เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 35274 ตามรอย หัวจักรรถสายปากน้ำ
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 04 พ.ค. 08, 09:55

รถไฟ-รถไฟฟ้า กับผลกระทบด้านสังคม

          แม้รถไฟจะไม่สามารถนำคติความเชื่อเข้าไปยังชุมชนและหมู่บ้านได้รวดเร็วทัดเทียมกับรถยนต์ แต่รถไฟสามารถ ‘บรรทุก’
วัฒนธรรมเข้าไปทีละมากๆ ไม่ต่างจากตู้สินค้าที่บรรทุกได้ครั้งละขบวนยาว โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางเศรษฐกิจ รถไฟถือเป็นกลไก
สำคัญที่ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโตอย่างเห็นได้ชัด
           ทว่าเป็นการเติบโตของคนร่ำรวยที่มีจำนวนน้อย เช่นเดียวกับอีกหลายกลไกภายใต้อำนาจรัฐ

           ยกตัวอย่างเช่น โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทย
ที่ลงนามในสนธิสัญญาเปิดเขตการค้าเสรีกับจีนแผ่นดินใหญ่  เส้นทางรถไฟสายนี้นอกจากจะทำลายทัศนียภาพอันสวยงาม
ของทิวเขาภาคเหนือแล้ว สินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคจากเมืองจีนย่อมทะลักเข้ามาทางรถไฟ กระจายไปตามเส้นทางรถไฟ
เหมือนการทารุณกรรมทางเศรษฐกิจของห้างสรรพสินค้าจากบรรษัทข้ามชาติที่กำลังกลาดเกลื่อนอยู่นั่นเอง

           ประเทศไทยเองก็กำลังมีอิทธิพลต่อประเทศลาวพราะการรถไฟฯ กำลังวางแผนร่วมกับรัฐบาลลาว สร้างทางรถไฟ
สายหนองคาย – เวียงจันทร์ ซึ่งเป็นไปได้ว่า หากโครงการนี้เสร็จสิ้นเมื่อไหร่ วัฒนธรรมจากกรุงเทพฯ ก็จะหลั่งล้นเข้าไป
ในฝั่งลาว ทำลายความสงบเงียบที่มีมาแต่เดิมอย่างน่าเศร้าใจยิ่งนัก

           การสร้างทางรถไฟตามที่ต่างๆ มีผลต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อย ตัวอย่างเช่น ทางรถไฟสาย ชุมทางคลองสิบเก้า – แก่งคอย
(เชื่อมต่อสายตะวันออกกับสายอีสาน) ได้ทำลายสิ่งแวดล้อมไปมากที่สุด เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวตัดเลียบเขตอนุรักษ์
พันธุ์สัตว์ป่าเขาใหญ่ แม้จะมีทัศนียภาพสวยงาม แต่ก็เปรียบกันไม่ได้กับความตายของสัตว์สงวนที่ถูกรถไฟชน คนส่วนใหญ่ไม่อาจ
รับทราบข้อเท็จจริง เนื่องจากเส้นทางสายนี้ไม่ได้เปิดเดินรถโดยสาร แต่เปิดเดินรถสินค้า (logistic) เพื่อเชื่อมส่งสินค้า
จากนิคมอุตสาหกรรมมาดตาพุดไปยังเขตนิคมอุตสาหกรรมในภาคอีสาน

        นั่นคือตัวอย่างของรถไฟธรรมดา...และสำหรับรถไฟฟ้า ของเล่นของคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ยิ่งมีผลกระทบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อมมากขึ้นไปอีก.....

ภาพรวมสุดท้าย...

         แม้รถไฟจะเป็นพาหนะของระบอบทุนนิยม เป็นสัญลักษณ์แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมมานับแต่แรกเริ่ม และเป็นตัวอันตราย
ต่อวัฒนธรรมอันดีงามที่มีมาแต่เดิม กระนั้นก็ยังหวังให้เราทุกคนตระหนักในความสำคัญของมันในมุมกลับไว้บ้าง เนื่องเพราะจุดกำเนิด
ของมันไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นเพียงพาหนะขนส่งคน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นพาหนะที่คอยรับใช้ผู้คน
ให้ได้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงบนโลก เป็นพาหนะเดียวกับที่นักท่องเที่ยวและนักเขียนสารคดีมองว่าคลาสสิกที่สุดในโลก และ
เป็นพาหนะที่แม้แต่ผู้เขียนเองก็ยังชื่นชอบ

          ภูมิปัญญาของคนโบราณซึ่งได้สร้างสิ่งมีชีวิตขบวนยาวนี้ไว้ จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นเครื่องมือรุกรานใคร ทั้งยังควรทำความเข้าใจ
ในหน้าที่ของรถไฟว่าน่าจะนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม โดยไม่ทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดั้งเดิมได้อย่างไร

จบครับ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 04 พ.ค. 08, 20:46

จังหวัดสมุทรปราการ เราถือว่าได้รับประโยชน์อย่างมากครับ เมื่อมีรถไฟช่วยขนพวกเราเข้าไปมีโอกาส ได้ติดต่อใกล้ชิดกับคนกรุงเทพฯมากขึ้น การเดินทางจากปากน้ำ ไปหัวลำโพงได้ภายใน ๖๐ นาทีตรงเวลา ทำให้ลูกหลานชาวปากน้ำในช่วงที่ยังมีรถไฟ และต่อมารถเป็นไฟฟ้าบริการ มีโอกาสเดินทางไปโรงเรียน และมหาวิทยาลัยในเมืองหลวง ในอดีตเราจึงมีนักคิด นักเขียน ศิลปินเอก มีฝ่ายบริหารในรัฐบาลหลายสมัย รวมทั้งลูกหลานนายแห กรัยวิเชียร ที่มีโอกาสได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ขณะเดียวกัน ผมรู้สึกว่าเราแพ้ถนนครับ ถ้าเปรียบเมืองปากน้ำในปัจจุบัน ก็น่าจะคล้ายกับเมืองปากช่อง ทันทีที่มีการสร้างถนนเลี่ยงเมืองปากช่อง ที่ทำให้สามารถขับรถ ตรงไปเมืองโคราชได้ เมืองปากช่องก็แทบจะกลายเป็นเมืองร้าง ไม่มีใครแวะเข้าไปพัก ซื้อน้ำ ซื้อไก่ย่างทานอีกเลย

ของปากน้ำเราเมื่อเกิดถนนสุขุมวิท วิ่งเลี่ยงเมือง เลี้ยวซ้ายที่หอนาฬิกาหน้าศาลากลาง ตรงไปบางปะกง และเมืองทางตะวันออกได้ ปากน้ำก็เงียบทันที เมื่อมีรถเมล์สาย ๒๕ วิ่งเข้ากรุงเทพฯ รถไฟฟ้าที่เคยทำกำไรงาม เมื่อครั้งเป็นของเอกชน ก็กลับขาดทุน และแทนที่จะพัฒนาขึ้นกลับยกเลิกไป ยิ่งมีถนนบางนา-ตราดขึ้นมาอีก สมุทรปราการก็ร้างไปเลยครับ เมืองโบราณ สวางค์นิวาส ฟาร์มจระเข้ แม่ค้าขนมหวาน ขนมจาก จึงแทบเอาตัวไม่รอด

ผมยังจำได้เมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน ต้องนั่งรถเมล์สาย ๒๕ ไปเรียนมหาวิทยาลัย วันไหนตื่นสาย ออกจากปากน้ำหกโมงเช้า หลับไปตื่นอีกที แปดโมงครึ่งเพิ่งถึงหน้าสยาม ลงจากรถก็ต้องวิ่งเหงื่อโทรม แอบเข้าไปเรียนด้านหลังห้อง เพราะสายเป็นประจำ เราจึงไม่แปลกใจที่มีชาวปากน้ำดั้งเดิม เข้าไปตั้งรกรากในกรุงเทพฯ หลายครอบครัว เหลือไว้แต่ชาวต่างถิ่นมาทำมาหากินที่นี่

   
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 06 พ.ค. 08, 16:56

พระประแดงยิ่งแล้วใหญ่ เขียวสดใสน่าอนุรักษ์อยู่หกตำบล ทั้งหกตำบลมีถนนสายเดียว ชื่อว่าเพชรหึงษ์ ตามชื่อป้อมเก่าที่เสื่อมสภาพและไม่รู้เสียแล้วว่าอยู่ส่วนไหน ตั้งแต่รัฐบาลประชาธิปไตยจอมปลอมขึ้นมาหลายสิบปี
ตำบลที่เหลือเป็นโรงงานบ้าง ที่น้ำเค็มบ้าง
ไปไหนมาไหนลำบากต้องอ้อมโลก หรือเสี่ยงชีวิตขับรถข้ามแพ
วันดีคืนดี มีสะพานมาทอดให้ไปปากน้ำได้สบายขึ้นแล้ว.. จะลงช้างสามเศียรหรือศรีนครินทร์ก็สบาย
ไปสมุทรสาคร นครปฐมง่ายขึ้น
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 07 พ.ค. 08, 13:29

ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ ถนน หรือสะพาน ก็ทำให้ปากน้ำเราเปลี่ยนไปมากครับ
หลายคนจับทางผิด หรือมองตลาดไม่ถูก ก็มักจะพลาด

เคยได้คุยกับคนรู้จักท่านนึง ท่านเป็นตัวแทนผู้ใช้แรงงานในปากน้ำ วางตัวเองเป็นผู้ช่วยเหลือด้านกฏหมายมาตลอด เวลาลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. มีคนชื่นชอบติดตามเป็นจำนวนมาก หาเสียงที่ไหน คนสนใจล้อมกรอบมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ แต่ผลเลือกตั้งออกมา ได้เสียงไม่กี่พันคะแนนทุกที

พยายามหาสาเหตุความพ่ายแพ้มาตลอด จนเมื่อเลือกตั้งครั้งล่าสุด ท่านตกใจมาก คราวเมื่อมีการเลือกตั้งล่วงหน้า ปรากฏว่า ผู้คนที่สนับสนุนท่านมากมายนั้น ต้องไปเลือกตั้งล่วงหน้าต่างถิ่น เฉพาะจากภาคอีสานกว่า ๒ แสนคน เหลือคนปากน้ำจริงๆ ที่ชื่นชอบท่าน และมีสิทธิ์เลือกท่านเพียงไม่กี่พันคน ถึงกับอุทานว่า "หาเสียงผิดที่มาตลอด" เพราะที่เดินๆ กันอยู่ทั่วเมืองสมุทรปราการนั้น เป็นคนต่างถิ่นทั้งนั้น   

บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 07 พ.ค. 08, 13:36

เคยเรียนคุณกุ้งแห้งเยอรมัน ถึงเรื่องความผูกพันธ์กับเมืองปากน้ำ และเรียนถามเรื่องบ้านเกิดเอาไว้
ทราบแต่เพียง ขึ้นต้นด้วยคำว่า "บาง........"

ขอตอบว่า "บางนางเกรง" ครับ ถูกผิดไม่ทราบนะครับ

แต่ผมมีคำถาม คำว่า บางนางเกรง กับ บางจะเกร็ง
ต่างกันอย่างไรครับ 
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 07:01

จนบัดนี้ยังไม่มีผู้มาตอบเรื่องบางนางเกรง กับบางจะเกร็งเลย คุณโฮฯแวะมาดูหน่อยไหมครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 16:17

ข้อแรก ขอขอบคุณคุณปากน้ำเจ้าพระยาที่ได้อุตสาหะค้นคว้าเรื่องดีๆมาฝากครับ ผมตามอ่านมาแต่ต้น แต่ยุ่งๆอยู่เลยไม่ได้มาขอบคุณครับ

ทีนี้เรื่องบางนางเกรงหับบางจะเกร็ง

จากพจนานุกรมรอยอินนะครับ
เหงือกปลาหมอ ๒    น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Acanthus วงศ์ Acanthaceae ชนิด
   A. ebracteatus Vahl ขึ้นตามริมนํ้าบริเวณนํ้ากร่อย ดอกสีขาว ขอบใบ
   เป็นหนาม ชนิด A. ilicifolius L. ดอกสีม่วงอ่อน บางทีขอบใบเรียบ,
   จะเกร็ง หรือ อีเกร็ง ก็เรียก.

นัยว่าทั้ง จะเกร็งและอีเกร็ง จะเป็นคำมอญ หรือไม่ก็เขมรนะครับ

ทั้งบางนางเกรง และบางจะเกร็ง อยู่ในเขตน้ำกร่อยทั้งคู่ ไม่แปลกที่จะมีต้นเหงือกปลาหมอขึ้นอยู่มากครับ

ผมว่านางเกรงที่สมุทรสงคราม คงจะเป็นญาติกับนางเลิ้งในเมืองกรุงนี่แหละครับ  ยิงฟันยิ้ม
เดาว่าในยุคที่อีเลิ้งได้อัพเกรดเป็นนางเลิ้ง อีเกร็งคงจะพลอยได้อัพเกรดเป็นนางเกรงไปพร้อมๆกันด้วยความกรุณาของท่านผู้นำ

ส่วนบางจะเกร็งรอดตัวไปได้อย่างน่าหวาดเสียว
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 17:05

สวัสดีครับคุณ elvisbhu และทุกๆ ท่าน

และขอบคุณ CrazyHOrse ที่หาคำตอบเกี่ยวกับ "จะเกร็ง" และ "อีเกร็ง" ครับ

ผมคิดว่า "นางเกร็ง" ก็คงถูกเปลี่ยนมาจาก "อีเกร็ง" ตามที่คุณ CrazyHOrse ได้กล่าวไปแล้วนั่นแหละครับ เพราะยุคหนึ่งมีศัพท์จำนวนมากถูกเปลี่ยนคำ ด้วยเหตุผลสอง สาม ประการคือ "สะกดผิดเพี้ยนจากภาษาไทยมาตรฐาน" (โดยไม่คำนึกว่าคำเดิมเป็นภาษาถิ่น)  ลังเล กับ "เป็นคำไม่สุภาพ ต้องแก้ให้สุภาพ"  ลังเล หรือ "รูปคำไม่สวยเพราะดูไทยๆ เกิน ต้องเปลี่ยนให้ดูคล้ายๆ คำบาลี" ตกใจ

สงเปือย ก็เป็น สงเปลือย  ยิงฟันยิ้ม อันนี้ฮามาก ใครได้ยินก็คิดไปถึงพระแก้ผ้า  ยิงฟันยิ้ม .... อันที่จริง ถ้าจำไม่ผิด สงเปือยจะเป็นชื่อต้นไม้หรืออะไรนี่แหละครับ
แม่น้ำมูน ก็เป็น แม่น้ำมูล ข้อนึ้ผมไม่แน่ใจเกี่ยวกับความหมายเดิม แต่เคยเจอคำว่า "มูน" ในภาษาเขมรแปลว่า ใหญ่ (Robust)

มีอีกหลายชื่อครับ และก็มีอีกหลายคนที่เขียนบทความท้วงติงกัน

นี่แหละครับเค้าเรียกว่า หน่วยงานราชการทำลายภาษาไทยเสียเอง โดยความไม่รู้ ที่คิดว่าตัวเองรู้

นางเกร็ง ก็คงทำนองเดียวกัน คือ "อี" เป็นคำไม่สุภาพ ก็เป็น "นาง"

หอยอีรม ก็อีกชื่อที่ถูกเปลี่ยนเป็น หอยนางรม ซึ่งคำว่า อีรม นี้ ผมเคยค้นว่า น่าจะเพี้ยนมาจากภาษามาเลย์ว่า Tiram

ภาษาไทยถิ่นมีอีกหลายคำครับที่มักเรียกพืช หรือ สัตว์ ว่า "อี" เช่น อีเห็น อีเก้ง เข้าใจว่า "อี" ในความหมายนี้ คงหมายถึง "ตัว"

ดังนั้น ถ้าจะกล่าวว่า "บางนางเกร็ง" มาจาก "บางอีเกร็ง" มีความเป็นไปสูงครับ เพราะเป็นพืชน้ำกร่อย ทำให้นึกถึง "บางลำพู" ด้วยเหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม ที่เป็นพืชป่าโกงกาง-น้ำกร่อย
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 22:55

ขอบคุณ คุณ CrazyHOrse และ คุณ Hotacunus มากครับ
 
เดิมผมสงสัยมานานแล้วครับว่า คนปากน้ำ บางคนก็เรียก บางจะเกร็ง บางคนก็เรียก บางอีเกร็ง

มีบางคนอธิบายไว้ว่า เพราะที่นั่นมีเหงือกปลาหมอขึ้นเต็มไปหมด
พืชชนิดนี้ ก็เป็นอย่างในพจนานุกรมรอยอิน ที่ว่า ใบมีหนาม
ท่านว่า เป็นเพราะเวลาสาวๆ นางไหนผ่านมา จะเกรงกลัว หนามจากเหงือกปลาหมอทิ่มเอา
จึงเรียกที่นี่กันว่า บางนางเกรง แต่โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับการอัพเกรด จาก อี เป็น นาง มากกว่าครับ

ขอนอกเรื่องกระทู้อีกหน่อยนะครับ
ที่ปากน้ำ ยังเคยมีชื่อสถานที่ซึ่งเป็นคำไม่สุภาพอีก คือ คลองบางเหี้ย กับ อำเภอบางเหี้ย นัยว่าน่าจะมีสัตว์ชนิดนี้อาศัยอยู่มาก
ครั้นเมื่อรัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนิน เพื่อทรงตรวจสอบการก่อสร้างทำนบกั้นคลองบางเหี้ย จึงได้พระราชทานชื่อใหม่ ให้น่าฟังขึ้น

จาก คลองบางเหี้ย เปลี่ยนชื่อเป็น คลองด่าน
จาก อำเภอบางเหี้ย เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางบ่อ
 
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 23:29

"ท่านว่า เป็นเพราะเวลาสาวๆ นางไหนผ่านมา จะเกรงกลัว หนามจากเหงือกปลาหมอทิ่มเอา"  ยิงฟันยิ้ม

การหาที่มาทำนองนี้ มีเยอะเลยครับ คือ พยายาม ลากศัพท์จากชื่อปัจจุบัน ไปหาเรื่องราว

การศึกษาเรื่องนิรุกติศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่ในประเทศไทยนี้ ต่อไปจะลำบากครับ เพราะไม่ค่อยมีเอกสารบันทึก หรือไม่ก็ยังไม่มีใครรวบรวมเป็นกิจลักษณะ เป็นนิทานลากความก็เยอะ ...

เรื่องบางเหี้ยนี้ ผมเคยเจอชื่อนี้ เขียนอยู่ในแผนที่เมืองท่าสมัยอยุธยาตอนปลายครับ (อยู่ในสมุดภาพไตรภูมิพระร่วง) รู้สึกว่า คุณไมเคิล ไรท ได้เขียนเป็นหนังสือขึ้นแล้วเหมือนกัน รู้สึกจะชื่อ แผนที่แผนทาง ประมาณนี้แหละครับ แต่จำไม่ได้ว่า ได้ตีความเกี่ยวกับบางเหี้ยไว้บ้างหรือไม่

ตัวเหี้ยนี้ เป็นสัตว์ที่หากินอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่น้ำกร่อย จำได้ว่าตอนเด็กๆ เคยไปกินอาหารทะเลแถวๆ สมุทรปราการ หรือ สมุทรสงครามนี่แหละครับ จำได้แล้ว แต่ที่จำได้คือ เห็นเหี้ยตัวเป็นๆ ใหญ่มากๆ ว่ายอยู่ใต้ร้านอาหาร ตื่นตาตื่นใจจริงๆ  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 14 พ.ค. 08, 06:31

เหงือกปลาหมอเป็นพืชชายน้ำ คนบ้านดิฉันเขาเรียกหนามปลาหมอค่ะ เพิ่งจะทราบจากเรือนไทยนี่หละค่ะว่า เขาเรียกอีเกร็งอีกชื่อ
..
เวลาเล่นขายของ มีต้นไม้ข้างทางที่เห็นเจนตาหลายประเภท ประเภทที่ไม่อยากเอามาเล่นก็มีใบหนามปลาหมอนี่หนึ่งละ แต่มันก็สวยดี เด็กๆ เรายังงงอยู่ว่า หนามนี้มีไว้เพื่อไร ใช้ประโยชน์ไม่ได้เสียเลย
จะขึ้นแทรกตามแนวป่าจาก ลำพู ข้างทางค่ะ
อย่าว่าแต่นางจะเกรงเลย เด็กๆก็เกรง เพราะจงอยหนามคมกริบ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 14 พ.ค. 08, 09:31

ผมเคยค้นเรื่องบางเหี้ยบางบ่อตอนหาข้อมูลกระทู้นิราศเมืองแกลงผ่านดาวเทียม

เท่าที่ค้นเจอ บางเหี้ยได้ชื่อใหม่ว่าคลองด่านในสมัย ร.๕ แต่ไม่ได้เจอหลักฐานว่าเป็นชื่อพระราชทานครับ หากคุณปากน้ำเจ้าพระยามีข้อมูลตรงนี้เสริมจะขอบคุณมากเลยครับ

พูดถึงคลองด่าน ได้ยินชื่อนี้ ใครไม่คุ้นเคย อาจจะสับสนกับคลองด่านอีกคลองคือคลองสนามไชยที่แยกออกจากคลองบางกอกใหญ่(บางหลวง) คลองด่านนั้นขุดลอกในรัชกาลที่ ๔

นึกแปลกใจอยู่่ว่าหาก ร.๕ ทรงพระราชทานชื่อบางเหี้ยเป็นคลองด่านจริง ก็น่าจะเป็นชื่อที่เจาะจงกว่านี้สักหน่อยครับ เพราะคลองด่านอีกคลองก็เป็นคลองสำคัญเหมือนกัน อดคิดไม่ได้ว่าเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกจากโลกทัศน์ของคนที่รู้จักแต่คลองในละแวกของตัวเองครับ จะซ้ำกับที่อื่นบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะใช้สื่อสารกับคนในพื้นที่ได้ก็พอแล้วครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 14 พ.ค. 08, 12:50

ผมเริ่มกลัวอย่างที่คุณ Hotacunus ได้ให้ความเห็นเรื่อง การหาที่มาโดยพยายาม ลากศัพท์จากชื่อปัจจุบัน ไปหาเรื่องราว

เรื่องที่ ร.๕ พระราชทาน ชื่อ บางเหี้ยเป็นคลองด่าน มีอยู่ในหนังสือหลายเล่มในปากน้ำ เล่มหนึ่งที่จำได้ น่าจะเป็นเรื่องสมุทรปราการ ของคุณสังข์ พัฒโนทัย แต่ข้อมูลที่น่าจะเกี่ยวข้องโดยตรง ก็น่าจะเป็นเรื่องการเสด็จ วัดบางเหี้ยนอก โดยหนังสือประวัติที่ทางวัดทำเอาไว้ มีอยู่ว่า

คลองบางเหี้ยที่ปากน้ำ เป็นคลองที่แยกจากคลองสำโรง ออกสู่อ่าวไทย เมื่อมีการตั้งชุมชนปากคลอง ตรงปากอ่าวไทย ชาวบ้านในที่นี้จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางเหี้ย” ที่นี่มีวัดก็ตั้งชื่อว่า วัดบางเหี้ย มี ๒ วัด คือ วัดบางเหี้ยใน กับ วัดบางเหี้ยนอก สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่วัดบางเหี้ยนอก มีเกจิอาจารย์ชื่อดัง ชื่อ พระครูปาน (หลวงพ่อปาน)

บ้านบางเหี้ย มีปัญหามาตลอดในเรื่องน้ำทะเลหนุน ทำให้มีสัตว์ประเภท เหี้ย ตะกวด และตะเข้ เข้าคลอง ทางราชการจึงได้เข้าช่วยเหลือโดยการสร้างประตูกั้นน้ำเค็ม แต่การก่อสร้างมีปัญหากั้นน้ำไม่อยู่  ซ่อมอย่างไรก็ชำรุดทุกปี พระครูปานได้นำดิน ๓ ก้อน ขึ้นมาบริกรรมคาถา แล้วหย่อนดินทั้ง ๓ ก้อนลงไปในประตูน้ำ ปรากฏว่า ประตูน้ำไม่เกิดน้ำรั่วอีกต่อไป
 
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จไปที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อที่จะทำพิธีเปิดประตูน้ำใหญ่ที่ตั้งอยู่ในคลองบางเหี้ย ปรากฏว่าทรงประทับอยู่ที่คลองด่านถึง ๓ วัน (ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดฯให้เปลี่ยนชื่อ ตำบลบางเหี้ย เป็น ตำบลคลองด่าน คลองบางเหี้ย เป็นคลองด่าน และอำเภอบางเหี้ย เป็นอำเภอคลองด่าน ) ...
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 14 พ.ค. 08, 12:56

ถ้าเป็นข้อมูลในจดหมายเหตุต่างๆ การเสด็จประทับวัดบางเหี้ยนอก ถึง ๓ คืน คิดว่าน่าจะมีข้อมูลเรื่องนี้อยู่นะครับ

ประตูที่กั้นคลองนั้น มีชื่อเรียกกันปัจจุบันว่า “ประตูน้ำชลหารวิจิตร”
วัดบางเหี้ยบน หรือวัดบางเหี้ยใน (ปัจจุบัน คือ วัดโคธาราม) เป็นวัดน้ำจืดเพราะอยู่เหนือประตูน้ำ
และวัดบางเหี้ยล่าง หรือ วัดบางเหี้ยนอก (ปัจจุบัน คือ วัดมงคลโคธาวาส) เป็นวัดน้ำเค็มเพราะอยู่ใต้ประตูน้ำ

ชื่อวัดทั้งสองที่ดูน่าฟังขึ้น ก็มาจากคำว่า โคธา ที่แปลว่า เหี้ย นั่นเอง
(รู้สึกว่า ผมจะพิมพ์คำไม่สุภาพหลายครั้งเหลือเกิน) 
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 14 พ.ค. 08, 16:18

บางเหี้ย ถ้าแปลเป็นคำเก๋ๆ ก็คงเป็น โคธาสถาน  ยิงฟันยิ้ม

เอาศัพท์มาฝากครับ

गोधा (โคธา)

= ค
= โ
= ธ
= า

ผมมาสะกิดใจตรง "มงคลโคธาวาส" มีคำว่า "มงคล" ด้วย แสดงว่า ผู้ตั้งชื่อวัดยังติดใจคำว่า โคธา นี้ เป็นคำไม่ดีอยู่กระมัง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง