เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9431 อยากทราบประวัติพระยาทิพมณเฑียร ค่ะ
ppkk
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


 เมื่อ 27 พ.ย. 08, 16:03

อยากทราบประวัติพระยาทิพมณเฑียร ค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 พ.ย. 08, 23:40

เจ้าคุณรับราชการสมัยไหนคะ  ที่ถามเพราะชื่ออาจซ้ำกัน
หนังสือการแต่งตั้งขุนนางสมัยรัชกาลที่ ๕ ดิฉันไม่ทราบไปเก็บไว้ที่ไหน

แต่คู่มือเล่มหนึ่ง ชื่อ พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ ๒๔๗๔ ที่ออกมาในปี ๒๔๗๕แล้วโดนทำลายทิ้งเกือบทั้งหมด
แจ้งว่า  พระยาทิยมณเฑียร คือ ม.ล. ผัด พนมวัน  เสวกเอก  สังกัดกระทรวงวังค่ะ

ซึ่งก็ไม่แจ้งว่าท่านเป็นขุนนางสมัยรัชกาลที่ ๖ แล้วรับราชการต่อมาหรือไม่

รายชื่อหม่อมหลวงที่รับราชการในปีนั้นไม่มีชื่อ ม.ล.ผัด  พนมวัน

รายชื่อข้าราชการในกระทรวงวังในปีนั้น  ไม่มีชื่อท่านเจ้าคุณค่ะ

เสนาบดี คือ ม.ส.อ. เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์

คงต้องหาจากประวัติสกุลพนมวันนะคะ  ถ้าใช่ ม.ล. ผัด พนมวันจริง


ถ้าไม่ใช่ก็ต้องหากันใหม่ล่ะค่ะ  ต้องใช้เวลามากทีเดียว
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ธ.ค. 08, 15:50

ก็อย่างที่คุณ Wandee บอกนะครับ
เข้าใจว่าพระยาทิพมณเฑียร นี้มีอยู่หลายท่านทีเดียว
ดีไม่ดีอาจจะเกิน ๑๐ ก็เป็นได้
ในส่วนผมเอง พอทราบว่ามีอยู่ ๓ ท่านครับ
๑.พระยาทิพมณเฑียร (ผึ้ง นาครทรรพ)
๒.พระยาทิพมณเฑียร (บัว ทิพโกมุท)
๓.พระยาทิพมณเฑียร (เทียม ยุกตะเสวี)


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ธ.ค. 08, 21:20

ขอบคุณ  คุณเงินปุ่นสี  เป็นที่ยิ่ง 

นามที่กรุณาให้มาพอจะหาได้  แต้ต้องใช้เวลามากเพราะคงต้องอ่านราชกิจจานุเบกษาหลายวัน
สกุลนาครทรรพ  และ  ยุกตะเสวี  เป็นสกุลที่ยังมีทายาทสืบต่อ


เพิ่งหา  การแต่งตั้งขุนนางไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พบ  แต่ไม่มีรายชื่อและนามสกุลบุคคลดังกล่าว
ไม่แปลกอะไรเพราะ เป็น สำเนาสัญญาบัตร  เล่ม ๑   การแต่งตั้งขุนนางหัวเมือง
จ.ศ. ๑๒๓๐ -  ๑๒๔๘
และ สำเนาสัญญาบัตร เล่ม ๒  การแต่งตั้งขุนนางในกรุง
จ.ศ. ๑๒๓๗  -  ๑๒๔๖


ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลค่ะ
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 ธ.ค. 08, 16:39

ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับคุณ Wandee
ฐานข้อมูลทีเก็บไว้ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับราชทินนามที่มาจากหนังสืออนุสรณ์ต่างฯ
เพียงแต่ว่าราชทินนามที่ผมสนใจนั้นจะบันทึกละเอียดก็เฉพาะในบางภาคส่วน
แต่ถ้ามีข้อมูลใดที่อยู่ในความสนใจของคุณ Wandee และเห็นว่าผมพอจะทราบและก็แจ้งมาได้เลยครับ

ราชทินนาม "ทิพมณเฑียร" นั้นเดิมเป็นราชทินนามของข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวร
ดังปรากฎในหนังสือทำเนียบนาม ภาคที่ ๒ ในส่วนกรมวัง ไว้ว่า "...พระยาทิพมณเฑียร ศักดินา ๕๐๐ เทียบอนุรักษ์ราชมณเฑียร"
[ทำเนียบนาม ภาคที่ ๒ ทำเนียบข้าราชการวังหลัง และทำเนียบสมณศักดิ์ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนนารถจำนง (เจริญ นาถจำนง), พ.ศ.๒๕๑๑]

ส่วนพระยาทิพมณเฑียร (เทียม ยุกตะเสวี) และพระยาทิพมณเฑียร (ผึ้ง นาครทรรพ) นั้นอ้างอิงจากหนังสือ ๒ เล่ม
คือหนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพคุณหญิงยุกตเสวีวิวัฒน์ (ถนอมศรี ยุกตะเสวี)
กับหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงขจรภะรตราชา ตามลำดับครับ






บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ธ.ค. 08, 18:16

ทำเนียบนามข้่าราชการฝ่ายพระราชวังบวร   คิดว่ามีอยู่ค่ะ  ไม่แน่ใจว่าอยู่ตู้ไหน


เรื่องหนังสืออนุสรณ์  เก็บแต่นักประพันธ์ดังๆ  เพื่อช่วยค้นหาข้อมูลให้เพื่อนๆ


ต่อมาก็หาสาแหรกของสกุลที่น่าสนใจ

ไม่ทราบว่า ปู่   บิดา  และ บุตร ของเจ้าคุณ ทิพมณเฑียร( เทียม ) เจ้าคุณทิพมณเฑียร (ผึ้ง)    มีรายชื่อไหมคะ


ขอบพระคุณ    และถือว่าเป็นบุญคุณที่กรุณาบอกแหล่งข้อมูล
วันดีนั้น มือยาวพอๆกับนางนากพระโขนงตอนตำนำ้พริกทีเดียวค่ะ



จะไปเล่าให้เพื่อนๆฟังว่าเจอคนใจดีอีกคนแถวนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ธ.ค. 08, 11:19

น่าเสียดายว่าข้อความที่ได้คัดเก็บลงฐานข้อมูล มีเพียงอย่างละบรรทัดเท่านั้นเอง ดังนี้ครับ
๑.จากหนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพคุณหญิงยุกตเสวีวิวัฒน์ (ถนอมศรี ยุกตะเสวี), พ.ศ.๒๕๓๐
   "พี่ชายใหญ่...ชื่อฮวด ช่วยงานครอบครัว พี่ชายอีกสองท่านคือพระยาทิพมณเฑียรวรอาศน์ (เทียม) และขุนวิเศษสมบัติ (เล็ก)
   ...พี่สาว ๓ ท่าน คือหม่อมน้อย หม่อมเฮียะ และหม่อมซ่วน ถวายตัวใน...กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย (ต้นสกุล ไชยันต์)"

๒.จากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงขจรภะรตราชา, พ.ศ.๒๕๒๙
    "พระยามณเฑียรบาล (เมือง) -> พระยาทิพมณเฑียร (ผึ้ง) -> หลวงปราณีประชาชน (แมลงทับ), หลวงพรหมสัสดี (แมลงภู่)"

สำหรับพระยาทิพมณเฑียร (เทียม) นี้ เข้าใจว่าน่าจะเป็นท่านเดียวกับพระเบญจางค์วรอาศน์ (เทียม) ปลัดกรมในกรมพระราชพิธี กระทรวงวัง
ที่ได้รับพระราชทานามสกุล "ยุกตะเสวี" เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๕๖ ซึ่งก็แสดงว่าท่านน่าจะได้รับพระราชทานให้ใช้ราชทินนาม "ทิพมณเฑียร"
ในช่วงรัชกาลที่ ๖ หรือหลังจากนั้น

ส่วนพระยาทิพมณเฑียร (ผึ้ง) นั้น ได้ลองค้นเพิ่มเติมดูพบว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับสกุล "นาครทรรพ"
ที่เขียนไว้สอดคล้องกันที่ http://www.geocities.com/nongkhai2004/people.html
และเนื่องจากว่าหลวงปราณีประชาชนนั้นเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาเอมในรัชกาลที่ ๔
ดังนั้นเข้าใจว่าท่านน่าจะได้รับพระราชทานราชทินนามในช่วงรัชกาลที่ ๓ หรือก่อนหน้านั้นครับ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 ธ.ค. 08, 15:30

ขอบพระคุณค่ะ

รู้จักเจ้าจอมมารดาเอมค่ะ

ธิดาหลวงปรานีประชาชน(แมลงทับ) ยกกระบัตรกรุงเก่าและท่านเอี่ยม
มีพระองค์เจ้่าลูกเธอพระองค์หนึ่งคือ พระองค์เจ้าหญิง อนงค์นพคุณ

เป็นข้อมูลพื้นฐาน

ถ้าเจออะไรแปลกๆจะกลับมาเรียนค่ะ
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 ธ.ค. 08, 15:45

มีข้อมูลมาให้คนมือยาวเป็นแม่นาคครับ

๑. ในจดหมายเหตุสยามไสมย ที่คุณอ้วนแห่งต้นฉบับนำมาพิมพ์ต่ออายุหนังสือเก่า มีข้อมูลในปี จ.ศ.๑๒๔๕ ว่า
     "พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าอนงค์นพคุณ เปนพระเจ้าลูกเธอที่ ๓๕
     …สิ้นพระชนม์ ณ วันเสาร์ เดือนสี่ แรมสิบเอ็ดค่ำ ปีมะแม เบญจศก …พระชนมายุได้ ๒๗ ปี
"

๒. ถึงแม้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับพระยาทิพมณเฑียร (ผึ้ง) ทั้งจากหนังสืออนุสรณ์ฯ และจาก web link จะสอดคล้องกัน
     แต่ในหนังสือที่ว่าด้วยนามสกุลพระราชทานได้ระบุไว้ดังนี้
     "พระวิจิตรคุณสาร (อุ้ย) ผู้ว่าราชการเมืองนครพนม ทวดชื่อพระยามณเฑียรบาล (เมือง) ปู่ชื่อหลวงปราณีประชาชน (ทับ)"
   
๓. พระยามณเฑียรบาล (เมือง) มีกี่ท่าน? เพราะเท่าที่ผมได้ลองลำดับรายชื่อดูมีอย่างน้อย ๓ ชื่อ ครับ
     ...พระยามณเฑียรบาล (เมือง นาครทรรพ)
     ...พระยามณเฑียรบาล (เมือง นครานนท์)
    ...พระยามณเฑียรบาล (เมือง บุรโกเสส)
   



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 ธ.ค. 08, 17:39

สวัสดีค่ะ  คุณ เงินปุ่นศรี


ขออนุญาต ร้อง เหวอ.......เรื่อง พระยามณเฑียรบาล


วันนี้ยังคุยกับสหายที่สนใจเรื่องเก็บข้อมูลเรื่องรายละเอียด


จดหมายเหตุสยามไสมยทั้งสี่เล่ม น่าอ่านมาก
ซื้อเล่มหนึ่ง ที่มีเล่มสองอยู่ด้วยกัน  อ่านอยู่หนึ่งวันหนึ่งคืน
ตามไปที่ร้านคุณธงชัย เพื่อไปซื้อเล่มสาม  อ่านอยู่ทั้งคืน

วันนั้นล้อตของคุณลุงบรรเจิดเข้าพอดี  ได้ชมเป็นขวัญชีวิต

เล่มสี่นี่ตามอยู่เกือบสองปี



ไม่ค่อยได้ใช้ ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี มากนัก  จำเป็นต้องใช้เล่มของเจฟฟรี แทน
บางทีก็ใช้เล่มสีแสด มหามกุฎราชสันติวงศ์  พิมพ์ดีเหลือเกิน

เล่ม พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ของคุณชายศุภวัฒน์ และ อาจารย์รัชนี   ตอบคำถามได้มากค่ะ



เรื่องสาแหรกขุนนาง  พอหาได้ค่ะ  แต่ไม่ชอบมากนัก
ชอบเล่มสีชมพูของ นายโหมด อมาตยกุลมากที่สุดเลยค่ะ
หนังสือเล่มยาว และ เล่มอ้วนของ บุนนาค  ก็อ่านอยู่เรื่อยๆ  นึกชมลูกหลานของสกุล ว่าสามารถองอาจนัก



มีเพื่อนคนหนึ่งเก็บข้อมูลสาแหรกขุนนางภาคกลาง
มีเพื่อนใหม่ เก็บเรื่องเดียวกัน ในภาคตะวันออก
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 ธ.ค. 08, 09:05

ขอคารวะมายังคุณ Wandee ครับ
คุณ Wandee เล่าเรื่องตามอ่านหนังสือได้สนุก น่าฟังมากฯ
ผมว่าต้องมีคนเพิ่มอีกหลายคนเลยที่เดียว ที่อยากเห็นอยากอ่านและอยากได้หนังสือแบบคุณ Wandee มี
แล้วหนังสือแต่ละเล่มที่คุณ Wandee กล่าวถึง ก็ระดับขึ้นหิ้งทั้งนั้น

คำว่าขึ้นหิ้งในความหมายของผมคือ เป็นหนังสือที่เรียกว่าใช้อ้างอิงได้นะครับ และก็แน่นอนว่าแต่ละเล่มน่าจะหายากด้วย
(บางท่านอาจจะบอกว่ายังมีบางข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์หรือพลาดไปบ้าง ซึ่งผมว่าก็เป็นธรรมดาครับ
เพราะอย่างที่เราทราบกัน ก็คือว่าเอกสารชั้นต้นในเมืองไทยเราสูญหายไปเยอะ การเรียบเรียงให้สมบูรณืในครั้งเดียวไม่ใช่เรื่องง่าย
และก็ดีใจครับที่คุณ Wandee บอกว่ามีหลายคนที่ได้เข้ามาช่วยกันทำให้สมบูรณ์มากขึ้น)


มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจ้าจอมมารดาเอมในรัชกาลที่ ๔
เป็นประวัติสั้นฯ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพของท่านเจ้าจอมมารดาฯ ดังนี้ครับ
"เจ้าจอมมารดาเอม เกิดเมื่อปีกุญเอกศก พ.ศ.๒๓๘๒ เปนธิดาหลวงปรานีประชาชน ยกรบัตรกรุงเก่า
ได้ถวายตัวทำราชการฝ่ายในฯ รัชกาลที่ ๔ เปนเจ้าจอมมารดา มีพระเจ้าลูกเธอพระองค์หญิงพระองค์ ๑
คือ พระองค์เจ้าอนงค์นพคุณ แต่สิ้นพระชนม์เสียเมื่อปีวอก พ.ศ.๒๔๒๗
"
และ "เจ้าจอมมารดาเอมในรัชกาลที่ ๔ …ถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๖ คำนวณอายุได้ ๗๕ ปี"

ซึ่งถ้านับตามลำดับสาแหรกตามที่ปรากฎในหนังสือ
เราก็อาจประมาณได้ว่าปีเกิดของพระยามณเฑียรบาล (เมือง นาครทรรพ) นั้น
อย่างน้อยก็ต้องอยู่ในช่วงสมัยกรุงธนบุรีหรือก่อนหน้านั้น


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 ธ.ค. 08, 11:15

โล่งใจในคำนิยาม  ขึ้นหิ้ง  ของคุณ เงินปุ้นศรีค่ะ

กลัวอยู่หลายปี  เพราะได้รับการตักเตือนว่า   หนังสือขึ้นหิ้งแล้ว  อย่าแตะ
เอ่อ ...ในที่นี้พูดถึงหนังสือในวรรณกรรมก้าวหน้าเป็นบางเล่ม



ความเป็นมืออาชีพของคนทำงานอย่าง เจฟฟรี่  ไฟน์สโตน  และโอกาสที่ได้จับงานในระดับที่ไม่เคยมีผู้ใดคิด  หรือพยายามทำมาก่อน

รู้สึกบุญคุญของ บรรณาธิการบริหาร  คุณหญิงนริศรา  จักรพงศ์   ที่ เอื้อ    ให้หนังสืออ้างอิงเล่มนี้เป็นตัวตนขึ้นมา


เมื่อหนังสือเล่มนี้ออกมา    วุฒิภาวะของนักอ่าน น้อยมากค่ะ      พลิกดูคร่าวๆแล้วก็จำชื่อได้ไม่มาก    ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องซื้อหามาเป็นสมบัติ
ไม่มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวงวิชาการ ประวัติศาสตร์ใดๆทั้งสื้น
อนิจจา  ทำตัวเป็ญาตินางมณโฑเมื่อแรกกำเนิดไปได้

ไม่เคยนึกเคยฝัน  ว่า ราคาหนังสือ  จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์  พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย   จะขึ้นสูงได้ขนาดนี้   และไม่มีออกมาบ่อยนักด้วย




สยามไสมย นั้น  คุณธงชัย ได้ต้นฉบับมาจาก คุณ สุพจน์  แจ้งเร็ว
(ทำให้สงสัยต่อตามประสานักอ่านว่า   คุณสุพจน์ยังมีหนังสือ เก่า  อะไรอีก....)
มีเรื่องราวที่ไม่เคยมีใครเปิดเผยมาก่อน

บรัดเล  ก็  บรัดเล เถอะ   ออกหนังสือเล่าเรื่อง อ๊อกสุเชน เป็นหลายหน้า  แปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษอีกด้วย

ครูสมิท  ด้วยความชำนาญ  ยืมหนังสือ ก.ศ.ร. กุหลาบมาพิมพ์ตั้งหลายเล่ม
ข่าวสังคมก็เก๋มากค่ะ     วังหน้า เสด็จโดยชล ไปเยี่ยมเจ้าเยอรมันที่มาประเทศไทย  มี บรัดเล(ลูก)  นั่งอยู่หน้าบัลลังก์ที่ประทับในเรือพระที่นั่งไปด้วย

หนังสือสยามไสมย ทำให้เกิดความตื่นเต้น ภูมิใจที่ได้อ่าน   และ ความรู้สึกนี้ได้เปลี่ยนเป็น ความรักและปรารถนาดี ต่อ คุณ​ธงชัย  ลิขิตพรสวรรค์ อย่างหาที่เปรียบไม่ได้


เดี๋ยวไปหาชื่อขุนนางสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ต่อ อีกหน่อยค่ะ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 ธ.ค. 08, 16:58

เพิ่งค้นพบ  ทำเนียบนามภาค ๒  ตำแหน่งข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวร

กรมวัง

พระยามณเฑียรบาล        ศักดินา  ๕๐๐๐  เทียบ ธรมา

พระยาเทพมณเฑียร        ศักดินา  ๕๐๐   เทียบบำเรอภักดี

พระยาทิพมณเฑียร        ศักดินา ๕๐๐   เทียบอนุรักษ์ราชมณเฑียร


แปลกที่เห็น ศักดินาน้อย 
เมื่อเทียบกับพระยาใน กรมมหาดไทย  ก็ คล้ายกัน



ลองเทียบกับกรมที่พอจะรู้จัก  คือ กรมอาลักษณ์
พระสุนทรโวหาร        จางวาง           ศักดินา   ๒๕๐๐
หลวงลิขิตปรีชา        เจ้ากรม           ศักดินา  ๑๕๐๐
อ้อ  คุณหลวงคนนี้เองที่ ท่าน แพ ตาละรักษ์ เล่าว่า ถือยศมาก  บ่าวไพร่ก็ให้แต่งตัวโอ่อ่า  แต่ พระสุนทรโวหาร(ภู่ )  รักษามารยาทอ่อนน้อม

ขุนสาราบรรจง        ปลัดกรมขวา          ศักดินา ๘๐๐
ขุน จำนงสุนทร        ปลัดกรมซ้าย          ศักดินา ๕๐๐


วันนี้อ่าน สยามประเภท เล่ม ๔  ตอน ๑ - ๒๔     ยังหา สาแหรกไม่เจอเลยค่ะ   เจอแต่กระจาด
บันทึกการเข้า
เงินปุ่นสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 47


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 ธ.ค. 08, 10:05

เห็นด้วยกับคุณ Wandee ครับที่ว่า ศักดินาที่ระบุไว้นั้นน้อยไป
เพราะส่วนใหญ่เท่าที่จำได้ แม้จะเป็นในตำแหน่งที่อยู่ในส่วนกลาง บรรดาศักดิ์ในชั้นพระยา อย่างน้อยก็ต้องขึ้นหลักพัน

ได้ย้อนกลับไปดูกระทู้เก่า พบว่ามีคุณ PK11 ได้ถามเกี่ยวกับพระยาทิพมณเฑียรมาครั้งหนึ่งแล้ว
[http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1973.0]

ไม่แน่ใจว่าคุณ PK11 กับคุณ PPKK จะเป็นท่านเดียวกันหรือไม่
แต่ถ้าใช่ก็เข้าใจได้ว่าคุณ PPKK ตั้งใจจะหาประวัติของ พระยาทิพมณเฑียร (บัว ทิพโกมุท)

ประวัติของเจ้าคุณทิพมณเฑียร (บัว) นั้น ก็คงอย่างที่คุณ PPKK ทราบ
คือว่าเข้าใจว่าท่านเป็นคุณปู่ของคุณหลวงวิเศษศิลปศาสตร์ ที่ได้รับพระราชทานามสกุล "ทิพโกมุท"
และคุณหลวงวิเศษศิลปศาสตร์ ท่านนี้น่าจะเป็นท่านเดียวกับผู้แต่ง "ประวัติโรงเรียนทหารบก"



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 ธ.ค. 08, 12:44

ข้าราชการในพระราชวังบวร ฯ   เท่าที่อ่านพบในประวัติศาสตร์  คงเป็นท่านผู้มีบทบาทในการรบ และได้เข้าร่วมในราชการสงครามเป็นส่วนมาก


ตัวอย่างเช่น
สยามประเภท เล่ม ๓  ตอนที่ ๑๙    วันศุกรที่ ๑ มิถุนายน   ร,ศ, ๑๑๙  หน้า ๑๔๘๕ -  ๑๔๘๖
(รักษาตัวสะกดเดิม)

ณะเดือนยี่  ขึ้นสิบห้าค่ำในปีกุนนี้   หลวงรักษาเทพย์เจ้ากรมพระตำหรวจฝ่ายพระราชวังบวร ฯ กับหลวงอัศนัยณรงค์
 และนายฉลองไนยนารถ มหาดเล็กหุ้มแพรฝ่ายพระราชวังบวร
เปนข้าหลวงสามนายคุมกองทัพ ...............................

..................................
..................................
พระพรหมสุรินทร์เจ้ากรมพระตำหรวจฝ่ายพระราชวังบวร ฯ 
จมื่นสิทธิแสนยารักษ์ ปลัดกรมพระตำหรวจฝ่ายพระราชวังบวร ฯ
.............................................................
พระยาอภัยสงครามเจ้ากรมเขนทองในพระราชวังบวร ฯ
จมื่นศักดิบริบาล ปลัดกรมพระตำรวจในพระราชวังบวร ฯ
หลวงมหิมาโยธีในพระราชวังบวร ฯ
ให้คุมทัพไปรักษาเมืองนครเสียมราฐ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง