เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 8269 อักษรานุภาพ (แปลว่าอำนาจของตัวหนังสือ ไม่ใช่อำนาจของสาวคณะอักษร..)
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 ม.ค. 01, 19:59

กำปั้นทุบดินที่สุด ก็ขอเดาว่า ที่หอสมุดวชิราวุธานุสรณ์ ในหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ น่าจะต้องมีครับ ถ้าไม่มีก็แย่แล้ว
บันทึกการเข้า
สุรัชน์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 12 ม.ค. 01, 21:36

ขอบคุณครับ จะหาเวลาไปค้นดูอาทิตย์นี้เลยครับ ถ้าได้ความประการใดจะมาเล่ากันฟังครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 ธ.ค. 05, 23:56

 เห็นด้วยกับคุณ นกข ค่ะ (ซึ่งเดี๋ยวนี้ไปอยู่หนใดแล้ว???) ว่า เชอร์ชิล
มีความสามารถทางการใช้ภาษาที่ดีเยี่ยม โดยเฉพาะการใช้ภาษา
ในการปลุกพลังมวลชนให้ผนึกกำลังต่อสู้ศัตรู
เช่น ที่ว่าไม่มีครั้งใดเลยที่คนจำนวนมากขนาดนี้ คือประชาชนอังกฤษทั้งหมด
เป็นหนี้บุญคุณอันใหญ่หลวงขนาดนี้ต่อคนจำนวนน้อยเช่นนี้
คือนักบินผู้กล้าหาญทั้งหลาย มาจาก “Never in the field of human
conflict was so much owed by so many to so few.”

ใช่แต่เท่านี้ เชอร์ชิลมีมุก (ก หรือ ข สะกดล่ะนี่) อื่นๆ
บางครั้งออกมาพูดดตลกหน้าตาย คนฟังขำกลิ้ง
If I was your wife Sir, I"d poison you!
Madam, if you were my wife, I"d let you!
ผู้หญิง: ถ้าฉันเป็นภรรยาคุณ ฉันวางยาคุณตายแล้ว
เชอร์ชิล: ถ้าคุณเป็นภรรยาผมจริงๆละก็ ผมจะรีบตายเลย

บางอันฟังดูกวนๆค่ะ แต่ก็มีความหมายซ่อนอยู่
If you"re going through hell, keep going.
ถ้าคุณรู้สึกว่ากำลังgfbนฝ่านรก ก็จงเดินต่อไป (ไม่ใช่หยุดเดินนะ แต่ต้องรีบเดินต่อไป
ให้พ้นนรกเร็วๆ เพราะสวรรค์อาจอยู่เบื้องหน้า) นับว่าเป็นประโยคที่มีแรงดลใจ
แฝงอยู่นั่นเอง (inspirational statement)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 ธ.ค. 05, 00:02

 ในย่านประเทศเพื่อนบ้านของไทยเรานี้ ผู้นำคนอื่นที่สามารถใช้อำนาจของภาษามาโน้มน้าว
กล่อมให้คนในประเทศหลงใหลเคลิบเคลิ้มได้ คือประธานาธิบดีซูการ์โน ของอินโดนีเซีย
เมื่อหลายปีก่อน ดิฉันเคยไปเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนติวชื่อดัง ย่านเสาชิงช้า

ถึงคำว่า rhetoric = skill in the effective use of speech
อาจารย์หัวหน้าสำนักก็ให้ตัวอย่างคำศัพท์ที่มีรากจากกลุ่มนี้ว่า rhetocracy
(rhetoric  +  cracy (การปกครอง)) ให้ความหมายว่าเป็นการปกครอง
โดยใช้สุนทรพจน์ พูดง่ายๆว่า “ปกครองด้วยปาก”

ต่อมา พอต้องเขียนเรียงความเรื่องทำนองนี้ ดิฉันจึงขุดคำนี้ขึ้นมาใช้
อาจารย์สอนเรียงความ กลับบอกว่าแม้จะเดาความหมายออก
แต่ศัพท์คำนี้ยังไม่ได้บัญญัติ ไม่มีในดิกชันนารี เมื่อดิฉันกลับไปดูสมุดโน้ตเก่า
ก็ไม่เข้าใจว่าอาจารย์กวดวิชาให้ศัพท์คำนี้เรามาได้อย่างไร หรือว่าท่านบัญญัติเอง!

ต้องยกคำพุทธมาเตือนค่ะว่า....อย่าด่วนเชื่อเพราะว่าเขาเป็นครู
นักเรียนที่เรียนภาษา ควรหาดิกชันนารีดีๆไว้ใช้ ลงทุนซื้ออังกฤษ-อังกฤษ ไว้สักเล่มหนึ่ง
เริ่มจากเล่มง่ายๆก่อนค่ะ สำหรับ ESL เช่น Longman’s ซึ่งมีตัวอย่างการใช้พร้อม
เลิกใช้ดิกชันนารี ไทย-อังกฤษ เถิดค่ะ ต่อให้เล่มดีที่สุดที่เคยเขียนมาในประเทศไทยก็ตาม
มันใช้ไม่ได้ เมื่อจะฝึกการเขียน เว้นแต่จะใช้แบบฉาบฉวยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งค่ะ  
บันทึกการเข้า
Traveller
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 ธ.ค. 05, 09:34

 ความรู้สึก "อิน" ในนวนิยายของไทย กับของฝรั่งต่างกัน น่าจะเป็นเพราะ วิธีการเขียนของฝรั่งมักจะอ้างอิงกับสถานที่และเวลาเอาไว้อย่างละเอียดจนเหมือนกับเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริงๆ มากกว่านวนิยายของไทยค่ะ

อย่างเรื่อง Phantom of the opera ก็ใช้ the opera house ที่อยู่ในปารีสเป็นฉาก คนที่เคยดูเรื่องนี้แล้วได้ไปที่ปารีสก็มักจะไปเยี่ยมชมสถานที่ อย่างที่ opera house นี่ สถานที่จริงๆ ก็ลึกลับซับซ้อน มีชั้นใต้ดิน มีน้ำไหลผ่านข้างใต้ จนน่าเชื่อว่าหากมีคนหลบอาศัยอยู่ในนั้นเป็นปีๆ ก็น่าจะเป็นไปได้เหมือนกัน และอีกเรื่องที่รู้สึกว่าน่าจะเอามายกตัวอย่างได้ก็เรื่อง Davinci Code ของ Dan Brown ที่เขียนโดยมีหลักฐานอ้างอิง จนมีหนังสือ Decoded ตีความออกมาอีกหลายเล่ม คนที่รู้จักหลายคนอ่านแล้วเชื่อไปเลยว่าข้อสรุปเกี่ยวกับ holy Grail ในเรื่องเป็นเรื่องจริง ขอไม่กล่าวถึงรายละเอียดนะคะ เผื่อมีใครนึกอยากจะไปอ่าน ได้รู้สึกลุ้นไปถึงจบเรื่อง) แล้วยังมีทัวร์สถานที่ตามท้องเรื่อง davinci code อีกด้วย (สก๊อตแลนด์ ลอนดอน ปารีส)  

สำหรับนวนิยายของไทยบางเรื่องก็ทำได้ขั้นนั้นเหมือนกัน จำได้ว่าเคยอ่านเรื่องรากนคราของคุณปิยะพร ศักดิ์เกษม เป็นนวนิยายสมัยใหม่แต่ตกอยู่ในหมวดนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ คุณปิยะพรบรรยายฉากและเหตุการณ์ในเรื่อง ซึ่งมีต้นเค้ามาจากเรื่องจริงในประวัติศาสตร์ ตอนอ่านเรื่องนี้รู้สึกประทับใจค่ะ ยิ่งพอมีคนมาทำเป็นละคร บรู๊ค กับ นุ่น เล่นเป็นตัวเอกก็ยิ่งประทับใจ อย่างในฉากที่นางเอกตาย ตอนที่อ่านก็รู้สึกไม่สมจริงเท่าไหร่ เป็นไปได้อย่างไรที่คนถูกฟันด้วยดาบจะไม่ส่งเสียงออกมาให้อีกฝ่ายรู้เลยว่าเป็นผู้หญิง แต่พอมาเห็นที่ละครเค้าแสดงก็ถึงบางอ้อเลย จำได้ว่าตัวละครเอามืออุดปากเอาไว้ตอนโดนฟัน

เคยได้ยินว่ามีงานวิจัยว่าโครงสร้างและวิธีการเขียนในภาษาไทย และภาษาตะวันตกที่อ้างถึงเรื่องเวลาและสถานที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้ผู้เขียนภาษาตะวันตกสามารถเขียนโดยมี sense of time มากกว่า ซึ่งอาจจะทำให้ดูสมจริงมากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
HotChoc
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 23 ธ.ค. 05, 20:57

 เรื่องนิกกับพิมผมอ่านเป็นหนังสือนอกเวลาตอนเด็กๆ ยังจำได้แม่นเลยว่าน่ารักดี คนแต่งเขียนในทำนองว่าสุนัขเขียนจดหมายถึงกัน พอไปคุยกับเพื่อน เพื่อนดันบอกว่าเลอะเทอะ คนสองคนใช้น้องหมาบังหน้าเขียนจดหมายจีบกันต่างหาก - -' ผมนี่หมดมู้ดเลย

นิยายที่ว่าสมจริงอีกเรื่องก็คือ War of the Worlds ของ H.G. Wells ครับ เขาว่าตอนอ่านออกอากาศทางวิทยุครั้งแรก คนตกอกตกใจกันนึกว่ามนุษย์ดาวอังคารมาบุกโลกจริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 24 ธ.ค. 05, 17:23

 คุณนกกางเขน นกข. ไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาถามตอบในเรือนไทยแล้วละค่ะ    งานประจำยุ่งมาก  อีกอย่างดิฉันเดาว่าบรรดาแก๊งค์เดียวกันหายไปหมดทั้งคุณแจ้งและแม่หญิงเรไร    คุณนกข.ก็คงเหงาถ้าจะออกโรงอยู่คนเดียว

นิยายไทยเขียนรายละเอียดให้สมจริงอย่างฝรั่งได้ยาก  เพราะวัฒนธรรมและวิธีคิดไม่เหมือนกัน
ฝรั่งฮอลลีวู้ดทำหนัง ให้ตัวเอกทำเรื่องไม่ดีไม่งามอยู่ในองค์การที่มีจริงๆ หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อจริงๆได้  ไม่มีใครว่ากัน
นิยายฝรั่งก็เหมือนกัน
ตัวโกงจะไล่ฆ่าใครอยู่ในทำเนียบขาว  หรือองค์การนาซ่าก็ได้   ฮาร์วาร์ด จะมีครูอาจารย์ที่มีปัญหาทางจิต หรือเกิดฆาตกรรมลึกลับซับซ้อนก็ได้ ในนิยายของเขา

ลองเอานิยายไทยมาเขียนให้เกิดฉากฆาตกรรมโหด ครูข่มขืนเด็ก  หรือโกงกินกันบ้าเลือด ระบุชื่อสถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งที่มีอยู่จริง
ลองดูสิ  นักเขียนไม่ถูกกระหน่ำยับเยินไปค่อยมาต่อว่ากัน ดีไม่ดีอาจโดนข้อหาหมิ่นประมาท  ผู้บริหารฟ้องเอง
จะเขียนถึงได้ก็แต่ในทางดีเท่านั้น ถึงจะปลอดภัย

ดาวินชี โค้ดมีเสียงต่อต้านจากผู้นับถือศาสนาบ้าง แต่ก็แค่ออกมาเขียนตอบโต้ ไม่เอาเป็นเอาตาย
ลองเปลี่ยนพล็อตจากศาสดาในเรื่อง มาเป็นในศาสดาในศาสนาอื่นที่คนไทยจำนวนมากนับถือดูบ้าง    นิยายก็จะถูกมองว่าเป็นเรื่องลบหลู่เสียหายร้ายแรง   "อิน" กันแบบนี้ยิ่งกว่าฝรั่งอินหลายเท่าค่ะ
บันทึกการเข้า
Its me
อสุรผัด
*
ตอบ: 7

Chief engineer at Mueller Engineering, Inc. in Wisconsin, USA.


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 27 ธ.ค. 05, 02:29

 I happen to know Khun Pakorn Pinchaleaw personally.
You might be surprised to learn that he went to Faculty of Arts at Chula.
My father and Khun Ar Pakorn were close friends. He went to Arts School, my father went to Engineering School. They enrolled in a special military training for young men during the WW 2. They were offered a choice to go back to school or work for government after the war. Both Khun Ar Pakorn and my father were temple boys and did not have resources to go back to school. They both excepted police officer jobs.
Khun Ar Pakorn liked to read. He had a lot of time at the police station in E-Sarn. He read a lot of short stories by western authors. He also had a gift of telling stories.
Khun Ar Pakorn went to Arts School and became a police officer.
His brother Khun Watin went to Architectural School and became Tuy Toon editor.
His sister Khun Jintana went to Arts School and is a good poet and short stories wrier too.
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 27 ธ.ค. 05, 04:13

 ค.ห. 7
อาจารย์เทาชมพู ก็พลอยใช้ศัพท์ "อิน" ไปกับเขาด้วยหรือคะ 55555. แรกๆดิฉันได้ยินแล้ว
เป็นเง็งอยู่นานสองนาน แต่ว่าคำนี้ฝังรากลึกมากใน vocab ไทยๆไปซะแล้ว

อีกคำหนึ่งที่พยายามทำใจยอมรับอย่างยาก คือ คำว่า "เสีย self"
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ก.พ. 06, 21:18

 ขอขอบพระคุณ ที่ยังระลึกถึงผมครับ (แม้จะห่างหายไปนาน...)

เรื่องอินไม่อินนี่ ชักเห็นด้วยกับอาจารย์เทาชมพูว่า บางเรื่อง นักอ่านไทยอินยิ่งกว่านักอ่านฝรั่งอีก

จำได้ว่า ดูเหมือนมีเรื่องโวยวายกัน ตอนที่มีการตีความองคุลีมาลใหม่เป็นหนังไทย และมีเรื่องโวยวายตอนที่ฝรั่งทำหนังพุทธประวัติจากมุมมองของเขา เข้ามาฉายเมืองไทย

ปล. คำว่า "อิน" อินเทรนด์ รู้สึก "in" เข้าไปในเรื่องในละครในหนังสือ เข้าไปในกระแส นี่ความหมายหนึ่งที่ใช้กันในภาษาไทยพูดเล่นเดี๋ยวนี้ แต่ผมเข้าใจว่า สมัยสัก ร. 5 คำนี้เป็นศัพท์แสลงสมัยโน้น ดูเหมือนจะเปลว่า เชย ครับ...

ถ้าจะไม่อิน ดูเหมือนสมัยนั้นคุณทวดท่านให้เป็น "โซ้ด" แปลว่าหัวสมัยใหม่แบบฝรั่ง

อนิจจังไม่เที่ยงหนอ
บันทึกการเข้า
Peking Man
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 ก.พ. 06, 09:48

 อืม.. เกี่ยวกับเรื่องความ "อิน" ตัวผมคงไม่อินเทรนด์ และคงเป็นคนที่หลายคนมองว่าชอบของที่ไม่ทันสมัย แต่ผมว่าชอบของที่ไม่ "อิน" ก็ดีนะครับ ผมเสียดายและสงสาร สิ่งของที่เคยมีผู้คนชื่นชอบ แล้วอยู่มาวันหนึ่งต้องกลับกลายเป็นหมาหัวเน่าไม่มีใครเหลียวแล...

เอ... คิดอย่างงี้หรือเปล่าหว่า ที่เป็นสาเหตุที่หาแฟนไม่ได้ซักที

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการ "อิน" กับวรรณคดี จำได้ว่า หนังสือที่อ่านแล้วร้องไห้คือ "อยู่กับก๋ง" ตอนอายุ สิบ ขวบ ส่วนหนังสือที่ไม่ว่าอ่านทีไรก็ยังต้องร้องไห้ ก็คือ Les Miserables ตอน อายุ สิบสาม หรือ สิบสี่  มังกรหยกภาคแรก (ฉบับภาษาจีน) น่าจะซัก สิบแปด หัวเจอะ (เรื่องที่ต่อมาถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ชื่อภาษาอังกฤษว่า  To Live) รู้สึกว่าจะ ประมาณ สิบแปด สิบเก้า สำหรับหนังสือภาษาไทยต้องขอสารภาพว่าไม่ค่อยได้อ่านซักเท่าใดนัก

แต่ตอนนี้มีหนังสือที่ผมว่าอ่านแล้ว "อิน" มาก ๆ ก็คือ นิยายเกี่ยวกับ สามมหากษัตริย์ราชวงศ์ชิง คังซี ยงเจิ้น เฉียนหลง ที่เขียนโดย เอ้อเยว่เหอ แต่น่าเสียดายที่ถึงแม้ว่า เวอร์ชั่นละครเข้ามาเมืองไทยแล้ว แต่ว่ายังไม่มีฉบับหนังสือ

นอกจากนั้นแล้วหนังสือที่หลายคนน่าจะอ่านแล้ว "อิน" ก็คือหนังสือที่สุดฮิตในญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้ว Densha Otoko ที่ตอนนี้มีทั้งเวอร์ชั่นหนัง หนังสือ ละคร และการ์ตูน น่ารักดีครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง