เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 59866 พระนางศุภยาลัต
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 10:26

เธอเคยทำหนังสือขอไปยังรัฐบาลอินเดีย เพื่อขอไปพำนักยังตำหนักรัตนคีรีบ้านเดิมที่เธอกำเนิดมา  แม้ค้างได้แค่คืนเดียวเธอก็พอใจแล้ว
แต่รัฐบาลอินเดียก็ไม่ได้อนุญาตตามคำขอจนแล้วจนรอด

พระตำหนักรัตนคีรี บ้านเกิดของ ตู ตู



 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 11:04

ขออนุญาตถือโอกาสนี้ ส่งความสุข พ.ศ. ๒๕๕๖ แด่ชาวเรือนไทยทุกท่าน

สุข    สดชื่นจิตน้อม         ความดี
ศรี     ศักดิ์เกิดเลิศทวี       ยิ่งล้น
ปี      เก่าล่วงเริ่มปี           ฟ้าใหม่
ใหม่   จิตใหม่ใจพ้น          หมดสิ้นทุกข์เทอญ

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 03 ม.ค. 13, 21:39

^
ขอบคุณ ในนามชาวเรือนไทยค่ะ

มาต่อเรื่องชะตากรรมของเจ้านายพม่ากันให้จบนะคะ

เจ้าหญิงองค์ที่สาม ซึ่งเป็นคนสุดท้อง มีชะตากรรมเรียกได้ว่าดีกว่าพี่ๆ นิดหน่อย   
องค์นี้ฝรั่งเรียกว่า Princess Myat  Phaya   ขอเรียกแบบไทยๆว่าเจ้าหญิงมาดพญา   องค์นี้ไม่ได้ประสูติในพม่า แต่ไปประสูติในอินเดียเมื่อพระบิดาพระมารดาถูกเนรเทศออกพ้นบ้านเกิดไปแล้ว      เมื่อพระเจ้าสีป่อสิ้นพระชนม์  พระนางศุภยาลัตได้โอกาสเดินทางกลับพม่าพร้อมๆพระธิดา    โดยรัฐบาลอังกฤษเห็นว่าเหลือกันแต่ผู้หญิงทั้งนั้น ไม่น่าจะก่อปัญหาการเมืองใดๆได้   ก็เลยอนุญาต

ข้อนี้เป็นเหตุให้เจ้าหญิงมาดพญาสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติมากกว่าพี่ๆ   คือมีโอกาสแต่งงานกับหนุ่มพม่าที่สมน้ำสมเนื้อได้ ไม่มีข้อกีดขวาง   สามีของเธอชื่อ Kodaw Gyi Naing  ซึ่งแปลงเป็นไทยๆว่า ขอดาว ขจี นายอิง   เป็นเชื้อสายเจ้านายพม่าด้วยกัน    แต่ว่าชีวิตสมรสของเธอกับเจ้าขอดาวนี้ก็เจอมรสุมเข้าจนได้   อยู่กันได้ 7 ปีก็หย่าขาดจากกัน
จากนั้นเจ้าหญิงมาดพญาก็สมรสใหม่กับทนายความพม่า ชื่อนายอูเมียอู     อยู่กันมาได้ยืนนานจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นบุกพม่า    สามีเธอก็เสียชีวิต   ทิ้งให้เธอเป็นม่ายจนถึงแก่กรรมในค.ศ. 1962

เธอมีบุตรชายเกิดจากสามีคนที่สองอยู่ 2 คน  คนโตถูกลอบสังหารโดยคอมมิวนิสต์ในพม่า  คนที่สองอยู่มาได้ ชื่อ  Taw Phaya   ชื่อนี้ออกเสียงง่ายดี ว่า "ท้าวพญา"   คุณชายท้าวพญาถือเป็นผู้สืบเชื้อสายจากบัลลังก์นกยูงของราชวงศ์คองบองชั้นอาวุโสเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่    แต่ไม่รู้ว่าในค.ศ. 2013 นี้ยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า   เพราะเกิดตั้งแต่ค.ศ. 1924   
อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังมีลูกมีหลานสืบเชื้อสายเจ้านายพม่ากันต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:43

ส่วนตำหนักรัตนคีรี ปัจจุบันทำเป็นพิพิธภัณฑ์   แต่ก็ทรุดโทรม  เพราะขาดการบำรุงรักษา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:47

เรื่องราวของพระนางศุภยาลัตจบแล้ว  แต่กระทู้ยังมีอะไรต่อได้นอกเรื่องอีกนิดหน่อยค่ะ     
ระหว่างไปค้นเรื่องพระเจ้าสีป่อและพระนางก็พลัดเข้าไปเจอรูปอะไรต่อมิอะไรที่แสดงอดีตและวัฒนธรรมของพม่าอีกหลายรูป  จะทิ้งก็เสียดาย   จะเอาไปใส่ไว้ในวิกใกล้เคียงก็ไม่เข้ากับเนื้อหาบรรยากาศพม่ารบฝรั่ง
เลยเอามาต่อท้ายกระทู้นี้ก็แล้วกัน

รูปแรกคือรูปพระราชวังช้างเผือก ที่อมรปุระ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:51

ถ้าใครสนใจชีวิตพระนางศุภยาลัต  อยากอ่านในแง่มุมอื่น  หาอ่านได้ที่นี่ค่ะ

http://archive.org/stream/thibawsqueen00fieluoft#page/24/mode/2up
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 21:58

ทศกัณฐ์พม่า    เขาก็มีรามเกียรติ์ตามแบบเขาเหมือนกันค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 22:01

เหล่านางรำในราชสำนัก มีตั้งแต่ตัวจิ๋วๆ ไปจนรุ่นสาว  ภาพนี้ถ่ายประมาณค.ศ. 1890


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 04 ม.ค. 13, 22:10

ส่วนตำหนักรัตนคีรี ปัจจุบันทำเป็นพิพิธภัณฑ์   แต่ก็ทรุดโทรม  เพราะขาดการบำรุงรักษา

ภาพชุดนี้ ถ่ายเมื่อปีที่แล้วเอง พระตำหนักยังอยู่ในสภาพดีพอใช้

เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม ค่าผ่านประตูคนละ ๗ รูปี

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 05 ม.ค. 13, 08:51

พระนางศุภยลัตได้รับอนุญาตให้ออกจากวังในรัตนคีรีกลับคืนสู่แรงกูนในวันที่๑๐เมษายน๑๙๑๙ แต่มิได้เป็นอิสระแท้จริง เพราะยังคงอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษต่อไปจวบจนสิ้นพระชนม์ในปี๑๙๒๕ อย่างไรก็ดี พระนางมีโอกาสได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ หม่อง กา เล เมื่อทรงมีพระชนมายุ๖๕พรรษาว่า
“ตอนพระเจ้าเหนือหัวสวรรคตเมื่อ๑๕ธันวาคมปี๑๙๑๖ เราไม่มีเงินพอที่จะจัดพิธีพระบรมศพถวาย ไม่มีแม้กระทั่งโอกาสจะได้ทำบุญอุทิศพระราชกุศลตามประเพณี เราตั้งพระบรมศพไว้ในห้องๆหนึ่งที่วัง จนวันที่๑๗กุมภาพันธ์ ๑๙๑๗ จึงย้ายมาบรรจุที่พระราชสุสานที่สร้างไว้ในบริเวณวังนั่นเอง จนกระทั่งเดือนมีนาคม ๑๙๑๗ พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลก็มาย้ายพระราชสุสานไปตั้งใหม่ในป่าแห่งหนึ่ง"

พระราชธิดาเจ้าหญิงมธุรสศุภรา (Princess Madarus Suphara - her daughter and Princess) เคยประทานประทานสัมภาษณ์นิตยสารมหาพันธุละว่า “พระราชสุสานตั้งอยู่ใจกลางป่า ไกลจากวังมาก ต้องเดินทางกันครึ่งค่อนวันจึงจะไปถึง”

พระนางศุภยาลัตทรงอ้างในระหว่างการสัมภาษณ์ครั้งนั้นว่า ทรงอยากจะย้ายพระราชสุสานกลับมาพม่า แต่รัฐบาลอังกฤษปฏิเสธเพราะเกรงว่าจะเกิดกระแสต่อต้านจากมวลชนที่เห็นว่าอังกฤษเอากษัตริย์ของพวกตนไปเป็นๆแต่คืนกลับมาให้แค่ร่างที่หาชีวิตไม่แล้ว ไม่ยอมแม้แต่จะให้นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพระบรมศพกลับมาพม่า จึงเฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของบรรดาพระราชวงศ์ ทั้งยังจัดยามคอยเฝ้าดูพระราชสุสานด้วย

เมื่อพระนางศุภยลัตเสด็จกลับพม่าในปี๑๙๑๙นั้น พระนางศุภยาจี พระขนิษฐาซึ่งเป็นพระมเหสีอีกองค์หนึ่งของพระเจ้าสีป่อมิได้เสด็จด้วย คงอยู่ในวังที่รัตนคีรีนั่นเองจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในสองสามปีต่อมา รัฐบาลอังกฤษได้นำพระศพไปบรรจุไว้ในพระราชสุสานเคียงข้างกัน

ทุกวันนี้พระราชสุสานที่ว่ากันว่าอยู่ใจกลางป่าในครั้งกระนั้น กลายมาเป็นป่าคอนกรีตซึ่งเป็นย่านพักอาศัยของชาวเมืองไปแล้วอย่างน่าพิศวง ขอบคุณรัฐบาลอินเดีย(จากใจชาวพม่า)ที่ได้ทำการบูรณะพระราชสุสานเมื่อปี๑๙๙๔ และเว้นที่ตรงนั้นไว้ให้โดยการสร้างกำแพงเล็กๆ ป้องกันมิให้คนเข้าไปใช้พระราชสุสานเป็นลานตากเสื้อผ้าดังเช่นที่เคย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 05 ม.ค. 13, 09:34

พระนางศุภยาลัต สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ รัฐบาลอังกฤษจัดการพระศพให้ตามธรรมเนียม แต่ไม่อนุญาตให้เชิญพระศพขึ้นไปที่ราชธานีกรุงมัณฑเลย์ คงอนุญาตเพียงแต่ทำเป็นมณฑปบรรจุพระอัฐิ เป็นกู่ทรงมณฑปยอดปราสาทแบบพม่า ก่ออิฐฉาบปูนขาว รูปทรงคล้ายมณฑปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้ามินดง ณ กรุงมัณฑเลย์  

อยู่ที่ถนนเจดีย์ชเวดากอง (Shwe Dagon Pagoda Road) ห่างจากบันไดด้านทิศใต้ของพระเจดีย์ชเวดากองมาประมาณ ๒๐๐ เมตร

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 05 ม.ค. 13, 09:36

เธอมีบุตรชายเกิดจากสามีคนที่สองอยู่ 2 คน  คนโตถูกลอบสังหารโดยคอมมิวนิสต์ในพม่า  คนที่สองอยู่มาได้ ชื่อ  Taw Phaya   ชื่อนี้ออกเสียงง่ายดี ว่า "ท้าวพญา"   คุณชายท้าวพญาถือเป็นผู้สืบเชื้อสายจากบัลลังก์นกยูงของราชวงศ์คองบองชั้นอาวุโสเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่    แต่ไม่รู้ว่าในค.ศ. 2013 นี้ยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า   เพราะเกิดตั้งแต่ค.ศ. 1924  
อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังมีลูกมีหลานสืบเชื้อสายเจ้านายพม่ากันต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน

ท่าน "ท้าวพญา" พระนัดดาองค์สุดท้ายของพระเจ้าสีป่อ เสียชีวิตแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ และนำพระอัฐิมาฝังไว้ในกู่เดียวกับพระนางศุภยาลัต ที่มีศักดิ์เป็น "พระอัยยิกา"  ที่ฐานล่างมีแผ่นจารึกเล็ก ๆ ของท่านอยู่

ภาพโดย คุณ NMkrung แห่งพันทิป

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 05 ม.ค. 13, 09:51

เป็นกู่ทรงมณฑปยอดปราสาทแบบพม่า ก่ออิฐฉาบปูนขาว รูปทรงคล้ายมณฑปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้ามินดง ณ กรุงมัณฑเลย์  

มณฑปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้ามินดง

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 05 ม.ค. 13, 09:52

ส่วนตำหนักรัตนคีรี ปัจจุบันทำเป็นพิพิธภัณฑ์   แต่ก็ทรุดโทรม  เพราะขาดการบำรุงรักษา

ภาพชุดนี้ ถ่ายเมื่อปีที่แล้วเอง พระตำหนักยังอยู่ในสภาพดีพอใช้

เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม ค่าผ่านประตูคนละ ๗ รูปี

 ยิงฟันยิ้ม
ภาพโฆษณาพิพิธภัณฑ์มั้ง คุณเพ็ญ เชิญชวนให้คนเข้าไปชม ก็ต้องเลือกมุมที่ดูดีที่สุด
อ่านที่นี่นะคะ
Now it has also been partly converted into a museum. The museum is rather pitiful as it has only four rooms. The three rooms on the first floor have some old, badly damaged copper vessels, old photographs and the last room is an attempt to recreate the grandeur of the  palace. At present, the palace is in shambles and some portion of the roof and walls may collapse at any moment.

http://www.deccanherald.com/content/79027/remains-lost-kingdom.html
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 05 ม.ค. 13, 09:59

คุณ Puru Tiger  ไปเที่ยวพระตำหนักนี้เมือเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เขียนบรรยายไว้ว่า

Our next place of visit in Ratnagiri was the almost forgotten, Thibaw Palace. I say “almost forgotten” because the palace is extremely well kept.  However there are very few visitors. And the entry fee is Rs. 7. Which is about 7 cents!!
 
If this was in any western country, then you can guarantee that it would be minting money like crazy. Such a beautiful piece of history, yet so few seem to know about it!

Even we stumbled upon it accidently when we stopped to ask locals about places to visit!

This picture tells the story about the palace.

Just for your interest, $1 = Rs 50

So this palace was build at the cost of approximately $2500!! :-)…in the year 1906

http://www.purusphotos.com/2011_09_01_archive.html

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง