เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9727 ทาส หรือ ทาษ คะ?
เขียวใสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


 เมื่อ 27 ต.ค. 08, 12:15


ขอรบกวนถามค่ะ.....เคยเห็นเขียนทั้ง ๒ อย่าง

ทาส หรือ ทาษ คะ?
   ฮืม
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 ต.ค. 08, 16:05

มาช่วยตอบทั้งที่ไม่ใช่ครูภาษาไทย
บังเอิญมีพจนานุกรมฉบับ ๒๕๔๒ ในมือ
ทาษ (โบ) น. ทาส
หมายความว่าเป็นคำโบราณ ไม่ได้เขียนกันแบบนี้นานแล้ว
ทาส มีคำอธิบายยาวเหยียด ลอกไม่ไหว ก็เลยเข้า royin ไปคัดมาให้ ลองเปิดดูนะคะ

http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-search-all-x.asp

ทาส, ทาส- [ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาส
 ความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอํานาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาส
 การพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าว
 ทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า
 ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ
 ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่าทาสสินไถ่, ผู้ที่เป็น
 คนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความ
 ว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).
 
 
บันทึกการเข้า
เขียวใสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ต.ค. 08, 18:11


ขอบคุณคุณกุ้งแห้งค่ะ  อุตส่าห์ไปหาคำตอบมาให้

พอดีไปเห็นชื่อเพลง "คู่ทาษ" (เพลงสุนทราภรณ์)

จึงสงสัยว่ายังไงแน่....ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 ต.ค. 08, 02:15

การสะกดคำสมัยก่อนยังไม่มีมาตรฐานครับ ศัพท์บาลี-สันสกฤต ที่ใช้ "ส" คนสมัยก่อนมักสะกดด้วย "ษ"  ลังเล เช่น

หงส์ สมัยก่อนคือ หงษ์
วงศ์ (บาลี: วงส์) สมัยก่อนคือ วงษ์

ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าทำไม ทั้งๆ ที่รากคำเดิมใช้ "ส" เช่นคำว่า "ทาส" นี้ คำบาลี-สันสกฤต ก็เขียน ทาส

นึกไปถึง รัชกาลที่ ๔ ทรงเคยวิจารณ์พวกปราชญ์ที่อวดรู้ ไปเปลี่ยนแปลงคำที่ถูกอยู่แต่เดิมให้เพี้ยนไป ถ้าจำไม่ผิดทรงยกตัวอย่างคำว่า "ลพบุรี" ที่มีหลายคนเปลี่ยนเป็น นพบุรี หรือ หนักกว่านั้นคือ ชื่อเมือง "เมกกะ" (มักกะหฺ) นักแปลเมื่อก่อนแปลกันดื้อๆ ว่า "กบิลพัสดุ์" โดยไปเทียบกับสถานที่ในพุทธประวัติ

บันทึกการเข้า
เขียวใสแสง
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ต.ค. 08, 05:20

                   
                            ขอบคุณค่ะ   ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ต.ค. 08, 14:47

ข้อสันนิษฐานของผมเองนะครับ

สมัยอยุธยาตอนต้น มีอิทธิพลของภาษาสันสกฤตอยู่มาก โดยผ่านทางพราหมณ์ในราชสำนัก แต่เมื่อิทธิพลของศาสนาฮินดูลดลง การศึกษาภาษาสันสกฤตก็พลอยหายไปด้วย โดยภาษาบาลีมีอิทธิพลในภาษาไทยมากขึ้น สืบทอดผ่านการศึกษาพระพุทธศาสนา

ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้ คือภาษาบาลีไม่มี ษ และ ศ อย่างภาษาสันสกฤต คือมี ส เพียงตัวเดียว

คิดว่าความสับสนมาจากตรงนี้ครับ คนที่เรียนหนังสือ เกิดความสับสน ไม่รู้ว่า ศ ษ คืออะไร ไม่รู้ว่าคำพวกนี้มาจากภาษาสันสกฤต (หรือรู้แต่ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร) ใช้กันแบบใช้ต่อๆกันมา ก็เลยใช้ปนกันแบบจับหลักไม่ถูก

เพิ่งจะมาจัดระเบียบใหม่ เขียนถูกต้องตามอย่างภาษาสันสกฤตไม่กี่นานมานี้เองครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 ต.ค. 08, 22:02

เท่าที่เคยอ่านมานะครับ

ในสมัยอยุธยา (อาจรวมไปถึงสุโขทัยถึงต้นรัตนโกสินทร์)

เราใช้อักษรขอม(เขมร) ในทางศาสนา เช่น ใช้เขียนภาษาบาลีสันสกฤต ใช้จารพระไตรปิฎก ใช้เขียนยันต์ เป็นต้น
ถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ต้องเขียนให้ถูกตามหลักไวยากรณ์ผู้ใช้มักเป็นปราชญ์ นักบวช หรือชนชั้นสูง

ส่วนอักษรไท(ย) นั้นใช้ในทางโลก เช่น บันทึกพงศาวดาร เขียนจดหมาย เป็นต้น
เน้นเพื่อการสื่อสารเป็นสำคัญ ไม่จำเป็นต้องเขียนถูกต้องตามไวยากรณ์ แต่สำคัญที่เสียง คืออ่านแล้วออกเสียงได้ถูกต้องตามยุคสมัยนั้น เช่น บันได จะสะกด บรรได ก็ได้ ขอให้อ่านว่า บัน-ได เป็นพอ
อีกตัวอย่าง คำว่า ไมตรี ซึ่งมีรากศัพท์จากสันสกฤต แต่คนโบราณออกเสียง ไม้-ตรี จึงสะกดว่า ไม้ตรี นอกจากนี้อาจเขียนเพื่อความสวยงามได้ด้วย เช่น บันได เป็น บรรได ไท เป็น ไทย ซึ่งทำให้ดูเป็นบาลีสันสกฤตมากขึ้น ดูสวยงามมีระดับเพราะเราถือว่าบาลีสันสกฤตเป็นของสูง (เหมือนปัจจุบันที่ชื่ออะไรเป็นภาษาอังกฤษจะดู "เท่" และ "มีระดับ" แต่ยุคนั้นต้องทำให้เป็น "แขก" -ฮา)

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ เรามีการติดต่อกับตะวันตกมากขึ้น มีการทำสนธิสัญญาเบาริงทำให้สยามต้องเปิดเสรีการค้า ฯลฯ

เราเริ่มทิ้งอักษรขอม ให้ความสำคัญกับอักษรไทย เพราะต้องการให้เป็นอักษรประจำชาติทั้งทางโลกและศาสนา(ตอนแรกร.๔ ทรงคิดอักษรอริยกะ แต่ไม่ได้แพร่หลายนัก) มีการจัดไวยากรณ์ไทยให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น และได้รับอิทธิพลจากตะวันตกด้วย(เครื่องหมาย สัญลักษณ์)
นอกจากนี้ ในทางศาสนา ก็ใช้อักษรไทยเขียนบาลีแทนขอมเป็นครั้งแรก อย่างที่เราใช้ในปัจจุบัน เช่น นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสฺมพุทฺธสฺส เป็นต้น
ซึ่งเวลาอ่านจะยากกว่าการอ่านจากอักษรขอม เพราะไม่ได้ออกแบบไว้การนี้แต่แรก

และปัจจุบันอักษรไทยก็ใช้ทั้งในภาษาบาลีและไทย และมีการกำหนดหลักไวยากรณ์การเขียนเป็นรูปแบบตายตัว

แต่ก็เห็นด้วยกับคุณCrazyHOrse คคห. ๕ นะครับ เพราะวรรณคดีโบราณก่อนที่เรารับขอมมามากๆนั้น ส่วนใหญ่ใช้คำไทย เช่น โองการแช่งน้ำ
แต่พอเรารับขอมมาก็ใช้คำสันสกฤตกันมาก โดยเฉพาะชนชั้นสูง และมีอิทธิพลจากมหาภารตะและรามายณะอยู่มาก เช่น ยวนพ่าย
แต่ยุคหลังเหมือนความรู้ด้านนี้จะเสื่อมลงไปมากทีเดียว  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง