เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 10168 สองร้อยปีที่เลือนลาง : กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
 เมื่อ 10 พ.ค. 08, 14:30

คุณนรีนันท์เป็นผู้เปิดกระทู้เกี่ยวกับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทไว้
แต่หัวข้ออาจจะไม่ชวนศึกษาเพราะเป็นการขอพระรูป ผมได้ทำการบ้านให้ไปแล้ว
บัดนี้ คุณ opel1969 ยังมาย้ำอีกครั้ง
ทำให้ทราบว่า ตัวเองออกจะเหลวไหลในการชวนสนทนาเรื่องบางเรื่องมากเกินไป

ขอเชิญชวนศึกษาถึงพระประวัติเพื่อจะได้ทราบชัดว่า เหตุใด เราจึงควรยกย่องพระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลก
การยกย่องนี้ สมเหตุผลหรือไม่ และเหตุใดจึงมีแต่พระองค์ที่ได้รับการเสนอชื่อ ทั้งๆ ที่พวกเราผู้สนประวัติศาสตร์ต่างทราบดีว่า
ทรงเป็นสหชาติกับอัจฉริยบุคคลอีก 3 ท่าน คือเกิดปีเดียวกัน แต่ทำไมท่านทั้ง 3 จึงไม่ได้รับยกย่อง

ผู้รู้เชิญร่วมให้ความรู้ครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 14:32

วันหนึ่งเมื่อกว่าสองปีมาแล้ว สุภาพสตรีเสียงใสท่านหนึ่งโทรศัพท์ถึงผม เธอคืออาจารย์สุโรจนา เศรษฐบุตร
ศิลปินเครื่องเคลือบในระดับวิจิตรศิลป์คนสำคัญ เราเป็นเพื่อนเก่าแม้ว่าไม่ถึงกับสนิทชิดเชื้อ
แต่ผมสนใจงานของเธอ จนเลือกให้เป็นหนึ่งในศิลปินผู้น่าจับตามองในนิทรรศการ the new path  เมื่อนานมาแล้ว
ขณะนั้น เธอยังเป็นทั้งอาจารย์และศิลปินควบคู่กัน
ท่านที่สนใจ อาจจะติดตามงานของเธฮได้จากลิงค์นี้

http://www.combangweb.com/scoop4.php
http://clayalchemy.srivilasa.com/artists.php?artistcode=Tha_Surojana

จนเมื่อสนทนากันครั้งนี้ จึงทราบว่าสกุลเดิมของเธอคือ "สนิทวงศ์" และการสนทนาครั้งนี้ ก็เกี่ยวข้องกับราชสกุลโดยเฉพาะ
อาจารย์สุโรจนา โทรฯ มาเพื่อขอความช่วยเหลือเล็กน้อย(สำหรับผม) แต่เป็นอุปสรรคสำหรับเธอ
เพราะกำลังรวบรวมพระประวัติของต้นราชสกุลสนิทวงศ์ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
อาจารย์แวะมาหาผมที่ห้องแสดงภาพถ่ายโบราณ(สมัยที่ยังเปิดทำการอยู่) ได้สนทนากันอย่างสนุก
สำหรับคนที่หลงอดีต จะมีเรื่องอะไรที่บันเทิงใจยิ่งกว่าเรื่องก่อนเกิด
ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นเรื่องของบุคคลที่มีเกียรติประวัติ
มีผลงาน และมีผู้สืบเชื้อสายต่อลงมา
ในระยะเวลาที่ไม่ห่างจากเรามากจนเกินไป

อาจารย์นำเอกสารมาด้วยปึกใหญ่ เป็นงานค้นคว้าระดับถักทออดีต ที่ไกล้จะสำเร็จ

เธอแบ่งพระราชประวัติเป็น 3 ภาค คือ เมื่อเป็นพระองค์เจ้า เมื่อเป็นกรมหมื่น และเมื่อเป็นกรมหลวง
ทั้งหมด เพื่อใช้เผยแพร่ในวาระสองศตวรรษแห่งพระประสูติกาลของพระองค์ ซึ่งจะมาถึงในปี 2551
ที่ผมช่วยได้ในทันที ก็คือพระรูปที่มีอยู่ในคลังรูป
เป็นงานง่ายดายสำหรับผมเพราะได้รวบรวมไว้แล้วสมัยที่ทำ "สมุดภาพรัชกาลที่ 4"
ตั้งแต่ปีฉลอง 200 ปีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันแสนหงอยเหงาคราวนั้น
แต่กลับกลายเป็นยุ่งยากสำหรับคนอื่นๆ หากจะต้องมาเริ่มศึกษารูปถ่ายโบราณ เพราะหน่วยราชการที่เก็บรักษาสิ่งของเหล่านี้
เปลี่ยนระเบียบการให้บริการจนแทบจะปิดการเข้าถึงแหล่งข้อมูลเหล่านี้อีกต่อไป....อนิจจา

ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับเจ้านายพระองค์นี้ ดีพอที่จะช่วยเธอมากไปกว่าข้อคิดเห็นเล็กๆ น้อยๆ
จะขอเล่าให้ฟังเป็นเครื่องเพลิดเพลินปัญญาแก่ชาวเรือนไทย
แต่โปรดเข้าใจด้วยว่าไม่เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ยูเนสโก ยกย่องพระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกแม้แต่น้อย
แม้ว่าอาจจะมาจากสาเหตุดั้งเดิม ที่เหลื่อมกันอย่างน่าประหลาดใจ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 14:36

สองร้อยปีแห่งสหชาติบุคคลทั้ง 4

รูปที่อาจารย์สุโรจนาต้องการชุดหนึ่ง เป็นของบุคคล 4 ท่าน เธอต้องการวางไว้เคียงกันในหน้าเดียว
เพื่อแสดงว่า ในปี 2351 นั้น
มีอัจริยบุคคลถือกำเนิดมาพร้อมกัน ได้ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองอย่างเต็มกำลังเหมือนกัน
เป็นเจ้านายสองพระองค์ ขุนนางสองคน นับว่าน่าอัศจรรย์ใจ
ผมช่วยเธอได้เพียง 3 รูป เพราะท่านสุดท้ายนั้น ไม่มีรูปถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 4 ตกทอดมา
และผมเองไม่สนใจเก็บข้อมูลหลังรัชกาลที่ 4

1 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระนามเดิม เจ้าฟ้าจุฑามณี (2351-2409) หรือเรียกขานพระนามกันในรัชกาลที่ 3 ว่าเจ้าฟ้าน้อยคู่กันกับเจ้าฟ้าใหญ่
เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 50 ที่ 3 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์
เมื่อพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังดำรงพระยศเป็นกรมพระราชวังบวรในรัชกาลท่ 1
สถาปนาเป็นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ 2375 และพระบาทสมเด็จพระบวรราชเจ้า พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 4 2394
มีพระราชประวัติอันพิศดารน่าศึกษายิ่งนัก แต่ไม่มีผู้ศึกษา ทอดทิ้งให้ลี้ลับอยู่
คิดดูว่า หลังจากอาจารย์สมบัติ พลายน้อยเขียนหนังสือที่เป็นเอกสารการศึกษาอย่างเป็นหลักเป็นฐานไว้เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน
ก็ยังไม่มีอะไรงอกเงยออกมา แม้ในวาระอันสำคัญเช่น สองร้อยปีแห่งกาลพระราชสมภพ....เฮ้อ

2 กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
พระนามเดิมพระองค์เจ้านวม ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 49 ในพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สถาปนาเป็นกรมหมื่นวงษาธิราชในรัชกาลที่ 3  เป็นกรมหลวงวงษาธิราชสนิทในรัชกาลที่ 4

3 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง)
ดูประวัติได้ในเรือนไทยนี้เอง

4 เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช)
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 06:59

ผู้ไม่รู้รออ่านครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 13:27

ลองเขียนในรูปนิยายดูค่ะ
*******************
พระจันทร์คล้อยต่ำลงหลังพระปรางค์วัดแจ้ง  แสงเหลืองจัดสาดแตะแต้มคลื่นในแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเงาแวบวับ  เมื่อเรือลำหนึ่งแหวกน้ำจากฝั่งตะวันออกมาสู่ฝั่งตะวันตก  ท่ามกลางความมืด   
เรือนแพสองฟากฝั่งเจ้าพระยาที่สว่างด้วยตะเกียงน้ำมันมะพร้าวบ้าง ไต้บ้าง เมื่อตอนหัวค่ำไปจนดึก  บัดนี้มืดสนิท  ชาวบ้านหลับไหลอยู่ในเวลาใกล้ล่วงเข้ายามสี่ 
มีแต่เรือลำนี้ ซึ่งเดินเครื่องด้วยกลไกฝรั่ง ประหลาดตา หาต้องใช้แรงคนแจวอย่างเรือขุนน้ำขุนนางหรือคหบดีทั่วไปไม่   แต่แล่นไปได้เองราวกับสำเภายนต์
เรือฝ่าคลื่นจากท่าราชวรดิฐตัดคลื่นไปอย่างคล่องแคล่วปราดเปรียว   มิใส่ใจกับกระแสน้ำเชี่ยวกรากในหน้าน้ำ

เมื่อจอดเทียบท่าหน้าหมู่อาคารโอ่อ่าใกล้วัดแจ้ง    บุรุษร่างพ่วงพีผู้นั่งขัดสมาธิอยู่กลางลำเรือ  ก็ขยับตัวลุก  ก้าวขึ้นท่าน้ำก่อนผู้อื่น  ผู้ติดตามเชิญเครื่องยศ ก้าวตามไปติดๆ
บุรุษผู้นั้นก้าวเดินไปตามฉนวนจากท่าน้ำสู่ตัวอาคาร อันเคยเป็นที่ประทับของหัวใจแผ่นดินเมื่อครั้งกรุงธนบุรี นมนานเกือบจะหนึ่งร้อยปีมาแล้ว    แต่แล้วก็หยุดคล้ายนึกสิ่งใดขึ้นมาได้
เหลียวกลับมาสั่งมหาดเล็กหนุ่มผู้เชิญเครื่องยศ    เสียงห้าวผ่านลำคออวบใหญ่ออกมา

" พรุ่งนี้ เพลาบ่าย   เอ็งให้คนไปบ้านหมอปลัดเล   บอกให้มารอข้าสักยามสอง   ข้าจะกลับจากเข้าเฝ้าเร็วหน่อย จะได้พูดจากัน"
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 14:01

อาจารย์เทาชมพูมาพร้อม muse ตัวที่ ๑๐
.....................................................ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 14:18

เอารูปมิวส์กับอพอลโล มาคั่นรายการไปก่อน
มิวส์ตัวที่ 10 เข้ามาบินว่อนอยู่ครู่เดียว  แล้วก็หายวับไป  ไม่มีร่องรอยของบทที่  2 แล้วละค่ะ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 14:39

อ้าว.....ท่านอาจารย์
ไฉนทิ้งเรื่องไว้กลางคันอย่างนี่เล่า ขอรับ
แล้วปลัดกรมจะทำฉันใด เกิดปลัดเลติดภาระมามิได้

รวมทั้งพวกเรา ที่คอยอ่านอยู่อีกร้อยห้าสิบกว่าปีให้หลัง
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 พ.ค. 08, 21:52

ขอกลับเข้าเรื่อง
------------
เริ่มต้น
ในฐานะทายาท อาจารย์สุโรจนาค้นคว้ามาได้อย่างน่ายกย่อง แต่ในฐานะศิลปิน ข้อมูลที่ได้มาทำให้แม้แต่ศาสตราจารย์ก็คงตาเหลือก
ไม่เพียงรวบรวมเอกสารจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้จนครบถ้วน
เธฮยังตามรอยข้อมูลไปยังแหล่งต่างๆ เป็นต้นว่าคลังข้อมูลของวิทยาลัยคริสเตียนที่เชียงใหม่ หรือห้องสมุดเก่าแก่ในกรุงเทพ
อาจจะบอกได้ว่า ในวันนั้น เธอคือสารานุกรมกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ที่มีลมหายใจอันดับหนึ่ง
เธอพบจดหมายเหตุสงครามเชียงตุงอย่างสมบูรณ์
พบตำรายากรมหลวงละเอียดไปถึงฉบับที่ยังลี้ลับอยู่
ตามรอยตำรายาไปถึงวัดพระเชตุพน

ทั้งหมดนี้ ต้องอาศัยพลังงานเพียงใหน....น่าทึ่งจริงๆ

เธอเล่าว่า จุดเริ่มต้นมาจากผู้หลักผู้ใหญ่ในราชสกุล เห็นว่าอีกไม่นานจะถึงวาระ 200 ปีแห่งพระประสูติการ
ควรจะทำสิ่งอนุสรณ์ที่ทรงคุณค่าเป็นการเทอดพระเกียรติ นั่นก็คือหนังสือพระราชประวัติที่สมบูรณ์ครบถ้วนที่สุด
อาจารย์สุโรจนาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ค้นคว้า ใช้งบประมาณจากกองทุนของราชสกุล
งานมีความก้าวหน้าเป็นลำดับ เพราะเธอขอให้มีผู้ช่วยวิจัยที่ทำงานเต็มเวลา
และตัวเธอเองก็ยินดีจ่ายเงินจำนวนไม่น้อย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุด ไม่นับเวลาที่แสนจะมีค่าของศิลปินมือทอง
ท่านที่ไม่เคยทำวิจัย อาจจะนึกไม่ออกว่างานพวกนี้ ต้องใช้เงินด้วยหรือ
ขอถือโอกาสบอกว่า ใช้ครับ มากด้วย นอกเหนือจากเวลาและพลังสมองที่มีค่ามากกว่าเงินเสียอีก

ถ้าท่านมองดูที่สถิติท้ายชื่ออาจารย์เทาชมพู จะเห็นตัวเลขว่า 8941 คือจำนวนความเห็นที่แสดงไว้
คงไม่มีใครค้าน ว่าความเห็นของท่านล้วนมีคุณค่า เรามาลองเติมตัวเลขกันหน่อย
ถ้าแต่ละความเห็นต้องใช้เงิน 100 บาทเพื่อให้ได้มา ก็แปลว่าวงเงินที่เกิดขึ้นในความเห็นของท่าน
เท่ากับ แปดแสนกว่าเกือบเก้าแสนบาท
ถ้าไปรวมกับจำนวนบทความที่ท่านเขียนไว้อีก 67 เรื่อง สมมติใช้เงินเรื่องละ 5000 บาท
รวมกันแล้วก็กว่าล้านบาท นี่คือมูลค่าหยาบๆ ของวิชาความรู้ที่อยากให้ได้ตระหนักกันครับ
(อันที่จริง นับละเอียด จะมากกว่า้มากมายหลายเท่าทีเดียว)

อาจารย์สุโรจนาก็ใช้เงินส่วนตัวไปมิใช่น้อย เพื่อสะสมความรู้อันมีคนไม่มากสนใจไขว่คว้า
จนถึงวันที่มาสนทนากัน จากศิลปินคนหนึ่งกลับกลายเป็นเจ้าของคลังความรู้เฉพาะเรื่อง
ที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากกว่าใครๆ ในขณะนั้น
ข้อมูลของเธอ ยิ่งทำให้ผมมั่นใจ จนกล้าแนะนำว่า

ทำไมไม่เสนอพระนาม กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เป็นบุคคลสำคัญของโลกเล่า

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 พ.ค. 08, 23:03

เธอตื่นเต้นกับข้อเสนอแนะนี้มาก จนนำกลับไปปรึกษาผู้ใหญ่ในราชสกุล
นั่นทำให้ผมมีโอกาสไปรับประทานก๋วยเตี๋ยวราดหน้า(ที่ไม่ค่อยอร่อยนัก) ในโรงอาหารของสปอร์ตคลับ
ผมแนะนำท่านผู้ใหญ่นั้นว่า การเสนอชื่อบุคคลสำคัญของโลก มีช่องทางโดยคร่าวๆ อย่างไร
และเสนอด้วยว่า พระกรณียกิจด้านการแพทย์นั้น มีคุณค่ามหาศาล สมควรนำมาทำประโยชน์
และหากจะมีประโยชน์ทางธุรกิจอันใดงอกเงยออกมา ทายาทก็สมควรจะดำเนินการให้สิทธิ์อันพึงมีพึงได้
ตกเป็นของราชสกุลโดยถูกต้องด้วย

ที่เตือนไว้เช่นนั้ เพราะผมนึกถึงตำรายาที่วัดโพธิ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า พระราชทานให้แผ่นดิน
เป็นกุศลทานแก่ชาวประชาที่ยากไร้ ให้สามารถเข้าถึงการรักษาโดยทัดเทียมกัน
แต่มาถึงปัจจุบัน พระราชปณิธานนี้ ถูกบิดผันไปอย่างน่าละอาย
ข้าราชการบำนาญจากหอสมุดแห่งชาติท่านหนึ่ง เล่าให้ฟังว่าตำรายาวัดโพธิ์นั้น มีคนเลวมาคัดลอกไป
ปรุงเป็นยาสำเร็จรูปวางขายเป็นการค้า จนร่ำรวย เพราะเป็นยาที่ดีจริง
พ่อค้ายาคนนี้เห็นค่าของตำรับจนทนให้เผยแพร่ต่อมิได้ จัดการจ้างคนไปขูดทำลายจารึกแผ่นหินอ่อนเสียหายชนิดอ่านไม่ออก
ทำให้ตัวเอง เป็นเจ้าของตำรับยาแต่ผู้เดียว
ท่านผู้เล่าบวชเรียนมาแต่เด็ก เป็นพระมากกว่าเป็นฆราวาส ผมไม่เห็นเหตุที่ท่านจะโกหก
เพราะผมก็เป็นเพียงคนธรรมดาที่รับฟังเท่ไม่มีอำนาจให้คุณให้โทษผู้ใด

ผมเกรงว่า จะมีคนเลียนแบบ หากมีการพิมพ์เผยแพร่ตำรับยากรมหลวง
อาจจะถึงขั้นเลวทรามแบบชาวต่างชาติ ที่จดทะเบียนลิขสิทธิ์พันธุ์ข้าวหอมมะลิ
หรือที่ชาวผิวเหลืองชาติหนึ่ง จดลิขสิทธิ์สรรพคุณแตงกวาว ที่เป็นของประเทศไทย กลายเป็นของมัน
ความเลวทรามอย่างนี้ ทุกวันนี้ทำกันเป็นปกติ ถ้าเราไม่ปกป้องแต่เนิ่นๆ อาจจะต้องเสียใจภายหลัง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 พ.ค. 08, 21:03

ขอแทรกรูปประกอบตรงนี้ หนึ่งรูป
รายละเอียดของรูปนี้ เป็นผลการค้นคว้าของคุณเอนก นาวิกมูล
จนทราบว่าเป็นการถ่ายที่ใหน เมื่อไร โอกาสใด

เป็นรูปเดียว ที่ได้เห็นสหชาติทั้งสามท่าน(ขาดพระปิ่นเกล้า) ในราชการงานเมือง
การเจรจาสนธิสัญญากับออยเลนบวร์ก เมื่อพ.ศ. 2404


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 พ.ค. 08, 21:07

ขอบคุณอินเตอร์เนต ที่ทำให้ตามเจอความสำคัญของบุคคลผู้นี้


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 พ.ค. 08, 04:43

ตามอ่านอย่างใจจดใจจ่อ

คิดตามว่าอาจารย์สุโรจนาตามข้อมูลถึงปานใดแล้วก็เกิดความรู้สึกสะเทือนใจหลายประการ
ว่าช่างบากบั่นจริงหนอ   อดทนจริงหนอ   

มีตำรายาวัดโพธิอยู่เหมือนกันค่ะ   คนยืมไปเก็บซุกไว้จนมีตัวมากิน  อ่านเรื่องน้ำกระสายยาแล้วยกมือสาธุเลยค่ะ ช่างกว้างขวางอะไรขนาดนั้น
เรื่องผู้มาลบตำรายาได้ยินเหมือนกัน
แต่เล่าว่า ใครผ่านมาคน จดตำราไปก็ลบตัวยาออกไปหนึ่งตัว  ดั่งนี้

บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 11:45

ข้าราชการท่านนั้น เล่าให้ผมฟังเมื่อท่านเกษียณแล้วหลายปี สุขภาพของท่านก็ย่ำแย่เต็มที จนรู้ตัวว่าจะอยู่อีกไม่นาน
ท่านเป็นเปรียญห้า แต่ความรู้นั้นล้ำลึกเพราะเป็นมาตั้งแต่ยังเป็นเณร
วันที่สนทนากัน ก็ไม่ได้เริ่มด้วยวัดโพธิ์ครับ

อยากจะลองภูมิคุณ WANDEE สักเรื่องหนึ่ง...แต่ตอบได้ก็ไม่มีรางวัลให้นะครับ
เมื่อปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ครั้งใหญ่ในรัชกาลที่สามนั้น

"พระองค์เจ้านวม พระชนม์เท่าไร และท่านรับผิดชอบเรื่องอะไรบ้าง"
ท่านอื่นจะร่วมสนุกก็ยินดียิ่งครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 13:00

ยังไม่ครบ ๒๖ พรรษาค่ะ

อือม์...ท่านรับผิดชอบจารึกกวีนิพนธ์และการแพทย์เรียกว่าฤาษีดัดตน
(เดี๋ยวไปหาเพิ่มเติมค่ะ)


ได้ค้นเรื่องเจ้าจอมมารดาปรางใหญ่และน้องและญาติของท่านที่เข้ามารับราชการฝ่ายในไว้บ้างแล้ว
จำไม่ได้ว่าวางหนังสือ สกุลบางช้าง ไว้ที่ชั้นไหน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง