ประเด็นที่ผมกล่าวไปคือ เรื่อง พราหมณ์มาจากเผ่าไหน ?
ซึ่งผมตอบไปว่า สุนทรภู่ไม่ได้ระบุครับว่าเป็นพราหมณ์เผ่าไหน หรือมาจากเมืองไหน เพราะจากคำกลอนไม่ได้บอกว่ามาจากเมืองไหน หรือเผ่าไหน เพราะการที่ท่านใช้ "พฤฒา" นี้ เป็นคำกลางๆ ไม่ได้ระุบุว่าอยู่สายงานใด หรือ มาจากเผ่าใด แต่แน่นอนว่า เป็นอาจารย์ผู้มีวิชาแก่กล้า และสูงอายุ
ส่วนประเด็นที่คุณพิพัฒน์เสนอคือ สุนทรภู่บอกว่า พราหมณ์ในบทแรกเป็นอาจารย์ ส่วนในบทที่สอง ไม่ได้บอก แล้วบอกว่าผมยัดเยียดว่ากลอนพาท่านไปเสียแล้ว
คนละประเด็นกันครับ 
ดังนั้นผมจึงไม่ได้หมิ่นแต่อย่างใด

-----------------------------------------
ถ้าพูดเรื่องประเด็นการใช้คำว่า "พฤฒา" ก็ต้องคุยกันอีกแบบครับ
ทิศาปาโมกข์ น. อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
พฤฒ, พฤฒา [พฺรึด, พฺรึดทา] ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า, พฤทธ์ ก็ว่า. (ส.).
ก็มีความหมายเดียวกับ "พราหมณ์พฤฒา" หรือ "พฤฒาพราหมณ์" ครับ นัยคือ อาจารย์พราหมณ์ผู้สูงอายุ
่แน่นอนว่า บทแรกสุนทรภู่สื่อว่าเป็นอาจารย์เฒ่าผู้มีความรู้แก่กล้า ส่วนบทหลังไม่ได้ระบุ อาจเป็นพราหมณ์หนุ่มพราหมณ์แก่ก็ได้ครับที่ร่วมไปในกองทัพ
ถ้าให้ผมมองการใช้คำว่า "พฤฒา" ก็เพราะต้องการคำว่าที่ลงด้วย "อา" และมีควาหมายถึงอาจารย์ด้วย ซึ่งไม่ใช่กลอนพาไปครับ แต่เป็นการเลือกคำอย่างจงใจ เพราะต้องลงเสียงอา
===============================
มาเรื่องพราหมณ์สี่เผ่าครับ
พราหมณ์รามราช เข้าใจว่าเพี้ยนมาจากชื่อ รามราษฏร์ = รามรัฐ ซึ่งน่าจะตรงกับเมือง Rameswaram (ราเมศวรัม), อำเภอ Ramanathapuram (รามนาถปุรัม) รัฐทมิฬนาดู (ได้ชื่อตามเมืองที่มา)
ชื่อเมืองราเมศวรัมนี้ มีปรากฎอยู่ในจารึกโคลง ๓๒ ชนชาติ ที่วัดโพธิ์ด้วยครับ อ.ทวี เผือกสม ได้สรุปความไว้ว่า
พราหมณ์รามเหศร์ - เป็นพวกชาติเชื้อ รามรัฐ นับถือพระศิวะ ชำนาญใน "ทวาทศพิธียัชชุเวท" และเก่งในทางเวทมนตร์ นุ่งผ้าขาวมีเชิง เกล้ามวยผม สวมสายธุรำใส่ตุ้มหู สวยเสื้อครุย คอยทำหน้าที่สะเดาะเคราะห์ร้าย พราหมณ์พฤติบาศ พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรมการคล้องช้าง (บาศ คือ บ่วง, เชือก) (ได้ชื่อตามสายงาน)
พราหมณ์นาฬีวรรณ อันนี้ไม่ทราบครับ ตามศัพท์ แปลได้ว่า
นาฬี - (หรือ นาลี) หลอด, ก้าน, ลำ, ช่อง, ทะนาน
วรรณ - สี, ชนชั้น
ไม่ทราบความหมายครับ หรือ อาจหมายถึง พราหมณ์ที่มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ เพื่อผลผลิตทางการเกษตร เทียบจาก ทะนาน ที่ใช้ตวงเมล็ดธัญญาพืช

(ได้ชื่อตามสายงาน ?)
พราหมณ์มะหรรต์วม ตัวสะกดอ่านไม่เป็นคำครับ "มะ-หัน-วัม" ? ผมคิดว่า ต้นฉบับอาจพิมพ์ผิดมาจากฉบับเขียนด้วยลายมือว่า "มะหรรศวม" คือ เห็น "ศ" เป็น "ต์" ถ้าเป็นชื่อ มะหรรศวม ก็น่าจะเพี้ยนมาจากชื่อ มเหศวรัม ซึ่งน่าจะเป็นชื่อเมืองครับ
ค้นใน google พบชื่อเมืองนี้สองเมือง (อาจมีอีกก็ได้ ?) คือ Maheshwar ในรัฐมัธยประเทศ กับ Maheswaram เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในรัฐอันธารประเทศ ดูจากรูปการแล้ว ถ้า มะหรรต์วม เพี้ยนมาจาก มเหศวรัม จริง ก็น่าจะหมายถึงเมือง Maheshwar มากกว่าครับ เพราะเป็นเมืองที่ใหญ่ ส่วนเรื่องเสียงลงท้าย -รัม นั้น ก็อาจเป็นได้ว่า ผู้บันทึกได้ยินจากปากของคนที่มาจากอินเดียใต้ ซึ่งมักลงเสียงท้ายด้วย -am เมือง Maheshwar จึงกลายเป็น Maheshwaram ในภาษาของทางอินเดียใต้ (ได้ชื่อตามเมืองที่มา ?)
เห็นที่สี่เผ่าดังกล่าวคงไม่ใช่ข้อมูลขั้นสรุปครับ เพราะมีทั้งจำแนกตาม เมืองที่มา และ สายงานที่ทำ
ไปค้นดูใน wiki ดูเหมือนว่าตามประเพณีของอินเดียโบราณแล้ว ในคัมภีร์ได้จำแนกเผ่า (หรือ ชุมชน) ของพราหมณ์ในอินเดียออกเป็น เขตเหนือ กับเขตใต้ ครับ และจำแนกย่อยออกไปอีกมากมายตามเมืองต่างๆ แต่ผมดูคราวๆ ไม่พบชื่อเมืองรามราษฏร์ และ มเหศวรัม แต่อย่างใด
http://en.wikipedia.org/wiki/Brahmin_communities