เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4122 นิติขุมทรัพย์ หมายความว่าอะไรคะ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 24 พ.ค. 08, 07:19

อ่านปราดเดียวแล้วแปลเองในใจ

อ่านหนที่สอง  เริ่มงง ว่าคงไม่ง่ายอย่างที่คิด

ขุมทรัพย์ กินความหมายลึกซึ้งแค่ไหนคะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 21:51

ไม่เคยเห็นเลยครับ คำนี้
ประโยคเต็มๆ ว่าอย่างไรหรือครับ ผมคิดว่าคงต้องดูทั้งประโยคจึงจะบอกความหมายได้

แต่โดยทั่วไป นิติ (หรือ เนติ) จะหมายถึง กฎ, กฎหมาย เช่น นิติศาสตร์, เนติบริกร

นิติขุมทรัพย์ แปลไม่ออกครับ จะตีความแบบมั่วๆ ว่า "แหล่งตำรากฎหมายที่สำคัญมาก" ก็ได้  ลังเล หรือ "หลักกฎหมายที่สำคัญๆ" ก็มั่วๆ ได้  ลังเล

หรือ แหล่งทรัพย์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ลังเล อยากทราบเหมือนกันว่า ใครใช้คำนี้  ฮืม

สรุปว่า ขอประโยคเต็มๆ ครับ  ยิงฟันยิ้ม

ปล. ลองหาใน google ไม่พบว่า มีการใช้คำนี้แต่ประการใดในโลกอินเตอร์เน็ต
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 23:33

คงจะอยู่ในหนังสือเก่าเล่มใดเล่มหนึ่งที่คุณวันดีเจอเข้า
ดูรูปศัพท์แล้วคุณโฮฯ รู้สึกแปลกๆอย่างดิฉันคิดไหมคะ   ถ้าแปลตามหลัก จากข้างหลังมาข้างหน้า   ก็พอจะแปลได้ว่า ขุมทรัพย์ตามกฎหมาย
แต่ถ้ามีความหมายแบบนั้น  ทั้งคำหน้าและหลังควรเป็นบาลีสันสกฤตเหมือนกัน  ไม่ใช่บาลี + ไทยปนบาลี
ควรจะเป็น "นิตินิธิ" 
ผูกศัพท์ได้แล้วก็ยังไม่รู้ว่า มันคืออะไรอีกนั่นแหละ   ถ้าเป็นภาษากฎหมาย คุณ UP น่าจะรู้
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 พ.ค. 08, 00:03

คำว่า "ขุมทรัพย์ตามกฎหมาย" ของอาจารย์นี้ แปลได้น่าสนใจครับ  ยิงฟันยิ้ม

ผมนึกไปถึง "มรดก" คือ เป็นแหล่งเงินแหล่งทองของตระกูล ที่มีกฎหมายรองรับให้ส่งต่อมายังลูกหลานได้

เห็นตามอาจารย์เช่นกันครับว่าเป็นคำที่แปลกอยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 พ.ค. 08, 00:41

ระหว่างที่คุณวันดียังไม่เข้ามา   ก็ขอคุยกับคุณโฮฯและท่านอื่นๆเรื่อยเปื่อยไปก่อน
สงสัยว่า นิติขุมทรัพย์ นี้ เป็นขุมทรัพย์แบบ รูปธรรม หรือนามธรรม
ถ้าเป็นรูปธรรม ก็อาจจะหมายความแบบคุณโฮฯ สันนิษฐาน  คือหมายถึงมรดก หรืออะไรที่จับต้องได้ อย่างอื่น

อาจจะมีบริบทว่า....โบราณเคยถือว่าบุตรเป็นนิติขุมทรัพย์ของบิดามารดา  อาจนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นเงินทองได้   ผู้มีบุตรมากจึงถือว่าบุตรนำเงินทองมาให้บิดามารดาได้มาก..ทำให้ซื้อขายบุตรเป็นทาสกันโดยทั่วไป

ประมาณนี้

ถ้าเป็นนามธรรม   ก็อาจมีบริบทว่า...หนังสือราชกิจจานุเบกษา นับเป็นนิติขุมทรัพย์ของประชาชนทั่วไปโดยแท้     มีความรู้อันมีค่าและรับรองว่าถูกต้องตามกฎหมาย ให้ประชาชนได้ค้นคว้าขุดค้นหาปัญญาอย่างมิรู้สิ้นสุด

ต้องรอจนกว่าคุณวันดีจะเข้ามาไขปัญหาค่ะ   ทั้งหมดข้างบนนี้คือเดาจากรูปศัพท์
คำว่า "ขุม" นี่แหละทำให้สะดุด   ถ้าเป็น "นิติทรัพย์" จะแปลง่ายกว่า  คือทรัพย์สินตามกฎหมาย
พอมี "ขุม" ทำให้นึกถึงขุมเพชรพระอุมาของมรกตนครขึ้นมาทุกที
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 พ.ค. 08, 06:45



อ่านมาจาก  เทียนวรรณ  บุรุษรัตนของสามัญชน  สงบ สุริยินทร์ เขียน  รวมสาส์นพิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ. ๒๕๔๓ หน้า ๒๗๔ - ๒๗๕


"ในประเทศสยามของเราก็มีคนประหลาดควรชมอยู่คนหนึ่ง  ในเรื่องรวบรวมสรรพหนังสือเก่าไว้ได้ เช่น ก.ศ.ร.กุหลาบ
ได้รักษาและรวบรวมตำรับตำราต่างๆและจดหมายเหตุรายการต่าง ๆ อันเป็นของเก่าในประเทศของเราเองและประเทศอื่นๆไว้ได้มากมายหลายอย่างนัก
นับว่าเป็นคนสำคัญในการรวบรวมและรักษาหนังสือไว้ได้  ไพร่ ๆ ด้วยกันไม่มีใครเสมอเขาในเรื่องมีตำรามาก

สรรพหนังสือที่เขาเก็บเขารักษาไว้ได้นั้น  เป็นนิติขุมทรัพย์อันหนึ่งอยู่ในเรือนของเขา    และทำให้เขาเกิดกำลังได้หลายประการ
คือกำลังปัญญาและกำลังที่ได้อาหารเครื่องเลี้ยงชีพ  และกำลังที่จะชักนำให้มีผู้นิยมนับถือ   แต่ที่ตัวเขาและใจเขาจะดีชั่วอย่างไรเราไม่ตัดสิน 
เราชมแต่ข้อที่เขารวบรวมหนังสือไว้ได้มากเท่านั้น"


วลีที่ชอบคือ   ...แต่ที่ตัวเขาและใจเขาจะดีชั่วอย่างไรเราไม่ตัดสิน


ท่านใดที่มีข้อมูลเกี่ยวกับ สงบ  สุริยินทร์โปรดเล่าด้วยค่ะ
เข้าใจว่าท่านสูงอายุแปดสิบปีปลาย  และเมื่อสอง-สามปีก่อนยังมีบทความออกมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 พ.ค. 08, 10:50

คำนี้  คุณสงบบัญญัติขึ้นมาเองกระมังคะ
"สรรพหนังสือที่เขาเก็บเขารักษาไว้ได้นั้น  เป็นนิติขุมทรัพย์อันหนึ่งอยู่ในเรือนของเขา   "
น่าจะหมายถึงทรัพย์สิน(ที่ครอบครองได้อย่างถูกต้อง)ตามกฎหมาย   

อันที่จริง ใส่คำว่านิติเข้ามา อาจจะฟุ่มเฟือยเกินเหตุ   เว้นแต่บริบทก่อนหน้านี้จะพูดถึงว่าหนังสือของนายกุหลาบนั้น เจ้าของครอบครองได้ถูกต้องตามกฎหมายหรือเปล่า  เพราะหลายเล่ม  ไปคัดลอกแถมดัดแปลงมาจากเอกสารจริงในหอหลวง  ซึ่งเป็นเอกสารราชการ  เป็นของหวงห้าม
นายกุหลาบละเมิด  ถือว่าผิดระเบียบข้อบังคับของหอหลวงในสมัยนั้น   ประชาชนคนไหนๆก็ไม่มีสิทธิ์จะทำ  ไม่ว่าจะเป็นปัญญาชนหรือไม่ก็ไม่ทำให้ความผิดข้อนี้ กลายเป็นถูกไปได้
 
ถ้าคุณสงบเล่นประเด็นนี้     ก็คงใส่คำว่านิติเข้ามาก็เพื่อย้ำว่านายกุหลาบเป็นเจ้าของหนังสือที่แอบคัดลอกดัดแปลง  อย่างถูกต้องตามกฎหมาย    ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว ไม่มีใครเอาไปได้
แต่ถ้าไม่ได้เล่นประเด็นนี้     บอกว่าเป็นทรัพย์สินอย่างเดียวก็คงพอค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 พ.ค. 08, 12:24

ขอประทานโทษค่ะคุณเทาชมพู  ดิฉันคัดลอกตกไปส่วนหนึ่ง  คือ เทียนวรรณเป็นผู้พูด


คำอธิบายของคุณเทาชมพูก็ครอบคลุมอยู่แล้ว เพราะเทียนวรรณเป็นผู้ที่ใช้คำฟุ่มเฟือยจริง
โดยมีคำวิจารณตัวเทียนวรรณไว้ไม่ปรากฏชื่อผู้วิจารณ์ว่า

"ใจความนิดเดียวยังพูดเป็นนักเป็นหนา  เชิญมาเป็นกุนซือกลัวจะตายเสียก่อน  แกพูดจนไม่ทันทำอะไร"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 พ.ค. 08, 12:41

อ้างถึง
วลีที่ชอบคือ   ...แต่ที่ตัวเขาและใจเขาจะดีชั่วอย่างไรเราไม่ตัดสิน
สนใจความเห็นนี้ค่ะ  ทำไมคุณ Wandee ถึงชอบความเห็นนี้ล่ะคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 พ.ค. 08, 13:26


เทียนวรรณ  หรือที่เรียกตนเองว่า นายวรรณ  คิดทันสมัยอย่างแท้จริงค่ะ
เรื่อง เราไม่ตัดสิน  I do not judge.   ราวกับความคิดนี้ผุดขึ้นมาเอง

นายวรรณไม่ได้คบหาหรือทำงานกับ ฝรั่ง นานเท่ากับก.ศ.ร.  หรือมีฐานะทางเศรษฐกิจเทียมหน้าเทียมตาก.ศ.ร.
แต่ความคิดในเรื่องนี้ ล้ำยุคมาก
 
นายวรรณ อ่อนกว่า ก.ศ.ร. แปดปี  ได้เห็นอิทธิฤทธิของก.ศ.ร.กุหลาบหลายหน
แต่ก็คบหากันมา
มั่นคงอยู่ในทางของตน
เรื่องประวัติสมเด็จพระสังฆราชสา  นายวรรณมิไ้ด้โต้เถียงคณะกรรมการเลย  ยอมรับความผิดที่มิได้คัดค้านประวัติที่ก.ศ.ร.เขียน
ดูเจียมตน  รักษาตนเมื่อออกมาจากที่คุมขัง  พยายามทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว

อ่านงานของท่านที่แก้ไขสำนวนแปลสองสามเรื่อง   นายวรรณละเอียดรอบคอบมาก  ที่ไม่แน่ใจ แยกส่วนไว้ว่าไม่แน่ใจค่ะ

นายวรรณเป็นนักอ่านที่อ่านได้ในทุกสภาพของชีวิต

"เคยลำบากยากแค้นแสนสาหัส
ท่านผูกมัดจองจำทำประสม
ทั้งขื่อคาห้าประการอานระทม
ยังแต่ลมเข้าออกลงกลอกตา
แต่เช่นนั้นฉันยังถือหนังสืออ่าน
มีพยานพวกพิทักษ์ที่รักษา
มันออกปากยากอย่างนี้มิระอา
ยังอุตส่าห์อ่านหนังสือถืออะไร"


บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 พ.ค. 08, 19:00

ขอบคุณครับคุณ Wandee

เห็นตามอาจารย์เทาชมพูครับว่า การเพิ่มคำว่า "นิติ" เข้าไปอาจเป็นการบอกอะไรนัยๆ เกี่ยวกับเอกสารในครอบครองของ ก.ศ.ร. กุหลาบ หรือ อาจเป็นความต้องการบอกแค่ว่า "ขุมทรัพย์ในครอบครอง" ซึ่งก็หมายถึงหนังสือที่ครอบครอง แต่มาใช้คำว่า "นิติ" เลยทำให้ความหมายกำกวม

อันที่จริงถ้าเป็นผม ผมจะใช้ "ขุมทรัพย์ทางปัญญา" เพราะในเนื้อหาก็ระบุอยู่แล้ว ว่าหนังสือต่างๆ ที่กล่าวถึง อยู่ในครอบครองของท่าน เพราะอยู่ในบ้านท่าน นอกเสียจากจะมีนัยที่ซ่อนเร้นมาจากกรณีการคัดลอกหนังสือที่ต้องห้าม โดยเล่นคำ "นิติ"
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 พ.ค. 08, 10:10

ในภาษากฎหมาย ผมไม่เคยได้ยินคำว่า "นิติขุมทรัพย์" ครับ

ขอแสดงความคิดเห็นว่าคำว่า "นิติขุมทรัพย์" เป็นความผิดพลาดในการพิมพ์หรือการพิสูจน์อักษรครับ

แท้จริงแล้วน่าจะเป็นคำว่า "นิธิขุมทรัพย์" มากกว่า นิธิก็แปลว่าขุมทรัพย์อยู่แล้ว นิธิขุมทรัพย์จึงเป็นการซ้อนคำเพื่อเน้นย้ำว่าหนังสือที่สะสมไว้นั้นคือขุมทรัพย์ที่มีคุณค่าและความสำคัญยิ่งยวด ผมเคยได้ยินคำว่า "นิธิขุมทรัพย์" ในสำนวนพระธรรมเทศนาครับ เช่น การทำบุญบริจาคทานถือเป็นการสร้างนิธิขุมทรัพย์เป็นเสบียงไปในปรภพ ฯลฯ ฉะนั้น ยืนยันได้มีตัวอย่างการใช้ ไม่ใช่คำที่เพิ่งผูกขึ้น

คำนี้เทียบได้กับ "เนติแบบอย่าง" ที่มักใช้กันในสำนวนพระธรรมเทศนาหรือบทสรรเสริญเกียรติคุณของผู้ควรเจริญรอยตาม เนติแปลว่าแบบแผนหรือเยี่ยงอย่างอยู่แล้ว คำว่าเนติแบบอย่างจึงเป็นการเน้นย้ำความเป็นแบบอย่างที่เยี่ยมยอดเท่านั้น ไม่ได้มีความหมายเพิ่มเติมแต่ประการใด

หรือถ้าไม่ได้พิมพ์ผิดจริงๆ ผมขอเดาว่า "นิติขุมทรัพย์" แปลว่าขุมทรัพย์อันเป็นแบบแผน คือเป็นขุมทรัพย์ที่ดีที่เป็นแบบอันผู้อื่นควรมีเช่นกัน

แต่ถึงอย่างไรผมยังปักใจว่าเป็น "นิธิขุมทรัพย์" ครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 พ.ค. 08, 18:42

ขอบคุณ คุณ UP ค่ะ

กระจ่างในภาษากฏหมายแล้ว


เรื่องหนังสือสมบัติเดิมของก.ศ.ร.กุหลาบมีอยู่มากมาย   คงเป็นประเด็นทางภาษาที่ นายวรรณ แสดง

นายวรรณเมื่อเล่าเรื่องชีวิตตนเอง  พูดน้อยคำค่ะ
ไม่เคยพาดพิงอ้างอิงยกเรื่องสมเด็จพระสังฆราชสาเลยว่าเป็นญาติ  กล่าวเพียงสั้นๆิ
เรื่องที่สึกออกมาเล่าแบบข้ามความ

สกุลวงศ์ขุนนางต่างๆที่ก.ศ.ร.เล่าถึง  ถ้านับเฉพาะรัตนโกสินทร์ก็มีประโยชน์
อยู่ที่คนอ่านจะพิจารณาใช้ข้อมูล

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง