เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 35268 ตามรอย หัวจักรรถสายปากน้ำ
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 23:29

"หัวรถจักรหมายเลข 2 มีชื่อว่า "ปากน้ำ" ผลิตโดยบริษัท Krauss วางล้อระบบ 0-4-0  และวิ่งสายปากน้ำ(กรุงเทพฯ-นิวอัมส์เตอร์ดัม) ปีประจำการ คือ 2536
และหัวรถจักรหมายเลข 3 ชื่อ "บางจาก" (ตรงกับข้อมูลของคุณปากน้ำเจ้าพระยา) ผลิตโดย Krauss วางล้อแบบ 2-4-0  ใช้ในสายปากน้ำ  ประจำการปี 2536 เช่นกัน"


คิดว่า ปีประจำการ 2536 น่าจะเป็น 2436 กระมังครับ
บันทึกการเข้า
bluesky
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 02 พ.ค. 08, 02:19

รูดซิบปาก  ขอบคุณคุณ pipat มากค่ะ  เป็นปี 2436ค่ะ  ข้อมูล copy มาจากต้นฉบับก็เป็น 2436 แต่ตอนที่พิมพ์เอง พิมพ์ผิด แหะๆ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 02 พ.ค. 08, 02:34

ยินดีครับ
ผมน่ะพิมพ์ผิดมากกว่าคุณ bluesky แยะ....แต่โชคดีมีคนตรวจปรู๊ฟประจำตัว...ฮิฮิ

มีความสงสัยมานานแล้ว ถ้าจได้รับคำตอบ อาจถึงทำให้ตายตาหลับ
เรื่องรางรถไฟน่ะครับ
ทำไมต้องเปลี่ยนขนาดรางกันไปมาด้วย
จากเมตรครึ่งในยุคตั้งต้น มาเป็นหนึ่งเมตรในรัชกาลต่อมา
แล้วเดี๋ยวนี้เป็นเท่าไรแล้ว และที่ใช้กันเป็นมาตรฐาน คือเท่าไรครับ

สำหรับเรื่องบริษัทร่วมทุนระหว่างเจ้านายไทยกับฝรั่งชาติเดนมาร์คนั้น
เป็นนโยบายถ่วงดุลย์ที่ชาญฉลาดยิ่ง
เคยมีนักวิชาการชมนโยบายระหว่างประเทศของสยามในรัชกาลที่ 5 ว่าเป็น
นโยบายเดินสองขา

ต่างกับปัจจุบันที่เดินขาเดียว อีกขาผูกติดกับชาติอื่น....

ฮือๆๆๆ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 03 พ.ค. 08, 18:44

Captain T.A. Gottsche   ผู้ควบคุมหัวจักรรถไฟสายปากน้ำ

นอกจากหลักฐานที่เป็นวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นหัวจักรเก่าสภาพดี หรือซากหัวจักรรถไฟแล้ว ผมได้พยายามติดตามหาทาญาติ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคุณที เอ ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche) ผู้ควบคุมหัวจักรรถไฟสายปากน้ำ

Captain T.A. Gottsche   เป็นนายทหารชาวเดนมาร์ค ที่ได้รับการชักชวนจากพระยาชลยุทธโยธิน (ชาวเดนมาร์ค ชาติเดียวกัน) ให้เข้ามาช่วยในกิจการทหารเรือตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ชื่อของ Captain T.A. Gottsche  ปรากฏครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ตามข้อมูลของกองทัพเรือ

http://www.navy.mi.th/navalmuseum/002_history/html/his_b23_war-chaophya_thai.htm
Captain T.A. Gottsche
 
ท่านเป็นผู้บังคับการป้อมผีเสื้อสมุทร เมื่อครั้งมีการยิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศส ในช่วงการรบที่ปากน้ำ ร.ศ. ๑๑๒ มีทหารบาดเจ็บ ๖ นาย ท่านยังเป็นผู้ควบคุมหัวจักรรถไฟสายปากน้ำ จูงขบวนเสด็จ ในพิธีเปิดทางรถไฟสายปากน้ำ ก่อนที่จะลาออกจากกองทัพเรือ เพื่อมาเป็นพนักงานบริษัทรถไฟสายปากน้ำเต็มตัว ในปี ๒๔๔๒ จนเกษียณจากบริษัทในปี ๒๔๗๕
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 03 พ.ค. 08, 18:55

ด้วยการปฏิบัติหน้าที่ รับส่งผู้โดยสารชาวปากน้ำเป็นเวลานาน จึงมีความผูกพันกับท้องถิ่นปากน้ำมาก ชาวปากน้ำเรียกท่านว่า คุณก็อตเช่ ท่านซื้อบ้านพักอยู่ในเขตตลาดปากน้ำ ใกล้วัดกลางวรวิหาร มีภรรยาเป็นคนปากน้ำ มีทาญาติด้วยกัน ๒ คน คนโตเป็นชาย อีกคนเป็นหญิง


คุณก็อตเช่ ได้รับความนับถือจากชาวปากน้ำเป็นอย่างมาก ในด้านความมีน้ำใจงาม และชอบช่วยเหลือกิจการส่วนรวม ในงานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ คุณก็อตเช่ จะเป็นผู้รับหน้าที่ ติดต่อบริษัทรถไฟปากน้ำ ในการส่งเสริมด้านเงินสนับสนุนเรื่องงานมหรสพต่างๆ

เมื่อวันเกษียณอายุในปี ๒๔๗๕ ชาวปากน้ำได้สร้างสะพานข้ามคลองแห่งหนึ่ง แล้วติดป้ายเป็นชื่อท่านเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษมีใจความว่า  ที เอ ก็อตเช่ ๒๔๒๕ – ๒๔๗๕ อันหมายถึง ๕๐ ปี แห่งการทำงานหนักในสยาม และ ๓๒ ปี แห่งการทำหน้าที่ นายกลควบคุมหัวจักรรถไฟ

บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 03 พ.ค. 08, 19:01

ข้อมูลทางด้านหัวจักรรถไฟ ที่น่าจะหาได้อีกทางหนึ่ง จึงน่าจะเป็นทาญาติ ๒ ท่าน ที่เกิดกับคุณก็อตเช่  อย่างไรก็ตาม ในการติดตามทาญาติของคุณก็อตเช่ ในปากน้ำนั้น ค่อนข้างหาข้อมูลได้ยาก ด้วยเพราะบ้านเดิมที่คุณก็อตเช่ สร้างไว้ ปัจจุบัน มีผู้เช่าอยู่ โดยที่ไม่เคยมีเจ้าของบ้านมาเก็บค่าเช่า หรือดูแล มาเป็นเวลานับสิบปี

คนที่เคยเห็นทาญาติคุณก็อตเช่ นั้น จะต้องมีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป ที่ต่างก็บอกว่า ทุกๆเช้าเมื่อ ๕๐ ปีก่อน ชาวปากน้ำจะรอฝรั่งลูกครึ่งเดนมาร์ค-ไทย ๒ คน ที่เป็นชายก็สูงหล่อ ฝ่ายหญิงก็สวยสง่า เดินผ่านตลาดขึ้นรถไฟไปทำงานในกรุงเทพฯ

คุณก็อตเช่ มีราชทินนามว่า ขุนบริพัตรโภคกิจ    ได้รับพระราชทานนามสกุล ตามชื่อสกุล จากคำว่า ก็อตเช่ มาเป็น คเชศะนันทน์ ทาญาติทั้งสองของคุณก็อตเช่ ที่ผมคิดว่า น่าจะทราบรายละเอียด เรื่องรถไฟสายปากน้ำดี ต่างก็ย้ายออกจากปากน้ำ ไปอยู่ในกรุงเทพฯ หลายสิบปีแล้วครับ มีผู้ที่ทราบชื่อเพียงบุตรสาว ที่ชาวบ้านเรียกสั้นๆว่า แหม่มชิด ส่วนบุตรชายไม่มีใครทราบชื่อ ทราบจากผู้เช่าบ้านว่ายังมีชึวิตอยู่ทั้งสองท่าน ผมทราบเพียงเท่านี้ครับ 
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 03 พ.ค. 08, 20:51

ขออนุญาตคุณปากน้ำเจ้าพระยาแก้ไขการเขียนคำว่า "ทาญาติ" หน่อยนะคะ  ที่ถูกต้อง "ทายาท" ค่ะ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 04 พ.ค. 08, 00:41

ขอบคุณ คุณ pakun2k1d อีกครั้งครับ
(ผมกลับมาอีกทีก็แก้ไม่ทันแล้วครับ เขียนผิดถึง ๖ ครั้ง ขออภัยจริงๆ)

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 04 พ.ค. 08, 01:56

ดิฉันมีเพื่อนนักเรียนเก่าตั้งแต่ชั้นประถม  ชื่อวิมล คเชศะนันทน์   เพื่อนๆรู้กันมานานแล้วว่ามาจากสกุลเดิมคือก๊อตเช่  เพราะเธอเป็นคนเล่าให้ฟังเอง   
คุณพ่อเธอเป็นฝรั่ง   ไม่แน่ใจว่าเป็นหนุ่มรูปหล่อคนที่คุณเอ่ยถึงหรือเปล่า เพราะบ้านเดิมเธออยู่ในกรุงเทพ  ไม่ได้อยู่ปากน้ำ

วิมลสวยน่ารักแบบฝรั่ง  ผมและดวงตาสีน้ำตาลใส  ได้เป็นดาวมหาวิทยาลัยในวันรับน้องใหม่   เมื่อเข้าเป็นนิสิตรัฐศาสตร์รุ่น ๑๘    อ.พูน เกศจำรัสเคยถ่ายรูปเธอเป็นนางแบบ แต่งชุดนิสิตจุฬา
เธอสมรสกับชาวมาเลย์เซีย  ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าอยู่ในประเทศไทยหรืออยู่บ้านสามี  แต่ถ้ามีโอกาสเจอกัน จะถามให้นะคะ อย่างน้อยก็คงถามได้ว่าเครือญาติอยู่ที่ไหนกันบ้าง
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 04 พ.ค. 08, 08:08

ขอบพระคุณ คุณเทาชมพู มากครับ

เทศบาลนครสมุทรปราการ ที่ทราบการทำงาน ด้านการรื้อค้นสถานที่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของพวกเรา ได้สอบถามมาหลายครั้ง เรื่องการสืบค้นทายาทของคุณก็อตเช่ เพื่อขออนุญาตนำชื่อสกุล ภาพถ่าย หรืออื่นๆ มาเป็นส่วนหนึ่งของ อนุสรณ์สถานรถไฟสายปากน้ำ ที่กำลังจะก่อสร้างตรงหน้าสภานีปากน้ำเดิม ด้วยครับ

เดิมทางเทศบาลฯ ต้องการสร้างหัวจักรจำลองให้เหมือนจริงมาตั้ง แต่ผมเป็นคนเดินเข้าไปเสนอให้รอการก่อสร้างไว้ก่อน จนกว่าจะได้หัวจักรรถไฟปากน้ำของแท้มา ปรากฏว่าทางเทศบาลก็เห็นดีด้วย เลยกลายเป็นความกดดันมาที่ผู้เสนอแนะ เพราะรอมาสองปีกว่า จนเปลี่ยนผู้บริหารงานเทศบาลฯแล้ว เรายังหาหัวจักรแท้ไม่ได้สักที ทางร้านค้าที่เดือดร้อนจากการถูกคืนที่ตรงสถานที่นั้น ก็มักจะทำตาเขียวมาที่ผมเวลาเดินผ่านตลาด หาว่าเป็นต้นเหตุให้ต้องย้ายร้าน

บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 04 พ.ค. 08, 08:17

บริเวณลานก่อสร้าง อนุสรณ์สถานรถไฟสายปากน้ำ
สถานีปากน้ำเดิม กลายเป็นถนนหน้าทางเข้าท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 04 พ.ค. 08, 09:32

              ขอบคุณ คุณปากน้ำสำหรับเรื่องราว ครับ
 
           รถไฟ หัวรถจักรไอน้ำ ชวนให้นึกถึงวรรณกรรมชิ้นเอกของโลกที่ประพันธ์โดย Leo Tolstoy
เรื่อง  Anna Karenina (เคยอ่านได้ไม่พ้นบทที่หนึ่งแล้วก็ไม่คืบหน้าอีกเลย ครับ)
         นิยายถ่ายทอดความคิด ความเชื่อของตอลสตอยผ่านหนึ่งในตัวละครหลัก มีฉากเหตุการณ์เกิดที่สถานีรถไฟ
ในตอนต้น และเหตุการณ์สำคัญตอนท้าย โดยผู้ประพันธ์ได้ให้รถไฟมีบทบาทและเป็น motif ของเรื่อง
           ภาพหัวรถจักรจึงปรากฏร่วมกับนักแสดงนำบนโปสเตอร์หนังเรื่องนี้ ฉบับที่โซฟี มาร์โซ เป็นนางเอก
 
          มีบทความจากปาจารยสาร วิเคราะห์เข้มข้นถึงบทบาทรถไฟ - ผลผลิตของการประดิษฐ์คิดค้นสำคัญ กับความเปลี่ยนแปลง
และผลกระทบที่รถไฟนำไปสู่สองข้างทางรถไฟ* 
       
          สงสัยว่าตอลสตอยจะมองรถไฟคล้ายกับเนื้อหาในบทความนี้บ้าง(หรือไม่) - เครื่องจักรกลของยุคใหม่ที่นำมาและพาไป
ซึ่งความเปลี่ยนแปลงและความเป็นอยู่เดิม

          อ่านแล้วอาจมีใครถูกใจหรือขัดใจกับบทความนี้อยู่บ้าง แต่อย่างน้อยก็มีข้อมูลเรื่องขนาดของรางรถไฟที่คุณพพ. สงสัย

*คำว่า สองข้างทางรถไฟ พาให้นึกถึงรายการทางทีวีช่องสี่ในอดีต เป็นสารคดีบรรยายโดยคุณพูนลาภ อนะมาน
พาไปเยือนจังหวัดต่างๆ ของบ้านเราตามเส้นทางรถไฟ ถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ฉายทางทีวี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 04 พ.ค. 08, 09:34

ตัดทอนมาบางส่วน ฉบับเต็มอ่านที่นี่ครับ

     http://review.semsikkha.org/content/view/255/150/


       รถไฟกับการรุกคืบทางวัฒนธรรม  เขียนโดย โมน สวัสดิ์ศรี     
 
        แม้พาหนะที่เรียกว่า ‘รถไฟ’ จะกำเนิดเกิดมานับร้อยปี จนใกล้จะถึงวิวัฒนาการที่อิ่มตัว กระนั้นรถไฟก็ยังเป็นระบบ
คมนาคมที่สำคัญของโลก เป็นเหมือนแม่น้ำสายสำคัญที่ดึงดูดชีวิตผู้คนให้มาอยู่ใกล้แหล่งความเจริญ ทั้งรถไฟสายหลัก
ที่ขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสาร จนถึงรถไฟฟ้าสายสั้นๆ ที่อัดแน่นด้วยผู้คนหลายหลาก

        แต่ ทางรถไฟส่วนใหญ่ในโลก วางหลักปักรากฐานเพื่อรองรับวิถีวัตถุนิยม บริโภคนิยม และตัณหานิยม
เป็นพาหนะสำคัญที่ร่วมแต่งเสริมเติมต่อวัฒนธรรมเมืองให้รุ่งโรจน์ พร้อมกับทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมให้ร่วงโรย ไม่ต่างจากพาหนะอื่นๆ
ที่ก่อกำเนิดโดยเครื่องจักร ที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์ มนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวที่มีความต้องการไม่สุดสิ้น
 
           เจมส์ วัตต์ ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ ได้สร้างปรากฏการณ์ทำให้วิถีแห่งปัจจัยการผลิตเปลี่ยนไป เมื่อเครื่องจักรไอน้ำ
เข้ามามีบทบาทแทนแรงงานคน สร้างจุดกำเนิดแห่งวิถีการผลิต และบานปลายสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้คนในยุคนั้นต้องใช้ชีวิต
ไปตามระบบสายพาน ทั้งยังปลูกฝังความเชื่อให้แก่มนุษย์ว่า การก่อกำเนิดของเครื่องจักร เปรียบเสมือนการเอาชนะธรรมชาติ

          ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างหัวรถจักรคันแรกของโลก เป็นชาวอังกฤษ นามว่า ริชาร์ด เทควิทริค
          แต่ผู้คนไม่เชื่อว่าสิ่งประดิษฐ์ของเขาจะเคลื่อนที่ด้วยเรี่ยวแรงของเครื่องจักร ด้วยคิดไปว่าภายในตัวรถอาจมีคนหรือ
ม้าซ่อนอยู่ ไม่มีใครใส่ใจสิ่งที่เขานำเสนอ ในชีวิตบั้นปลาย เขากลายเป็นคนร่อนเร่พเนจร สุดท้ายก็เสียชีวิต ชนิดที่เพื่อนๆ
ของเขายังต้องเรี่ยรายเงินซื้อโลงศพให้
          สิบปีต่อมาหลังจากการเสียชีวิตของผู้สร้างหัวรถจักรคันแรก ยอร์ช สตีเฟนสัน ได้หยิบนำเทคโนโลยีรถจักรของเทควิทริค
มาปรับเสริมเติมแต่งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผนวกกับความที่เขามีหัวทางธุรกิจ จึงได้โหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ว่าสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า
‘หัวรถจักร’ วิ่งด้วยพลังไอน้ำจริงๆ ด้วยการนำหัวรถจักรของเขามาแข่งกับรถม้า และรถจักรก็เป็นฝ่ายชนะเสียด้วย
         สตีเฟนสันเริ่มเปิดเดินรถจักร-รถไฟ ในเส้นทางคมนาคมและการค้า จนผู้คนเริ่มให้ความสนใจและพาหนะที่เรียกว่า-รถไฟ
จึงกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น ทำให้เขากลายเป็นอภิมหาเศรษฐี และถูกยกย่องให้เป็นบิดาการรถไฟของโลก
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 04 พ.ค. 08, 09:47

รถไฟ...รุกคืบไปทั่วโลก

             การเติบโตในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเดินทางไปพร้อมกับการปรากฏตัวของรถไฟ
ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่นำรถไฟไปรับใช้การปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดจากการสร้างทางรถไฟ
ระหว่างเมืองท่าลิเวอร์พูลไปยังเมืองแมนเชนเตอร์ ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรม เป็นผลให้อุตสาหกรรมของอังกฤษเจริญก้าวหน้า
และ ทำให้อังกฤษมีความต้องการนำปัจจัยการผลิตจากนอกประเทศมาเป็นวัตถุดิบในการป้อนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม

กระตุ้นให้จักรวรรดิอังกฤษ แสวงหาอาณานิคมมากขึ้น

          รถไฟกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้อังกฤษครอบครองประเทศอาณานิคมให้มากกว่าเดิม ด้วยนโยบายยึดอำนาจโดยใช้เล่ห์กล
ยื่นมือสร้างทางรถไฟก่อนจะยึดประเทศเหล่านั้นอย่างง่ายดาย ตัวอย่างดังกล่าวเห็นได้ชัดที่ประเทศอินเดีย เครือจักรภพเป็นผู้มาติดต่อ
ค้าขายพร้อมอาสาช่วยสร้างทางรถไฟให้เป็นเครือข่าย แต่สุดท้ายเครือข่ายทางรถไฟกลับกลายเป็นเครื่องมือในการยึดอินเดียให้เป็น
ของอังกฤษ

          ไม่เพียงเป็นเครื่องมือสำคัญของจักรวรรดิอังกฤษเท่านั้น รถไฟยังได้เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก
เช่น สหรัฐอเมริกา ดินแดนซึ่งเต็มไปด้วยชาวยุโรปที่เดินทางมาขุดทอง รถไฟทำให้สหรัฐมั่งคั่งกว่าเดิมมาก
จากชาวยุโรปแสวงโชคตามถิ่นต่างๆ กลายเป็นประเทศนิคมเกษตรกรรม ทั้งยังเป็นเครื่องมือในการระรานชนกลุ่มน้อย
แม้จะมีการต่อต้านเป็นระยะ แต่ชาวอินเดียนแดงที่ใช้ม้าเป็นพาหนะ ก็ไม่อาจต่อกลอนกับม้าเหล็กอันทรงพลัง

         รถไฟบุกเบิกเข้าไปในหลายดินแดน ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไกลโพ้นเช่นญี่ปุ่น แม้จะมีการต่อต้านรถไฟและ
ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ดังเช่นกลุ่มกบฏซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มขุนนางซามูไรในราชสำนัก  ซึ่งต่อต้านปืนใหญ่ เสื้อผ้าตะวันตก
และรถไฟ โดยมองว่าเป็นการพัฒนาที่รวดเร็วและเอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มน้อย (ภาพยนตร์เรื่อง Last Samurai)
         กระทั่งสมัยปัจจุบัน รถไฟก็ยังทำหน้าที่ ‘รุกราน’ สภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของสิ่งที่มีมาแต่เดิม หากมีการสร้างทางรถไฟขึ้น
บริเวณใด ภูมิศาสตร์บริเวณนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทันที

         ตัวอย่างสำคัญที่เห็นได้ชัดในเวลานี้ คือการเปิดเดินรถเส้นทางสายชิงไห่ – ทิเบต ของประเทศจีน เป็นการทำลายสถิติทางรถไฟ
ที่อยู่สูงที่สุดในโลกแล้ว ยังเป็นการนำพาวัฒนธรรมบริโภคเข้าไปทำลายวิถีชีวิตพื้นถิ่นที่มีมาแต่เดิม มากกว่าครั้งที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน
บุกทำลายความเป็นอยู่ของชุมชนชาวทิเบตด้วยซ้ำ
          ที่ประเทศฝรั่งเศส การสร้างรางรถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศส (TGV) ซึ่งเป็นรถไฟที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก ก่อมลพิษทางเสียง
อีกประการสำคัญก็คือวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านริมทางรถไฟที่ไม่อาจเดินข้ามทางรถไฟกันไปมา คล้ายกับว่าเมื่อสร้างทางรถไฟขึ้นแห่งใด
ย่อมเหมือนมีแม่น้ำสายใหญ่มากั้นขวางวิถีความเป็นอยู่อย่างสิ้นเชิง ปัญหาดังกล่าวถือเป็นเรื่องสากลของประเทศที่ครอบครองรถไฟความเร็วสูง
โดยเฉพาะในประเทศยุโรปเกือบทั้งหมด รวมถึงมลรัฐในอเมริกาบางส่วน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 04 พ.ค. 08, 09:53

การรุกคืบของรถไฟในสยาม

             สยามประเทศได้ยลโฉมรถไฟเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นรถไฟจำลองขนาดเล็ก
(ภาพยนตร์เรื่องทวิภพ ฉบับล่าสุด) ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงโปรดให้เหล่าขุนนางเดินทางไปยังประเทศอังกฤษ
เพื่อชมความเจริญและได้พบรถไฟจริง
            ช่วงเวลาเดียวกัน สยามยังมีข้อพิพาทกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส ยุทธศาสตร์ทางทหารจึงเป็นปัจจัย
สำคัญของชาติ จึงมีการสร้างทางรถไฟสายแรกของสยามซึ่งเป็นของเอกชน เริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟหัวลำโพง จนถึงปากน้ำ
สมุทรปราการ หมายหลักคือการบำรุงกำลังรบเผื่อว่ากองกำลังต่างชาติอาจเข้าโจมตีทางเรือ ผู้คนเรียกขานทางรถไฟสายนี้
ว่า ‘รถไฟสายปากน้ำ’
            ต่อมาสยามประเทศได้รับข่าวว่า ชุมชนทางภาคอีสานจะก่อกบฏ ต้องการขึ้นตรงต่อรัฐบาลอินโดจีน เพราะได้รับการยุยง
จากฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดให้สร้างทางรถไฟหลวงสายแรก เริ่มตั้งแต่สถานีหัวลำโพง
จรดปลายทางนครราชสีมา โดยในระยะเริ่มต้น ทางรถไฟสายนี้ได้สร้างมาถึงอยุธยากรุงเก่า กระทั่งมีพิธีเปิดใช้เป็นทางการ
เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๙

          แนวทางการสร้างทางรถไฟไทยในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะกุศโลบายของ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
ถือว่าทันสมัยมาก เฉพาะจุดกำเนิดของรถไฟไทยก็ได้ก่อกำเนิดในยุคเดียวกับรถไฟญี่ปุ่น แถมยังนำเข้าหัวรถจักรดีเซลมาวิ่ง
เป็นแห่งแรกของเอเชีย จนมีผลทำให้รถไฟไทยวิ่งเร็วที่สุดในเอเชีย อีกทั้งการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ และสายอีสาน
          ใช้ขนาดความกว้างของรางเท่ากับ 1.435 เมตร  ยกเว้นทางรถไฟสายใต้ที่มีความกว้างของรางเท่ากับ 1 เมตร มาตั้งแต่แรกเริ่ม

ส่วนผู้รับเหมางานก่อสร้างทางรถไฟในสมัยนั้นเป็นวิศวกรชาวปรัสเซีย  (เยอรมัน) ซึ่งมีชื่อเสียงในการสร้างทางรถไฟ และเพราะเกรงอังกฤษ
กับฝรั่งเศศอาจมีแผนลวงที่จะใช้การสร้างทางรถไฟเป็นเครื่องมือ เพื่อยึดสยามประเทศ ดังตัวอย่างที่ประเทศอินเดีย
          แต่การสร้างทางรถไฟในขณะนั้นก็เป็นเรื่องยากลำบากพอสมควร ยกตัวอย่างเช่น การสร้างทางรถไฟสายเหนือ
ซึ่งริเริ่มในสมัยรัชกาลที่ ๕ ผู้ลงแรงก่อสร้างมีทั้งชาวจีนอพยพและชาวอีสาน ร่วมกันสร้างทางรถไฟสายนี้จนประสบความสำเร็จ

           ครั้นถึงรัชกาลที่ ๖ อิทธิพลจากอังกฤษมีบทบาทสำคัญในเมืองสยาม
           ทำให้รัฐบาลตัดสินใจปรับเปลี่ยนขนาดความกว้างของรางที่ใช้ขนาด 1.435 เมตร ทั้งหมด ให้แคบลงเหลือเพียง 1 เมตร
อันเป็นรางมาตรฐานของประเทศอังกฤษ โดยอ้างว่าจะทำให้การคมนาคมระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปอย่างราบรื่น และ
สามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายใต้ แล้วยังมีนโยบายทาสีด้านหน้าหัวรถจักรดีเซลให้เป็นสีเหลืองเช่นเดียวกับหัวรถจักรของประเทศอังกฤษ
 
        นี่เป็นคำตอบว่า ทำไมรถไฟบ้านเราจึงวิ่งช้า เพราะรางขนาด 1 เมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ไหนจะเป็นแค่ระบบรางเดียว อีกทั้งปัญหาคอรัปชั่นทำให้รถไฟไทยวิ่งได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตรงข้ามกับรางรถไฟขนาด
1.435 เมตร ซึ่งสามารถทำความเร็วไม่ต่ำกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

         นับจากเวลานั้น รถไฟไทยก็กลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มประเทศผู้มีอิทธิพลมาโดยตลอด ยกตัวอย่างก็คือ หากประเทศไทย
ตกอยู่ใต้เงาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศใด ย่อมจะมี ‘หัวรถจักร’ ที่ผลิตขึ้นจากประเทศนั้นมา ‘ลากจูง’ ตู้สินค้าและ
ตู้โดยสารของไทย เช่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เราสั่งซื้อรถจักรไอน้ำ แปซิฟิค-มิกาโด จากจักรวรรดิญี่ปุ่น ในยุคสงครามเย็น
เราสั่งซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า GEK ผ่านโครงการความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา และในปัจจุบัน รัฐบาลไทยกำลังจะสั่งซื้อรถจักร
รุ่นเดียวกับที่ไปรุกรานทิเบตมาแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง