เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 33642 " รุ่งเรือง.. เมืองศิลป ๔ "
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 09 พ.ค. 08, 16:33

เรื่องที่ดินที่เคยเป็นที่ตั้งสำนักงานเทศบาลนครปฐมที่ใกล้ๆ วัดพระปฐมเจดีย์ที่คุณกุ้งแห้งเยอรมันหยิบยกขึ้นมาในความเห็นก่อนหน้านั้น  ได้ทราบจากชสวนครปฐมเหมือนกันครับว่า  ที่ดินตรงนั้นเดิมคือพระตำหนักปฐมนคร  เป็นพระตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างไว้แต่ครั้งเสด็จฯ มาทอดพระเนตรการบูรณะพระปฐมเจดีย์  อันเป็นที่มาของการขุดคลองเจดีย์บูชามาจนถึงพระตำหนักองค์นี้  และได้เสด็จฯ มาประทับที่พระตำหนักนี้เรื่อยมาตราบจนเสด็จสวรรคต

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ดูเหมือนจะพระราชทานให้เป็นที่ทำการรัฐบาลมณฑลนครไชยศรีหรืออย่างไรนี่แหละครับ  แล้วต่อมามีการรื้อพระตำหนักลงแล้วก่อสร้างเป็นสำนักงานเทศบาลเมืองนครปฐมดังที่เคยเห็นกันอยู่  จนถึงเมื่อปีที่แล้วทางเทศบาลเตรียมการจะสร้างสำนักงานแห่งใหม่  จึงได้จัดการรื้อสโมสรเสือป่าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามทำเป็นสวนสาธารณะ  พร้อมๆ กันนั้นก็ได้รื้ออาคารสำนักงานเทศบาลลง  พอรื้อเสร็จมีการขุดดินเพื่อเตรียมการก่อสร้างอาคารใหม่โดยจะจัดทำที่จอดรถยนต์ใต้ดิน  ก็ให้เผอิญไปขุดพบรากฐานของพระตำหนักปฐมนครขึ้น  กลุ่มอนุรักษ์เมืองนครปฐมจึงได้ร้องเอะอะขึ้น  ขอให้ระงับการก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาล  และขอให้กรมศิลปากรเข้ามาตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดี  กรมศิลปากรก็ดีใจหายออกคำสั่งห้ามดำเนินการใดๆ  เพื่อรอขุดแต่งทางโบราณคดี  ซึ่งเวลาก็ล่วงเลยมากว่า ๖ เดือน  หลักฐานทางโบราณคดีก็ตากแดดตากฝนอยู่อย่างที่คุณกุ้งแห้งเยอรมันไปเห็นมานั้นแหละครับ 
 
 
 
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 10:15

ดิฉันขอขอบคุณคุณV_Meeค่ะ ที่เข้ามาเสริมรายละเอียด
สาวนครปฐมถามดิฉัน ในฐานะที่ไปไหนต่อไหนมาหลายแห่งเกือบทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย เพราะเราทั้งคู่ประกอบอาชีพเหมือนกัน ว่ารู้สึกอย่างไรกับบ้านเกิดของเธอ
ดิฉันเล่าว่ามานครปฐมครั้งแรกก็มาดูพระปฐมเจดีย์
ย้ำ มาดูนะคะ
รู้สึกไม่ประทับใจกับผังเมืองปัจจุบันที่ทำลายภาพงามๆของเมืองตอนมาครั้งแรก
เสียดายลักษณะของการวางคลอง สะพาน และถนนของบรรพบุรุษเรา วางได้สวยเชียว
เธอบอกว่า เป็นเมืองที่ไร้ระเบียบเรื่องการขับรถเป็นที่สุด นึกจะจอดก็จอด จะขับสวนเลนก็ขับ
และเป็นเมืองมาเฟียโดยแท้..
แต่คนที่ดิฉันนับเป็นเพื่อนสนิท ลูกน้องสนิท และรุ่นพี่ที่นับถือก็มาอยู่เมืองนี้กันหมดจนได้
เราพยายามเปรียบเทียบเมืองนครปฐมกับเมืองแปดริ้วในแง่วัฒนธรรม คน และเศรษฐกิจ
แปดริ้วมีหลวงพ่อโสธร ดึงดูดเงิน นักท่องเที่ยว และประชาชน
นครปฐมก็มีพระปฐมเจดีย์ และพระร่วงโรจนฤทธิ์ แถมเป็นเมืองโบราณสมชื่อนครปฐม.. มีมหาวิทยาลัยดังมาตั้งอยู่
แต่ทำไม ความคึกคักผิดกัน..
คืนนั้น เราได้คำตอบหลากหลายค่ะ..



บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 12:07

ปัญหาเชิงโบราณคดีของเมืองนครปฐมคือ การสร้างสิ่งก่อสร้างทับอยู่บนตัวเมืองเก่าครับ

ที่เป็นปัญหาเพราะว่า เป็นการเข้ามาตั้งบ้านเรือนหลังจากเมืองนี้ร้างไปแล้ว จึงกลายเป็นจะอยู่ตรงไหนก็อยู่

ปัจจุบัน จึงได้แต่ทำการสำรวจกันแต่สิ่งก่อสร้างที่โผล่ให้เห็น แต่จะขุดสำรวจก็ลำบาก เพราะติดว่าเป็นที่ดินราษฎร

จะให้ย้ายคนออก ก็ขี่ช้างจับตั๊กแตน  ยิงฟันยิ้ม พอๆ กับย้ายคนออกจากอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา

ในเมืองไทย การศึกษาทางโบราณคดีมักมีความสำคัญระดับท้ายๆ เสมอ เพราะรัฐบาลทุกสมัยไม่เห็นความสำคัญ ไม่มีนโยบาย เน้นหาประโยชน์ให้พวกพ้องและตนเองก่อน เป็นกันทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ จนถึงท้องถิ่น เพราะโบราณคดีกินไม่อิ่ม อันนี้ว่าภาพรวมนะครับ บางชุมชนก็ตื่นตัว ตามกำลังทรัพย์ของผู้มีอันจะกินของแต่ละชุมชน

"สำรวจ" "ขุดค้น" "วิเคราะห์ข้อมูล" "สังเคราะห์ข้อมูล" และ ที่สำคัญที่สุด "เผยแพร่ข้อมูล" กระบวนการเหล่านี้ มักหยุดอยู่ที่ "ขุดค้น (เบื้องต้น)" ส่วน "การประมวลข้อมูล" แล้วตีพิมพ์ออกมาเป็นการค้นคว้าใหม่ๆ นั้น น้อยมาก หรือ ถ้ามีก็เก็บไว้ในสำนักงาน ไม่เผยแพร่ ฮืม  รูดซิบปาก

ได้แต่หวังว่า ในอนาคตจะดีกว่านี้ครับ  รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 12:23

แรงศรัทธา มีคำว่าเกินพอดีไหม???


บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 12:31

คุณHotacunusในฐานะนักโบราณคดี มองแล้วคงเข้าใจ มากกว่าปลงนะคะ เพราะการเข้าใจปัญหา เมื่อโอกาสมาถึง ก็คงจะหาวิธีแก้ไขได้ แต่คนช่างฝันอย่างดิฉันนึกถึงองค์กรประเภท นักอนุรักษ์ไร้พรมแดน เรตอราเตอร์ซองฟรองติแอร์ค่ะ ว่า มีเงินทุนหนาแค่ไหน มาทำงานนครปฐมน่าจะคุ้มค่าเงิน
รัฐบาลที่มีหัวอนุรักษ์และรู้คุณค่าประวัติตร์ไทยต้องมีหัวการตลาด ฉลาดในการทำประชาสัมพันธ์อย่างเดียวไม่พอนะคะ ต้องรู้แหล่งเงินของโลกเพื่อมาช่วยชาติด้วย
ไม่ใช่เหมือนคราวสึนามิ ที่พูดแบบนายทุนเศรษฐีสิ้นคิดว่า
ไทยไม่รับเงินช่วยเหลือจากต่างชาติ
..เรารวยอดีตค่ะ แต่อนาคต อาจจะติดอันดับจนปัญญาก็ได้
ใครจะรู้ รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 13:22

น้อยคนที่จะทราบว่า อธิบดีกรมศิลปากร มีอำนาจมากเพียงใหน
แม้แต่อธิบดีกรมนี้....หึหึ

ข้าราชการระดับอธิบดี สามารถสั่งระงับกิจการทั้งปวงได้ ในฉับพลัน
ไม่ต้องอ้างใครทั้งนั้น ใช้แค่กฏหมายโบราณสถานฉบับเดียว
สมมติว่าท่านจะสร้างสนามกบ ขนาดหมื่นล้าน
แต่ในที่ดินของท่าน มีอิฐทวารวดีฝังอยู่

อธิบดีสั่งหยุดโครงการได้ครับ
แต่โดยมาก ท่านจะสั่งตัวเองให้หยุดมากกว่า
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 14:24

แต่ในประเทศสาระขัน (แปลว่า มีแต่เรื่องขำๆ) นี้ อธิบดี ก็โดนเด้งแบบฟ้าผ่าได้นะครับคุณพิพัฒน์ ถ้าไปเหยียบตาปลาเจ้าพ่อ เจ้าแม่ประจำท้องถิ่นเข้า  ยิงฟันยิ้ม

ขนาด ผบ ตร ยังเด้งได้เลย เมื่ออยากเด้ง นับภาษาอะไรกับอธิบดีกรมอื่นๆ  ลังเล

======================

เรื่องข้อจำกัดในการทำงานนี้ เพื่อนๆ เคยเล่าเหมือนกันครับ เพราะว่า นักโบราณคดีมีน้อย คนเดียวทำหลายงาน โดยเฉพาะงานธุรการ ส่วนงานขั้นรายงานสรุป การวิเคราะห์ สังเคราะห์อะไรใหม่ๆ ไม่มีเวลาทำกันเท่าไหร่ครับ ผมว่าเป็นปัญหาเรื่องโครงสร้างบุคลากร กับอัตราตำแหน่งที่มีน้อย ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลก็ไม่ได้ใส่ใจมากนัก เพราะเป็นงานไม่ก่อให้เกิดรายได้ (ในสายตานักการเมือง)  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 15:50

ผมเคยทำวิจัยขำขัน....ฮิฮิ
ให้ประเทศสาระเลว....เอ้ย สาระขันนี่
ว่า

เอ็ง....อุ๊บ ท่าน มีรายได้จากการท่องเที่ยว ปีละร้อยบาท
แต่ท่านจ่ายเงินบำรุงแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งในที่นี้ คือมรดกทางวัฒนธรรม
(เพราะแหล่งท่องเที่ยวอื่น เช่นป่าเขา เขามีการดูแลอีกแบบหนึ่งอยู่แล้ว)

แค่ ปีละ ....1 บาท

หรือถ้าจะคิดให้ละเอียดแบบโหดระยับ
ก็คือ ท่านจ่ายเงินแค่ปีละสองพันล้านบาท จากงบรวมปีละหนึ่งล้านล้านบาท

เอ่อ....เครื่องคิดเลขของป๋ม คิดไม่ออกอ่ะ มันน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์นะนั่น
หรือคิดให้เหี้ยมระยิบคือ
ท่านจ่ายเงินปีละแปดหมื่นล้านบาท เป็นค่าฉี่เด็ก
หึหึ เทียบให้เจ็บใจเล่น

นมกลักที่ให้น้องๆ ดื่มตอนเที่ยง(แล้วกลายเป็นฉี่ ถ้ามันไม่บูดเสียก่อน) พวกนั้นแหละ
ใช้งบปีละ 40 เท่า ของที่ให้เป็นค่าดูแลโบราณสถาน
ซึ่งถ้าคิดให้ละเอียดแบบโหดระยับเหี้ยมระยิบคือ ต้องหักหกสิบเปอร์เซนต์เป็นค่าเงินเดือน
คือเหลือเงินเนื้อๆ ในการดูแลทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของชาติ
ประมาณ 800 ล้านเอง......อยากรู้ใหมว่าเงินเดือนบวกโบนัสบอดรัดวิสาห่ากิจน่ะ คนละเท่าไร ต่อแห่ง

หรือคุณกุ้งแห้ง อาจจะบอกได้ว่า เงินแค่นี้ ซื้อโคนาของเจ็ดสีได้ปีละกี่นาที.....
ซื้อเต็มหน้าของไทรัดได้กี่หน้า
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 11 พ.ค. 08, 10:02

ราคาค่าโฆษณาเต็มหน้าสีในไทยรัฐกับหนึ่งนาทีในละครช่องเจ็ดสี เราพูดกันที่ปิคอัพดีๆคันหนึ่ง เดี๋ยวนี้อาจจะเป็นโตโยต้าคันเล็กๆแล้วค่ะ คุณพพ.
เพราะราคาสูงขนาดนี้ ทำให้ธุรกิจอย่างการสร้างEventหรือPress Conferenceลืมตาอ้าปากขึ้นมาได้เมื่อหกเจ็ดปีที่ผ่านมานี่หละค่ะ
ผู้บริโภค เป็นเหยื่อไม่รู้จบ นักโฆษณา ก็ผันตัวเองเป็นนักจัดหรือที่เรียกว่า organizerกันไปตามๆ ..
..
การบริโภคงานศิลป จริงๆแล้วอิ่มกว่ากินไก่ทอดแกล้มน้ำดำและเฟรนช์ฟรายด์ เพราะเป็นความอิ่มที่คงทน ถาวร  แต่ก็ควรจะแสวงหาหน่อย เพราะศิลปะไม่ได้หาง่ายเหมือนสินค้าแดกด่วนทั่วๆไป
หาเจอแล้ว ก็ต้องเห็นค่าอีก
และชวนๆคนที่มีจิตสำนึก ช่วยกันรักษาไว้
เพื่อนๆดิฉันบางคน ไม่เป็นอย่างนั้น เขาบอกว่า มันต้องปลง เราไม่มีหน้าที่ๆจะทำอย่างนั้น
ถ้าคนที่มีหน้าที่โดยตรงไม่ทำ
มันก็ต้องปล่อยเลยตามเลย..
ดิฉันหวังว่า คนที่คิดแบบเขา มันคงจะลดจำนวนลงไปเรื่อยๆเท่านั้น
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 11 พ.ค. 08, 11:01

พระพุทธรูปงามอีกองค์ ต่างกับองค์อื่นที่ครอบตะแกรงค่ะ


บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 13 พ.ค. 08, 06:56

เทียบนครปฐม กับเมืองผ่านอื่นๆ ผมว่านครปฐมละเลยเรื่องการจัดการภูมิทัศน์เมือง และการท่องเที่ยวมากๆเลย ที่จริง มีมหาวิทยาลัยดัง แต่ไม่เห็นจะคึกคักเท่าบางแสน
แถมมีความรุ่งเรืองในอดีตให้ดูอีก
มันเป็นเพราะอะไรไม่ทราบ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 16 พ.ค. 08, 11:45

ทรงพระปฐมเจดีย์ กลายเป็นแม่แบบของเจดีย์วัดราชบพิธ และเจดีย์ในสุสานหลวง


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 19 พ.ค. 08, 22:18

แอบค้านพี่กุ้งแห้งหน่อยครับ
ผมว่าเจดีย์วัดราชบพิธ ไม่ได้มาจากพระปฐมเจดีย์นา....


เพราะชุดฐานเป็นคนละชุดกันครับ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 19 พ.ค. 08, 22:54

ช่วยขยายความหน่อยค่ะ คุณติบอ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 20 พ.ค. 08, 19:02

อธิบายซักเท่าไหร่ดี... จะสั้น หรือยาว ดีหว่า


เอาเป็นว่าตอบสั้นที่สุดก่อนแล้วกันนะครับ
ว่าการสร้างสิ่งก่อสร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ละรัชกาล
จะมีพระราชนิยมเป้นของตัวเองอย่างชัดเจน
(เว้นรัชกาลที่ 2 วักรัชกาล เพราะลูกท่านคนที่ทำงานเยอะมาครองราชย์ถัดมา)

เจดีย์แบบรัชกาลที่ 3 ก็มีพระราชนิยมแบบรัชกาลที่ 3
คือเจดีย์ทรงเครื่ององค์ผอมสูงที่ประดับประดาด้วยกระเบื้องอย่างอลังการ
(ขออนุญาตพูดถึงเจดีย์เกือบทุกองค์ที่วัดโพธิ์แล้วกันนะครับ)
พอล่วงเข้ารัชสมัยถัดมา พระราชนิยมก็เปลี่ยนครับ
เพราะท่านว่าเจดีย์ทรงเครื่องนั่นผุง่ายพังง่าย ท่านก็เลยเลิกใช้เจดีย์ไปเครื่องซะ
และเมื่อจะซ่อมหรือสร้างเจดีย์ที่ไหน ก็มักจะโปรดเกล้าให้ใช้แบบพระราชนิยม
ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงลังกา(แบบอยุธยา) แทนแม้กระทั่งกับวัดที่สร้างไม่เสร็จในรัชกาลก่อน
นายติบอลองไล่เจดีย์แบบพระราชนิยมรัชกาลที่ 4 มาให้พี่กุ้งฯดู
เท่าที่นึกออก คือ พระศรีรัตนเจดีย์ พระนครคีรี และวัดราชประดิษฐ์ นะครับ



ส่วนพระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์องค์เดิมที่สร้างมาตั้งแต่เมื่อหลายร้อยปีก่อน
การซ่อมใหญ่ครั้งสุดท้ายก่อนรัชสมัยพระจอมเกล้า เขาว่าหน้าตาเหมือนพระปโทนเจดีย์
ถ้าใครอยากเห็นขอให้ปีนขึ้นไปชะโงกดูที่ช่องรูปกลีบบัวที่องค์ระฆังคงจะได้เห็น
(แต่นายติบอความกลัวยังมากกว่าความอยากอยู่ เลยยังไม่ขอดูจะดีกว่า)

และเนื่องมาจากเจดีย์องคืเดิมมีฐานที่ค่อนข้างกว้างและผาย
การซ่อมพระปฐมเจดีย์ก็เลยจำเป็นที่จะต้องยืดองค์ระฆังของเจดีย์ออกไปจากแบบพระราชนิยม
(ลองเทียบกับวัดราชประดิษฐ์ หรือพระศรีรัตนเจดีย์ดูได้ครับ)
ลักาณะและอัตราส่วนของเครื่องประกอบเจดีย์จึงต่างกับเจดีย์พระราชนิยมไปพอสมควร
เช่น ปล้องไฉนจะดูเล็กลงเมื่อเทียบขนาดกับองค์ระฆังที่ผายขึ้นมาก เป็นต้น
ดังนั้น.... ถ้าจะพูดว่าเจดีย์ที่วัดราชบพิธมาจากพระปฐมเจดีย์
ก็ควรจะมีลักษณะร่วมอย่างเด่นชัดที่เห็น เช่น มีชุดฐาน
หรืออัตราส่วนของส่วนประกอบต่างๆในลักษณะเดียวกันครับ





ปล. ว่าแล้วก็แอบถามพี่กุ้งอีกนิดครับ ว่าถ้าแค่ข้ามถนนไปก็มี
จะถ่ายแบบพระปฐมเจดีย์มาทำไมล่ะครับ..... อิอิ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.113 วินาที กับ 20 คำสั่ง