เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 33841 ครูกลอนสุนทรภู่
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


 เมื่อ 18 มิ.ย. 08, 19:54

แหะ ๆ มาอีกทีหนึ่งเรือนไทยมีห้องเพิ่มแล้วครับ เพราะฉะนั้นขอประเดิมด้วยกลอนบทนี้เลย

ครูกลอนสุนทรภู่            บรมครูแห่งกวี
ประไพบทพจนีย์            มาเสริมรสซึ่งบทกลอน

แหะ ๆ เอานี้ก่อนครับ เดี๋ยวมาแต่งต่อในภายหน้า เจ๋ง
บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 มิ.ย. 08, 00:06

ข้างบนนี้กาพย์ยานีไม่ใช่หรือครับ  ยิงฟันยิ้ม

เนื้อหาช่างน่าจำ               คุณค่าล้ำด้วยคำสอน
ยามหวานก็โอนอ่อน          ยามสนุกสุขเกินใคร
ยามเศร้าเคล้าน้ำตา           ยามเอกาว้าเว่ใจ
ทุกรสดำเนินไป                ด้วยฝีปากจากท่านครู

บันทึกการเข้า
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 มิ.ย. 08, 16:48

แฮ่ ๆ ใช่แล้วครับ ลืมไป ยิงฟันยิ้ม

แด่ครูกลอนสุนทรภู่ครูของฉัน                     ฝีมือนั้นเลิศล้ำนักในอักษร
รู้กันทั่วรู้สิ้นหนาประชากร                          ฝีมือกลอนเลิศยิ่งกว่าสิ่งใด                     
         
บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 มิ.ย. 08, 11:00

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนเรื่องสุนทรภู่ใน นสพ. มติชนวันนี้ ขอนำมาลงเป็นบันทึกไว้ที่กระทู้นี้ ครับ

สุนทรภู่มหากวีกระฎุมพี เกิดวังหลัง ผู้ดีบางกอก มีวิชารู้เท่าทันโลกและชีวิต

จากบทสารคดีโทรทัศน์ โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ (จากหนังสือสุนทรภู่ เกิดวังหลัง ผู้ดี "บางกอก" มหากวีกระฎุมพี มีวิชารู้เท่าทันโลก)

         สุนทรภู่ที่คนทั่วไปรู้จัก หรือถูกทำให้รู้จัก คือ เกิดบ้านกร่ำ เมืองแกลง จังหวัดระยอง แล้วบอกอีกว่าเป็น
อาลักษณ์ ขี้เมา เจ้าชู้ อยู่อย่างไพร่ ไร้เคหา รัชกาลที่ 3 ไม่โปรด เลยต้องออกบวชหนีราชภัย

           แต่สุนทรภู่ที่มีพยานหลักฐานจากงานกวีนิพนธ์ที่ท่านแต่งไว้เอง ล้วนตรงข้ามกับที่คนอื่นรู้จัก คือ
           สุนทรภู่ เกิดในวังหลังปากคลองบางกอกน้อย ในตระกูลผู้ดีบางกอก เป็นมหากวีกระฎุมพี มีวิชารู้เท่าทันโลกและชีวิต
เป็นนักปราชญ์ประจำราชสำนักของรัชกาลที่ 2 เลื่อมใสนโยบายเศรษฐกิจการเมืองของรัชกาลที่ 4 เลยขัดแย้งกับรัชกาลที่ 3
ทำให้ต้องออกบวชหนีราชภัย ไปจำพรรษาอยู่วัดเทพธิดาราม ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายระดับสูง

           สุนทรภู่ไม่ได้มีอาชีพเป็นกวี เพราะกวีในยุคนั้นยึดเป็นอาชีพไม่ได้ แต่สุนทรภู่มีอาชีพรับราชการ เป็นขุนนางผู้ใหญ่
ในราชสำนักรัชกาลที่ 2  มีฐานะทางสังคมสูงในระดับนักปราชญ์หรือศาสตราจารย์ประจำราชสำนัก เป็นที่ปรึกษาหรือองคมนตรี
เป็นผู้ร่างเอกสารสำคัญของราชสำนัก ส่วนงานกวีนิพนธ์เป็นความสามารถส่วนตัวเหนือกวียุคเดียวกัน เลยแต่งวรรณคดีการเมือง
ต่อต้านการล่าอาณานิคมของยุโรป ชื่อ พระอภัยมณี

-- สุนทรภู่ไม่ใช่อาลักษณ์ขี้เมา

        สุนทรภู่เป็นกวีในราชสำนักรัชกาลที่ 2 ที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ยกย่องเป็น "มหากวีกระฎุมพี" เป็น "อาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว"
และเป็นศาสตราจารย์นักปราชญ์ราชสำนัก "ปัญญาชน" ฝ่ายก้าวหน้า ที่ฝักใฝ่อยู่กับเจ้าฟ้ามงกุฎ (พระนามเดิมของรัชกาลที่ 4)
กับเจ้าฟ้าน้อย (พระนามเดิมของพระปิ่นเกล้าฯ) ทั้ง 2 พระองค์ ทรงเป็นราชโอรสของรัชกาลที่ 2 ที่มีสิทธิชอบธรรมในการสืบราชสมบัติ
ต่อจากสมเด็จพระราชบิดา
 
         สุนทรภู่ออกบวชเมื่อ พ.ศ.2367 ขณะนั้นอายุ 38 ปี เป็นที่รู้กันว่าบวชการเมืองหนีราชภัยเพราะบวชเมื่อรู้ว่ารัชกาลที่ 3 ได้เสวยราชย์
เป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งต่างจากที่เคยคาดคะเนว่าราชสมบัติควรตกอยู่กับเจ้าฟ้ามงกุฎที่ตนฝักใฝ่เลื่อมใส แล้วถือตนว่าเป็นช่วงข้าใช้มาตลอด
การออกบวชของสุนทรภู่จึงไม่ใช่เรื่อง "ถูกถอด" จากตำแหน่ง เพราะสมญา "อาลักษณ์ขี้เมา" ที่มีผู้ตั้งให้ภายหลังอย่างเหลวไหล

          กรณีแก้กลอนหน้าพระที่นั่งในรัชกาลที่ 2 ควรเป็นเรื่องความขัดแย้งทางความคิดการเมืองในราชสำนักครั้งนั้น ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก
เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย สุนทรภู่ถึงต้องหนีราชภัยไปบวช แต่ก็ไม่ได้ร่อนเร่ไร้เคหาอาศัย เพราะมี "เจ้านาย" ชั้นสูงคอยดูแลอุปถัมภ์ค้ำจุน
ไม่ขาดแคลนเลย
          เมื่อบวชแล้วก็เป็นอันว่าแล้วกันไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ มิได้ทรง "รังแก" ให้สุนทรภู่เดือดร้อน ดังจะพบหลักฐานว่า
รัชกาลที่ 3 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ 5 ปี ถึง พ.ศ.2372 ได้ทรงพระราชทานอนุญาตให้เจ้าฟ้าเล็กๆ  2 พระองค์ในวังหลวง
คือ เจ้าฟ้ากลาง กับ เจ้าฟ้าปิ๋ว ไปมอบตัวเป็นศิษย์ให้สุนทรภู่สอนหนังสือ คราวนี้เองที่สุนทรภู่ขณะเป็นภิกษุ แต่งเพลงยาวถวายโอวาท
มีความพาดพิงถึงเรื่องนี้ชัดเจนอย่างยิ่ง

           จะเห็นว่านอกจากไม่ "รังแก" แล้ว รัชกาลที่ 3 ยังยกย่องให้ความสำคัญต่อความรู้ความสามารถด้วยซ้ำไป เพราะทรงรู้
อยู่เต็มพระทัยว่าสุนทรภู่เป็น "ปราชญ์กวี" ที่ไม่มีใครในครั้งนั้นเทียบได้
           จนอีก 10 ปีต่อมา เมื่อ พ.ศ.2382 ยังพระราชทานอนุญาตให้พระธิดาใหญ่องค์โปรด คือ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
ทรงอุปถัมภ์อุปัฏฐากพระภิกษุสุนทรภู่ให้ไป จำพรรษาอยู่วัดเทพธิดารามที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระราชทานพระธิดาองค์นี้
           ครั้งนี้เองที่สุนทรภู่แต่งพระอภัยมณีตามรับสั่ง แล้วมีผู้นิยมอ่านมากตั้งแต่ครั้งนั้น อันเป็นช่วงที่พระนางเจ้าวิคตอเรียเป็นราชินี
เสด็จขึ้นครองราชย์อังกฤษ ซึ่งมีลังกาเป็นเมืองขึ้นแล้วเท่ากับเป็นกษัตริย์ลังกาไปพร้อมกัน

           ฉะนั้น ที่กล่าวกันว่าสุนทรภู่เป็น "อาลักษณ์ขี้เมา" แต่แต่งหนังสือดีจึงไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะถ้า "ขี้เมา" จริงอย่างนั้น
ก็แต่งหนังสือดีไม่ได้ ถึงแต่งได้ก็ไม่มากเท่าที่มีอยู่ และยังมีต้นฉบับหายไป หาไม่พบอีกไม่น้อย ย่อมเป็นพยานในตัวเองว่าสุนทรภู่
ไม่มีเวลาอย่างอื่น นอกจากแต่งหนังสือและศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ แล้วเรียนรู้เท่าทันโลก
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 มิ.ย. 08, 11:03

-- มีวิชารู้เท่าทันโลกและชีวิต

             เมื่อ พ.ศ.2385 สุนทรภู่อายุ 56 ปี ท่านเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ แล้วแต่งหนังสือ
เรื่อง "รำพันพิลาป" กล่าวถึงตัวเองว่าเป็นนักเดินทางท่องเที่ยว
            "ทางบกเรือเหนือใต้เที่ยวไปทั่ว จังหวัดหัวเมืองสิ้นทุกถิ่นฐาน" แล้ว
เล่าว่าไปเมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองพิษณุโลก รวมทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ อีกหลายแห่ง
ไม่พบหลักฐานว่าท่านเคยไปต่างประเทศ และเคยไปปักษ์ใต้ แต่จากร่องรอยต่างๆ ชวนให้เชื่อว่าสุนทรภู่เคยไปลังกา และ
พูดภาษาอังกฤษได้บ้าง
             ด้วยวิญญาณ "นักเดินทางแสวงหาวิชาความรู้" ที่แท้จริง ท่านเลยคิด แล้ว "ฝัน" ว่า
             "จริงจริงนะจะไปอุ้มเนื้อนุ่มน่วม ลงนั่งร่วมเรือกลพยนต์ผยอง" ไปเที่ยวไกลถึงท้องทะเลและบ้านเมืองแถบอ่าวเบงกอล
ในมหาสมุทรอินเดีย ที่ศึกษาหา "ความรู้" ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในยุคนั้น เช่น หนังสือเก่าและชาวต่างชาติ ฯลฯ
ดังมี "รำพันพิลาป" ถึงสถานที่อันมีจริงในยุคนั้นไว้เช่น มะละกา, เกาะชวา, เบงกอล, ลังกา ฯลฯ

-- สุนทรภู่รู้สถานที่เหล่านี้มาจากไหน?

            "ความรู้" เหล่านี้สุนทรภู่น่าจะได้จาก "ประสบการณ์" นอกระบบ คือสนทนาหาความรู้จากบรรดาประชาชาติต่างๆ
และกะลาสีเรือที่เข้ามาค้าขายกับกรุงสยามในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 รวมทั้งจากเอกสารต่างๆ
              ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มีลักษณะเศรษฐกิจเพื่อ "ตลาด"
ทำให้อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักปราชญ์อิสระ ยกย่องสุนทรภู่เป็น "กระฎุมพี" ที่มีโลกกว้างขวางกว่ายุคก่อนๆ

            สำนักวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ร่วมกับศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จัดรายการแบ่งปันเผยแพร่
ความร้สู่สาธารณะเรื่อง สุนทรภู่ มหากวีกระฎุมพี เกิดวังหลัง ผู้ดีบางกอก มีวิชารู้เท่าทันโลก และชีวิต ในวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2551
ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า แล้วนำออกเผยแพร่ทางโทรทัศน์ NBT วันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2551
เวลา 23.00-23.45 น.

   http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra02200651&day=2008-06-20&sectionid=0131
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 มิ.ย. 08, 11:29

เรื่องนี้คุณพิพัฒน์เคยวิเคราะห์ไว้ละเอียดกว่าบทความสั้นๆบทนี้     เรื่องสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ กริ้วสุนทรภู่  คุณพพ.ก็ไม่เชื่อด้วยซ้ำว่าเป็นเรื่องจริง
ที่จริงเราน่าจะเอา รำพันพิลาป มาตีกันให้แตกอีกครั้ง ว่าสุนทรภู่เคยออกไปพ้นอ่าวไทยบ้างหรือเปล่า

ดิฉันเชื่อว่าสุนทรภู่เคยขึ้นเหนือถึงล้านนา   ทางอีสาน อย่างน้อยน่าจะไปถึงโคราช  ส่วนทางใต้ไปถึงนครศรีธรรมราช   ไม่ใช่แค่ผ่านๆ แบบทัวร์ แต่น่าจะไปสร้างชื่อเสียงไว้ที่นั่นด้วย
มิฉะนั้นคงไม่ระบุเต็มปากเต็มคำว่า
" เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว  เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร"
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 มิ.ย. 08, 03:23

แล้วจะชวนนวลละอองตระกองอุ้ม   ให้ชมเพลินเนินมะงุมมะงาหรา
ไปเกาะที่อิเหนาชาวชวา   วงศ์อสัญแดหวาน่าหัวเราะ
จมูกโด่งโง้งงุ้มทั้งหนุ่มสาว   ไม่เหมือนกล่าวราวเรื่องหูเหืองเจาะ
ไม่เพริศพริ้งหญิงชายคล้ายคล้ายเงาะ   ไม่มีเหมาะหมดจดไม่งดงาม
ไม่แง่งอนอ้อนแอ้นแขนไม่อ่อน   ไม่เหมือนสมรเสมอภาษาสยาม
รูปก็งามนามก็เพราะเสนาะนาม   จะพาข้ามเข้าละเมาะเกาะมาลากา
เดิมของแขกแตกฝาหรั่งไปทั้งตึก   แลพิลึกครึกครื้นขายปืนผา
เมื่อครั้งนั้นปันหยีอุ้มวียะดา   ชี้ชมสัตว์มัจฉาในสาครฯ
รำพันพิลาป

รู้ซะอีกว่า  เดิมเป็นของแขกแต่มีฝรั่งอยู่ขายปืน  นี่ล่ะท่านบรมครูผู้รอบรู้........ อายจัง
บันทึกการเข้า
agree
ชมพูพาน
***
ตอบ: 114


แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 มิ.ย. 08, 09:34

พฤกษาสวนล้วนได้ฤดูดอก           ตะหง่านงอกริมกระแสแลสล้าง
กล้วยระกำอัมพาพฤกษาปราง       ต้องน้ำค้างช่อชุมเป็นพุ่มพวง
เห็นจันทน์สุกลูกเหลืองตลบกลิ่น    แมงภู่บินร่อนร้องประคองหวง...

นิราศพระบาท อายจัง
บันทึกการเข้า

Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them.
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 มิ.ย. 08, 10:42

           เรื่องอาลักษณ์ขี้เมา ครับ

             ตั้งแต่เล็กได้รับรู้ว่าสุนทรภู่ท่านเป็นอาลักษณ์ขี้เมา จำได้จากหนังสือภาพประวัติท่านที่อ.เปลื้อง ณ นคร
เล่าไว้ตอนสุนทรภู่ทะเลาะกับแม่จัน ครูเหมวาดรูปสุนทรภู่ผู้เมามายยืนอ้าแขนเปิดอกท้าทายแม่จันที่เงื้อมีดด้วยความโกรธจัด
             ตัวสุนทรภู่ท่านแต่งกลอนว่า -  เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว   

            อาจารย์ศานติ ภักดีคำ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
แสดงความเห็นว่า
                 ที่สุนทรภู่บอกอยู่ตลอดเวลาว่า เป็นอาลักษณ์นั้น  แท้จริงแล้ว
          ตำแหน่ง ขุนสุนทรโวหาร ตามที่ปรากฏศักดินาพลเรือน ไม่ได้อยู่ในกรมพระอาลักษณ์
แต่อยู่ในฝ่ายของกรมราชบัณฑิต และมักมีผู้เอาไปสับสนกับ ตำแหน่งพระสุนทรโวหารซึ่งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์
ของวังหน้า ทั้งที่ศักดินาต่างกัน
          กรณีของสุนทรภู่ อาจเป็นได้ที่ตัวอยู่กรมหนึ่ง แต่ถูกเรียกตัวไปช่วยอีกกรมหนึ่ง เพราะปรากฏหลักฐาน
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ที่ระบุไว้ว่าขุนสุนทรโวหาร ผู้ว่าที่พระอาลักษณ์ หมายถึงขุนสุนทรโวหาร ถูกเรียกตัวไปช่วยในกรมพระอาลักษณ์

         "ตำแหน่งนี้ปรากฏมาถึงรัชกาลที่ 4 ตามที่มีในหลักฐานว่า โปรดฯ ให้ขุนสุนทรโวหาร ผู้ช่วยราชการในกรมพระอาลักษณ์
เป็นผู้แปลพงศาวดารเขมร แสดงว่าพอถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร ถูกนำไปช่วยราชการในกรมพระอาลักษณ์ตลอด"
อาจารย์ศานติตั้งข้อสันนิษฐาน
           อาจารย์ศานติอธิบายว่า มีผลงานของสุนทรภู่ 3 เรื่อง ที่เขมรนำไปแปลเป็นกลอนภาษาเขมร คือ
เรื่อง ลักษณวงศ์ จันทโครพ และ พระอภัยมณี เรื่องหลังนี้ฉบับที่พบในปัจจุบันถึงแค่ตอนนางยักษ์ลักพาพระอภัยมณีเข้าถ้ำ
          ลักษณะกลอนของสุนทรภู่ ก็แพร่เข้าไปในเขมรเช่นกัน แต่เดิมเขมรไม่เคยเขียนกลอน แต่ปรากฏว่าในช่วงนั้น
มี "เปียะปรำปีล" เป็นบทพากษ์ 7 คล้ายรูปแบบกลอนของสุนทรภู่
          "ตำแหน่งสุนทรโวหาร ก็เข้าไปเป็นตำแหน่งในกรมอาลักษณ์ของเขมรด้วย" อาจารย์ศานติตบท้าย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 มิ.ย. 08, 10:45

            เรื่อง ขี้เมา 
 
ในสุภาษิตสอนหญิงท่านสอนว่า

       คิดถึงตัวหาผัวนี้หายาก          มันชั่วมากนะอนงค์อย่าหลงใหล
คนสูบฝิ่นกินสุราพาจัญไร              แม้นหญิงใดร่วมห้องจะต้องจน     

ในนิราศพระประธม บรรยายถึงคนผลิตเหล้าอย่างชื่นชมบุญ ว่า

       ถึงปากน้ำลำคลองที่ท้องทุ่ง              เจ๊กเขาหุงเหล้ากลั่นควันโขมง
มีรางรองสองชั้นทำคันโพง                      ผูกเชือกโยงยืนชักคอยตักเติม
น่าชมบุญขุนพัฒน์ไม่ขัดข้อง                    มีเงินทองทำทวีภาษีเสริม
เมียน้อยน้อยพลอยเป็นสุขไรจุกเจิม            ได้พูนเพิ่มวาสนาเสียกว่าไทย

และจากนิราศภูเขาทอง

      ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง              มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา                   ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ                      สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย                          ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก                   สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป                       แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน

          ทำให้นึกเห็นภาพท่านดื่มสุราแล้วแต่งกลอนได้คล่องคล้ายกับท่านชิตดื่มแล้วแต่งฉันท์ (ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย)
และ ภาพท่านเคยดื่มหนักจนมัวเมาเหมือนเป็นบ้าน่าอาย

          อาจารย์บุญสวย เชิดเกียรติกุล จิตแพทย์เขียนบทความวิเคราะห์ ตอนหนึ่งว่า ความฝันที่สุนทรภู่เขียนใน
รำพันพิลาปนั้น พบได้ในคนติดเหล้าและในวัยประมาณตอนนั้น (๔๖ ปี) เป็นระยะที่พบโรคนี้ได้มาก ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.037 วินาที กับ 19 คำสั่ง