เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 9519 ปกิณก(ะ)ปฏิทิน
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


 เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 10:49

        ปกิณกะ (ปะกินนะกะ)   ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน, 
                                     (มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี.
                                     (ป. ปกิณฺณก; ส. ปฺรกีรฺณก).

        ปฏิทิน         น. แบบสําหรับดูวัน เดือน ปี. (ป.; ส. ปฺรติทิน ว่า เฉพาะวัน, สําหรับวัน).
           
                      สิ่งพิมพ์ที่ผลิตเป็นประจำทุกปีๆ ละครั้งช่วงปลายปี ถูกนำไปวางบนโต๊ะ หรือแขวนผนัง
เพื่อใช้ดูวันเวลา ก่อนที่จะถูกเก็บและถูกแทนที่ด้วยชิ้นใหม่ในกาลต่อมา

           เชิญชวนชมปฏิทินปีใหม่ซึ่งมีภาพประกอบสวยงาม หลากหลายแนว รวบรวมจากเน็ท ครับ

           และเพื่อให้มีเนื้อหาทางวิชาการด้วย  จึงขอบันทึกเรื่องราวบางส่วนเกี่ยวกับปฏิทินไว้ ณ ที่นี้
           หากพบว่าผิดตก บกพร่องที่ใด โปรดช่วยแก้ไข เพิ่มเติมด้วยครับ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 10:57

          calendar ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์มาจาก Latin word - kalendae,
                       which was the Latin name of the first day of every month.

           ปฏิทินสากลปัจจุบันที่ใช้กันอยู่นี้ เป็นปฏิทินแบบที่เรียกกันว่า Gregorian calendar ตามพระนาม
สันตะปาปา Gregory ที่ 13 ผู้ทรงบัญชาให้มีการแก้ไขปรับปรุงจากปฏิทินเดิมที่เรียกว่า Julian Calendar

         ปฏิทินจูเลียน (เรียกตามพระนาม Julius Caesar) นี้ ซีซาร์ทรงบัญชาให้นักดาราศาสตร์ประจำราชสำนัก
สร้างสรรค์ขึ้นในปีพ.ศ. 498 โดยให้เลิกการใช้เวลาโคจรของดวงจันทร์ในการกำหนดเวลา ทั้งยังได้กำหนดไว้ว่า
1 ปีต้องมี 12 เดือน และ 1 เดือนต้องมี 30 หรือ 31 วัน ส่วนเดือนกุมภาพันธ์นั้นให้มีเพียง 28 วัน

           เนื่องจากปฏิทินจูเลียนกำหนดให้ 1 ปีมี 365 วัน ในขณะที่ 1 ปีตามเวลาจริงที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้นเป็นเวลา
เท่ากับ   365.242199 วัน (ประมาณ 365 และอีกเศษ 1 ส่วน 4 วัน) เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปีปฏิทินนี้
จึงมีความคลาดเคลื่อนไปหลายวัน
            พระสันตปาปาจึงมีบัญชาให้ปฏิรูปปฏิทินในปีพ.ศ. 2125 โดยกำหนดใหม่ว่าในเวลา 400 ปี ปฏิทินจะต้องมี
ปีอธิกสุรทิน (Leap Year) 97 ครั้ง (ไม่ใช่ 100 ครั้ง) คือ
            ถ้าปีคริสต์ศักราชใดหารด้วย 4 ลงตัว ปีนั้นมี 366 วัน แต่ปีที่ครบคริสต์ศตวรรษใดเช่น 1700 1800 1900
ก็ให้มีเพียง 365 วัน ส่วนปี ค.ศ. 2000 นั้นให้มี 366 วัน 

ปีอธิกสุรทิน (อธิกสุรทิน วันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือ ในปีนั้น  เพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีก ๑ วัน เป็น ๒๙ วัน)
- Leap Year

           ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัว เป็นปีอธิกสุรทิน 
             แต่ ถ้าปีนั้นหารด้วย 100 ลงตัว  ปีนั้นไม่นับเป็นปีอธิกสุรทิน (ปี 1700 1800 1900)
           เว้นแต่ว่า ปีนั้นจะหารด้วย 400 ลงตัวด้วย (ปี 2000 จึงนับเป็นปีอธิกสุรทิน)

Gregorian Calendar


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 11:03

          "ปฏิทิน" มาจากศัพท์ภาษาบาลี ปฏิ (เวียนกลับ) , ทิน (วัน) บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีความหมายว่า
"แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี"
          สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้
(คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดยหมอบรัดเลย์ ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และ หนังสือ สยามไสมย
หน้าโฆษณา ของ หมอสมิท เป็นต้น)

         การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3)
ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 ( พ.ศ. 2413 )
หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า
           “ 14 First Calendar print in B. 1842 ” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่าคือ หมอ บรัดเลย์
ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)

           ปฏิทินฉบับนั้นยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ" นับ วัน เดือน ปี โดยถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก
           ต่อมาจึงมีประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 และยังคงใช้ปฏิทินทางจันทรคติควบคู่ไปด้วย

             จากการเปลี่ยนแปลงการนับเดือนทางจันทรคติที่นับเป็นเดือนอ้าย เดือนยี่...มาเป็นแบบสุริยคติ จึงได้มีการกำหนด
ชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้มีความสนพระทัยทางโหราศาสตร์เช่นเดียวกับพระราชบิดา
(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ ซึ่งนับวันและเดือนแบบสากล ขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายรัชกาลที่ 5 แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ต่อกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2432 เรียกว่า "เทวะประติทิน"

           สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ตามตำราจักรราศี
หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย 12 ราศี ตามโหราศาสตร์
           คำนำหน้าจากชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้น มาเชื่อมกับคำหลังคือ คำว่า "อาคม" และ "อายน" ที่แปลว่า "การมาถึง"
โดยเดือนที่มี 30 วัน และ 31 วัน ให้ลงท้ายเดือนต่างกันด้วยคำว่า "ยน" และ "คม" ตามลำดับ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=1105497&month=06-2007&date=26&group=2&gblog=49


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 11:12

        ภาพประกอบวัน เดือน ปี ของปฏิทินที่สวยงาม แบ่งได้เป็นหลากหลายแนว เช่น

ภาพวิวทิวทัศน์ธรรมชาติ

        Snowdonia ใน North Wales โดยช่างภาพมีชื่อ Andrew Kime.


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 11:15

ภาพนักแสดง ดาราคนดัง  เลือกภาพของสอง Daniel สองวัยจากอังกฤษ ครับ

       



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 11:41

ภาพศิลปะงดงาม

เลือกภาพงาม The Great Wave off Kanagawa  โดยศิลปิน Katsushika Hokusai (1760 – 1849)
เป็นภาพแรกและภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดจากชุดภาพพิมพ์ Thirty-six Views of Mount Fuji


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 11:50

ภาพศิลปะ แฟนตาซี - Fantasy Arts  เลือกผลงาน Still Water

ของ Rob Gonsalves ศิลปินชาว Canada ผู้รังสรรค์ผลงานแนว "Magic Realism" โดยการถ่ายทอด
a sense of magic into otherwise realistic scenes ซึ่งต่างไปจากแนวทางแบบ surrealism 
 


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 11:55

งานอีกชิ้นหนึ่งของ Rob Gonsalves - The Sun Sets Sail


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 13:45

จาก Still Water มาชม Falling Water ครับ เป็นปฏิทินในชุดภาพสถาปัตยกรรม และ งานออกแบบ

Architecture & Design

     งานของ  Frank Lloyd Wright ที่ชื่อว่า  Falling Water

Frank Lloyd Wright (June 8, 1867 – April 9, 1959)
      สถาปนิก นักตกแต่งภายใน นักเขียน ชาวอเมริกัน ผู้ออกแบบงานกว่า 1,000 โครงการ แล้วเป็นผลงานสร้าง
สำเร็จเสร็จสิ้นกว่า 500 รายการ
       เขาออกแบบงานชิ้นนี้ เมื่อปี 1935 เป็นบ้านหลังงามที่บางส่วนสร้างคร่อมเหนือน้ำตก Bear Run 
ใน Stewart Township, Fayette County, Pennsylvania ห่างจาก Pittsburgh 50 ไมล์

       นิตยสารไทม์ ยกย่องให้เป็น Wright's "most beautiful job," และได้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในรายชื่อของ
Smithsonian magazine's Life List of 28 places "to visit before ... it's too late."


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 13:52

ภาพสิงสาราสัตว์ และ ภาพปฏิทินหรรษา รวมอยู่ในปฏิทินชุดนี้ครับ

Water-Skiing Westies  ขององค์กรการกุศลช่วยดูแลรักษาและ หาบ้านให้กับเจ้า West Highland terrier
                                ในอังกฤษ 


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 14:32

ภาพจากภาพยนตร์ ขอเลือกเรื่องนี้ครับ

          Gone With The Wind  วิมานลอย ภาพยนตร์อมตะจากปี 1939 ได้รับรางวัลออสการ์ 10 ตัวและ
ทำรายได้เป็นประวัติการณ์ - the highest grossing film of all time adjusted for inflation.

สองนักแสดงนำ Vivien Leigh และ Clark Gable


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 15:48

       นอกจากนี้แล้ว ยังมีภาพประเภทต่างๆ อีกหลากหลายแนว เช่น  ภาพเมืองหรือสถานที่สำคัญ บ้านและสวน
รถรา อาหาร(เช่น เค้ก ไวน์) กีฬา สุขภาพ รวมทั้งปฏิทินภาพพร้อมข้อความที่เป็นคำสอน ข้อคิดให้กำลังใจ ฯลฯ

ชอบภาพนี้ ครับ ภาพธรรมชาติชุดพระจันทร์งาม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 15:56

ยังมีอีกสองประเภทนำมาเสนอครับ

ภาพการ์ตูนน่ารัก สำหรับเด็ก(ไม่เล็ก)

          Betty Boop ตัวการ์ตูนจากปี 1930 ใน Talkartoon และ Betty Boop series สร้างโดย Max Fleischer
จัดจำหน่ายโดย Paramount Pictures
          ด้วยภาพลักษณ์สาวเจ้าเสน่ห์ เบ็ตตี้จึงได้รับความนิยมจากคนดูในยุคนั้น จวบจนกระทั่งถึงกลางทศวรรษ 1930
เสน่ห์ของเธอจึงเริ่มจาง แต่ก็ยังคงมีคนชื่นชมเธออยู่จนถึงปัจจุบันนี้

และ ภาพสำหรับผู้ใหญ่จากค่าย Playboy



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 ธ.ค. 08, 16:06

ก่อนจะไปถึงปฏิทินแบบแปลกๆ แหวกแนว ขอเสนออีกหนึ่งภาพของน้องหมาน่ารัก
เจ้า West Highland White Terrier ครับ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 ธ.ค. 08, 09:15

        ต่อจากนี้ไปคือ ปฏิทินแนว แปลก แตกต่าง ปฏิทินชนิดพิเศษสำหรับบางกลุ่มคน
บางแบบก็แทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนทำหรือคนซื้อ

        เริ่มด้วยปฏิทิน ปฏิกูลมูลน้องหมา ครับ

          เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่เบื่อปฏิทินแบบเดิมๆ
          คือของขวัญที่ผู้รับจะไม่มีวันลืม - the 'perfect gag gift'
          สิบสองภาพที่จะทำให้ผู้เห็นกลั้นหายใจโดยไม่รู้ตัว

Monthly Doos  รักน้องหมา โปรดอย่ารังเกียจมูลเค้า



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง