เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 35277 ตามรอย หัวจักรรถสายปากน้ำ
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 29 พ.ค. 08, 12:55

ตอบคำถาม คุณกุ้งแห้งเยอรมัน เรื่องพิพิธภัณฑ์ราชการ ที่ปากน้ำ

ที่ปากน้ำเรามีโครงการใหญ่ครับ งบประมาณ 399 ล้านบาท เรียกโครงการ "หอชมเมืองสมุทรปราการ"
ประกอบด้วยหอคอยสูง 135 เมตร (สูงกว่าที่สุพรรณบุรี) ฐานด้านล่างเป็นอาคารสามชั้น
ประกอบด้วยห้องประชุมสภาท้องถิ่น ห้องสมุดประชาชน และพิพิธภัณฑ์เมืองปากน้ำ

(การเรียกร้องการกลับมาของหัวรถจักรสายปากน้ำ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการครับ)


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 29 พ.ค. 08, 13:07

สถานที่ก่อสร้างโครงการหอชมเมืองสมุทรปราการ อยู่บนพื้นที่เรือนจำกลางสมุทรปราการเดิม
หลังสถานีตำรวจสมุทรปราการ ฝั่งตรงข้ามศาลากลางจังหวัด
 
บนยอดหอคอยปากน้ำ จะเป็นจุดชมเมืองปากน้ำ สามารถมองเห็นปากแม่น้ำเจ้าพระยา ป้อมพระจุลฯ
พระสมุทรเจดีย์ สะพานใหญ่ๆที่พระประแดง วันที่อากาศดีจะแลเห็นไปถึงเกาะสีชัง

พื้นที่ด้านล่าง 11 ไร่ จัดเป็นสวนสุขภาพ และมุมจำหน่ายของที่ระลึก
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 29 พ.ค. 08, 13:16

โครงการดี เงินก็อนุมัติแล้วครับ 
พื้นที่สวนสุขภาพด้านล่าง อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครสมุทรปราการ
ส่วนตัวหอคอย เป็นงบประมาณของ อบจ. สมุทรปราการ

แต่ติดปัญหาเล็กๆ ครับ คุณกุ้งแห้งเยอรมัน 
ที่ผู้บริหารทั้งสององค์กร อยู่คนละพรรคการเมือง
 
พื้นที่ก่อสร้าง จึงได้ยังเป็นดั่งในภาพต่อไปนี้ 
(ไม่ทราบว่าจะจัดเข้าในกระทู้  A picture is worth a thousand words ของคุณ SILA ได้มั้ยครับ)

 



บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 18 มิ.ย. 08, 13:20

ขอบพระคุณคุณปากน้ำค่ะ
กรุณามาเขียนต่อนะคะ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 16 ก.ค. 08, 15:14

มีท่านอาจารย์จากวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรปราการ กรุณาส่งบทความทาง email มาให้อ่าน
เรื่องราวของผู้เห็นคุณค่าเรื่องรถไฟ และรับมรดกตกทอด "หอเกียรติภูมิรถไฟ"
บทความค่อนข้างยาว ขออนุญาตถ่ายทอดทั้งหมดนะครับ


มรดกอันหนักอึ้งแห่ง 'วิรยศิริ'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับเสาร์สวัสดี - 1 กันยายน 2550

"เงินบริจาคอย่างวันนี้ได้ร้อยกว่าบาท บางวันได้ 40 บาท เพราะฉะนั้นผมก็ต้องประหยัดโดยการมารถเมล์ เวลากินก็เอาอาหารมาจากบ้านเป็นอาหารกล่อง นี่เป็นเรื่องจริงนะครับ ห้องน้ำเข้าไม่ได้ เพราะมันไม่มี ถ้าทนไม่ไหวต้องปิดประตูหอ แล้วข้ามไปฝั่งโน้น เพื่อเข้าห้องน้ำ ผมถามเจ้าของสถานที่ว่า ทำไมผมขอห้องน้ำถึงไม่ได้ ผมสร้างเองก็ได้ เขาบอกว่า อาจารย์ไม่มีความจำเป็น อาจารย์ปวดก็เดินไปเข้าอย่างคนอื่นซิ"

มรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น อาจไม่ได้หมายถึงทรัพย์สมบัติเสมอไป เรื่องนี้ จุลศิริ วิรยศิริ บุตรชายของ สรรพสิริ วิรยศิริ ปรมาจารย์ด้านสื่อสารมวลชนและผู้ก่อตั้งชมรมเรารักรถไฟ ทราบดี เพราะหลังจากที่ผู้เป็นพ่อป่วยด้วยอาการอัลไซเมอร์ จุลศิริ คือทายาทหนึ่งเดียวที่แบกรับภาระในการดูแล 'หอเกียรติภูมิรถไฟ' ซึ่งที่ผ่านมาสิ่งที่งอกเงยมีเพียงรายจ่ายเท่านั้น

แม้ว่าหอเกียรติภูมิรถไฟ จะเป็นสถานที่อันเป็นอนุสรณ์ถึงพระปรีชาญาณของในหลวงรัชกาลที่ 5 ที่ อ.สรรพสิริเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง แต่ความจงรักภักดีนั้น อ.จุลศิริ บอกว่าเป็นมรดกที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ คือ พระยามหาอำมาตราธิบดี ราชเลขานุการในพระองค์รัชกาลที่ 5


 
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 16 ก.ค. 08, 15:16

(ต่อ)

"เวลาในหลวงเสด็จไปที่ไหน คุณปู่จะเป็นคนสนองพระราชโองการ เพราะฉะนั้นทุกอย่างท่านก็จะเล่าเรื่องให้คุณปู่ฟัง คุณปู่ก็จะมาเล่าให้พ่อฟัง พ่อก็จะมาเล่าให้ผมฟังอีกต่อ ผมเป็นหลานคนสุดท้อง ถึงจะไม่เคยเห็นหน้าคุณปู่เลย แต่คุณปู่ตั้งชื่อผมว่า จุลศิริ แปลตรงตัวก็คือการเอาพระนามของในหลวงมาเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ท่านตั้งไว้แล้วตั้งแต่ก่อนผมเกิด พ่อเป็นคนบอกว่าชื่อผมคุณปู่เป็นคนตั้งให้"

นั่นคือจุดเริ่มต้นของความผูกพันที่มีต่อ รถไฟ และเป็นเหตุผลให้ อ.จุลศิริ ในวัย 59 ปี ยอมกัดฟันสู้กับความกดดันสารพัดในการบริหารหอเกียรติภูมิรถไฟ รวมถึงความเจ็บป่วยของตัวเอง

ทำไมเอกชนอย่างตระกูลวิรยศิริถึงต้องมาดูแลบรรดาหัวรถจักรเหล่านี้คะ

ต้องย้อนไปสมัยคุณปู่ ซึ่งคุณปู่จะทราบว่าในหลวง ร.5 ท่านมีความประสงค์อย่างไรบ้างให้ประเทศชาติเจริญ โดยเฉพาะรถไฟซึ่งท่านเห็นว่ามีความสำคัญมาก พอท่านเสด็จไปต่างประเทศ ท่านก็ไปดูว่าฝรั่งมีความศิวิไลซ์อย่างไรบ้าง ท่านไปเห็นรถไฟ รถราง รถยนต์ แม้กระทั่งรถจักรยานยนต์ เห็นการถ่ายรูป เห็นการสื่อสาร ซึ่งสมัยนั้นเริ่มมีแล้ว ท่านบอกว่าน่าจะเอามาใช้ในประเทศไทย ตอนท่านเสด็จนอร์เวย์ ท่านไปนั่งรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันก็คือเมอร์เซเดส-เบนซ์ ก็มีคนไปทูลฯ ว่า ทำไมไม่เอารถคันนี้มาไว้ที่พระนคร ซึ่งตอนรัชกาลที่ 4 มีการสร้างถนนแล้ว ในหลวงก็บอกว่าถ้าฉันสั่งรถยนต์มาฉันนั่งได้คนเดียว แต่ประชากรของฉันทั้งประเทศสยามไม่มีโอกาสนั่งรถอย่างนี้ได้ ฉันน่าจะสั่งรถอย่างอื่นมาแทน

เพราะฉะนั้นก็เลยโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สั่งรถรางมาอย่างแรก และนี่คือสาเหตุให้เราตั้งหอเกียรติภูมิรถไฟขึ้นมา ถามว่าทำไมเป็นสาเหตุ เพราะว่าเราอยากจะเล่าเรื่องอย่างนี้ให้คนไทยได้เห็นว่าในหลวงท่านประเสริฐอย่างไรบ้าง และจะได้เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าการที่เราจะนำเทคโนโลยีแต่ละอย่างมาใช้ ควรจะมีการคัดเลือกแล้วก่อน รอให้พร้อมก่อน ว่าเรามีความรู้มั้ย อะไรที่ทันสมัยไม่ใช่จะดีทั้งหมด ต้องดูว่าอะไรควรจะมาก่อน อะไรควรจะมาหลัง
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 16 ก.ค. 08, 15:19

(ต่อ)

อย่างถามว่า ทำไมท่านเอารถรางมาก่อน ซึ่งที่นี่ (หอเกียรติภูมิรถไฟ) มีรถรางคันแรก (ที่มีเครื่อง) นะครับ เพราะเหตุว่าถ้าเอารถไฟมา มันจะมีปัญหาว่าค่าใช้จ่ายสูงมาก แล้วรถไฟมันน่าจะวิ่งตามต่างจังหวัด ซึ่งประเทศไทยกว้างขวาง ท่านก็เลยทดลองวิ่งรถรางก่อนเป็นอย่างแรก พอเรามีโรงไฟฟ้าวัดเลียบแล้ว มีการเดินรถรางแล้ว มันมีปัญหาต่อว่าฝรั่งเศสเริ่มล่าอาณานิคม มีแนวว่าฝรั่งเศสอาจยึดประเทศไทยโดยส่งกองทัพเรือมา ท่านก็เลยไปสร้างป้อมพระจุลฯ ไว้ที่ปากน้ำสมุทรปราการ แต่ป้อมพระจุลฯ ต้องใช้ทหารถึง 300 คน ปัญหาใหญ่คือจะเอาทหารไปไว้ยามฉุกเฉินได้อย่างไรในคราวเดียวกัน เราไม่มียานพาหนะอะไรเลยที่จะขนคนได้มากขนาดนี้ ท่านเลยโปรดให้คนเดนมาร์ก ตั้งทางรถไฟสายแรกของเอกชน ก็คือสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำ

เรามีอนุสรณ์เปิดการเดินรถสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำ อยู่ข้างหน้า (หอเกียรติภูมิฯ) จริงๆ มันไม่ได้อยู่ตรงนี้ มันอยู่ที่หัวลำโพง แต่เนื่องจากว่ารถไฟเองขุดอนุสรณ์อันนี้ขึ้นมา แล้วเอาไปทิ้งไว้ในที่ไม่สมควร ทางหอเกียรติภูมิรถไฟก็เลยไปขอมาตั้งแสดงไว้ เพราะฉะนั้นรถไฟสายแรกไม่ได้มีความประสงค์ว่าให้รับส่งผู้โดยสาร แต่เป็นรถไฟสายยุทธศาสตร์ ทีนี้พอเราได้รู้เรื่องราวเหล่านี้ มันก็เลยกลายเป็นสายเลือด

แล้วหอเกียรติภูมินี่เกิดขึ้นได้อย่างไร

หลังจากเลิกรถจักรไอน้ำเมื่อประมาณปี พ.ศ.2511 รถจักรทั้งหมดก็ถูกเก็บเอาไว้เฉยๆ แต่มีปัญหาซิว่า โรงเก็บรถหลายๆ แห่งเริ่มถูกรื้อทิ้ง เนื่องจากการรถไฟมีนโยบายที่จะโอนทรัพย์สินให้เอกชน เหลือแต่โรงนี้โรงเดียว ซึ่งเมื่อก่อนเป็นโรงซ่อมรถจักรไอน้ำ เราสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ภายหลังรถไฟได้นำอาคารนี้มาเปลี่ยนชื่อเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ แต่ไม่เคยเปิดให้คนชมเลย

กระทั่งปี 2532 การรถไฟได้โอนที่ดินทั้งหมดให้ กทม. กทม.ก็ไม่อยากได้อาคารแห่งนี้ ก็ทำเรื่องขอรื้อ แต่เรื่องยังไม่ผ่าน การรถไฟก็เลยขนรถที่มีอยู่ เช่น หัวรถจักรไอน้ำไปที่หว้ากอ อีกส่วนหนึ่งอยู่ที่เอกมัย บังเอิญ อ.สรรพสิริ คุณพ่อผม ตอนนั้นท่านเป็นบอร์ดของช่อง 5 ช่อง 7 แล้วก็ตั้งชมรมเรารักรถไฟขึ้น ทีนี้พอตั้งเป็นชมรมแล้วเราไม่มีที่อยู่เป็นทางการ พอดีเรารู้ว่าการรถไฟกำลังจะรื้ออาคาร คุณพ่อก็เลยมาขออาคารแห่งนี้ บังเอิญคุณพ่อได้เป็นบอร์ดการรถไฟด้วย รถไฟก็เกรงใจ ก็เลยให้แต่อาคาร มีข้อแม้ว่าให้ใช้เป็นสถานที่แสดงนิทรรศการ โดยต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดในการจัดทำนิทรรศการและซ่อมแซม รวมทั้งห้ามไม่ให้มีการหารายได้

ตอนปี 2533 ที่เราเข้ามามันได้แต่หอเปล่า คุณพ่อก็ไปขอยืมของจากการรถไฟบ้าง ของจากเอกชนบ้าง มีรถไฟคันเดียว ซึ่งเราได้มาจากเอกชน คือขบวน 10089 ซึ่งเป็นคันสุดท้ายที่ไม่เคยวิ่งเลย ตกทิ้งค้างอยู่ที่ตีนสะพานพระราม 9 ในโกดังเก็บของเก่า จนกระทั่งจะมีการสร้างสะพาน เจ้าของเขาถูกเวนคืนที่ดิน เขาก็เลยให้มา เขาเห็นว่าเราน่าจะเป็นคนดูแล แต่เราซ่อมเองนะ ตัวเลขก็มากอยู่ ทีนี้ คุณคิดว่าคนไม่มีรายได้ อยู่ได้มั้ย ที่นี่อยู่ได้นะครับ 17 ปี เราไม่เคยขายอะไรเลย ไม่เคยเก็บเงินค่าเข้าชม ไม่เคยขายของที่ระลึก ของที่เห็น (ซีดี) แจกหมดนะครับ เพียงแต่ว่า ถ้าใครจะช่วยบริจาคก็แล้วแต่

แล้วคันอื่นๆ ละคะได้มาอย่างไร

คันอื่นๆ เราก็ซ่อมเอง ยกเอง แต่ยังขึ้นทะเบียนเป็นของการรถไฟ การรถไฟให้เรายืม แต่เรายืมมาเลย 10 ปีแล้ว ผมถือว่าผมเกือบเป็นเจ้าของแล้ว แต่ถามว่าเราเป็นเจ้าของได้มั้ยตามกฎหมาย คำตอบคือไม่ได้ เนื่องจากรถไฟมันติด ก.ม.ที่เรียกว่า ยุทธภัณฑ์ คนธรรมดาไม่สามารถซื้อขายรถไฟได้ เพราะฉะนั้นเราก็เป็นแค่ดูแล

ทำหอมา 10 กว่าปีมีใครสนับสนุนบ้างมั้ยคะ

4-5 ปีแรกๆ มีเยอะ เนื่องจากคุณพ่อมีเพาเวอร์ ผมเป็นแค่ช่าง คุณพ่อสั่งอะไรผมก็ทำหมด แต่ผมจะทำเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ แต่มาระยะ 4 ปีหลังคุณพ่อไม่สบาย เป็นอัลไซเมอร์ ตอนนี้อายุ 88 แล้วท่านก็ไม่สามารถมาทำได้ ก็ทิ้งหอนี้เป็นมรดกให้ผม ตอนคุณพ่ออยู่ ทุกคนช่วยหมด คือคุณพ่อจะขออะไรทุกคนก็ยินดี เพราะคุณพ่อเป็นผู้ใหญ่ที่มีคนนับถือมาก ถึงแม้เราจะไม่ได้เงินช่วยเหลือเป็นกอบเป็นกำ แต่หอมันก็ยังอยู่ได้ แต่พอคุณพ่อป่วย ทุกคนหายหมด เหลือผมคนเดียวจริงๆ เลยครับ

4 ปีหลังผมใช้เงินส่วนตัวในกระเป๋าดำเนินการไม่มีเงินแม้แต่บาทเดียวของใครที่มาบริจาคให้นะครับ นอกจากตู้รับบริจาค ซึ่งก็ได้ไม่มากนัก

สมัยที่เห็นคุณพ่อทำ เคยคิดมั้ยว่าทำไมถึงต้องมารับภาระอะไรอย่างนี้

คือตอนแรกผมก็ไม่ได้คิดอะไรหรอก เราไม่ได้ยุ่งกับเรื่องค่าใช้จ่ายออกแรงเดียว แต่ที่บ้านก็ไม่มีใครเห็นด้วย เพราะค่าใช้จ่ายมันสูง บางครั้งก็ต้องไปยืมญาติๆ กัน ยืมบริษัทบ้าง แต่คุณพ่อท่านเป็นคนจะทำอะไรแล้วท่านต้องทำให้ได้ แล้วเราก็ทำให้ท่านได้เหมอืนกัน แต่ตอนแรกมันไม่ค่อยมีปัญหาเพราะคุณพ่อพูดอะไร จะไปขอใครก็มีคนบริจาคให้ ซึ่งเมื่อก่อนผมก็ไม่รู้หรอกว่าใช้เงินเท่าไหร่ เพิ่งจะมารู้ตอนหลังนี่แหละ

ระยะ 4 ปีหลัง ผมใช้วิธีบริหารงานโดยไม่ใช้เงินเลย เพราะตั้งแต่ต้นเราไม่มีน้ำประปาอยู่แล้ว เราไม่ต้องเสียค่าไฟ เพราะตอนที่เรามาเนี่ยถูกตัดไฟ แต่ก็แปลกที่ใครก็ไม่รู้ไปต่อหม้อให้ เราก็เลยได้ใช้ไฟฟรี โทรศัพท์ไม่มีเพราะเราถูกตัดตั้งแต่วันแรกที่เราเข้ามา แต่มันลำบากตรงที่ถ้าจะเอาน้ำมาล้างหอ ต้องขนมาจากบ้าน แรกๆ ก็ไม่ลำบากหรอกครับ เพราะเรามีรถยนต์ใช้ แต่ตอนหลังผมไม่มีรถ ก็ใช้วิธียืมรถลูกสาวบ้าง บางทีก็ไถจากคนออกกำลังกาย ช่วยขนน้ำมาให้ แต่น้ำแค่นี้มันไม่มีทางพอ แค่ล้างพระแท่นรัชกาลที่ 5 ให้สวยงามก็หมดน้ำแล้ว ผมก็ใช้วิธีล้างแค่นั้นแหละ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 16 ก.ค. 08, 15:24

แล้วมีใครมาช่วยเป็นแรงงานบ้างคะ

ไม่มีครับ ก็เราไม่มีเงินนี่ เงินบริจาคอย่างวันนี้ได้ร้อยกว่าบาท บางวันได้ 40 บาท เพราะฉะนั้นผมก็ต้องประหยัดโดยการมารถเมล์ เวลากินก็เอาอาหารมาจากบ้านเป็นอาหารกล่อง นี่เป็นเรื่องจริงนะครับ ห้องน้ำเข้าไม่ได้ เพราะมันไม่มี ถ้าทนไม่ไหวต้องปิดประตูหอ แล้วข้ามไปฝั่งโน้น เพื่อเข้าห้องน้ำ ผมถามเจ้าของสถานที่ว่า ทำไมผมขอห้องน้ำถึงไม่ได้ ผมสร้างเองก็ได้ เขาบอกว่า อาจารย์ไม่มีความจำเป็น อาจารย์ปวดก็เดินไปเข้าอย่างคนอื่นซิ

แล้วก่อนผมป่วยเมื่อประมาณสักต้นปี ใครก็ไม่ทราบส่งเจ้าหน้าที่มา บอกว่ามีคนร้องเรียนว่าหอแห่งนี้สกปรก ฝุ่นเยอะ ผมก็เล่าสภาพให้ฟังว่าผมมีอย่างนี้แหละ ทำไม กทม.ไม่ส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยผมล่ะ เขาบอกว่าอาจารย์ก็ต้องเซ็นโอนให้ กทม.ก่อนซิคะ แล้ว กทม.ถึงจะมาช่วย ผมก็บอกว่า งั้นไม่เป็นไร ผมนึกในใจนะว่าถ้าเซ็นโอนปั๊บ เขาก็ไล่ผมออก

เห็นบอกว่าตอนนี้มีปัญหาเพิ่มขึ้นอีก

มันเกิดปัญหาขึ้นเมื่อเกือบสองเดือนที่แล้ว วันนั้นเป็นวันศุกร์ ก็มีรายการย้อนรอยทีไอทีวีมาถ่ายผม แล้ววันนั้นก็มีเด็กมาเต็ม ผมก็คุยกับเด็ก ผมเปิดเงินบริจาคได้ 40 บาท เราก็เริ่มท้อ หนึ่งแล้ว บังเอิญคืนนั้นผมก็ไปเหลาไม้ทำรถไฟให้เด็ก ใช้คัตเตอร์อันใหญ่ พอดีหมามันเห่า ผมก็ลุกขึ้นมาไม่ทันระวัง คัตเตอร์บาดแขนผม เส้นเอ็นขาดไปสี่เส้น ผ่าตัดสองหน ผมเข้าโรงพยาบาล ออกมาจากโรงพยาบาล ย้อนรอยบอกยังไม่ได้ถ่ายสัมภาษณ์เลย ผมก็เลยต้องถ่ายทั้งที่หมอบอกให้พักฟื้นอีกเดือน ซึ่งสภาพวันนั้น ผมก็เลยบอกว่าผมเลิกหอนะ เพราะเมื่อเราป่วย เราก็ต้องใช้เงินรักษาตัวเอง จะเอาเงินที่ไหนมาดูแลหอ แต่หลังจากรายการออกไป ก็มีคนบริจาคเยอะขึ้น มีคนเอาถังน้ำมาตั้งให้หน้าหอ แล้ว กทม.เองก็บอกว่า ถ้าอาจารย์ต้องการมีคนมากวาดหอก็ได้

เหมือนกับว่าตอนนั้นหมดกำลังใจ

กำลังใจมันหมด มันก็ท้อ ที่จริงผมไม่เคยท้อเลยนะ ผมไม่เคยคาดหวังเลยนะว่าจะมีคนมาดูกี่คน เพราะเราถือว่าเราใช้เวลาวันเสาร์อาทิตย์มานั่งดูนั่งเล่น ใครจะด่าผมก็ทำหูทวนลม เพราะเราถือว่าเราทำได้แค่นี้ก็ดีแล้ว แต่พอเราป่วยมันก็เหมือนทุกอย่างมันล่มหมด ดีที่ว่าตอนหลังมีคนให้กำลังใจเยอะ

แล้ววางแผนอนาคตไว้อย่างไร

ผมกะว่าผมจะทำงานที่นี่อีก 10 ปี แล้วผมอยากให้มันสมพระเกียรติรัชกาลที่ 5 ซึ่งเราอยู่ที่นี่มาสิบกว่าปี มันไม่สมพระเกียรติเลย ดูแล้วมันไม่สวยงาม ตอนนี้เราก็เลยเริ่มโครงการว่า ขอให้ช่างต่างๆ มาประเมินราคารับเหมา เช่น ซ่อมระบบไฟ ซึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้วก็เกือบไหม้ไปแล้ว ซ่อมระบบน้ำ ซึ่งเวลาน้ำท่วมน้ำจะเข้ามาเต็มเลย ต้องทำรางน้ำ ซ่อมสีอาคาร ดูแลเรื่องความปลอดภัยเพราะรอบๆ มันเป็นกระจก ขโมยทุบเข้ามาเป็นประจำ พอเราประเมินตรงนี้ได้ว่าแต่ละส่วนใช้เงินเท่าไหร่ แทนที่เราจะทำทั้งหมดพร้อมๆ กัน ก็ใช้วิธีหาคนที่ยินดีมาช่วยสนับสนุน ซึ่งแต่ละส่วนก็คงใช้เงินไม่เยอะ ตอนนี้ก็มีคนเสนอมาบ้าง

 
Presentable

นี่คือรถไฟที่เราย่อมาจากรถไฟที่เคยเก็บไว้ในโรงรถแห่งนี้ คือรถแม่กลองคันที่สอง ปัจจุบันรถคันนี้เขาย้ายไปไว้ที่เอกมัย คันจริงน่าจะอายุประมาณ 104 ปี และกำลังได้รับการบูรณะ ส่วนเหตุผลที่ต้องจำลองรถไฟคันนี้ขึ้นมา ทายาทตระกูลวิรยศิริบอกว่า "เพราะเราโมโหว่ารถไฟคันนี้มันน่าจะอยู่ที่นี่ เป็นรถไฟเอกชนหนึ่งในสองสายที่เราให้สัมปทาน เรามีรถไฟเอกชนในสมัยรัชกาลที่ 5 สองขบวน คือ รถไฟสายปากน้ำ กับสายแม่กลอง ปากน้ำเลิกไปแล้ว แต่แม่กลองปัจจุบันยังวิ่งอยู่ นี่เป็นรถไฟขบวนที่สองของแม่กลอง และเป็นรถไฟที่เก่าที่สุดในปัจจุบันที่เราพบ ซึ่งเราคิดว่าน่าจะได้รับการบูรณะตั้งนานแล้ว"


บันทึกการเข้า
ronsiam
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 13 พ.ค. 09, 19:45

เรียนคุณปากน้ำเจ้าพระยา ผมเปิด Youtube ไปเรื่อย ๆ แล้วพบข้อมูลทางรถไฟสายปากน้ำเป็นภาพยนตร์ ประมาณปี 1931 (2474) ลองเข้าไปเปิดดูตามลิงค์นี้นะครับ น่าสนใจมั้ยครับ แถมในภาพยนตร์เรื่องนี้มีสถานีบางจากด้วย อีกทั้งมีภาพสถานีหัวลำโพงฝั่งที่โดนรื้อไปแล้วตรงถนนตรงให้ดูด้วยครับ ผมว่าน่าตื่นเต้นดี
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 14 พ.ค. 09, 11:28

ขอบพระคุณ คุณ ronsiam มากครับ
เป็นภาพยนตร์ที่สวยงามคมชัดมาก
ผมก็เพิ่งทราบจากภาพยนตร์นี้ว่า สถานีปากน้ำตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง