เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 10163 สองร้อยปีที่เลือนลาง : กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 14:04

ทันใจดีแท้ครับ
ใครที่อายุเบญจเพศ เห็นจะต้องทบทวนตัวเองเสียหน่อย ว่าทำอะไรได้แค่ใหน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ก.ค. 08, 09:47

อ่านแล้วต่อไม่ติดค่ะ  จึงมาขอคำอธิบาย



"เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ เป็นธิดาขรัวยายทองอิน และขรัวตาบุญเกิด ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณเชี่ยวชาญในการปรุงยา
เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ก็มีความเชี่ยวชาญในการปรุงยาเป็นอย่างดี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรทหลวงวงษาธิราชสนิท  ทรงได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์จากขรัวตาบุญเกิด"
(วุฒิชัย มูลศิลป์  กนกวลี ชูชัยยะ   เจ้านายในราชวงศ์จักรี     ๒๐๒๐ เวิลด์มีเดีย พิมพ์   ๒๕๔๒)


อยากทราบสาแหรก ขรัวตาบุญเกิด ค่ะ




ขรัวยายทองอิน เป็นธิดาคนแรกของ ท่านตาดี  ผู้เป็นบุตรของ ท่านตาเจ้าแทน(พระปิตุลาที่ ๒ ของสมเด็จอมรินทรฯ) และท่านยายเจ้าจันทร(ธิดาท่านตาเจ้าแสน)

อ่านมาจาก ลำดับราชินีกุลบางช้าง   เรียงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ ๒  ในงานศพ อำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ(เต็น บุนนาค)  ๒๔๖๒
พระยาอุไทยธรรม(แก้ว)ชำระเรียบเรียง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘
ในสมัยรัชกาลที่ ๕  คุณเขียนหลานหญิงของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ ได้เรียบเรียงเพิ่มขึ้นอีก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ก.ค. 08, 12:33

คำถามนี้เกินความรู้ที่ผมมีจะตอบได้
ได้ส่งต่อไปยังอาจารย์สุโรจนาแล้วครับ.....โปรดรอ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ก.ค. 08, 13:21

ขอบคุณค่ะ


วันก่อนตามหา ครูแจ้ง  เข้าไป ในเพลงกลอนยาวเรื่อง หม่อมเป็ดสวรรค์ ของ คุณ สุวรรณ


เจอ กรมวงศาฯ มาเฝ้าพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ  หม่อมเป็ดสวรรค์เป็นคนสำคัญ
ได้กราบทูลพระอาการ  และถือโอกาส
   
หม่อมเป็ดบังคมประสมประสาน
เกล้ากระหม่อมมึนหน้ามาช้านาน
ขอประทานยานัดถุ์เครื่องข้างใน
ฝ่ายเสด็จว่าหม่อมเป็ดปวดศีรษะ
เราจะช่วยเป่ายานัดถุ์ให้
ก็เทออกจากขวดน้อยเจียระไน
ใส่เข้าไว้ในกล้องสักสองนัด
แกล้งเลือกเอายาแดงที่แรงร้าย
ให้หม่อมหงายหน้าตรงทรงเป่าปรัด
น้ำตาไหลจามไอศีรษะฟัด
จนฟันพลัดตกเปาะจำเพาะพักตร์
กรมวงศ์ทรงทอดพระเนตรมา
เห็นกะลาที่ทำฟันให้ขันหนัก
แล้วก็ทรงพระสรวลสำรวลคัก
หม่อมอายนักก้มหน้าไม่พาที


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ก.ค. 08, 14:58

เดี๋ยวจะเลี้ยวไปหม่อมเศษสวรรค์....ฮิฮิ
มาดักคอคุณ wandee ช่วยแวะอ่านและเล่านิราศของกรมหลวงท่านหน่อย

เรื่องกลอนกระผมไม่ถนัด จำได้แต่ท่านอวดว่า
กรุงเทพที่สร้างใหม่ ไม่แพ้อยุธยาแล้วแหละ......
นับว่าสะท้อนความมั่นใจในบ้านเมือง
และสะท้อนด้วยว่าคนในรัชกาลที่ 3 เริ่มลางเลือนต่อความยิ่งใหญ่ของพระนครศรีอยุธยา

ควรสังเกตว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 ประสูติเมื่อ 2310
ดังนั้นจึงทรงเป็นผู็นำของคนรุ่นใหม่ เรียกให้โก้แบบนักวิชาการทุกวันนี้ ก็ต้องบอกว่า

"หลัง"เมื่อครั้งบ้านเมืองดี (post ayudhaya)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ก.ค. 08, 15:52

มีรูปมาติดสินบนครับ
สามรูปนี้ เป็นรูปเดียวกัน แต่ต่างกาลเวลา รูปกลางนั้น มีใครสักคนถ่ายก๊อปปี้ไว้
เป็นฟิล์มกระจกอยู่ในหอจดหมายเหตุ ผมขอทำสำเนามาจากรูปที่ถูกอัดลงกระดาษอีกที
เดาว่า เป็นการอัดเก็บเมื่อครั้งสมเด็จทรงว่าการหอพระสมุด และทรงเริ่มจัดทำ "หอรูป"
(ให้สังเกตว่ารูปในชุดนี้ วัสดุเหมือนกัน คืออัดลงกระดาษอัลบูมิน -ไข่ขาว เนื้ออมม่วง กระดาษรูปบางมาก
ผนึกลงกระดาษแข็ง พิมพ์ตราราชบัณฑิต สีแดง
รูปถ่ายรุ่นนี้ หอพระสมุดจ้างช่างภาพชาวจีนคนหนึ่ง ผมลืมชื่อเสียแล้ว เป็นพนักงานทำรูปชนิดผูกขาด เพราะฝีมือดี
ถ้าอ่านสาส์นสมเด็จ จะจำได้ มีกล่าวถึงประจำ เวลาทั้งสองพระองค์ประสงค์รูปใดๆ ก็โปรดให้ช่างผู้นี้ทำให้
ถ้าจำไม่ผิด ดูเหมือนเป็นต้นตระกูลของผู้ว่าการท่องเที่ยวท่านหนึ่ง)

รูปล่าง เป็นลายเส้น พบครั้งแรกในพระนิพนธ์กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ "ลิลิคมหามกุฎราชคุณานุสรณ์"
ฉบับพิมพ์ครั้งแรก มีรูปประกอบสำคัญมากมาย น่าเสียดายที่ในการพิมพ์ต่อๆ มา ตัดรูปประกอบทิ้งเสียหมด
พระนิพนธ์นี้ ทรงขึ้นเพื่อส่งประกวดชิงรางวัลพระราชทานในรัชกาลที่ 7.....แต่ไปแพ้หลักไทยของขุนวิจิตรมาตรา

การจำลองลายเส้น ทำให้เห็นรายละเอียดหลายอย่างที่เพิ่มขึ้นมา เดี๋ยวจะทำเปรียบเทียบให้ดูนะครับ

ส่วนรูปบนสุดนั้น
มาจากการถ่ายจำลองของจริงที่แขวนอยู่ ณท้องพระโรงพระที่นั่งจักรี เป็นสภาพปัจจุบัน

ที่อวดรูปนี้ ก็เพราะมีกรมหลวงวงษา ประทับอยู่ในการเข้าเผ้าครั้งนี้ด้วย จะเป็นการเข้าเฝ้าครั้งใด มีเรื่องน่าสนุกในการวินิจฉัยครับ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 ก.ค. 08, 22:40

ในขณะที่นั่งคอยคำตอบ  ได้ไปทำการบ้านมาบ้าง   ได้ความมาว่า



ขรัวตาบุญเกิด  แซ่โหงว
บิดาชื่อ  เจ๊สัวหลิน  บ้านเดิมอยู่ บ้านแหลม แขวงเมืองเพชรบุรี
คนบ้านเดียวกับ กรมพระเทพามาตย์(นกเอี้ยง)  พระเจ้าตากสินถือว่าเป็นข้าหลวงเดิม
โปรดให้เป็น หลวงพิไชยวารี  มีหน้าที่ เบิกสินค้าหลวง ตกแต่งสำเภาไปค้าขายเมืองจีนหลายปีเป็นนิจกาลจนมีฐานะมั่งคั่ง

บ้านของเจ๊สัวบุญเกิดนั้นอยู่ที่ ริมฝั่งคลองสามเสน แขวงกรุงธนบุรี

เชื้อสายสกุลมาจากขุนนางจีนกรุงปักกิ่ง   หนีมาอยู่ที่ถนนตาล หลังวัดพะนัญเชิงกรุงเก่า(รักษาตัวสะกดเดิม)



กรุณาตรวจแก้ไขด้วยค่ะ  อ่านแล้วยังอ่านไม่ออก ว่า ขรัวตาบุญเกิด ท่านไปเก่งวิชาหมอมาจากไหน

(มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ เล่ม ๑  ร.ศ. ๑๒๔  หน้า  ๓๑๙ - ๓๒๐)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 ก.ค. 08, 07:03

ได้ตามอ่านเรื่อง เจ้าพระยาภูธราภัย(นุช บุณยรัตพันธุ์) และบิดาของท่าน  เจ้าพระยาอภัยภูธร(น้อย)
อ่านไปเรื่อยๆถึงปู่คือเจ้าพระยาธรรมา(บุญรอด)

พบว่าเจ้าพระยาธรรมาเป็นสกุลพราหมณ์และว่าเป็นหมอเฒ่าด้วย  โดนถอดเมื่อศึกลาดหญ้า เมื่อพ้นโทษแล้วโปรดให้เป็นพระยาเพทราชา จางวางกรมพระคชบาล
บิดาของเจ้าพระยาธรรมา คือ พระยามณเฑียรบาลครั้งกรุงเก่า


สงสัยว่าเมื่อปลายรัชกาลที่ ๓  พระสุริยภักดี(นุช  บุณยรัตพันธุ์)ถูกถอด  เรื่องเป็นมาอย่างไร
จะพอหาอ่านได้ในหนังสือชื่ออะไร


เป็นสกุลมหาศาลยิ่งนัก  เพราะได้เป็นเจ้าพระยาถึงสี่ชั่วคน  สายตรงทั้งสิ้น


บุตรของเจ้าพระยาภูธราภัย คือ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช(เวก)

จำจะต้องไปหาจดหมายเหตุเรื่องเจ้าพระยาภูธราภัยปราบฮ่อ มาอ่านต่อ

บันทึกการเข้า
Karine!!
ชมพูพาน
***
ตอบ: 130

กำลังค้นหาทางสว่างของชีวิต


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 27 ก.ค. 08, 23:38

แวะมาอ่านตอนทำรายงานหิโตปเทศไม่ตก
อ่านแล้วยังสงสัย...รอติดตามคะ
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

การศึกษาก้าวไกล ประเทศไทยรุ่งเรือง (แต่ตอนนี้ตูรุ่งริ่งชอบกล)
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง