เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 35273 ตามรอย หัวจักรรถสายปากน้ำ
bluesky
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 07:14

สวัสดีค่ะ   อายจัง  ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นในกระทู้ด้วยคนนะคะ


อ้างถึงความคิดเห็นด้านล่างนี้

อ้างถึง
จากข้อมูลเบื้องต้นนั้น รถไฟสายปากน้ำ มีหัวจักรไอน้ำ ไว้ใช้งานทั้งหมด ๔ หัวจักร ทั้งหมดสร้างโดยบริษัท กร๊อส แอน คอมประนี จากเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมัน หัวจักรที่หนึ่ง และสอง เป็นรุ่น 0-4-0Ts (ผลิตในปี พ.ศ. ๒๔๓๕) หัวจักรที่สามเป็นรุ่น 2-4-0T (ผลิตในปี พ.ศ. ๒๔๓๙) และหัวจักรที่สี่ เป็นรุ่น 2-4-0T (ผลิตในปี พ.ศ. ๒๔๕๑)

และ

อ้างถึง
จนในที่สุด ก็ได้รับข้อมูลสำคัญจาก มิสเตอร์ริชาร์ต บาร์โรว ฝรั่งที่อาศัยอยู่ในเมื่อไทย จนทำให้ผมได้ถ่ายภาพหัวจักรโบราณรูปนี้ หัวจักรที่ผมค้นพบนี้ เป็นหัวจักรเครื่องที่ ๔ มีชื่อทางการว่า “สำโรง” (แค่ชื่อ ก็ทำให้เราทราบที่มาแล้วนะครับ) ที่น่าตื่นเต้นก็คือ หัวจักรนี้ยังมีเครื่องยนต์ที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ทาสีใหม่จนสวย และคิดว่าน่าจะยังสามารถใช้งานได้



- ถ้าข้อมูลแรกถูกต้อง แสดงว่าภาพหัวรถจักรในความเห็นที่ 2 นี้ไม่น่าจะใช่ "หัวรถจักรคันที่ 4" ค่ะ เพราะจากภาพความเห็นที่ 2 เป็นรุ่น 0-6-0T

- ตัวเลข 0-6-0 นี้ คือ wheel arrangement เป็นการอธิบายระบบ power wheel ของหัวรถในระบบของอเมริกา และอังกฤษ  ส่วนยุโรปจะใช้อีกระบบหนึ่ง แม้ว่าหัวรถจักรนี้จะผลิตในเยอรมนี แต่เพื่ออธิบายระบบให้เป็นที่เข้าใจแก่ลูกค้าในประเทศอื่น จึงใช้เลขนี้แทนระบบของเยอรมัน ตัวอย่างเช่น ระบบอเมริกัน 0-6-0  ในระบบเยอรมัน จะเป็น 1B ค่ะ

- รูปในความเห็นที่ 1 นั้น เป็น 0-4-0T  คือ มี power wheel 4 ล้อ

- ส่วน T ที่อยู่ท้ายตัวเลข wheel arrangement หมายถึง "Tank engine" คือ อธิบายว่าเป็นหัวรถจักรที่มีแท็งค์เก็บถ่านหินและน้ำสำหรับหัวรถจักร แทนที่จะเป็น tender (ตู้พ่วงต่อจากหัวรถจักรสำหรับบรรทุกถ่านหิน)
บันทึกการเข้า
bluesky
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 07:22

ถ้าเป็นรุ่น 2-4-0 จะมีหน้าตาประมาณนี้ค่ะ



จะเห็นว่ามีล้อคู่หน้า(ซึ่งเป็น non-power wheel สังเกตุได้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าล้อขับเคลื่อน และไม่ได้เชื่อมต่อกับ power wheel 2 คู่ทางด้านหลัง) ซึ่งต่างจากภาพในความเห็นที่ 2  ที่มีล้อ 3 คู่เชื่อมต่อกันด้วย coupler เป็น 0-6-0  และหัวรถจักรในภาพนี้มีทั้ง Tank และตู้พ่วงท้ายหัวรถจักร (tender) สำหรับบรรทุกถ่านหินและน้ำ  อายจัง



นำภาพมาจากเว็บ  http://www.junghoo.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=20276&Ntype=2  ค่ะ  มีคำอธิบายประกอบไว้ด้วยว่า

"หัวรถจักรไอน้ำ ดู๊บส์

หัวรถจักรไอน้ำ ดู๊บส์ วางแบบล้อ 2-4-0 เป็นหัวรถจักรที่ใช้ลากจูงขบวนรถไฟพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการเสด็จพระราชดำเนินในวัน "ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" จากกรุงเทพ ถึง อยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 และในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2439 รถจักรไอน้ำ ดู๊บส์ ได้ลากจูงขบวนรถไฟให้ประชาชนได้โดยสารเป็นครั้งแรก"
บันทึกการเข้า
bluesky
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 07:42

สำหรับคำถามเกี่ยวกับภาพนี้
 

เป็นภาษาเยอรมันค่ะ

- ORENSTEIN & KOPPEL A.G. เป็น ชื่อบริษัท
- Berlin-Drewitz คาดว่าหมายถึงเมืองที่ผลิตหัวรถจักร เพราะ Drewitz เป็นชื่อเมืองในเยอรมนีที่อยู่ใกล้ๆ Berlin และมีโรงงานของบริษัท Orenstein & Koppel A.G. ตั้งอยู่ ปัจจุบันบริษัท Orenstein & Koppel A.G. ถูกซื้อโดยหลายๆ บริษัท แต่บริษัท CNH ยังคงใช้ "O & K" เป็นยี่ห้อสำหรับเครื่องจักรก่อสร้างอยู่ค่ะ
- Fabrik Nr. คือ Factory Number เป็น serial number ของรถจักรจากโรงงาน  "12607"
- Baujahr คือ Production year ปีที่ผลิต "1935"
- Höchste Dampfspannung คือ Maximum steam pressure ได้แก่ 12 kg/cm2 pressure (Überdruck)


ขออนุญาตตั้งข้อสังเกตุสักนิดนะคะ   อายจัง
1. ถ้าข้อมูลเกี่ยวกับหัวรถจักรคันที่ 4 ถูกต้อง  หัวรถจักรสำโรง อาจจะไม่ใช่หัวรถจักรคันที่ 4  จึงทำให้ปีที่ผลิตไม่ตรงกันกับข้อมูลแรก (1908 และ 1935) หรือ
2. อาจจะเป็นไปได้ว่าข้อมูลคลาดเคลื่อนในส่วนของระบบล้อและปีการผลิต  หรือ
3. ถ้าหัวรถจักรสำโรงคันนี้ เป็นคันที่ 4 ถูกต้อง แต่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบล้อขับเคลื่อนคลาดเคลื่อนไป  อาจจะเป็นไปได้ว่ามีการเปลี่ยนเฉพาะตัว Tank ใหม่ จึงมีเลขปีใหม่กว่าตัวรถ

หวังว่าคำตอบและข้อมูลจะพอเป็นประโยชน์ในการตามรอยหัวรถจักรสายปากน้ำได้บ้าง ไม่มากก็น้อยนะคะ  เป็นกำลังใจให้ค่ะ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 09:51

เคยได้ชมพระราชหัตถ์เลขาในรัชกาลที่ 5 สั่งให้จัดรถไฟพิเศษให้กรมกลวงวรเสรฐสุดา พระองค์เจ้าหญิงบุตรี
เข้าใจว่าจะเป็นรถไฟสายนี้นั่นเอง เป็นพระราชหัตถ์จริง (ปกติจะเป็นลายมือเจ้าหน้าที่)

เดาว่า พอรถไฟนี้เดินกิจการแล้ว ชาวกรุงคงจะตื่นเต้นเป็นอันมาก ไม่เว้นแม้แต่ข้างใน
พระองค์ทรงทราบก็ใคร่จะสนองพระคุณ เพราะกรมหลวงวรเสรฐ พระราชธิดาองค์สุดท้ายในรัชกาลที่ 3 พระองค์นี้
เป็นผู้เลี้ยงพระองค์มาตั้งแต่ทรงกำพร้าพระราชมารดา และได้ไปอยู่ที่ตำหนักของพระองค์เจ้าหญิงละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร
จึงทรงเคารพดั่งพระราชมารดา รวมไปถึงพระองค์เจ้าหญิงบุตรีด้วย

หากใช้จินตนาการ การเดินรถไฟในปีแรกๆ เห็นจะเป็นของน่าตื่นเต้น
ข้อนี้ผมนึกถึงตัวเองในอีกหกสิบกว่าปีต่อมา ที่ได้นั่งรถไฟครั้งแรกว่า ยังกะขึ้นสวรรค์
อะไรๆ ก็แปลกใหม่ น่าตื่นตาตื่นใจ
ชอบไปหมด แม้กระทั่งพนักงานหนีบตั่วเสียงดังเป๊าะแป๊ะ เราก็คิดว่าเท่จริงๆ
เวลารถเข้าสถานนี มองออกไปเหมือนอยู่ในฉากหนัง เห็นคนตัวเล็กๆ เคลื่อนเข้ามา
....และข้าวผัดรถไฟนี่ ทำไมอร่อยกว่าปกติก็ไม่รู้

คิดว่าทางรถไฟนี้ เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ด้วย
ปากน้ำในครั้งนั้น เป็นด่านรับศึกด่านแรก ดังกรณี ร.ศ. 112
โทรเลขสายแรกก็วิ่งมาที่นี่

ขอยกย่องที่ค้นคว้าอย่างไม่ท้อถอยครับ หวังว่าหัวรถจักรจะได้กลับสู่ที่ๆ ควรอยู่อย่างน่าภาคภูมิใจ
เห็นรูปที่ท้องฟ้าจำลองแล้ว
รู้สึกว่าโบราณท่านคิดคำว่าไก่ได้พลอย นี่เหมาะสมจริงๆ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 12:34

ขอบคุณข้อมูลจากคุณ bluesky และคุณ pipat มากครับ

ผมได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณริชาร์ด บาร์โรว ผู้ให้ข้อมูลมาแต่แรก ได้ความว่า
มีการเปลี่ยนตัวเครื่องยนต์ใหม่ เป็นเครื่องยนต์ที่ผลิตในปี 1935 ส่วนตัวโครง หัวรถจักรตามภาพในความเห็นที่ ๒ ยังคงเป็น "สำโรง" ของเดิมครับ

สังเกตุจากปีที่ผลิตของเครื่องยนต์ใหม่ อยู่ในช่วงที่มีการขายทอดตลาดของบริษัทรถไฟปากน้ำพอดี คือปี พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๙ ผมจึงมีคำถาม เรียนคุณ bluesky อีกครั้งนะครับว่า
 
"หากมีการเปลี่ยนตัวเครื่องยนต์ เป็นไปได้มั้ยครับ ที่จะต้องเปลี่ยนระบบการวางแบบล้อด้วย"
 
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 13:02

ข้อเพิ่มข้อมูล
 
ที่โรงงานน้ำตาลเดียวกันนี้ ยังมีหัวรถจักรไอน้ำโบราณอีก ๑ เครื่องครับ
ซึ่งเราลงความเห็นกันว่า ไม่ใช่ของรถไฟสายปากน้ำ
แต่อาจมีผู้ค้นคว้าหัวจักรรถไฟสายอื่นๆ ได้ใช้ประโยชน์ ขอลงรูปด้วยนะครับ

ถ่ายภาพโดยคุณ ริชาร์ด บาร์โรว

 


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 17:44

ในรุ่นราวคราวเดียวกันนั้นมีรถไฟสายบางบัวทองของเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์อีกสายหนึ่งครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 18:14

ขอพูดนอกเรื่องรถไฟสายปากน้ำไปสักหน่อยนะครับ
ตั้งแต่ที่อังกฤษกลับเข้ามาตีสนิทกับราชสำนักไทย หลังจากหายไปในสมัยพระนารายณ์
สิ่งหนึ่งที่ฝังอยู่ในก้นบึ้งความโลภของคนเหล่านี้ ก็คือผลประโยชน์ชนิดที่อยู่เหนือกาลเวลา
เป็นต้นว่ายึดเป็นเมืองขึ้น
มาจนถึงระบบสัมปทานชนิดเช่ามันทีละร้อยปี

ที่ผนังหลังพระประธานวัดบรมนิวาส มีจิตรกรรมเขียนถึง"เมืองแก้ว" ตอนหนึ่ง เป็นรูปรถไฟ
คงจำได้ว่าหม่อมราโชทัยท่านพรรณาเรื่องนี้ไว้น่าตื่นเต้นอย่างไร
และเมื่อคิดย้อนกลับขึ้นไป เครื่องราชบรรณาการที่นายปาร์คเชิญเข้ามาในปี 2398 นั้น
ทำไมจึงมีรถไฟจำลองเข้ามาด้วย

ผมขอตีความว่า นี่ล่ะครับยอดนักขาย
อังกฤษเอาการฑูตบวกสินค้า จะล่อหลอกให้พระจอมเกล้าซื้อรถไฟ
พระจอมเกล้าก็ทรงรู้ทัน เพราะตลอดรัชกาล แม้จะมีการกระตุ้นจากหลายฝ่ายอีกหลายครั้ง ก็ทรงนิ่งอยู่
ทั้งๆ ที่เรา....เอ้ย พวกฝรั่งหรือนักวิชาการขี้ข้าฝรั่ง ชอบตู่ว่าทรงเห่อของใหม่ อะไรที่ทำท่าทันสมัยเป็นต้องทรงช๊อปปิ้งเข้ามา
ชะช้า....หาเป็นเช่นนั่นไม่

ไม่ทรงสนพระทัยเรื่องรถไฟเลย ทรงอ้างว่าแพง
ผมเพิ่งมานึกออกเมื่อมีคนเล่าเรื่องทางรถไฟสายแรกของสยาม ซึ่งกว่าจะเริ่มลงมือก็นานโขอยู่
คือย่างเข้า 2429 ปีที่ 18 ของรัชกาลทีเดียว ทั้งๆ ที่เราได้รับการยั่วยวนมาตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อนนู้น
และ เจ้าที่ได้สัมปทาน มิยักจะใช่อังกฤษ เจ้าของความคิด(อุบาทว์) ที่เทียวไล้เทียวขื่อ เกี้ยวสยามให้วางรางเสียที

เราไม่สามารถผลีผลามเอาของอย่างนี้เข้าประเทศได้เป็นอันขาด ยิ่งมาในรูปสัมปทานละก้อ ชักศึกเข้าบ้านแท้ๆ
เมื่อทางรถไฟสายปากน้ำประสบความสำเร็จ เส้นทางอื่นที่จำเป็นจริงๆ ก็ตามมา
แต่ไม่ใช่ในรูปสัมปทาน

ตรงนี้ ผมจำได้ว่าเคยอ่านจากนิทานโบราณคดี เรื่องการที่สยามต้องกู้เงินเป็นครั้งแรก
ก็เพื่อหาเงินสร้างทางรถไฟ เพราะจะยอมให้บริษัทข้ามชาติมาถือสิทธิ์ในสองข้างทางรถไฟ
แลกกับได้รถไฟมาฟรีๆ นั้น แท้จริงคือสิ้นชาติ
รถไฟสยามจึงเป็นมากกว่าระบบคมนาคม แต่เป็นหายนะภัยของชาติ ถ้าจัดการไม่ถูกต้อง

เรื่องการกู้เงินต่างชาติครั้งแรกนี้ ยังแสดงให้เห็นอะไรหลายๆ อย่าง
ที่ทำให้เราไหว้บรรพบุรุษไทยได้อย่างไม่อายฟ้าดิน

น่าปลื้มใจจริงๆ
บันทึกการเข้า
bluesky
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 18:17

สวัสดีอีกครั้งค่ะ

สำหรับคำถามที่ว่า "หากมีการเปลี่ยนตัวเครื่องยนต์ เป็นไปได้มั้ยครับ ที่จะต้องเปลี่ยนระบบการวางแบบล้อด้วย"

ขออนุญาตพูดถึงคำว่า engine สำหรับหัวรถจักรไอน้ำสักนิด เราจะเรียกหัวรถจักรทั้งคันว่า engine ในส่วนของที่ว่ามีการเปลี่ยน "เครื่องยนต์" นั้น
คงหมายความถึงการเปลี่ยนตัว boiler  ดูจากตำแหน่งที่ป้าย serial no. ติดอยู่ ส่วนนั้น คือ boiler ค่ะ


เครดิตภาพ - จากบล็อกของคุณริชาร์ด บาร์โรว คิดว่าคงเป็นหัวรถจักรคันเดียวกัน (ดูจากภาพหัวรถจักรประกอบ)


สำหรับการเปลี่ยน boiler แล้วเปลี่ยนระบบล้อด้วยนั้น  ตามหลักการก็สามารถทำได้ค่ะ แต่ว่าไม่ค่อยเป็นที่นิยม อาจจะเพราะความยุ่งยากในการแก้ไขหรือหาอะไหล่ที่เข้ากันได้  ยิ่งต่างบริษัทกันก็อาจจะลำบากมากขึ้น (อันนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ)   ขออนุญาตเปรียบกับรถยนต์ เราสามารถยกเครื่องใหม่ได้แต่ไม่จำเป็นว่าเปลี่ยนเครื่องยนต์แล้ว จะต้องเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนจากสองล้อ เป็นสี่ล้อ  แต่ถ้าต้องการจะเปลี่ยนก็สามารถทำได้  ยิ้มกว้างๆ




ได้เจอเว็บ  http://www.steam.dial.pipex.com/trains/thaipreserved.htm  มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับรถจักรไอน้ำของไทย
และมีข้อมูลตรงกับของคุณปากน้ำเจ้าพระยาทั้งส่วนของพื้นที่วังกะพี้ และภาพในความคิดเห็นที่ 20 ค่ะ

- Wang Khapi (near Uttaradit) 1  0-4-2T 1921  Baguley (UK) 2009  ex 8 TIP - 750 mm  (11)
- Wang Khapi (near Uttaradit) 10  2-4-0T** 1908  Krauss (Germany) 5987  TIP - 1000 mm  (12)


คิดว่า  0-4-2T ผลิตโดย Baguley (UK)  น่าจะเป็นหัวรถจักรคันที่อยู่ในความคิดเห็นที่ 20  เพราะดูจากระบบล้อ นั่นคือ 0-4-2
ดังนั้น หัวรถจักร "สำโรง" น่าจะเป็นคันที่มีระบบล้อ 2-4-0T  ซึ่งระบุว่าผลิตโดยบริษัท เคร้าส์ (Krauss) เยอรมนี

** ตามข้อมูลของเว็บนี้ หัวรถจักรนี้ระบุว่ายังเป็นระบบล้อ 2-4-0  ไม่ทราบว่าเขาจะแก้ไขข้อมูลของหัวรถจักรหากมีการ modified หรือไม่
หรือจะยังคงใช้แบบที่มาจากโรงงาน



และในลิงค์เดียวกัน ไล่ลงไปข้างล่าง จะพบข้อมูลที่น่าสนใจอยู่ด้วยอีกหน่อย คือ

- Sri Racha (factory at Chompon) 6  0-6-0T 1912  Orenstein & Koppel (Germany) 5535  ex SRJ
- Sri Racha (on the waterfront by 2008) 7  0-6-0T 1928  Orenstein & Koppel (Germany) 11789  ex SRJ

แสดงว่ามีหัวรถจักรที่ผลิตโดยบริษัท Orenstein & Koppel  และมีระบบล้อแบบ  0-6-0T



ขออนุญาตตั้งข้อสังเกตอีกครั้งนะคะว่า จะเป็นไปไหมได้ที่

1. หัวรถจักร "สำโรง" ได้รับการเปลี่ยนตัว boiler และระบบล้อ โดยใช้ชิ้นส่วนอะไหล่จากบริษัท Orenstein & Koppel

2. หากหัวรถจักรคันนี้ ไม่ได้รับการเปลี่ยนระบบล้อ อาจจะเป็นไปได้ว่า เป็นหัวรถจักรแบบ 0-6-0 ที่ผลิตโดย Orenstein & Koppel
จึงใช้ boiler ของ Orenstein & Koppel เอง แทนของเก่า  แต่ถ้าเป็นเช่นนั้น ข้อมูลก็จะขัดแย้งกับข้อมูลเกี่ยวกับหัวรถจักรสำโรง
ซึ่งผลิตโดย Krauss & Co  ฮืม

3. และถ้าหากหัวรถจักรคันนี้ ไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย สภาพเดิมๆ ก็อาจจะเป็นหนึ่งในหัวรถจักรแบบ  0-6-0T ผลิตโดย Orenstein & Koppel
ในปี 1935  ถ้าหากข้อสันนิษฐานข้อนี้เป็นจริง  แสดงว่าหัวรถจักรสำโรง อาจจะยังคงเป็นแบบ 2-4-0T และอยู่แถวๆ วังกะพี้ หรือที่ใดสักที่หนึ่ง



ต้องขอโทษนะคะ หากข้อมูลและข้อสังเกตุทำให้สับสน  ร้องไห้    คุณปากน้ำเจ้าพระยาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้มานานคงมีข้อมูลยืนยันแน่นอนแล้ว
แต่พอดีเห็นล้อและข้อมูลของ boiler แล้วทำให้อดนึกสงสัยไม่ได้น่ะค่ะ  จึงตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติม ขออภัยอีกครั้งค่ะ



อย่างไรก็ตาม ขอเอาใจช่วยในการตามรอยต่อไป และขอบพระคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับรถไฟสายปากน้ำด้วยนะคะ  อายจัง
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 21:33

ขอบคุณ คุณ bluesky มากครับ

ที่ผมได้ตั้งเป็นกระทู้ และตั้งคำถามไว้ ก็เพราะข้อมูลที่ตัวเครื่องมันขัดขัดแย้งกันจริงๆ จึงไม่อยากด่วนสรุป 
เราสามารถรอต่อไปได้อีกครับ จนกว่าจะมั่นใจว่า เป็นหัวจักร "สำโรง" ที่แท้

ที่ปากน้ำ เปรียบกับหนังแล้ว ก็น่าจะเป็นประมาณเรื่อง The Lost Town ครับ
ไม่ว่าจะเป็นแนวกำแพงเมือง ป้อมปราการนับสิบป้อม โทรเลข โทรศัพท์ รถไฟ การบที่ปากน้ำ ร.ศ. ๑๑๒ การค้นหาเมืองนิวอาร์มเตอร์ดัม เมืองนครเขื่อนขันธ์ พระสมุทรเจดีย์ที่ไม่อยู่กลางน้ำ เราไม่เหลือหลักฐานเลยครับ ที่มีอยู่ก็น้อยเหลือเกิน

พวกเรา รวมทั้งฝรั่งแท้ๆ อย่างคุณริชาร์ด บาร์โรว เริ่มต้นจากเดิม ที่ไม่มีข้อมูลใดๆ เลยครับ
สำหรับเรื่องรถไฟปากน้ำ มาถึงตอนนี้โดยส่วนตัวแล้ว จึงคิดว่าใกล้เคียงที่สุด
อีกอย่างที่คุณริชาร์ด ได้ว่าไว้ครับว่า "สำโรง" เป็นแค่จุดเริ่มต้น เรายังมีอีก ๓ หัวจักร ที่ยังต้องค้นหาต่อไป

ยังมีโอกาสอีกหลายเรื่องเกี่ยวปากน้ำ ที่เราอยากจะขอความรู้เพิ่มเติมครับ
บันทึกการเข้า
bluesky
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 21:44

พอดีลองหาข้อมูลเพิ่มเติม เลยได้เห็นภาพหัวรถจักรที่ใหญ่ขึ้นจาก http://i1.tinypic.com/6c620kg.jpg ค่ะ


พอเห็นภาพใหญ่ ชักไม่แน่ใจ คันนี้อาจจะเป็นแบบ 2-4-0T ค่ะ เพราะล้อคู่หน้าดูมีขนาดเล็กกว่าสองคู่หลัง และดูเหมือนจะเป็น
non-power wheel   พอดีตอนดูภาพครั้งแรก เห็นขนาดว่าเท่ากันและจากมุมด้านข้างโดยตรงดูเหมือนว่าล้อมัน couple กันน่ะค่ะ  
ต้องขออภัยจริงๆ


และได้เจอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวรถจักรจาก http://www.angkor.com/2bangkok/2bangkok/forum/archive/index.php/t-2022.html  


โดยคุณ von Hirschhorn

The two steamers are all that remained. The 750 mm locomotive carries Nº 1, a 0-4-2T and build by Baguley in 1921with the works number: 2009. This engine once runs at Ko Kha with the Thai Industry Promotion Co. Ltd. under the number 8 and probably is an ex of the Bang Bua Thong line (Thonburi – Wat Rahaeng) near Bangkok. The other engine is Nº 10, 1000 mm, a 2-4-0T by Krauss – Germany from 1908 with works number: 5987. This is the ex Paknam Railway locomotive Nº 4 ‘Samrong’.  The boiler however, is from O & K 12607 build in 1935 and once belongs to the Ko Kha engine Nº 5.


ก็แสดงว่าเจ้าคันในความคิดเห็นที่ 20 อาจจะเคยประจำการในรถไฟสายบางบัวทอง ดังที่คุณ V_Mee เอ่ยถึงก็ได้นะคะ
ส่วนหัวรถจักร "สำโรง" ก็เปลี่ยนตัว boiler ใหม่ โดยนำ boiler มาจากหัวรถจักรหมายเลข 5 สาย Ko Kha (จะใช่ "เกาะคา" หรือเปล่าหนอ)


ต้องขอโทษคุณปากน้ำเจ้าพระยาและผู้อ่านท่านอื่นๆ ด้วยนะคะ ที่ทำให้งงกันไปหมด  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
bluesky
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 22:00

มัวแต่พิมพ์ตอบไม่ทันได้ดูว่าคุณปากน้ำเจ้าพระยามาตอบแล้ว



เพื่อเป็นการไถ่โทษที่ทำให้งง  ขอแจ้งข้อมูลเผื่อจะเป็นประโยชน์นะคะ บังเอิญระหว่างหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวรถจักร เจอเว็บนี้เข้าค่ะ
http://www.yimsiam.com/club/board/topicRead.asp?wbID=Logistics_fan&id=000103


ไม่ทราบที่มาที่ไปของข้อมูลว่าจะใช่จากลิงค์ที่ผู้ตั้งกระทู้ให้หรือเปล่า (เพราะปัจจุบันหน้าที่เขาลิงค์ไว้นั้นหายไปแล้ว) แต่ส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ คือ

- 1893 / 2436 / 2 / ปากน้ำ /Locomotivetivefabrik Krauss and / Germany  /  0-4-0        paknam Line form 
- 1893 / 2436 / 3 / บางจาก / compactien-Gesellschaft / Germany   /  2-4-0                 Bangkok-new อัมเตอร์ดัม 


หัวรถจักรหมายเลข 2 มีชื่อว่า "ปากน้ำ" ผลิตโดยบริษัท Krauss วางล้อระบบ 0-4-0  และวิ่งสายปากน้ำ(กรุงเทพฯ-นิวอัมส์เตอร์ดัม) ปีประจำการ คือ 2536
และหัวรถจักรหมายเลข 3 ชื่อ "บางจาก" (ตรงกับข้อมูลของคุณปากน้ำเจ้าพระยา) ผลิตโดย Krauss วางล้อแบบ 2-4-0  ใช้ในสายปากน้ำ  ประจำการปี 2536 เช่นกัน


ถ้าหากข้อมูลจากเว็บนี้ถูกต้อง  อย่างน้อยเราก็ได้ทราบชื่อ หัวรถจักร เพิ่มอีกหนึ่งคัน เป็น ปากน้ำ บางจาก และสำโรง นะคะ  แหะๆ  อายจัง
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 22:17

ผมลองสังเกตุภาพจาก กระทู้ที่ 1
ด้านข้างหัวจักรมีป้ายเขียนไว้ว่า "ปากน้ำ" ตัว ป.ปลา ดูจะเป็นอักษรเก่า เป็นลักษณะ บ.ใบไม้ แล้วหยักขึ้น

แสดงว่ารูปนี้เป็น หัวจักร "ปากน้ำ" นั่นเอง มีหมายเลข 2 อยู่ด้านล่าง น่าจะเป็นหัวจักรที่ 2 นะครับ


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 22:30

ทำให้คิดถึงความเห็นของคุณ pakun2k1d
เหมือนกำลังติดตามหนังสารคดีเลยครับ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 01 พ.ค. 08, 22:52

มีข้อมูลสนับสนุน ที่ว่ารถไฟสายปากน้ำ เป็นเรื่องของยุทธศาสตร์         

การทำสัญญาการสร้างรถไฟสายปากน้ำเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๙ มีผู้แทนพระองค์ (พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีผู้ว่าการต่างประเทศ) และ แอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช (ช่างทำแผนที่ทะเลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น พระนิเทศชลธี) กับ แอนดริยาดูเปลลิส เดริชลู (อังเดร เดอ ริเชอลิเออร์ ชาวเดนมาร์ก ต่อมานายอังเดร เดอ รเชอรลิเออร์ ผู้นี้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาชลยุทธโยธิน กับตันเรือพระที่นั่งเวสาตรีในสมัยนั้น

โดยฝ่ายสยามมีเหตุผลในการคัดเลือกผู้ถือสัมปทานอย่างระมัดระวัง ด้วย ดังนี้

1. ผู้ถือหุ้นเป็นชาวยุโรปชาติเป็นกลาง ที่ไม่มีนโยบายการขยายเมืองขึ้น จึงไม่ต้องเป็นห่วง หากมีการบุกรุก และอาศัยรถไฟเป็นขบวนขนส่งทหาร
2. เมืองสมุทรปราการอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงมากนัก หากมีเหตุร้าย ฉุกเฉินทางระบบขนส่งรถไฟใดๆ ก็สามารถเดินทางมาระงับได้ทันท่วงที
3. ตามสัญญาที่ทางฝ่ายสยามได้เปรียบ หากเกิดภัยสงครามใดๆ สามารถใช้รถไฟสายนี้เป็นประโยชน์ในการขนส่งใดๆก็ได้ ตามพระราชอัธยาศัย
4. กอมปานีรถไฟ (บริษัทรถไฟปากน้ำ) จะต้องเก็บโบกี้รับเสด็จพิเศษสำหรับการเสด็จพระราชดำเนินของพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงษานุวงค์ทุกพระองค์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง