เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 26298 ปี่พระอภัยเป็นปี่แบบไหน ทำด้วยอะไร
direk.w
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 ธ.ค. 09, 12:10

ผมว่า เราหลงทาง กับคำถาม กันมากมาย กับคนถามที่ต้องการคำตอบ
ให้เวียนหัวกับท่านนักอ่านนักวิจารณญานผู้รู้ท่านทั้งหลาย ก็ดีแล้วครับ จะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน

ต้องขอพระอภัยมณี ในที่นี้ด้วยนะครับ
ผมเพิ่งเข้ามาใหม่ อยากเสนอให้ทบทวนคำถามกัน นะครับ
คือถามว่าปี่พระอภัย เป็นปี่แบบไหน
มีผู้รู้ตอบแล้วว่า ปี่นอก กับปี่ใน นี่แหละครับคือชื่อหรือชนิดของปี่
คำถามต่อไป คือ ทำด้วยอะไร
สำหรับปี่นอก หรือปี่ใน ส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้งิ้ว
หรืองิ้วดำครับ เป็นไม้เนื้อเหนียว ละเอียด เบา ทำให้มีเสียงกังวาน
เพราะกลึง ถาก ทะลวงไส้ง่าย สมัยก่อนไม่มีเครื่องจักร
ต้องทำด้วยมือ คือใช้สิ่วเจาะ เหล็กเผาไฟเจาะรู้เอา

สมัยนี้ไม้งิ้วดำหายาก อาจใช้ไม้ชิงชัน ไม้มะหาด หรือไม้มะเกลือ
ซึ่งแข็งเหนียวทนทานมาทำ
และมีเครื่องมือ เครื่องจักรที่ทันสมัยมาเจาะคว้าน จึงสวยงามตามสูตร ครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 16 ธ.ค. 09, 17:04

ยินดีต้อนรับคุณดิเรกค่ะด้วยความยินดี


ขอเชิญแวะทุกกระทู้และมาบ่อยๆนะคะ

คุยกันมาคุยกันไปได้ความคิดหลายแนว


พระอภัยมณีเป็นวรรณกรรมก้าวหน้าที่รับอิทธิพลจากพงศาวดารจีนหลายจุดค่ะ

คุยกันได้สนุก

พระอภัยมณี บอกเองว่า ปี่แก้วนะคะ    



คคห ๔


พระอภัยมณีฉบับก้าวหน้า  หน้า ๗๗


   ฝ่ายนางเทพเทพินนิลกัณฐี         ทั้งเจ้าตรีพลำเล่นน้ำไหล
ยินสำเนียงเสียงเพราะเสนาะใน         จับจิตใจเจียนจะหลับนั่งตรับฟัง
เห็นกำปั่นนั้นแล้วแจ้วแจ้วจอด         เสียงฉอดฉอดพลอดสัมผัสประหวัดหวัง
จึงขับปลามาในน้ำด้วยกำลัง         พูดภาษาฝรั่งร้องถามไป
นี่แน่คนบนลำเรือกำปั่น         ท่านพากันมาแ่ต่หนตำบลไหน
เมื่อตะกี้นี้สำเนียงเสียงอะไร         ใครทำไมไพเราะเสนาะดี


.............................
.............................

   ฝ่ายสามองค์ทรงฟังสังระเสริญ         ทั้งเชื้อเชิญชื่นชมด้วยสมหวัง
จึ่งขึ้นลำกำปั่นนั่งบรรลังก์         มุนีนั่งทั้งสามบอกตามตรง
เป่าที่เรือเมื่อตะกี้นั้นปี่แก้ว         ให้ดูแล้วปลอบถามตามประสงค์
ดูรูปร่างช่างงามทั้งสามองค์         เป็นเชื้อวงศ์เทวาหรือมานุษย์









บันทึกการเข้า
bahamu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 26 ก.ค. 12, 14:46

ปี่ของพระอภัยมณี อาจจะได้อิทธิพลจากปี่ของเตียวเหลียงในเรื่องพงศาวดารจีนเรื่องไซ่ฮั่น

สุนทรภู่ อาจจะรับมาจากขลุ่ย ของพระกฤษณะก็ได้ เรียกว่า Venu เสียงขลุ่ยมีฤทธิ์บันดาล แบบพระอภัยมณี ซึ่งรับอิทธิพลมา

ครั้นถึงฤดูใบไม้ร่วงในคืนที่แสงจันทร์สว่างไสว พระกฤษณะได้เป่าขลุ่ยเรียกเหล่านางโคปีเหล่านั้น ให้แอบหนีสามีที่กำลังหลับเข้ามาในป่า
จากนั้นก็ได้เต้นรำกัน นางโคปีทุกคนต่างรู้สึกเคลิบเคลิ้มเหมือนว่าตนได้เต้นรำกับพระกฤษณะในลักษณาการของคู่รัก

การเต้นรำนี้ยาวนานถึงหกเดือน จากนั้นทั้งหมดก็ได้ไปอาบน้ำที่แม่น้ำยมุนาร่วมกัน เมื่อนางโคปีกลับบ้านก็จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น


กรรมอันประเสริฐของพระกฤษณะ
บทความจาก - วารสารศรีมณเฑียร ทรรศน์ / สมาคมฮินดูสมาช

ปณฺห จุรเย ชาต โห, นิรปล ชานิ เก โมห หิรทยาส เส จป ชโอเค มารท ปขโน โตหิ

ขลุ่ยแสดงให้เห็นความรู้ของพระองค์ในเรื่องดนตรี เท่าๆ กับความรักอันบริสุทธิ์ พระองค์ทรงใช้ขลุ่ยเพื่อทำให้ประชาชนเบาใจจากการทรมานของกษัตริย์กัณสะ
และพระองค์ทรงทำให้ประชาชนทั้งหมดมารวมกัน และสร้างความรักและความเสน่หาในระหว่างพวกเขา
เสียงอันไพเราะของขลุ่ยของพระองค์ไม่เพียงแต่นำประชาชนให้มารวมกันเท่านั้น แต่ยังทำให้นกและสัตว์ทั้งหลายมารวมกัน ลืมความรู้สึกที่เป็นศัตรูต่อกันในระหว่างพวกมันด้วย

แต่ในทุกวันนี้ขลุ่ยของพระองค์ยังสอนพวกเราให้รู้ว่า เราควรจะเล่นขลุ่ยของชีวิตของเราในเสียงไพเราะเช่นนั้น
ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าโดยการฟังเสียงขลุ่ย โลกทั้งโลกควรจะรวมเข้าด้วยกัน ร้อยกันเข้าในด้ายเส้นเดียว และลืมความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันใดๆ เกี่ยวกับคนอื่นๆ

http://www.siamganesh.com/krishna.html
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 17:46

ความคิดของคุณ bahamu น่าสนใจและน่ารับไว้พิจารณา

แต่เรื่องพระกฤษณาเป่าขลุ่ยเต้นระบำกับเหล่านางโคปีนั้น ผมไม่แน่ใจว่า
เรื่องพระกฤษณะเป่าขลุ่ยนี้เคยมีอยู่ในรายละเอียดเรื่องพระกฤษณะในนารายณ์สิบปางฉบับไทยบ้างหรือไม่
เพราะเท่าที่เห็นไม่เคยปรากฏรายละเอียดเรื่องนี้ในนารายณ์สิบปางฉบับภาษาไทย
ก็น่าสงสัยอยู่ว่า   ถ้าสุนทรภู่จะได้อิทธิพลพระกฤษณะเป่าขลุ่ยมาเป็นต้นทุนในการสร้างพระอภัยมณีเป่าปี่
สุนทรภู่ควรจะได้ข้อมูลนี้จากแหล่งข้อมูลใด  มิฉะนั้น  เราจะต้องยืดอายุการแต่งพระอภัยมณีให้ยาวข้ามมาจนถึง
รัชกาลที่ ๔-๕ ด้วยหรือไม่  เพราะช่วงดังกล่าวเริ่มมีการศึกษาภารตวิทยาที่ยุโรปกันคึกคัก
ก็น่าคิดอยู่เหมือนกัน  ว่าบางทีฝรั่งอาจจะพาพระกฤษณะเป่าขลุ่ยมาเมืองไทยก็ได้

หีรือถ้าคิดเตลิดไปอีกหน่อย   ในสมัยรัชกาลที่ ๒-๓ (จำไม่ได้แน่นอน  เพราะอายุมากแล้ว)
มีพราหมณ์คนหนึ่งเดินทางจากอินเดียมาที่ภาคใต้ (จำไม่ได้ว่าเป็นเมืองอะไร) กรมการเมืองนั้น
ได้นำตัวพราหมณ์นั้นมาสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องเมืองอินเดีย  แต่จะเป็นเพราะไม่มี "ล่ามดี" หรืออย่างไร
ทำให้คนสอบสวนเข้าใจอย่าง คนตอบเข้าใจอย่าง  คำให้การนี้ ชื่อว่า คำให้การพราหมณ์อัจจุตนันนำ
พิมพ์เป็นว้ำหลายครั้ง  แต่ก็นั่นแหละพราหมณ์อัจจุตนันนำก็ไม่ได้เล่าอะไรเกี่ยวเรื่องพระกฤษณะเป่าขลุ่ยไว้


อาจจะเป็นไปได้ว่า  สุนทรภู่อาจจะไปฟังเรื่องพระกฤษณะเป่าขลุ่ยจากพราหมณ์ที่โบสถ์พราหมณ์ก็เป็นได้
ก็แปลกใจว่า  ถ้าเช่นนั้น ทำไมพระอภัยมณีที่สุนทรภู่สร้างจึงเป่าปี่ไม่เป่าขลุ่ย  ขลุ่ยเสียงอาจจะเบาไป
เสียงทุ้มนุ่มนวลไป  สู้ปี่ไม่ได้หรือเปล่า  ก็น่าคิด  หรือว่า  ปี่จากรูปลักษณ์ของเครื่องดนตรีแล้ว
ยังมีความหมายอย่างอื่นที่สุนทรภู่แฝงไว้  ไม่เช่นนั้น  ทำไมสุนทรภู่ไม่ให้พระอภัยมณีเล่นเครื่องดนตรีอย่างอื่น
เช่น ซอ  แคน  พิณ  กระจับปี่  จ้องหน่อง  กลอง  หรือไม่ก็ให้พระอภัยมณีออกแนวฝรั่งหน่อย
เป่าแตร  คาลิเน็ต  สีไวโอลิน  หรือเป่าเมาท์ออแกน  การที่สุนทรภู่ให้พระอภัยมณีเป่าปี่น่าจะมีเหตุผล
ไม่ใช่การสร้างตัวละครเลียนแบบเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาโดยไม่มีสลักสำคัญ  พระอภัยมณีอยู่ผ่านยุคสมัยมาได้
แสดงว่าสุนทรภู่ท่านปรุงรสไว้ดี กลมกล่อมพอสมควร  ทำให้ ไม่ว่าคนไทยยุคหลังจะไม่ทันรู้เห็นความเป็นไปของสังคม
ของสุนทรภู่  ก็สามารถอ่านและซึมทราบเอาสาระในวรรณคดีที่แต่งได้


การจะพิจารณาว่าปี่ของพระอภัยมณี สุนทรภู่เอาแนวคิดมาจากไหน  ต้องดูสภาพแวดล้อมทางวรรณกรรมและสังคมวัฒนธรรม
ในสมัยที่สุนทรภู่มีชีวิตอยู่ประกอบด้วย  สุนทรภู่รับราชการในกรมพระอาลักษณ์   ที่กรมพระอาลักษณ์มีหนังสือเอกสาร
ให้ได้อ่านมากมาย   และยิ่งสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป้นสมัยที่มีการฟื้นฟูอักษรศาสตร์ต่อเนื่องมาจากสมัยกรุงธนบุรี
ประกอบบ้านเมืองมีศึกสงครามน้อยลง   เป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างสรรค์ศิลปะ วัฒนธรรม  วรรณคดีให้งอกงามขึ้น
เพื่อทดแทนสิ่งที่สูญและเสียหายไปจากคราวที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒  การฟื้นฟูช่วงรัชกาลที่ ๑-๒-๓หรือแม้ ๔
ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจีนมากมาโดยลำดับ  การแปลวรรณกรรมจีนมาเป็นภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ ๑-๒
แม้จะมีไม่มาก แต่วรรณกรรมที่แปลนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญ  ซึ่งเป้นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวจีน   แม้แต่งิ้ว (ลั่นถั่น) ที่แสดงในเมืองไทย
ก็มักนำมาเล่นให้คนดูกันอยุ่เสมอ   สุนทรภู่อยู่ในสังคมช่วงนั้นก็คงได้รับรู้เช่นกัน  เพราะราชสำนัก และวัดวา
ก็เป็นแหล่งที่ได้รับอิทธิพลเหล่านี้อย่างชัดเจน   


อนึ่งเพลงปี่พระอภัยมณีนั้น  จะเอาเฉพาะเพลงปี่ตอนใดตอนหนึ่งมาพิจารณาโดยไม่ดูภาพรวมคงจะทำให้เข้าใจ
บทบาทหน้าที่ของปี่ในเรื่องนี้ได้ไม่ครบถ้วนเท่าที่ควร   เพลงของพระอภัยมณีไม่ได้เป็นไปเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง
พระอภัยมณีไม่ได้เป่าปี่เพื่อจะหาเลี้ยงชีพหรือเพื่อสร้างความสนุกสนานแก่ตนเองและผู้อื่น  ทุกครั้งที่เป่าปี่
ย่อมมีเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องชักปี่ขึ้นมาเป่า  เมื่อเป่าปี่แล้วย่อมเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าร้ายหรือดี
ที่สำคัญ อย่าลืมความตอนต้นที่อาจารย์สอนวิชาเป่าปี่แก่พระอภัยมณี  ท่านสอนพระอภัยว่าอย่างไร
ถ้าพิจารณาจุดเริ่มต้น  ปลายจะไม่แกว่ง  และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับขลุ่ยของพระกฤษณะ  จะเห็นได้ว่ามีความเหมือนและความแตกต่าง
ขลุ่ยของพระกฤษณะเป็นเครื่องดนตรีที่สร้างความสนุกสนานในหมู่ผู้เลี้ยงโค  สามารถลืมความทุกข์ความโศกประหนึ่งว่าหลุดเข้าไปในภวังค์
หรืออยู่ในโลกความฝัน  เมื่อหมดสนุกก็จำอะไรไม่ได้   ปี่ของพระอภัยมณีสนุกสนานอย่างนั้นหรือเปล่า

มีสหายผู้หนึ่ง เป็นจำพวกชอบคิดต่าง   สหายบอกว่า นี่ถ้าสุนทรภู่ได้เดินทางไปเขตที่ราบสูงไปสักการะพระธาตุพนม
ได้ไปเห็นผู้บ่าวเป่าแคนเกี้ยวสาว ไม่แน่ว่า  พระอภัยมณีอาจจะกลายเป็นหมอแคนก็ได้   (แต่ก็ไม่ควรลืมประกาศรัชกาลที่ ๔
เรื่องห้ามเล่นแคนด้วย อิอิ)  หรือถ้าสุนทรภู่อยู่มาจนถึงรัชกาลที่ ๕ 
ใครจะรู้  สุนทรภู่อาจจะสร้างให้พระอภัยกับสามพราหมณ์เล่นแตรวงก็ได้   

แหม  สหายก็คิดสนุกจนตามไม่ทัน   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
bahamu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 10:23

ในปี พ.ศ.2373 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏว่ามีพราหมณ์เทศท่านหนึ่งเดินทางเข้ามายังพระนคร
มีนามว่าพราหมณ์อัจจุตะนันนำมาแต่ชมพูทวีป และได้ให้การถึงความเป็นไปในเมืองพาราณสีบ้านเกิด

แม้เนื้อความจะเป็นที่ถกเกถียงถึงข้อเท็จจริงทั้งในส่วนของผู้ให้การและคำแปล แต่เรื่องนี้ก็เป็นพยานว่ากรุงเทพมหานคร
มีการติดต่อสื่อสารกับพราหมณ์เทศมาตั้งแต่เริ่มแรก และพราหมณ์เหล่านี้ย่อมนำมาซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีตามลัทธิของตนเข้ามาเผยแพร่ด้วย


หลักฐานทีทำให้เราเชื่อได้ว่าลัทธิความเชื่อแบบพราหมณ์อินเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อแนวคิดของคนกรุงเทพฯ ก็คือ
สมุดภาพ ‘ตำราเทวรูปและเทวดานพเคราะห์’ ซึ่งมีถึง 5 เล่มสมุดไทย

ที่สันนิษฐานว่าผู้ที่โปรดให้สร้างขึ้นก็คือเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในราวๆรัชกาลที่ 4
โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ภาพต้นแบบในการเขียนภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส, วัดสุทัศน์เทพวราราม และอีกหลายๆ แห่ง
ตำราภาพเหล่านี้ปรากฏภาพเทพเจ้าพระองค์ต่างๆในปางต่างๆกันไป ตั้งแต่พระมหาเทพทั้งสามและอวตารในรูปแบบต่างๆ
เรื่อยไปจนถึงพระศักติและเทพชั้นรอง อาทิ พระอุมาเทวี, พระลักษมีเทวี, พระขันธกุมาร, พระพิฆเณศวร เป็นต้น

และบางภาพแม้ชื่อที่จารไว้ข้างภาพจะเพี้ยนไปบ้าง แต่เราก็ยังสามารถเทียบเคียงภาพเทพเจ้าต่างๆนั้นกับภาพเทพเจ้าตามคติอินเดีย อาทิ
ภาพพระปรเมศวรปราบมุลาคะนีในสมุดไทยดำเลขที่ 32กับพระศิวะนาฎราช, ภาพพระอิศวรสร้างพระหิมพานในร่มไม้สกรมในสมุดไทยดำเลขที่ 70 กับพระทักษิณามูรติ

และที่สำคัญคือ "พระนารายณ์ทรงขลุ่ยปราบอสูรเวรำภา"(ค้นไม่พบ) กับภาพพระพลเทพถือไทยในพระสมุทรูปพระไสยสาตร เลขที่ 33

กับพระกฤษณะและพระพลราม ซึ่งทำให้เราทราบว่าอย่างน้อยผู้คนในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 4
ก็คุ้นเคยกับรูปพระกฤษณะในฐานะอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ รวมไปถึงยังรู้จักพระพลราม ในชื่อ พระพลเทพ อีกด้วย

หลักฐานสำคัญอีกชั้นหนึ่งที่ยืนยันว่าชาวกรุงเทพรู้จักมหากาพย์มหาภารตยุทธอย่างดีก็คือ คำฉํนท์นิพนธ์เรื่อง ‘กฤษณาสอนน้องคำฉํนท์’
ซึ่งสันนิษฐานว่าพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินทร์แต่งขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราช มีเค้าโครงเนื้อหามาจากชีวิตของนางเทราปตี หรือนางกฤษณาในที่นี้

http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=3760.0


ตำนานการฟ้อนรำ

ณ ป่าตรรกะ (Taraka) เหล่าฤาษีทั้งชายและหญิงประพฤติตนไม่เหมาะสม อนาจารฝ่าฝืนเทวบัญญัติ
พระศิวะต้องการทรมานให้รู้สำนึกและกลับตัว พระศิวะจึงแปลงกายเป็นพราหมณ์ พระนารายณ์แปลงกายเป็นหญิงงามยั่วยวนเหล่าฤาษี
เพื่อให้คลั่งไคล้ไหลหลงและทะเลาะแย่งเป็นเจ้าของ เมื่อทรมานพอแล้ว ทั้งสององค์ก็กลับสู่ร่างเดิม

พอพวกฤาษีชั่วเห็นว่าเป็นพระศิวะกับพระนารายณ์แปลงกายมาหลอกลวงก็โกรธแค้น ก็เสกเสือให้ฆ่าพระศิวะ
แต่ก็ถูกพระศิวะถลกหนังเสือเป็นภูษาทรง ฤาษีจึงเสกนาคมาทำร้ายอีก พระศิวะก็ฆ่าแล้วเอามาคล้องคอเป็นสังวาลย์
พระศิวะทรงฟ้อนรำและแสดงปาฏิหาริย์ต่างๆ ให้ฤาษีกลัว ขณะนั้นมียักษ์มุยะละกะ หรืออปัสมาปุรุษ ปรากฏตัวมาช่วยฤาษี
พระศิวะจึงใช้พระบาทเหยียบยักษ์แล้วฟ้อนรำต่อจนครบ 108 ท่าจนพวกฤาษียอมแพ้ในที่สุด

การร่ายรำของพระศิวะในครั้งนี้เป็นที่เลื่องลือและยกย่องของเหล่าเทพ ต่อมาพญาอนันตนาคราชได้อ้อนวอนให้พระอิศวรฟ้อนรำอีกครั้ง
พระอิศวรจึงสัญญาว่าจะฟ้อนรำอีกครั้งที่ตำบลจิทัมพรัม (ในอินเดียใต้) อันเป็นดินแดนที่อยู่กลางจักรวาล
ครั้นถึงวันกำหนด พระอิศวรก็เสด็จลงมา โดยทรงเนรมิตสุวรรณศาลา และฟ้อนรำตามที่ได้สัญญาไว้
ซึ่งต่อมาได้มีการรวบรวมท่าฟ้อนรำทั้ง 108 ท่าเป็นตำราทางนาฏยศาสตร์ต่อไป คัมภีร์เล่าว่าระหว่างการฟ้อนรำ

พระสรัสวดีทรงดีดพิณ
"พระอินทร์ทรงเป่าขลุ่ย"
พระพรหมทรงตีฉิ่ง
พระลักษมีทรงขับร้อง
พระวิษณุทรงตีกลอง
และเทพบุตรนนทิตีตะโพน

http://my.opera.com/sawasdeeholidays/blog/

http://fda.bpi.ac.th/View/th_dance1.html


ดนตรีมีองค์ ๕ คือ
๑. อาตตะ กลองขึงหนังหน้าเดียว
๒. วิตตะ ตะโพน
๓. อาตตวิตตะ บัณเฑาะว์
๔. สุสิระ ปี่หรือขลุ่ย
๕. ฆนะ ดาลที่เคาะด้วยศิลาและแผ่นเหล็ก (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๔๖/๒๕๙, อภิธา.คาถา ๑๓๙-๑๔๐)

http://www.วัดลอมพระเจ้าตอง.com/tripitaka/document_tripitaka_1/document_1_1.pdf


ท่วงท่าการเป่าปี่แบบไทย สง่างามกว่า มีสมดุลแสดงความมุ่งมั่นในคีตบรรเลง
รูปทรงปี่ใน คล้ายโอโบของฝรั่ง(เสียงหวานกว่าปี่)

โอโบ(ปี่เหล็ก) จัดว่าเป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่มีระบบลิ้นคุ่ กล่าวคือมีลิ้น สองชิ้นประกบกันอยู่
โอโบมีพื้นฐานมาจาก     ปี่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance) ที่มีชื่อว่า Shawm(ปี่ไม้)

โอโบสมัยปัจจุบันได้ปรับปรุงมาในศตวรรษที่ 17     โดยนักประดิษฐ์เครื่องดนตรีชาวฝรั่งเศสและเยอรมัน
เสียงของโอโบคล้ายเสียงที่ออกทางจมูกหรือที่เรียกว่าเสียงนาสิก( nasal Tone) คือมีลักษณะบีบ ๆ และแหลมคม

ยังมีปี่ที่ลักษณะคล้ายกับโอโบอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า อิงริช ฮอร์น ( English horn) ซึ่งมีลักษณะ
ใหญ่กว่าโอโบเล็กน้อย จึงมีเสียงที่ต่ำกว่า โอโบปรากฎอยู่ในออร์เครสตร้า ในศตรวรรษที่ 19

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=191964


เครื่องประเภทลิ้นคู่ (Double reed)

1) โอโบ (Oboe) เป็นปี่ลิ้นคู่ที่เก่าแก่ที่สุดชาวอียิปต์โบราณ ได้เคยใช้ปี่ที่มีลักษณะ คล้ายคลึงกับปี่โอโบ เมื่อประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว ก่อนคริสต์กาล
ชาวกรีกและชาวโรมันโบราณ มีปี่ลิ้นคู่ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ออโรส" (Aulos) โอโบลำตัวยาวประมาณ 25.5 นิ้ว เป็นรูปทรงกรวย ทำด้วยไม้หรืออีบอไนท์

ส่วนลิ้นคู่นั้นทำจากไม้ที่ลำต้นมีข้อและปล้อง จำพวก กก หรือ อ้อ ที่ขึ้นในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ลิ้นของปี่โอโบ ได้รับการผลิตอย่างปราณีตมาแล้วจากโรงงาน
ผู้เล่นส่วนมากนิยมนำมาตกแต่งเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับริมฝีปากของตนเอง
โอโบเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากมาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโอโบต้องใช้ลมเป่ามาก แต่ความจริงหาแล้วแม้แต่เด็กผู้หญิงก็สามารถเป่าได้

สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญอยู่ตรงที่ลิ้นคู่หรือลิ้นแฝด ผู้เล่นต้องสามารถเม้มริมฝีปาก และเป่าลมแทรกลงไประหว่างลิ้นคู่ทั้งสองที่บอบบาง เข้าไปในท่อลม
เทคนิคการควบคุมลมให้สม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นมากจึงต้องฝึกฝนกันเป็นเวลานาน

ช่วงเสียงของโอโบกว้างประมาณ 2 ออคเทฟครึ่ง เริ่มตั้งแต่ B flat ต่ำถัดจาก C กลาง สำเนียงของโอโบ ไม่สง่าผ่าเผยเหมือนฟลูท มีลักษณะแบน ๆ คล้ายเสียงออกจมูก
เหมาะสำหรับทำนอง เศร้า ๆ "บรรยากาศของธรรมชาติและลักษณะของดินแดนทางตะวันออก" หน้าที่ที่สำคัญของโอโบอีกอย่างหนึ่งคือ
เป็นเครื่องเทียบเสียงของวงออร์เคสตรา (A tuning fork for the orchestra) ก่อนการบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ จะต้องเทียบเสียง "ลา" (A)

http://www.lks.ac.th/band/page7_2.htm

http://en.wikipedia.org/wiki/Shawm

http://www.ollusa.edu/s/1190/ollu.aspx?sid=1190&gid=1&pgid=2561


จริงๆสุนทรภู่ น่าจะรู้จัก Shawm และใช้เป็นปี่ในพระอภัยมากกว่าปี่ในของไทย จึงไม่ปรากฏรายละเอียดที่แน่ชัดในเรื่อง

แล้วพาไปยอดเขาให้เป่าปี่          ที่อย่างดีสิ่งใดก็ได้สิ้น 
แต่เสือช้างกลางไพรถ้าได้ยิน        ก็ลืมกินน้ำหญ้าเข้ามาฟัง
ประมาณเสร็จเจ็ดเดือนโดยวิถาร   พระกุมารได้สมอามรณ์หวัง   
สิ้นความรู้ครุประสิทธิ์ไม่ปิดบัง   จึงสอนสั่งอุปเท่ห์เป็นเล่ห์กล   
ถ้าแม้นว่าข้าศึกมันโจมจับ       จะรบรับสารพัดให้ขัดสน   
เอาปี่เป่าเล้าโลมน้ำใจคน           ด้วยเล่ห์กลโลกาห้าประการ   
คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส   เกิดกำหนัดลุ่มหลงในสงสาร   
ให้ใจอ่อนนอนหลับดังวายปราณ   จึงคิดอ่านเอาไชยเหมือนใจจง   
แล้วให้ปี่ที่เพราะเสนาะเสียง             ยินสำเนียงถึงไหนก็ไหลหลง

ดนตรีมีคุณที่ข้อไหน หรือใช้ได้แต่ข้างเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง
พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม  จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข 

อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไร  ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์ 
ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช  จตุบาทกลางป่าพนาสิณฑ์ 
แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน  ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา 
ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ  อันลัทธิดนตรีดีนักหนา 
ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์  จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง

http://hilight.kapook.com/view/24152

http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-1/no24-30-39/243239/praapai/sec04p02.htm


บันทึกการเข้า
bahamu
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 13:04

oboe หรือปี่ไม้ มีปรากฏในนิทานพี่น้องตระกูลกริมส์


The Pied Piper of Hamelin นักเป่าปี่

ในปี 1284เมืองฮาเมลินในเกิดมีฝูงหนูแพร่พันธุ์เป็นจำนวนมาก ชาวเมืองต่างก็เดือดร้อนเนื่องจากหนู่เหล่านี้นอกจากจะกัดแทะเสบียงอาหารแล้ว
พวกมันยังเป็นพาหะนำโรคร้ายมาอีกด้วย แม้แต่แมวก็ยังต้องหนีเพราะหนูซึ่งมีจำนวนมากมายนั้นถึงกับเข้ามารุมทำร้ายแมวเสียด้วยซ้ำ
บรรดาชาวเมืองจึงพากันออกเงินรวมกันก้อนหนึ่งเพื่อให้เป็นรางวัลแก่ผู้ที่จะมาปราบหนูเหล่านี้ได้ ในยามนี้เองที่ปรากฏชายลึกลับผู้หนึ่งเสนอตัวจะปราบหนูขึ้นมา
ชาวเมืองก็ให้คำสัญญาว่าจะให้สิ่งตอบแทนใดๆก็ได้ตามที่เขาต้องการ

เมื่อตกลงกับชาวเมืองเรียบร้อย ชายลึกลับก็หยิบปี่ถุงออกมาและเป่าพร้อมกับออกเดินไป ท่ามกลางสายตาสงสัยของชาวเมืองนั้นเอง หนูก็พากันวิ่งออกมา
หนูทั้งหลายจากทั่วมุมเมือง พากันเดินตามหลังชายเป่าปี่ไปราวกับหลงไหลในเสียงเพลงของเขา และเมื่อไปถึงแม่น้ำเวเซอร์ซึ่งอยู่ใกล้เมือง
ชายนักเป่าปี่ก็หยุดยืนอยู่ริมแม่น้ำ ในขณะที่ฝูงหนูพากันกระโจนลงน้ำไปเรื่อยๆ จนในไม่ช้าก็ไม่มีหนูเหลืออยู่แม้แต่ตัวเดียว

ชายนักเป่าปี่กลับมาในเมืองและเรียกร้องของค่าจ้างของตัวเอง หากชาวเมืองที่นึกเสียดายเงินขึ้นมาจึงปฏิเสธโดยกล่าวว่า
"นักเป่าปี่ไม่ได้ทำอะไรเสียหน่อย พวกหนูกระโดดลงน้ำไปเองต่างหาก" และยังขู่จะจับขังนักเป่าปี่อีกด้วยถ้าเขายังมามัวตื๊ออยู่

นักเป่าปี่โกรธแค้นและกล่าวทิ้งท้ายว่า "พวกคุณต้องรักษาสัญญา ฉันจะเอาสิ่งสำคัญที่สุดของพวกคุณไป" หากไม่มีใครสนใจ ยังกลับหัวเราะเยาะเขาเสียอีก

และแล้ววันหนึ่ง นักเป่าปี่กลับมายังเมืองฮาเมลินอีกครั้ง เขาเริ่มเป่าปี่บนถนน และทันใดนั้นเอง
เด็กๆที่มีอายุมากกว่า 4 ปีต่างก็มารวมกันและเดินตามเขาไปจนในไม่ช้าเด็กชายหญิงจำนวนกว่า 130 คน
ต่างก็เต้นรำร้องเพลงตามทำนองของเสียงปี่ออกไปนอกเมือง และไม่มีใครได้เห็นพวกเขาอีกเลย

ไม่ว่าชาวเมืองจะโศกเศร้าเสียใจและพยายามค้นหาเด็กๆเหล่านั้นเช่นไร เด็กที่หายไปและชายนักเป่าปี่ก็ไม่ได้ปรากฏตัวขึ้นที่ฮาเมลินอีกเป็นครั้งที่สอง


อย่างที่เห็นข้างต้นค่ะ นิทานเรื่องนี้ คาดว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักล่ะ แต่บล๊อกนี้ไม่มีทางจะมานั่งเล่านิทานโดยไม่มีปี่มีขลุ่ยค่ะ

คราวนี้เราจะมาพูดถึงเมืองฮาเมลิน (Hamelin หรือHameln ในภาษาเยอรมัน) และความจริงในประวัติศาสตร์ของเมืองนี้กัน

ฮาเมลินเป็นเมืองในแคว้นเนียเดอร์แซสเซน ประเทศเยอรมันนี ปัจจุบันมีประชาการประมาณ 60,000 คน
เมืองนี้อยู่เลียบแม่น้ำเวเซอร์ ใกล้กับถนนเมลเพนอันมีชื่อเสียง แต่ที่เมืองนี้มีชื่ออยู่ในความทรงจำของคนส่วนใหญ่นี้เป็นเพราะนิทานเรื่องข้างต้นนี้เอง
ซึ่งนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าของเหตุการณที่เกิดขึ้นจริงเมื่อกว่า 700 ปีก่อน
ต้นแบบของมันคือเรื่องราวประหลาดในกระจกสีของโบถส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นประมาณปี 1300 เป็นที่น่าเสียดายที่กระจกสีนี้ปัจจุบันถูกทำลายไปแล้ว
กระจกสีอันปัจจุบันเป็นบานใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นตามบันทึกที่เหลือไว้



"วันที่ 26 มิถุนายน 1284 เมืองฮาเมลิน ประเทศเยอรมันเกิดคดีเด็กจำนวนกว่า 130 คนหายสาบสูญไปอย่างกะทันหัน"
นั่นเป็นความจริงอย่างเดียวที่ถูกเหลือไว้ในบันทึกปี 1440 ซึ่งเป็นบันทึกเก่าที่สุดเท่าที่เหลืออยู่ (เรื่องของหนูถูกเพิ่มเข้ามาราวศตวรรษที่ 16)
ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าเรื่องราวเป็นเช่นไร และเด็กๆหายไปได้อย่างไร หากด้วยเหตุนี้เมืองฮาเมลินจึงมีการตั้งกฏว่าห้ามร้องเพลงเต้นรำบนถนนที่ถูกกำหนดไว้อยู่เป็นเวลานานทีเดียว

จะอย่างไรก็ตาม เมื่อเรื่องนี้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 1606 โดยริชาร์ด โลรัน เวลส์เทกัน เวลาของคดีก็กลายเป็น 22 กรกฎาคม 1376
และเมื่อพี่น้องตระกูลกริมม์ทำการเรียบเรียงเรื่องนี้ในปี 1816 ก็ได้มีการเพิ่มเรื่องของเด็กขาแพลงกับเด็กตาบอดซึ่งไม่ได้หายตัวไปลงไปด้วย


มีการสันนิษฐานเกี่ยวกับสาเหตุมากมาย และที่มีมูลมากที่สุดได้แก่ 4 ทฤษฎีข้างล่างนี้

- เด็กๆเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ (จนน้ำในแม่น้ำเวเซอร์หรือตายในภูเขาฮอบเปนเบิร์ก)
วันที่ 26 มิถุนายน 1284 เป็น"วันเซนต์โยฮันส์และเปาโล" ฮาเมลินมีธรรมเนียมจะจุดไฟบนภูเขาฮอบเปนเบิร์กซึ่งมีภูมิประเทศเป็นหน้าผาตัด
ข้างล่างเป็นบึงลึกเป็นไปได้ว่าเด็กๆได้พากันขึ้นเขานี้ไปตอนกลางคืนและเดินตกผาไป

- เกิดโรคระบาดขึ้นและเด็กถูกพาไปอยู่ที่อื่น
ยุโรปเคยมีกาฬโรคระบาดซึ่งก็ตรงกับปี 1376 ในฉบับของผู้เขียนอีกคน นักเป่าปี่อาจจะเป็นเครื่องหมายแทนยมฑูตก็เป็นได้

- เด็กๆพากันรวมตัวออกไปจาริกแสวงบุญและไม่ได้กลับมาอีก
ในกรณีนี้ นักเป่าปี่ก็คือหัวหน้ากลุ่มนักเดินทาง

- เด็กๆพากันออกจากหมู่บ้านไปเพื่อสร้างหมู่บ้านใหม่
ในช่วงปีนี้เป็นยุคที่มีหมู่บ้านใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย เด็กชาวเมืองฮาเมลินอาจจะเป็นหนึ่งในนั้นก็ได้

จะอย่างไรก็ดี ในบันทึกซึ่งถูกค้นพบเมื่อปี 1602 ได้มีจารึกไว้ดังนี้

"ปี 1284 วันเซนต์โยฮันส์และเปาโล 26 มิถุนายน
นักเป่าปี่ใส่เสื้อหลากสีหลอกล่อเด็กๆ 130 คนออกมาจากเมืองฮาเมลินหายไปยังลานนักโทษใกล้เนินเขา"

เนินเขาดังกล่าวนี้น่าจะหมายถึงหนึ่งในจำนวนเนินเขามากมายที่ล้อมเมืองอยู่ แต่ก็ไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าเนินเขาที่ว่านี่คืออันไหนกันแน่


http://ohx3.exteen.com/20061026/the-pied-piper-of-hamelin


เบื้องหลังความโหดร้ายของนิทานก่อนนอน

http://www.thaigoodview.com/node/63261

http://atcloud.com/stories/84500

Pied Piper of Hamelin

http://en.wikipedia.org/wiki/Pied_Piper_of_Hamelin


สุนทรภู่อาจได้รับฟังนิทานเรื่องนี้ จากพวกยุโรปที่เดินทางมายังกรุงเทพก็ได้ เพราะนิทานเรื่องนี้ในยุโรปเป็นที่รู้จักในวงกว้าง


Donor: Moselle Alexander (Mrs. George) McLendon
The Pied Piper of Hamelin
 Haskins Studio, Rochester, New York, 1924

http://www.baylor.edu/abl/index.php?id=48322


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 30 ก.ค. 12, 14:40

อือม์  เยอะนะเนี่ย    ตกใจ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง