค. 09, 22:41

นางนวลที่เกาะป้อมผีเสื้อสมุทร ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ เริ่มค่อยๆหายไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อการจราจรทางเรือเริ่มจอแจมากขึ้น รบกวนมัน จนฝูงนางนวลทั้งหลายต่างก็ต้องดิ้นรนหาแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และปลอดภัย ตามชายทะเลแห่งใหม่

ซึ่งโชคก็ยังเข้าข้างชาวปากน้ำ เมื่อทางกองทัพบกได้มีโครงการก่อสร้างสถานตากอากาศแห่งใหม่ขึ้น ที่บริเวณบ้านบางปู เป็นที่แน่นอนว่ากิจการและที่ดินของกองทัพนั้น จะไม่มีชาวบ้านกล้าเข้าไปรุกล้ำรบกวน  ทำให้ในปีต่อๆมา ฝูงนกนางนวลต่างก็ย้ายที่พักอาศัยยามเข้ามาอยู่เมืองไทย จากบริเวณหน้าเมืองสมุทรปราการ ไปสู่บริเวณสถานตากอากาศบ้านบางปู นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ภาพ ถ่ายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยเครื่องบินอเมริกัน สถานตากอากาศบางปู แลเห็นที่พักเล็กๆ (บังกาโล) สะพานสุขตา ที่ยื่นจากแผ่นดิน (ถนนสุขุมวิท) ปลายสุดคือ ศาลาสุขใจ ที่จัดทำเป็นร้านอาหารสวัสดิการทหารบกกลางทะเล



บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 มี.ค. 09, 23:41

พื้นที่บ้านบางปู ก่อนที่จะมีการก่อสร้างเป็นสถานตากอากาศ เป็นเพียงป่าชายเลนมีต้นลำพูเรียงรายเต็มไปหมด ชาวบ้านเรียกพื้นที่แถบนั้นว่า แหลมลำพูราย   การเดินทางจากกรุงเทพฯ มาเมืองสมุทรปราการในสมัยก่อนนั้นนอกจากทางเรือโดยแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ก็จะมีทางรถไฟที่เรียกว่า รถไฟสายปากน้ำ ส่วนถนนสายแรกที่ตัดมาทางปากน้ำเรียก ถนนสายกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ 

ปีที่แล้วเมื่อมีการอำลาระบบโทรเลขในเมืองไทย ผมก็เพิ่งทราบข้อมูลจากกรมไปรษณีย์โทรเลขว่า สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการเดินสายโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย บนเนินดินที่เรียกกันในสมัยก่อนว่า ทางเกวียน จากกรุงเทพ – สมุทรปราการ – ปลายทางที่แหลมลำพูราย ซึ่งก็คือพื้นที่แถวบางปูนี่เอง ส่วนเนินดินที่มีการเดินเส้นลวดเป็นสายโทรเลข ชาวบ้านก็เรียกกันจนถึงปัจจุบัน ว่า ถนนสายลวด

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระหว่างมีการสร้างเส้นทางต่อจากถนนกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ ไปทางชลบุรี ธรรมชาติของพื้นที่ปากน้ำเพระยา และบ้านบางปูได้เป็นที่ถูกใจของบรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จนมีการจับจองพื้นที่สร้างบ้านพักตากอากาศ ไล่มาจากตัวเมืองสมุทรปราการ มีเจ้าของที่ดินรายใหญ่ได้แก่ ท่านเจ้าพระยายมราช หลวงประเจิดอักษรลักษณ์ พระยาราชาสาธก จนกระทั่งที่บางปู ที่ท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านชอบมาก ถึงกับสร้างบ้านพักพร้อมสถานตากอากาศ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 มี.ค. 09, 23:45

ไม่มีข้อมูลว่านกนางนวลที่ปากน้ำได้ย้ายสถานที่อยู่จากตัวเมืองสมุทรปราการ ไปบางปูตั้งแต่เมื่อไหร่ เพราะในช่วงแรกของสถานที่ตากอากาศบางปู ที่นี่ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักด้วยเหตุที่เดินทางลำบาก แต่เมื่อมีเสียงร่ำลือปากต่อปากเรื่องบรรยากาศที่ดี มีฝูงนกนางนวล และมีการแสดงดนตรี ทำให้ชาวกรุงเทพฯ (ผู้มีอันจะกิน) นิยมขับรถพาสาวๆ นั่งกินลมมาที่บางปูกันมาก จนเกิดเป็นความโก้เก๋สำหรับใครก็ตามที่มีโอกาสนั่งรถมาทานข้าว ดูฝูงนกนางนวล และเต้นรำที่สถานตากอากาศแห่งนี้

ที่ตลาดปากน้ำนั้น ชาวเมืองสมุทรปราการในสมัยแรกยังไม่มีใครทราบหรอกครับ ว่าทำไมนางนวลถึงได้ค่อยๆหายไป และเหลือน้อยลงๆทุกปีๆ ทราบแต่เพียงว่า มีเรือใหญ่เข้าออกปากแม่น้ำมาก จึงไม่แปลกที่นกและปลาต่างๆ จะต้องหนีไปหาที่อยู่ใหม่ เราเกิดผลกระทบอย่างหนักเมื่อจุดขายเรื่องของฝูงปลา และนางนวลริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้หายไป คนก็เข้ามาเที่ยวตลาดปากน้ำน้อยลง ถึงขนาดรถไฟสายปากน้ำที่เคยมีผู้โดยสารใช้บริการมาก ก็ยังถูกรถเมล์ แย่งผู้โดยสารไปจนต้องเลิกกิจการ

 

บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 มี.ค. 09, 00:00

กิจการค้าหลายอย่างในปากน้ำต้องปิดตัวลง ส่วนคนที่ไหวตัวได้ และปรับตัวทันอย่างแม่ค้าขนมจาก แม่ค้าขายเกลือ ก็ใช้วิธีย้ายหนีจากตลาดไปตั้งขายตามข้างถนนสุขุมวิท ยืนรอรับลูกค้าที่สนใจมาดูนางนวลที่บางปู จนกลายเป็นภาพชินตานักท่องเที่ยวในสมัยนั้น


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 มี.ค. 09, 11:49

ท่านพลตรีจวบ หงสกุล ผู้แต่งนิราศสัตหีบเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้กล่าวถึงการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปบางปู ที่เป็นไปด้วยความตื่นเต้น ตลอดสองข้างทางมีแม่ค้าตั้งแผงยืนขายสินค้ากันตลอดทาง

      ถึงบางปูพอจะรู้ว่าปูมาก     เห็นเพิงจากรายทางข้างถนน
พอรถผ่านคนชูปูให้ยล            พอเห็นคนจนจะรู้มีปูทะเล
ตำบลนี้มีปูคงอยู่เยอะ             เพราะคนเจอะจับต้มเสียถมเถ
ทั้งจับกินจับขายตายทั้งเพ       ตายระเนระนาดนับคงคับบาง


แต่ที่น่าประหลาดในนิราศของท่านพลตรีจวบ (เพราะผมเกิดไม่ทัน) ที่ตั้งข้อสงสัยว่าสถานตากอากาศบางปู อันที่จริงไม่เห็นมีคนมาพัก นอกเสียจากพวกหนุ่มๆที่มักจะอ้างสาวๆ ให้มาเที่ยวทะเล และดูนกนางนวลในยามเย็น พอมืดค่ำทางเปลี่ยวก็จะใช้อ้างให้พักค้างคืนเสียที่บังกะโลบางปู เป็นอันว่าได้เสียรู้เสียตัวกันไป

      มองมองไปไม่เห็นใครมาพัก    รายได้มีดีนักชักฉงน
ตอนกลางวันนั้นไม่มีวี่แววคน         พวกซุกซนมานอนตอนกลางคืน
พวกหนุ่มสาวสมัยนี้ฟรีกันนัก         แอบมาพักเชยชมภิรมย์รื่น
แล้วเลิกร้างห่างไปไม่ยั่งยืน          พอชื่นมื่นเสร็จสรรพก็กลับไป
ทั้งอาตี๋อาม่วยด้วยทั้งนั้น             ต่างพากันสัปดนซุกซนใหญ่
พอมีมารหัวขนก็จนใจ                 จึงรู้ได้ว่าสนุกแล้วทุกข์มา
จะมีลูกไร้พ่อใจท้อแท้                ต่างคิดแก้ให้งามตามภาษา
บ้างก็คิดผิดซ้ำนอกตำรา             ทำบาปหนาฆ่าบุตรในอุทร


(นิราศที่เขียนเมื่อห้าสิบกว่าปีที่แล้ว สามารถใช้ได้กับยุคปัจจุบันเลยนะครับ)

 
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 มี.ค. 09, 12:08

 ระยะทางไปบางปูเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 มี.ค. 09, 12:25

ปี ๒๔๘๗ บางปูในสมัยแรก มีสะพานยื่นออกทะเลถึง ๓ สะพาน ที่เรียงรายริมถนนด้านใน คือ บังกะโล (ให้เช่า)


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 มี.ค. 09, 12:29

ปี ๒๕๐๘


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 มี.ค. 09, 12:29

ปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 09 มี.ค. 09, 13:48

ขอบคุณครับ เป็นกระทู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ดีมากครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 ก.พ. 10, 10:56

ที่บางปู ในปีนี้ (๒๕๕๓) ยังมีนางนวลให้ดูอีกประมาณเดือนกว่าเองนะครับ
ปีนี้มีนักท่องเที่ยวมากเป็นพิเศษ




บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 ก.พ. 10, 11:01

ให้อาหารนางนวล ล้างมือ แล้วมาทานข้าว ลีลาศในแนวยุค ๒๕๐๐ ได้ทุกวันอาทิตย์





บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง