เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 23855 ตัวหนอนในสมุด
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 13:40

อีกประเด็นที่ชอบในเรื่องของนิตยา นาฏยสุนทร ก็คือ
ให้นางเอกเป็นครูสอนนายร้อย....เท่ อีกเหมือนกัน
แถมยังเอาความริยำของชายไทยวันนั้นมาเล่น
คือแข่งจีบผู้หญิง แลกเบียร์ขวดเดียว หรืออะไรประมาณนั้น
บัดซบจริงๆ

นับว่าเป็นนักเขียนหมายเลขสองที่ผมจำได้ ถัดจากดอกไม้สด
แปลกจริง ที่ผมไม่ปื้มม์กุหลาบสายประดิษฐ์
ยกเว้นหน้าเปิดเรื่องของแลไปข้างหน้า

สงครามชีวิตเป็นงานเขียนที่อุดมไปด้วยถ้อยคำผะอืดผะอม และความคิดที่สิ้นคิด
นักเขียนนอกจากนี้ก็คงต้องขอนั่งอ่านอยู่รอบนอกละครับ
------------------
แต่เพื่อจะลากการสนทนากลับเข้าหัวข้อ
(ซึ่งอุตส่าห์เอามาปักหลักในห้องประวัติศาสตร์)

ผมจะลองทบทวนกิจกรรมการสร้างและหาหนังสืออ่าน เท่าที่มีอยู่ในกระเป๋า
อันดับแรกคือร้านขายหนังสือครับ

ราวๆ ปี 2510 ครอบครัวผมก็ย้ายจากป่าช้าวัดดอน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปในซอยลึก
ข้างวัดสุวรรณ ตรงข้ามท่าน้ำของบริษัทเสริมสุข ติดกับโรงงานดูเม๊กส์

การย้ายบ้าน ทำให้ผมต้องเดินทางไกลมากขึ้น
คือเดินออกจากบ้าน มาที่ท่าเรือ ระยะทางเกือบหนึ่งกิโเมตร
ข้ามเรือหนึ่งสลึงมาที่ท่าน้ำหลังตลาดบางรัก
เดินต่อมาที่ซอยดอนกุศล เข้าซอยมาอีกหนึ่งเหนื่อยก็ถึงโรงเรียนมัธยมเปิดใหม่
ที่ๆ ผมได้เลขประจำตัวแสนจ๊าบ 555 (ท่านคงรู้ละ ว่าผมติดเชื้อมาแต่เมื่อใด)

ระยะเวลาเดินทางราวสี่สิบนาที ไม่ขาดไม่เกิน
เส้นทางนี้แหละครับ ที่ผมเริ่มรู้จักโลกใบที่ผมเป็นสมาชิก
และองค์ประกอบหนึ่ง ที่ยังฝังอยู่ในความจำก็คือร้านขายหนังสือ

ร้านแรกต้องผ่านทุกวัน เช้าเย็น เพราะอยู่ห่างโรงเรียนออกมาแค่สองร้อยกว่าเมตร
ตำแหน่งแห่งที่ก็คือ ตรงข้ามประตูเข้าโรงเรียนศรีสุริโยทัย แต่เยื้องออกไปทางปากซอย
เป็นร้านขายสารพัดสิ่ง หน้าร้านแขวนหนังสือรายสารพัดลงมาบังทางเข้าเกือบครึ่งบ้าน
สำหรับคนไม่มีสตางค์ การยืนดูปกหนังสือ ก็ทำให้จินตนาการโลดแล่นเตลิดไปสุดขอบโลก
ที่แปลกก็คือ ร้านเล็กๆ ในซอยเข้าป่าช้าวัดดอน มีนิตยสารช่างอากาศขายด้วย(แฮะ)

ผมเป็นโรคบ้าเครื่องบินมาตั้งแต่จำความได้ ความผิดหวังครั้งรุนแรงที่สุดครั้งแรกในชีวิตก็คือ
เมื่อรู้ว่าสายตาสั้น....ก้อ อดเป็นนักบินอะดิ ตั้งแต่ในความมุ่งมั่นจะเป็นนักเรียนเรียนดีก็มอดไหม้กลายเป็นขี้ถ้ากลางสายฝน
แต่หนังสือช่างอากาศมันช่างยั่วใจเสียจริง

ผมเก็บเงินอยู่นาน จนครบสามบาท สอยช่างอากาศมาเป็นกรรมสิทธิ์
เป็นการซื้อหนังสือเล่มด้วยตัวเอง เพื่อตัวเอง เป็นครั้งแรก
หน้าปกเป็นเครื่องบินฝึกปีกชั้นเดียว ใบพัดหน้า ยี่ห้อ เซสน่า
กองทัพอากาศเพิ่งซื้อเข้าประจำการในปีนั้น ใช้เป็นเครื่องฝึกบินขั้นต้น
ผมพาหนังสือเล่มเล็กนี้ ไปให้พ่อดูด้วยใจตุ๊มๆ ต่อมๆ
พ่อห้ามอ่านหนังสืออื่นนอกจากตำราเรียนโดยเด็ดขาด จนกว่าจะปิดเทอมใหญ่
พ่อจะตีเราใหมหนอ กับเจ้าหนังสือที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนเล่มนี้.......เฮ้อ พ่อไม่ว่าแฮะ
ผมก็เลยมีภาระแห่งชีวิต ที่เรียกอีกอย่างก็ได้ว่าแส่หาเรื่อง
คือต้องเก็บเงินให้ได้เดือนละสามบาท เพื่อซื้อหนังสือช่างอากาศมาอ่าน

ในหนังสือนี้แหละครับ ที่ทำผมรู้จักสงครามเวียตนามและเวียตกง
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 14:15

ถัดจากโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย มีโรงเรียนประถมอยู่ ผมไม่แน่ใจว่าตอนคุณ pipat เดินผ่านทุกวันจะมีโรงเรียนประถมนั้นแล้วหรือยังนะครับ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดจะอยู่เครือเดียวกับนิพัทธ์ด้วยแหละ

ที่โรงเรียนนี้เอง ป.๔ ปีเดียว ผมอ่านสามเกลอไปร้อยกว่าตอน เพราะมีเพื่อนสองคนผลัดกันขนมาจากบ้าน ผ่านไปเกือบสามสิบปีแล้ว ไม่เคยเจอเพื่อนสองคนนี้อีกเลย เพราะจบ ป.๔ แล้วแยกย้ายไปเรียนที่อื่นกันหมด แต่ยังอยู่ในความทรงจำเสมอครับ

ขอบใจสุพัตรากับนิกร ที่ให้เรายืมอ่านสามเกลอทุกวัน
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 14:31

ขอแยกซอยไปอีกทางค่ะ

ในยุคกึ่งพุทธกาล มีนักเขียนยอดนิยมอีกคนหนึ่ง ตีคู่มากับป.อินทรปาลิต ใช้นามปากกาว่า จ.ไตรปิ่น
หนังสือเล่มบางๆแบบเดียวกัน  เนื้อหาต่อเนื่องกันเป็นตอนๆ สักร้อยกว่าตอนได้กว่าจะจบ
คุณจ.ไม่เขียนแนวตลก แต่เขียนรักเศร้าเคล้าน้ำตา   เด็กๆอ่านไม่รู้เรื่องเลยไม่ได้ติดตามนัก
จำได้รางเลือน ว่าเรื่องฮิทติดอันดับชื่อ "ลูกคนยาก" และต่อมาก็มีเรื่องใหม่ชื่อ "ลูกผู้ดี"
พระเอกชื่อคุณ"ชาย" เป็นลูกชายคนเดียวของเจ้าคุณและคุณหญิง  แต่ทำไมตั้งชื่อลูกให้ชาวบ้านเรียกราวกับเป็นม.ร.ว. ก็ไม่ทราบ
ส่วนนางเอกเป็นลูกคนยากจน อาศัยอยู่ใต้ชายคาเดียวกัน  หรือไม่ก็บ้านใกล้เรือนเคียง
แน่นอนว่าเรื่องดำเนินไปตามสูตร คือแม่ผัวยังไงก็ไม่ยอมรับสะใภ้จน   ส่วนคุณชายเองก็ถูกจับแต่งงานไปกับสาวอื่น    ไม่มีปากมีเสียงจะค้านพ่อแม่
มีปกหนังสือ วาดเป็นดราม่ามาก คือนางเอกแต่งชุดราตรียาว   สวมหน้ากากติดระบายเล็กๆ ปิดเฉพาะดวงตา  สีไวโอลินในงานแต่งงานพระเอก(หรือไงนี่แหละ) หน้าตาเธอโศกสลด
พร้อมจะให้คนอ่านน้ำตาท่วมกระดาษ

แต่พอดิฉันโตขึ้นมาหน่อย   ก็ไม่ได้ยินชื่อคุณจ.ไตรปิ่นอีก  จะเป็นเพราะไม่อ่านหนังสือพวกนี้อีกแล้ว หรือท่านวางมือไปแล้วก็ไม่ทราบ
คุณจ.เคยเขียนถึงตัวเองหลังจากนั้นต่อมาอีกสามสิบปี   เล่าถึงการเขียนหนังสือ ที่เจ้าของสนพ.เอาอกเอาใจมาก
ไปเขียนที่ร้านอาหารเล็กๆในสวนลุม  พอเขียน กินข้าวเสร็จที่นั่นซึ่งทางสนพ.หามาให้ ก็หลับไปบนเก้าอี้ผ้าใบ  ตื่นมาก็เขียนต่อ
มีการเช็คเรตติ้งจำหน่ายด้วย ว่าขายดีหรือไม่เพียงใด   ยอดตกลงเล็กน้อยก็ต้องเขียนให้เข้มข้นขึ้น มิฉะนั้นค่าเรื่องจะลดลงไปด้วย

คุณจ.ไตรปิ่นเคยเทียบชีวิตตัวเองกับฟิตสเจอรัลด์ ผู้แต่ง The Great Gatsby ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 14:54

       จำได้ว่าเคยอ่านพบ คุณวิลาศ มณีวัต คู่ชีวิตของผู้แต่งแก้วตาพี่กล่าวไว้ว่า ท่านประทับใจ ละครแห่งชีวิต
ของท่านอากาศดำเกิงมาก อ่านจบแล้วท่านตัดสินใจจะเป็นนักหนังสือพิมพ์
       แลไปข้างหลังช่วงหนึ่งแล้ว เห็น แลไปข้างหน้า, ปีศาจ และ ความรักของวัลยา ครับ อ่านแล้วกระตุกความคิด
กระตุ้นจิตสำนึก
 
  
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 15:29

อื้อฮือ อาจารย์จำละเอียดมากค่ะ
...

แหล่งหนังสืออีกแหล่งที่สำคัญมากคือห้องสมุดโรงเรียนค่ะ ที่นี่จะมีหนังสือในฝัน เช่นเทพนิยายนายกริมม์ นิทานนานาชาติ ยืมอ่านไม่เบื่อ เรื่องแปลของอ.สนิทวงศ์ เนื่องน้อย ศรัทธา เรื่องเจ้าๆที่เขียนโดยสมภพ จันทรประภาและประยุทธ สิทธิพันธ์ เรื่องเด็กๆของก.ศยามานนท์
รวมถึงเรื่องแปลของเทศภักดิ์ นิยมเหตุนักแปลในดวงใจด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 16:22

โรงเรียนประถมแห่งนั้น อยู่มาก่อนผมเกิด และ "ควรจะ" อยู่ต่อไปเมื่อผมหาชีวิตไม่แล้ว ชื่อโรงเรียนโกศลวิทยาครับ
ตั้งโดยเงินของปอเต๊กตึ้ง สอนแค่ ป. 4 เพราะเป็นโรงเรียนภาษาจีน ต่อมาจึงขยายเป็นอีกโรงเรียน
เรียกว่าเป็นโรงเรียนพี่น้องกัน (แต่ความจริงไม่เกี่ยวกันเลย) ชื่อโรงเรียน นิพัทธวิทยา มีสอน ป. 5-7 และ ม.ศ. 1-3

คุณม้าอ่านหนังสือเร็วมาก ตอนผมจบจากโกศลฯ เพิ่งเริ่มอ่านหนังสือพิมพ์ออกเท่านั้น
โชคดีอีกด้วย เพราะสมัยผมเรียน โกศลเป็นโรงเรียนเด็กจนครับ พักกลางวัน จะมีเด็กเดินกลับบ้านไปกินข้าวเที่ยง
เพราะเป็นเด็กแถวนั้น รายได้ไม่มีพอจะเหน็บเงินสอง-สามบาทให้ลูกติดกระเป๋าไว้กินข้าวในโรงอาหาร

ดังนั้น สิ่งพิมพ์ที่ผมจะมีวาสนาได้เจอก็คือ กระดาษหนังสือพิมพ์ที่เขาพับเป็นถุงฝาหรั่งดอง
เจอที่ใหน รีบแกะออกอ่าน บางทีก็เป็นหน้ากระดาษจากพวกเดลิเมล์วันจันทร์ อ่านเปรมไปเลย
โกศลไม่มีห้องสมุดครับ

แต่มีประเพณีที่เยี่ยมมากคือ ตกเย็น เด็กจะรับเวรทำความสะอาดห้องตอนเลิกเรียน
ได้แก่การจัดโต๊ะให้ตรงแถว ถูพื้นให้สะอาด และลบกระดานให้เอี่ยม
ห้องที่ทำดีที่สุดในรอบอาทิตย์ จะได้รูปสวยๆ เช่นเรือใบโต้คลื่น ขนาดสักกระดาษเอ 3 แขวนเหนือกระดานดำ
ทำให้เป็นที่อิจฉาแก่ห้องที่ไม่ได้

ห้องที่ผมอยู่ทั้ง 5 ชั้นปี ไม่เคยได้รูปเกียรติยศมาแขวนเลย....เซ็ง
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 17:21

ขอคารวะศิษย์พี่ คิดไม่ถึงว่าโลกจะกลมขนาดนี้ครับ ศิษย์เก่าโกศลฯ ผมพบไม่บ่อยนักครับ ยิงฟันยิ้ม

ขออนุญาตแวะข้างทางรำลึกอดีตสักนิดนะครับ

สมัยผมเรียนมีถึง ป.๖ แล้วครับ แต่เด็กราวครึ่งหนึ่งจะย้ายไปเรียนที่อื่นหลังจากจบ ป.๔ จากสิบกว่าห้องก็เหลือแค่ ๖ ห้องเท่านั้นเอง
ผมเป็นพวกที่อยู่ต่อจนจบ ป.๖ โรงเรียนไม่มีชั้นเรียนให้แล้วถึงยอมออกครับ  ยิงฟันยิ้ม

ความที่เป็นโรงเรียนจีน ผมก็เลยโดนบังคับให้เรียนภาษาจีนจนถึงป.๔ จำได้ว่าเรียนทุกวัน วันละหนึ่งคาบ กว่าจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษหัด A B C ก็ ป.๕ โน่นแน่ะครับ พอถึงชั้นมัธยมนี่เหนื่อยเลย เพราะเพื่อนๆส่วนใหญ่เรียนกันมาตั้งแต่เด็กแล้ว

แล้วภาษาจีนก็ใช่ว่าจะดี เพื่อนๆส่วนมากเรียนวิชาอื่นได้แค่ไหน ภาษาจีนก็มักจะใกล้เคียงกัน แต่ตัวผม วิชาทั่วไปพอไปวัดไปวาได้ แต่ภาษาจีนนี่เต็มที สอบได้อันดับที่สิบกว่าถือว่าประสบความสำเร็จ ถ้าได้อันดับเลขตัวเดียวต้องเรียกว่าปาฏิหาริย์เลย  ยิงฟันยิ้ม ตอนนั้นขาดฉันทะครับ เสียดายเหมือนกัน

ผมเริ่มจำความได้ช้ามาก คือมาเริ่มจำความได้เมื่อย้ายมาเข้าเรียนที่โกศลตอน ป.๒ หลังจากโรงเรียนเก่าปิดกิจการไป ตอนเริ่มจำความได้นี่ก็อ่านหนังสือคล่องอยู่แล้วครับ อ่านหนังสือพิมพ์ทุก
วัน เป็นไปได้ว่าเพราะได้หนังสือมาอ่านเป็นประจำโดยอภินันทนาการจากคุณอาท่านหนึ่งครับ ส่วนมากก็จะเป็นนิทานเด็ก นิทานนานาชาติ แล้วก็ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์ครับ

แต่ผมไม่รังเกียจหนังสือไม่ว่ารูปแบบไหนนะครับ ถุงกล้วยแขกนี่ของชอบเหมือนกัน

สงสัยโรงเรียนปลูกฝังมา  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 19:29

เลขประจำตัวที่โกศล อยู่ที่สามพันเศษครับ
สมัยนั้นค่าเทอมดูเหมือนจะ 120 บาท เมื่อขึ้นป. 2 ต้องย้ายฟากจากทิศตะวันตก ข้ามสนามมาทิศตะวันออก
เป็นเรือนไม้ใหญ่ เก่าแก่ รายล้อมทางเดินด้วยต้นสนมากมาย(ในความรู้สึกตอนนั้นนะครับ)

พอเปิดเรียนไม่กี่วัน ผมก็ต้องเดินร้องไห้กลับบ้าน
วันนั้นครูประจำชั้น ขานชื่อนักเรียนที่ยังไม่ได้จ่ายค่าเล่าเรียน มีชื่อผมอยู๋ด้วย
ผมตกใจบอกไม่ถูก รู้ซึ้งถึงคำว่าพรากจากของรักเป็นอย่างไรในวินาทีนั้นเลย
คิดเพียงว่า นี่เราจะไม่ได้เรียนหนังสือแล้วหรือ แล้วจะทำอะไรต่อไปล่ะ พับถุงขายหรือ

ไม่น่าเชื่อว่าอีกสิบปีต่อมา ผมจะดูถูกการศึกษาอย่างกลับตรงกันข้าม
แต่ที่โกศล ก็ทำให้ผมรู้ด้านที่ดีและเลวของหนังสือเหมือนกันครับ
ครูประจำชั้นของผมตอนป. 2 น่าจะเป็นตัวอย่างของครูที่ไม่สมควรเป็นครูมากที่สุดคนหนึ่ง
เช้าวันหนึ่ง ครูวาดเขียน เข้ามาแทรกในชั้นเรียนตอนเช้า บอกว่ามีประกวดระบายสี
เจ้าภาพคือหนังเรื่องศึกอลาโม เขาให้ระบายสีลงใบปิดที่เป็นแต่ลายเส้น

ขอให้ครูประจำชั้นเลือกเด็กมารับกระดาษไปแสดงฝีมือ เพื่อนในห้องร้องบอกชื่อผมออกมา
คุณครูผู้แสนหน้ารักบอกว่า ไม่ได้หรอก...เขาลายมือไม่สวย เขียนรูปไม่เก่ง........
ผมงี้ เดือดอยู่ในอก แต่ก็ต้องหุบปาก

ครูคนนี้อีกแหละครับ ที่ทำสิ่งที่ผมงง และจำฝังใจมาถึงทุกวันนี้
ตอนพักเที่ยง แกจะให้เด็กอีกคน มาคัดไทยใส่ในสมุดของลูกชาย เพื่อส่งเอาคะแนน
ตอนนั้นผมยังเด็ก แต่ทำไมจึงรู้ว่าทำอย่างนี้ผิดก็ไม่ทราบได้

แต่ในวิชาประวัติศาสตร์นั่นเอง
เมื่อครูอีกท่านหนึ่ง เล่าถึงสงครามยุทธหัตถี และพูดว่า
พี่เอย จะมัวยืนอยู่ใต้ร่มไม้อยู่ใย จงมาทำยุทธหัตถีให้เลื่องลือเถิด นานไปจะไม่มีการรบอย่างนี้อีกแล้ว

ผมรู้สึกเหมือสมองถูกทุบ ประทับใจสุดๆว่า เรื่องตั้งหลายร้อยปีผ่านไป ทำไมจึงยังเหลือความทรงจำที่ชัดเจนขนาดนี้
ตั้งแต่นั้น ผมก็หลงรักวิชาประวัติศาสตร์...เป็นรักที่สองต่อจากวิชาวาดเขียน
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 21:58

ไม่อ่านหนังสือของ ลพบุรี กันบ้างหรือครับ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 26 มี.ค. 08, 09:50

 ขยิบตา นี่พวกเราท้าวความหลังกันสนุกเชียวนะคะ
ไปๆมาๆ พวกเราเคยพบกันมาก่อนแล้วทั้งนั้นหรือนี่ อืมม์
..........
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 26 มี.ค. 08, 11:34

อยากได้เอื้องแซะมาหลายสิปปี  เพราะเอื้องแซะเมืองนาย

เมื่อยังไม่รู้จักลูกคนแซ่ก๊วย ที่ถือกำเนิดมาในโพรงหิมะแล้วมารดากัดสายรก
ก็ตื่นเต้นกับการกระโดดขึ้นกำแพงของเจ้า่สุมาวงศ์  การสอบเป็นขุนนางจอหงวนและนายทหาร  การใช้มีดสั้น
ระยะทางระหว่างเมืองลุงเมืองปาเมืองเล็กเมืองน้อย  เชื่อถือเป็นคัมภีร์ชีวิต(ของเด็ก แปดขวบ)

เรียนรู้ว่าเพื่อนบ้านของเรา   มีทรัพยากรคือทับทิม  ชายหญิงไปเจอกันที่ตลาด
ชายใช้ผ้าโพกปักด้วยฝีมือนางที่รัก
ยังจำได้ว่า นางปักผ้าสีชมพูลายนาคะมินทร์เลิกพังพาน(ถ้าไม่สีชมพูก็คงสีใดสีหนึ่ง)
เชื่อในวงศ์ญาติของเมืองต่างๆ  ลูกคนใหญ่คนโตเกเรข่มเหงชาวบ้าน

รู้ว่าเป็นนิยายเพราะพระเอกมาแนวเดียวกันตลอด  ไม่เบื่อจนทุกวันนี้
เป็นความสุขที่อยากมีหัวหน้าที่เก่ง มีการศึกษา  รู้จักธรรมศาตร์การปกครอง
สร้างวังขึ้นมา ก็พบสุสานช้าง


ต่อมาหาเจ้าหมื่นด้งนครมาอ่านได้ทั้งชุด   เข้าใจเหตุผลว่า คืนเดียวก็ท้องได้

อ่านลาวจกราช  เรื่องนี้นักอ่านรุ่นหลังไม่ทันเห็น
อ่านสิงหนวัติ

ชอบอ่านนิยายของป.ร.อยู่แล้ว  เข้าใจได้ง่ายดาย

เจอ วีรกรรมของ แพ ตาละลักษณ์แอบแฝงเล่ามา
ตอนพระเอกนางเอกขี่ม้าแทบเป็นแทบตายไปตามประวัติของสกุลจากยายแก่ที่กำลังจะเผา
ทำให้หลงรักประวัติศาสตร์ไปด้วย

ตอนนี้ก็ไม่กลัวที่จะตามหางานหายากของ ท่านแพ ตาละลักษณ์มาอ่าน
รู้จักท่านมาตั้งนานแล้วนี่
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 26 มี.ค. 08, 12:36

เชิญไปที่เสนาศึกษาแลแผ่วิทยาศาสตร์ ครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 28 มี.ค. 08, 16:47

เคยเห็นเสนาศึกษา  แต่แผ่วิทยาศาสตร์เคยได้ยินแต่ชืื่อค่ะ

อ่านโลกียชน สมัยคุณวิลาศ มณีวัตอยู่ชาวกรุง
สมัยเรียนหนังสือชั้นมัธยม  สอบได้โดยไม่ต้องอ่านภาษาอังกฤษเลย

คุณประมูล อุณหธูปเคยบอกว่าอยากแปลงานเก่าๆของ ซัมเมอร์เซ็ต มอห์ม
เสียดายที่ไม่เคยอ่านเลย 
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 28 มี.ค. 08, 20:47

ชื่อเดิมคือ เสนาศึกษาแลแผ่วิทยาศาสตร์ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 28 มี.ค. 08, 20:59

อ้างถึง
แต่ในวิชาประวัติศาสตร์นั่นเอง
เมื่อครูอีกท่านหนึ่ง เล่าถึงสงครามยุทธหัตถี และพูดว่า
พี่เอย จะมัวยืนอยู่ใต้ร่มไม้อยู่ใย จงมาทำยุทธหัตถีให้เลื่องลือเถิด นานไปจะไม่มีการรบอย่างนี้อีกแล้ว

ดิฉันเรียนในวิชาวรรณคดีไทย ตอนอยู่ร.ร.เตรียมอุดม   อาจารย์นิรันดร์ นวมารค เป็นผู้สอน
ท่านจำลิลิตตะเลงพ่ายขึ้นใจได้ทั้งเรื่อง   เข้ามาสอนไม่ต้องถือหนังสือประกอบ 
พูดปากเปล่าสอนโคลงได้ทีละบท ทีละบท  จนจบเรื่อง
ได้แต่นั่งฟังด้วยความตื่นตะลึง  ตะลึงทั้งอาจารย์   และตะลึงทั้งความสง่างาม ทรงเกียรติยศศักดิ์ศรี ของโวหารกวีแต่ละตอน

ครูของคุณพพ. นำมาจากบทนี้ค่ะ

พระพี่พระผู้ผ่าน                ภพอุต-  ดมเอย
ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด   ร่มไม้
เชิญราชร่วมคชยุทธิ์   เผยยอเกียรติ  ไว้แฮ
สืบว่าสองเราไสร้                 สุดสิ้นฤๅมี
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง