เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4688 เรียนถามว่า นายมีผู้เล่นเสภากับครูแจ้ง คือใคร
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 08 ส.ค. 08, 08:49

พยายามอ่านหนังสืออยู่กับเพื่อนกลุ่มหนึ่ง  ตกลงกันไม่ได้  จึง บ่ายหน้ามาขอพึ่ง เรือนไทย


รู้จักหมื่นพรหมสมพัตสร
รู้จักนายมีมหาดเล็กบุตรพระโหราธิบดี
รู้จักครูแจ้ง และงานของท่าน

ไม่มีความรู้พอว่า  นายมีที่เล่นเสภากับครูแจ้ง เป็นหมื่นพรหมสมพัตรสร หรือ นายมีมหาดเล็ก หรือนายมี ๓
จะคิดเองก็ใช่ที่

จึงมาขอความรู้จาก เรือนไทยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ส.ค. 08, 10:10

มีความรู้น้อยมากในเรื่องครูเสภา ค่ะคุณ Wandee

ไปเปิดพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ  ที่ทรงเล่าไว้เรื่องครูเสภา  ได้ความว่า
เสภาขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม   ผู้แต่งเอ่ยถึงครูเสภาเอาไว้ในฉากนางทองประศรีจัดงานทำขวัญพลายงาม

สมภารรับกลับมายังอาวาส                       เสียงพิณพาทย์พวกพ้องทองประศรี
หาเสภามาทั่วที่ตัวดี                                ท่านตามีช่างประทัดถนัดรบ

และในบทไหว้ครูเสภา  ก็เอ่ยอีกครั้งว่า

ทีนี้จะไหว้ตาครูสน                                  เป็นนายประตูครูคนทุกแหล่งหล้า
ไหว้ครูมีช่างประทัดถัดลงมา                     ครูเพ็งเก่งว่า ข้างสุพรรณ


ครูมีคนนี้ชอบขับเสภาตอนรบทัพจับศึก เช่นตอนพลายแก้วไปตีเมืองเชียงใหม่ หรือตอนขุนแผนตีเมืองเชียงใหม่
คำว่า ช่างประทัด  หมายถึงอาชีพของครูมี  เป็นช่างทำประทัด

แต่ครูมีคนนี้ เป็นคนละคนกับ ครูมีแขก ที่มีชื่อระบุไว้ในบทไหว้ครูอีกตอนหนึ่งว่า

ครูมีแขกคนนี้คนนี้เขาดีครัน                     เป่าทยอยลอยลั่นบรรเลงลือ

พวกนี้เป็นครูเสภารุ่นเก่าสมัยรัชกาลที่ ๑ และ ๒    ไม่ใช่นายมีหมื่นพรหมสมพัตสรซึ่งเป็นหนุ่มในรัชกาลที่ ๓   คนละคนค่ะ ชื่อซ้ำกัน

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ส.ค. 08, 10:46

ในเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ของคุณสุวรรณ มีวรรคหนึ่งที่น่าสนใจครับ

เบื่อเดือนสิบสองตาแจ้งขับรับกับนายมี

ไม่รู้ว่าเดือนสิบสองที่ว่านี้ เกี่ยวข้องอะไรกับนิราศเดือนของนายมีหรือเปล่านะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ส.ค. 08, 11:03

ไม่ได้เห็นข้อความเต็มๆ ตอบคำถามคุณม้าไม่ได้ค่ะ

อ่านได้แค่วรรคที่คุณม้ายกมา  ตีความได้แค่ว่า
๑  มีครูเสภา ๒ คนชื่อนายแจ้งและนายมี
๒ ประชันเสภากันเป็นประจำในเดือน ๑๒ 
๓ คุณสุวรรณคงฟังซ้ำซากมาหลายปีเต็มที จนเบื่อ
๔ เหตุการณ์ตอนนี้อยู่ในรัชกาลที่ ๓  ปีไหนไม่ทราบ แต่ต้องก่อนปี ๒๓๘๘ ซึ่งเป็นปีที่เจ้านายคุณสุวรรณ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ส.ค. 08, 11:32

ขอบคุณค่ะ   คุณ  Crazy HOrse and  คุณเทาชมพู

คุณสุวรรณเธอเคืองจน เอ่อ..กระทืบชานเรือนพังเลยค่ะ 

ข้อมูลเรื่องครูแจ้งก็มีน้อยเต็มที  เท่าที่มีก็ซ้ำกัน

ได้เสภาตอนแต่งงานพระไวยมา 
แล้วไปได้ตำราที่เจ้าพระยาภาสกรวงศ์จำไว้ได้ีตอนครูแจ้งสอน หม่อมพี่สีมาลา(สะกดแบบนี้ค่ะ)  ทำต้มยำ่
ครูแจ้งว่าได้แรงค่ะ

ตามอ่านความคิดต่าง ๆในเรือนไทย  ตั้งไว้เป็นหัวข้อ แล้วพยายามตอบด้วยตนเอง  ก็พอเข้าใจคล่องขึ้น
ไม่มีความรู้โดยตรง  อาศัยอ่านอย่างเดียวไม่พอค่ะ  เรื่องหนังสือหรือเอกสารนั้นพอยื่นมือไปค้นได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 ส.ค. 08, 17:40

คนไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์  ชื่อง่ายๆคำเดียว  ซ้ำกันมาก จนต้องมีคำต่อท้ายชื่อ ให้รู้กันว่าคนไหนเป็นคนไหน
ในแวดวงเดียวกันก็ซ้ำกันได้ เป็นของธรรมดา
ถ้าเอ่ยชื่อ นายมี  ครูเสภา    มีอย่างน้อยก็ ๒ คนในยุคเดียวกัน  ค่ะ  อย่างครูมีแขก  และครูมีช่างประทัด
คุณ Wandee คงอ่านมาแล้วว่า ครูเสภามีใครบ้าง     ก็จะไม่ลอกมาลงให้ละค่ะ
แต่ถ้าอยากอ่านก็บอกด้วยนะคะ   จะเอามาลงให้อีกที

ส่วนครูแจ้ง  เมื่ออ่านจากขุนช้างขุนแผน ฉบับอื่นที่ไม่ใช่ฉบับหอพระสมุด   รู้สึกว่าฝีมือครูแจ้งไม่เบาเลย  ลีลากลอน  สไตล์ลูกผู้ชายชาวบ้าน  เจนจัดฝีมือ   รู้เรื่องข้าวปลาอาหารประเภทบำรุงกำลังเสียด้วย
แต่น่าเสียดายว่า ลีลากลอนของครูแจ้ง ออกจะแรงและอีโรติคไปหน่อย   สมเด็จกรมพระยาดำรงฯคงไม่โปรดเท่าไร เลยถูกตัดไป เหลือมารวมไว้ในฉบับหอพระสมุด น้อยมาก
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 ส.ค. 08, 00:51

ผมค้นเจอเรื่องนายมี กลัวว่าจะซ้ำกับข้อมูลที่คุณ Wandee ค้นมาบ้างแล้ว
หรือข้อมูลที่ผมได้มาอาจจะพลาดบางส่วนเพราะคนเล่าไม่ได้อ้างอิงว่าข้อมูลมาจากไหน
บอกแค่ว่าสมเด็จนริศฯ ทรงบันทึกไว้ผมเลยขออนุญาตส่งมาลงไว้ในกระทู้นะครับ

"สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงบันทึกเกี่ยวกับเรื่องของ นายมี ไว้ตอนหนึ่งว่า
ตามี ได้ยินเรียกกันว่า ตามีบ้านบุ เป็นช่างเขียนจิตรกรรมฝีมือดีในรัชกาลที่ 3 เหมือนกันแต่ไม่เอก
นายมี จะเกิดปีใดไม่ปรากฏ กล่าวกันว่านายมีเป็นบุตรพระโหราธิบดี (ชุม) เคยเป็นศิษย์ทางกวีของสุนทรภู่
เมื่อตอนบวชได้ฝึกหัดวิชาวาดเขียนกับขรัวนาคสำนักวัดเพลงอยู่ในคลองบางระมาด
ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2370 คงจะลาสิขาบทมาอยู่กับกรมหมื่นวงศาสนิท
และพระองค์ได้นำนายมีเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กช่างเขียน สังกัดกรมช่างทหารใน
ในคราวซ่อมวัดพระแก้วนายมีได้เขียนภาพจิตรกรรมตอนสร้างกรุงลงกาใหม่
และเขียนภาพตึกฝรั่งเอาไว้จนเป็นที่ตื่นตาของผู้พบเห็น จึงได้สมญาว่านายมีลงกาใหม่
ภายหลังนายมีเกิดความเบื่อหน่ายในงานจิตรกรรมจึงแต่เพลงยาวเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 3 ขึ้น
เพื่อทูลเกล้าถวาย และขอเปลี่ยนหน้าที่จากตำแหน่งช่างเขียนไปอยู่กรมอาลักษณ์แทน
ต่อมาในราวพ.ศ. 2376 จึงได้เลื่อนเป็น หมื่นพรหมสมพัตสร"



ผมขออนุญาตลอกมาย่อๆเท่านี้ก่อนนะครับพ๊ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 ส.ค. 08, 08:36

นายมี คนที่คุณติบอเล่า ก็คือนายมี ผู้แต่งนิราศพระแท่นดงรัง 
เรียกกันว่า เสมียนมี   คงจะเป็นเพราะเป็นอาลักษณ์
ก่อนหน้านี้เคยเป็นช่างเขียน
ที่เขียนเพลงยาวเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๓ ก็เพราะอยากจะเข้ารับราชการ ในตำแหน่งอาลักษณ์

ราชทินนามสุดท้าย คือได้เป็นหลวงศุภมาตรา ค่ะ

แต่เห็นจะคนละคนกับครูมี แต่งเสภา ในประวัติ  สมเด็จกรมพระยานริศฯ ไม่เห็นทรงบอกเรื่องนี้ไว้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 ส.ค. 08, 21:17

ขอบคุณ คุณติบอในไมตรีค่ะ  คิดว่าคงหาแหล่งที่มาได้ค่ะ   

ขอบพระคุณ คุณเทาชมพู ที่กรุณาแนะนำมาตลอด
ทุกครั้งที่อ่านหนังสือแปลกๆของ นายกุหลาบ  ก็นึกถึงความเห็นที่คุณเทาชมพูได้ให้ไว้
คงจะมีโอกาสนำผลงานของนายกุหลาบที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง มาเรียนคุณเทาชมพู


ได้อ่าน เสมียนมี  ของ คุณ คมทวน คันธนู เพิ่มเติม  พรายแพรวเหลือเกิน
เสียดายที่ไม่เคยเห็นตัวเลย


"เสมียนมีเป็นนักเลงเพลงยาวเคยบอกสักวา
ต้องการเป็นกวีราชสำนักมากกว่ากวีของวังเจ้านาย
มิได้ต้องการเป็นนายอากร  มีความรู้ทางโหราศาตร์
ตำแหน่งสุดท้ายเป็น หลวงศุภมาตรา ประจำเมืองชัยนาท"
(อ่านมาจาก พิเคราะห์วรรณคดีโดยวิถีประวัติศาสตร์ ยุครัตนโกสินทร์ถึงแผ่นดินพระจอมเกล้า  สำนักพิมพ์มิ่งขวัญ เชียงใหม่ ๒๕๔๑  หน้า ๑๘๔ - ๑๙๔)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง