เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 15518 Plutocracy มีคำแปลภาษาไทยไหมครับ
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 09:45

 แต่อันนั้นเป็นคนจีนโบราณครับ ซึ่งถ้าเฟมินิสต์สมัยนี้ได้ยินทั้งคำว่า ภัยผู้หญิง และคำว่า หญิงงามล่มเมือง คงกรี๊ดๆ จริงๆ อย่างว่า

จีน "ใหม่" คือจีนหลังปฏิวัติ (ใหม่ในขณะนั้น) สมัยเป็นคอมมิวนิสต์ พยายามจะบอกว่าการรังเกียจหรือกีดกันผู้หญิงอย่างนั้นเป็นความคิดเก่าของสังคมศักดินา ในจีนใหม่ไม่มีแล้ว ประธานเหมาถึงกับพูดไว้ว่า ผู้หญิงแบกฟ้าไว้ครึ่งหนึ่ง คือเท่าเทียมกับชาย (ซึ่งคงจะแบกฟ้าที่เหลือไว้อีกครึ่งหนึ่ง เพียงแต่ปู่เหมาไม่ได้พูดต่อเท่านั้น)
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 14:08


สำหรับชาว feminists ที่อ่านแล้วอต้นผาง ๆ ก็ปล่อยให้เขาเต้นไปเถิดครับ เพราะว่าผมไม่ไเ้เป็นคนพูด ผมเพียงแค่นำคำพูดของชาวจีนในสมัยนั้นและสมัยต่อ ๆ มา มาบอกเล่าสู่กันฟัง

ความเป็น PC โดยไม่พยายามเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ไม่มีผลดีต่อการทำความเข้าใจอะไรทั้งสิ้น ในทางกลับกัน ผมมองว่ามันเป็นการตั้งกำแพงให้กับการเรียนรู้และรับรู้สิ่งใหม่ ๆ อีกด้วย ซึ่งถ้ามองอย่างนี้แล้ว การกระโดดผาง ๆ ของคนบางพวกก็เท่ากับเป็นการประกาศให้โลกรู้เห็นถึงความกลวงในความประพฤติของคนเหล่านั้น มีอย่างที่ไหน ยังไม่ได้ทำความรู้จักกับอะไรเลยก็เต้นซะแล้ว

ผมคงต้องขออกตัวตรงนี้ว่า ผมไม่ได้มีอะไร หรือ คิดไม่ดีต่อ พวกที่เป็น  feminists ผมเพียงแต่ไม่ชอบการที่คนยังไม่ฟังอะไรเลยแล้วก็ตีโพยตีพาย คิดไปเองน่ะครับ

สำหรับ สาระเบื้องต้นเกี่ยวกับ อู่เจ๋อเทียน ที่อาจารย์เทาชมพูกล่าวถามถึง ผมได้ไปหามาแล้วส่วนหนึ่ง ขอเวลารวบรวมและเรียบเรียงหน่อยนะครับ แล้วจะนำมาขึ้นไว้ที่นี่ ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่าที่เป็นภาษาไทยก็มีหนังสืออยู่หลายเล่มที่กล่าวถึงสตรีผู้มากด้วยความสามารถคนนี้ ทั้งที่เป็นหนังสือเกี่ยวกับตัวพระนางฯ และหนังสือที่รวบรวมสตรีที่โดดเด่นของจีน

แต่ถ้าอาจารย์ต้องการเรียนรู้ถึงว่าลักษณะของสตรีประเภทไหนที่สังคมจีนให้ความเคารพและเทิดทูน(และไม่เคารพ) ผมว่าอาจารย์คงจะต้องไปหา เลี่ยหนู่ว์จ้วน (บันทึก(ที่ว่าด้วย)สตรีที่ควรเป็นตัวอย่าง)ที่แบ่งออกเป็น เจ็ดภาคคือ

หมู่อี้ แบบอย่างของแม่ที่ดี

เสียนหมิง ประเสริฐและเพียบพร้อมไปด้วยฉลาด

เหรินจื่อ เปี่ยมด้วยเมตตาและปัญญาอันเลิศ

เจินซุ่น ครองตัวได้อย่างไม่บกพร่องและเชื่อฟังคำสั่งสอน  

เจี๋ยอี้ มีหลักการในการครองชีพที่ถูกต้องและอยู่อย่างมีสัจจะ

เปี้ยนทง เจรจาแยกแยะได้อย่างแม่นยำและเฉียบคม

เนี่ยปี้ สาวงามอันเป็นที่รักที่สร้าง(แต่)กรรม(ชั่ว)


ส่วนที่ท่านพี่นกข กล่าวนั้น อู่เจ๋อเทียน(625-705AD)  เป็นสตรีในสมัยถัง (618-907AD)ตอนต้น ที่สามารถตั้งตนเป็นฮ่องเต้ที่เป็นสตรีเพศคนเดียวได้ในประวัติศาสตร์จีน โดยตัวพระนางฯ ได้มอบชื่อ โจว (690-705AD)ให้กับราชวงศ์ใหม่นี้ ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้นเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วหยางครับ ส่วนนครฉางอัน เป็น ซีจิง (เมืองหลวงทิศตะวันตก) ซึ่งกลับกันกับราชวงศ์ถังที่ตั้งฉางอันเป็นราชธานี และตั้ง ลั่วหยาง เป็น ตงจิง  (เมืองหลวงทิศตะวันออก)

หากกล่าวโดยคร่าว ๆ ความดีของพระนางนั้นก็มี การสนับสนุนการสอบรับราชการแบบใหม่ (หรือที่คนไทยเรียกติดปากกันว่า สอบจอหงวน) ที่ให้ความสำคัญต่อความสามารถของผู้สมัครเท่านั้น
ขอกจากนั้นพระนางยังมีความสามารถอย่างสูงในการบัญชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอณาจักรรอบข้าง จอกจากนั้นตัวอู่เจ๋อเทียนยังเป็นผู้ให้ความสนับสนุนให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองไม่ว่าในด้านวรรณกรรม ศิลปกรรม และการเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยจัดพิมพ์พระสูตรต่าง ๆ สร้างวัดวาอารามใหม่ ฯลฯ และถ้าหากนับได้ว่าการขจัดพรรคพวกฝ่ายจ้าวแซ่หลี่ไปมากมาย นั้นส่งผลกระทบทางอ้อมทำให้อำนาจของฮ่องเต้กุมอยู่ในมือฮ่องเต้ยุคต่อมามากขึ้น ซึ่งก็เท่ากับเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับราชวงศ์ถัง ผมว่าข้อดีของพระนางก็ไม่น้อยนะครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 21:09

 ...เป็นสตรีในสมัยถัง (618-907AD)ตอนต้น ที่สามารถตั้งตนเป็นฮ่องเต้ที่เป็นสตรีเพศคนเดียวได้ในประวัติศาสตร์จีน โดยตัวพระนางฯ ได้มอบชื่อ โจว (690-705AD)ให้กับราชวงศ์ใหม่นี้ ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้นเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วหยางครับ ส่วนนครฉางอัน เป็น ซีจิง (เมืองหลวงทิศตะวันตก) ซึ่งกลับกันกับราชวงศ์ถังที่ตั้งฉางอันเป็นราชธานี และตั้ง ลั่วหยาง เป็น ตงจิง (เมืองหลวงทิศตะวันออก)...

ขอคำอธิบายเพิ่มเติมด้วย พ่อคุณ อ่านแล้วงงๆ ครับ ตกลงว่าบูเช็กเทียนอยู่ในสมัยถังรึเปล่า หรือสมัยย่อยของพระนางซึ่งยังอยู่ในช่วงราชวงศืถังนั้น ได้ชื่อว่าสมัยโจว? แล้วตกลงราชธานีอยู่ที่ไหน?
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 22:42

 อา..ต้องขออภัยในความไม่ชัดเจนของสิ่งที่เขียนไป

ผมขอขยายความดังนี้

อู่เจ๋อเทียนมีชีวิตอยู่ในช่วงปี 625-705AD ซึ่งเป็นช่วงราชวงศ์ถังตอนต้น

หลังจากทีพระเจ้า ถังเกาจง สวรรคตในปี 683AD เนื่องด้วยพินัยกรรมของพระเจ้า ถังเกาจง ได้มอบอำนาจทุกอย่างไว้ให้อู่เจ๋อเทียน นางจึงแต่งตั้งโอรส หลีเสี่ยน เป็นจักรพรรดิ ถังจงจง พร้อมกับทำหน้าที่(ช่วย)บริหารราชการแผ่นดินจากหลังม่าน
ปีต่อมา 684AD เนื่องด้วยพระนางฯ เห็นว่า พระเจ้า ถังจงจง บริหารราชกิจได้ไม่ดีพอพระเจ้า ถังจงจง จึงถูกปลดออกจากตำแหน่งพร้อมกับลดยศให้เป็น หลู่ว์หลิงหวาง และแต่งตั้งโอรส หลี่ตัน เป็นจักรพรรดิ ถังรุ่ยจง โดยที่พระนางฯ ยังทำหน้าที่ช่วยว่าความราชกิจอยู่เช่นเดิม

ในปี 690AD หลังจากการเตรียมการมานาน อู่เจ๋อเทียน และพวก อ้างว่าเพื่อเป็นการปกป้องสิ่งที่บรรพบุรุษแซ่หลี่สร้างไว้ ปราบดาภิเษกตัวเองให้เป็นจักรพรรดินี พร้อมกับเปลี่ยนชื่อราชวงศ์เป็น โจว พร้อมกับย้ายราชธานีจาก ฉางอัน ไป ลั่วหยาง

ในปี 705AD ด้วยวัย 82 คณะอำมาตย์วางแผนเรียกร้องให้ อู่เจ๋อเทียน คืนอำนาจให้ราชสกุลแซ่ หลี่ โดยแอบไปเชิญอดีต พระเจ้า ถังจงจง กลับมาเป็นจักรพรรดิ บีบบังคับให้พระนางฯ ปลดตัวเองลงจากบัลลังก์แล้วย้ายไปประทับที่วัง ซ่างหยาง ยกเลิกการใช้ชื่อราชวงศ์ โจว กลับมาใช้ชื่อราชวงศ์ ถัง ในปลายปีเดียวกันนั้นเอง พระนางฯ ก็สวรรคตลงที่วัง ซ่างหยาง

ในพินัยกรรม อู่เจ๋อเทียน สั่งให้ยกเลิกพระนามที่ทรงใช้เมื่อเป็นจักรพรรดินี พระเจ้า ถังจงจงพระราชทานพระนามให้ว่า เจ๋อเทียน(เสมอเทียมฟ้า)หวงโฮ่ว

ดังนั้น อู่เจ๋อเทียน อยู่ในสมัย ถัง แน่นอนครับ  

หลาย ๆ คนมองว่า โจว เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ ถัง ครับ อาจจะเรียกว่า subset ครับ

อ้างอิงจาก

 http://www.dajiyuan.com/gb/1/10/7/c6502.htm
http://www.peacehall.com/news/gb/z_special/2004/12/200412031304.shtml  
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 22:48

คราวนี้เข้าใจชัดเจนแล้วครับ ขอบคุณมาก

ราชธานีที่ลั่วหยางนั้น หนังสือไทยเก่าๆ บางเล่มที่แปลจากเรื่องจีน เรียกว่า พระนครลกเอี๋ยง ครับ เป็นเมืองหนึงที่ผมยังไปเที่ยวไม่ถึงเมื่ออยู่เมืองจีน อยากไปเที่ยวสักหน
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 23:01

 พระนางบูเช็คเทียนยังเป็นผู้ที่มีความสามารถเรื่องภาษาอีกด้วยครับ พระนางได้สร้างตัวอักษรจีน ตัวใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย

และในการแปลพระไตรปิฏก นอกจากพระนางได้เป็นผู้อุปภัมภ์แล้ว มีหลายพระสูตรที่พระนางได้ลงมือแปลเองอีกด้วยครับ แสดงให้เห็นว่า พระนางยังเข้าใจเรื่องภาษาสันสกฤตอย่างแตกฉานอีกด้วยครับ และพระสูตรที่พระนางแปลออกมาเป็นภาษษจีน ก็มีภาษาที่งดงามมากเลยครับ
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 24 มี.ค. 06, 23:42

 ขอขยายความเกี่ยวกับการเปลี่ยนระบบสอบเข้ารับราชการ (สอบจอหงวน) ของพระนางบูเช็คเทียนอีกนิดนึงครับว่า

เนื่องจากการสอบแบบเดิม ระบบแบบเดิม ทำให้ผู้ที่เข้ามารับราชการก็เป็นพวกลูกหลานขุนนางตระกูลเก่า ๆ เหมือนเดิม

แต่พระนางได้เปลี่ยนข้อสอบและระบบใหม่ขึ้นมา เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถจริง (พวกไม่มีเส้นสาย) ได้เข้ามาช่วยกันพัฒนาชาติ

และวิธีนี้ยังมีข้อดีต่อพระนางอีกด้วยคือ พวกคนรุ่นใหม่ที่เข้ามากลุ่มนี้จะได้ ไปช่วยกันคานอำนาจกับพวกขุนนางหัวอนุรักษ์เก่า ๆ อีกด้วย
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 00:01

 เกี่ยวกับเรื่องการย้ายเมืองหลวงจากเมืองฉางอัน ไปยังเมืองลั่วหยางนั้น นักประวัติศาสตร์รุ่นหลัง ได้พากันชื่นชมในการมองการไกลของพระนาง

เนื่องจากเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงเดิมนั้น มักเกิดภัยจากความแห้งแล้ง ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเมืองหลวง และยังมีผลกระทบต่อการลำเลียงเสบียงมาสู่กองทัพที่อยู่ที่เมืองหลวง ทำให้อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศได้

ด้วยเหตุนี้พระนางจึงได้ ย้ายเมืองหลวงใหม่ไปยังเมืองลั่วหยาง เพื่อให้เมืองหลวงซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองประเทศได้อยู่ในที่ที่เหมาะสมขึ้น

พร้อมกันนั้น ยังได้มีการเกณฑ์ประชาชนให้ย้ายไปอยู่เมืองหลวงใหม่ หลายแสนครอบครัว ทำให้ศูนย์กลางของเศรษกิจของประเทศก็ได้ย้ายไปสู่ที่ที่เหมาะสมยิ่งขึ้นด้วย

แต่น่าเสียดายที่มีคนกล่าวว่า สาเหตุที่ได้ย้ายเมืองหลวงไป เพราะ พระนาง "กลัวผี" ของ ฮองเฮา(องค์เดิม)และพระสนมเอก ที่พระนางได้สั่งฆ่าไปอย่างทารุณ
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 00:16

 แต่ที่ผมชื่นชมในตัวของพระนางบูเช็คเทียนมากที่สุดก็คงเป็นเรื่องที่พระนางได้สนับสนุนพระพุทธศาสนานี่แหละครับ

เพราะแต่เดิมราชวงศ์ถัง จะนับถือลัทธิเต๋า เนื่องจาก ศาสดาของลัทธิเต๋า คือเหล่าจื๊อ เป็นคนแซ่หลี่ ซึ่งเป็นแซ่เดียวกับชาวราชวงศ์ถัง

แต่พระนางบูเช็คเทียนมาจากตระกูลที่นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อได้มาเป็นฮ่องเต้ จึงได้แก้กฏหมายเพื่อยกพระพุทธศาสนาขึ้นมาให้อยู่เหนือลัทธิเต๋า และยังได้ออกกฏหมายให้สร้างวัดทั่วประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการแปลพระไตรปิฏก

ส่วนตัวพระนางเองก็ได้ นิมนต์พระอาจารย์ระดับผู้ใหญ่ ๆ จากนิกายต่าง ๆ   มาเพื่อสนทนาธรรม และซักถามถึงวิธีการนั่งสมาธิปฏิบัติธรรมอีกด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 00:52

 ก่อนจะลาไปเข้านอน ก็ขอเล่าถึงสาเหตุที่มีแต่คนพูดถึงข้อเสียของพระนางสักหน่อยครับ

เนื่องจากพระนางได้ปฏิรูปสิ่งต่าง ๆ มากมายในการพัฒาประเทศ ทำให้ผู้ที่โดนขัดผลประโยชน์เกิดความไม่พอใจ (เรื่องนี้มีทุกยุคทุกสมัยเลยแฮะ)

ไม่ว่าจะเป็นพวกราชวงศ์ถังแซ่หลี่  ก็ไม่พอใจที่พระนางซึ่งมีแซ่อู่ ได้ตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้นมา (คือราชวงศ์โจว)

กลุ่มผู้ชาย ที่รู้สึกเสียศักดิ์ศรี เมื่อโดนปกครองโดยโดยสตรีเพศ

หรือพวกขุนนางหัวเก่า  ที่โดนคานอำนาจจากขุนนางกลุ่มใหม่ ที่มีความสามารถแต่ไร้ชาติตระกูล

พวกนักบวชลัทธิเต๋า ต้องตกเป็นรองแก่พระพุทธศาสนาไป

ในบั้นปลายชีวิต ได้มีผู้เข้าไปถามพระนางว่า พระนางต้องการให้บันทึกเกียรติคุณที่พระนางได้ทำให้กับแผ่นดินอะไรบ้าง แต่พระนางกลับตอบว่า ไม่ต้องให้คนร่วมสมัยได้บันทึกอะไรไว้ทั้งสิ้น ขอให้คนรุ่นหลัง ที่ระลึกถึงคุณงามความดีของพระนางได้ เป็นผู้บันทึกเอง

แต่ทว่า  เมื่อพวกแซ่หลี่ ได้เปลี่ยนราชวงศ์กลับมาเป็นราชวงศ์ถังดังเดิม เพื่อเป็นการเสริมบารมีของราชวงศ์อีกครั้ง และเพื่อโจมตีพระนางบูเช็คเทียนผู้ทำการปฏิรูปการเมือง กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ดังกล่าว จึงได้พากันขุดคุ้ย ข้อเสียต่าง ๆ ของพระนาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเรื่องส่วนตัว ของพระนางมาประจาน  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความโหดเหี้ยม ความหมกหมุ่นในกามราคะ ฯลฯ

เลยไม่แปลกครับ ที่มีคนกล่าวถึงพระนางในแง่ลบ เพราะ "ผู้ชนะ คือ ผู้บันทึก และ ผู้แพ้ คือผู้ผิด"
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 10:57

 ในฐานะ จขกท. ขอหารือว่า เราจะยกเรื่องพระนางบูเช็กเทียนไปเล่าเป็นกระทู้ใหม่ ดีไหมครับ เอาว่าเมื่อเป่ยจิงหยวนเหรินน้องชายผมค้นมาและเรียบเรียงมาแล้ว ก็ฝากไปตั้งเป็นกระทู้ใหม่เลยด้วยแล้วกัน เพราะเชื่อว่าเรื่องของพระนางยาวและน่าสนใจในตัวเอง

เมื่อตั้งกระทู้แล้ว ขอเชิญผู้สนใจไปร่วมแจมได้ครับ แต่ระหว่างที่ยังไม่ตั้งจะคุยกันเรื่องบูเช็กเทียนไปเรื่อยๆ ในกระทู้นี้ไปพลางๆ ก็ไม่เป็นไรครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 11:06

 เห็นด้วยค่ะ ขอตั้งเป็นกระทู้ใหม่
เพื่อทางทีมวิชาการจะได้เรียบเรียงเป็นบทความ ต่อไป
เมื่อกระทู้จบแล้ว  
บันทึกการเข้า
เหลนนางพญา
อสุรผัด
*
ตอบ: 39

หมื่นลี้ ย่อมมีก้าวแรก


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 12:30

 เห็นด้วยเช่นกันครับ

และต้องขออภัยด้วยนะครับ ที่ผมเอาเรื่องของพระนางบูเช็คมาเล่าในกระทู้นี้ เพราะพอดีอ่านเจอที่ อ.เทาชมพู ถามไงครับ ว่าทำไม ในด้านวรรณกรรมพระนางบูเช็คเทียนมีแต่ภาพลบ แต่นักประวัติศาสตร์จะเห็นภาพบวกของพระนาง

บังเอิญผมมีข้อมูลอยู่ในมือ และ อ.ที่มหาวิทยาลัยก็ได้คุยกันถึงเรื่องนี้เมื่อไม่กี่วันก่อนเองครับ ผมก็เลยเอามาเล่าสู่กันฟัง แก้ขัดไปก่อนครับ

ต้องขออภัยคุณนิลกังกขาและทุกๆ ท่านอีกครั้งครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 25 มี.ค. 06, 12:58

 ไม่จำเป็นต้องขออภัยหรอกค่ะ  
ช่วยกันเล่าหลายๆคนก็คึกคักอุ่นหนาฝาคั่งดี  
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 27 มี.ค. 06, 15:49

 น่าสังเกตว่ากษัตริยาหรือจักรพรรดินีส่วนมากจะได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถสูง

ไม่ว่าจะเป็นพระนางบูฯ พระนางเชงสอบู พระนางจามเทวี หรือ พระราชินีอังกฤษหลายพระองค์ ฯลฯ

สาเหตุหลักน่าจะเป็นแรงเสียดทานของความเป็นสตรีในการที่จะก้าวขึ้นมารับตำแหน่งนั้นมีสูงกว่าชาย ถ้าความสามารถไม่ถึงไม่ได้รับการยอมรับนับถือก็ไม่น่าจะก้าวขึ้นมาและรักษาพระราชบัลลังก์ไว้ได้

สุดท้ายคนเก่งจริง ไม่ว่าชายหรือหญิงก็ต้องได้รับการยอมรับครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง