เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 53286 พระบรมรูป เพิ่งค้นพบใหม่
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 21 มี.ค. 08, 12:59

ยอดเยี่ยมค่ะคุณ V_Mee กำลังจะเข้ามาถามว่าเป็นทหารหน่วยไหน ก็เจอคำตอบละเอียดแจ่มแจ้ง ต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
ว่าแต่แพรสีเหล็ก หมายถึงแพรสีอะไรคะ?

ยังติดใจพระรูปเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์  เห็นแล้วนึกถึงสียะตรา
แต่กุมารยังงามถึงเพียงนี้              ถ้าบุตรีจะงามสักเพียงไหน
                                                         (พระราชนิพนธ์อิเหนา ในรัชกาลที่ ๒)

พระรูปสมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ ฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์   พระเชษฐภคินีของเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ค่ะ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 21 มี.ค. 08, 14:01

คำตอบคุณวี ทำให้อดไม่ได้
ขอขยายใบหน้าให้ผ่านข้ามกาลเวลา มาปรากฏแก่การรู้เห็นของเราในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 21 มี.ค. 08, 17:24

      พระรูปกรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ที่อาจารย์โพสท์ พระเก้าอี้เอียง ในขณะที่จากพระรูปนี้
พระเก้าอี้ตั้งตรงดี ครับ 


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 09:13

ท่านอาจารย์ถามไว้ว่า "สีเหล็ก" คือสีอะไร
สอบถามท่านผู้รู้ที่ช่างสิบหมู่ได้ความว่า เป็นสีเทาดำ ครับ  ท่านว่า สีเข้มกว่าสีนกพิราบสักนิดครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 10:13

ขอนอกเรื่องครับ เห็นคุยกันเรื่อง ศัพท์ที่ใช้นิยาม สีต่างๆ ของไทยโบราณ

ไม่รู้ว่ามีใครทำหนังสือแล้วหรือยัง น่าสนุกดีนะครับ ทำเฉดสี แล้วถ่ายรูปสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบสี  ยิงฟันยิ้ม

แต่เรื่องการนิยามเรียกสีให้เป็นมาตรฐานนี้ เป็นเรื่องยุ่งยากอย่างหนึ่ง เพราะแต่ละคนก็จะมีความรู้สึกในเฉดสีแตกต่างกัน

ในงานที่ผมทำอยู่นี้ มีส่วนหนึ่งที่ต้องจำแนกสีของชั้นดินเพื่อดูความแตกต่างว่า สีที่ต่างกันมันบอกอะไรเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในดินได้บ้าง

ในทางธรณีวิทยา-ปฐพีวิทยา เค้ามีสมุดเทียบสีดินที่ทำเฉดสีไว้เป็นมาตรฐานครับ เรียกว่า "Munsell Soil Color Charts" ซึ่งจะมีเฉดสีต่างๆ ให้เทียบกับตัวอย่างๆ ประมาณเกือบๆ ร้อยสีได้มั้งครับ (เฉพาะเฉดสีของดิน)

==============================================

http://en.wikipedia.org/wiki/Munsell_color_system

==============================================



Munsell Soil Color Charts
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 12:07

เรื่องนิยามสีตามคำเรียกขานของคนโบราณที่คุณHotacunus กล่าวถึงว่ามีการทำเป็นหนังสือหรือเปล่านั้น
เข้าใจว่ายังไม่มีใครคิดทำครับ
สีโบราณที่ได้ยินบ่อย คือ สีกรมท่า เพราะเป็นสีประจำกรมท่า  หมายถึงสีน้ำเงินแก่



บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 13:47

เห็นที่ภาคอุตสาหกรรมเกษตร...คือพวกทำอาหาร เขาจะมีสมุดไว้เทียบสีเหมือนกันครับ แต่ไม่รู้ว่าเป็นเวอร์ชันเดียวกับการศึกษาทางด้านธรณีวิทยาหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 13:56

ฝากคุณโฮครับ
http://www.color-tec.com/1gloss.htm
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 16:06

ขอคลิคตามคุณโฮไป เห็นแล้วจะสลบ...
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 01:31

ผมเคยได้ยินคำว่า "สีลำลาน"   ไม่ทราบว่าเป็นสีอะไรครับ ........... ฮืม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 04:07

เห็นในตำราช้าง ฉบับรัชกาลที่ ๑    ๒๕๔๕    หน้า ๑๐๐  ว่าสีสำลาน

เท่าที่ตรวสสอบกับพจนานุกรม   คือ   สีเหลืองอ่อน หรือสีใบลาน

สีต่างๆในหนังสือเล่มนี้ มี

สีเงินยวง
สีจักษุวิฬาร์
สีเขาไกรลาศ
สีนิลอัญชัญ
สีอัญชัญ
สีไม้กฤษณา         
สีปีกกา
สีอุทกวารี 
สีเถ้าไม้หลัว
สีสุวรรณมาศ
สีหงสบาท
สีหญ้าแพรก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 04:19

อ่านแล้วเพลิดเพลินเจริญใจ  ไม่เข้าใจทั้งหมดทีเดียว

สีสลาสุก
สีเมฆ
สีคล้า
สีปากนกแขกเต้า
สีบัวโรย
สีตองอ่อน
สีสัตตบุษย์
สีก้านสัตตบุษย์
สีสังข์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 08:53

กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์  มีการบรรยายลักษณะและสีสันเสื้อผ้าของนางในไว้ละเอียดลออ   
เจ้าฟ้ากุ้งท่านเป็นผู้ชายที่เก่งเรื่องสีมาก  แยกแยะออก  แค่เฉดสีแดงอย่างเดียวก็ปาเข้าไปหลายแดงแล้วค่ะ   ถ้าท่านวาดภาพผนังโบสถ์เป็นนี่จะไม่แปลกใจเลย

มีโคลงบทหนึ่งในนั้น ก่อความงุนงงมาหลายปีแล้ว ว่าผ้าสไบของนางในคนนี้ คือเฉดสีอะไร
ขอนำมาลงให้งงทั่วกัน

      เห็นห่านในชลธี                  ถวิลผ้าสีลูกห่านสาย-
สมรพี่ติดขลิบพราย                   ทองช่องไหมในริ้วเรือง
      เห็นห่านลงท่องท้อง            ชลหลาย
สีลูกห่านผ้าสาย                        สวาทข้า
นึกนางห่มกรุยกราย                   โนนาด
ขลิบทองช่องไหมหน้า                อร่ามล้วนทองทราย

      ลักษณะผ้า คุณติบอคงมาช่วยอธิบายได้   ท่านบอกว่าเป็นผ้าที่ขลิบทองช่องไหม
ไม่ทราบว่าแยกเป็น ๒ คำ คือขลิบทอง แล้วมีช่องไหม  หรือว่าเป็นคำเดียวคือทองช่องไหม
มีริ้วทองด้วย  หรูหรามากทีเดียว

     ขอแยกซอยคุยหน่อยว่า เมื่อเขียน เรือนมยุรา   เครื่องแต่งกายของแม่นกยูงได้มาจากนิราศธารโศกนี้เป็นหลัก   เพราะเธอเป็นลูกสาวขุนนางอยุธยาตอนปลาย มีอาเป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์   ก่อนกรุงแตก รู้ว่าตัวจะไม่รอดก็ยกสไบผ้านุ่งดีๆ ให้หลานสาวใช้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 09:11

แม่นกยูงจึงแต่งกายงามโอ่อ่าเหมือนนางใน เวลาออกงานในยุคปัจจุบัน  มีผ้าสไบลูกไม้ด้วย
บรรดาแฟชั่นดีไซเนอร์และนักวิจารณ์ท้วงคุณไก่ วรายุฑ กันว่า แม่นกยูงห่มสไบลูกไม้ได้ไง  ผิดความจริง   
ตอนนั้นอินเทอร์เน็ตยังไม่มี   ไม่งั้นดิฉันจะยกมาให้อ่านกันจะจะทั้งบท  แต่ก็จำว่าเคยให้สัมภาษณ์ไปหนหนึ่งค่ะ ว่าผ้าลูกไม้สมัยปลายอยุธยา มีให้นางในห่มกันแน่ๆ
บทนี้ไง

       ผึ้งร้างพี่นึกปอง                  ผ้าขาวกรองลายดอกงาม
ย่อมห่มเข้าอาราม                      หน้าเจียรบาดประหลาดตา
       ผึ้งหลวงรวงร้างเก่า             เรียมปอง
ผ้าห่มขาวผูกกรอง                    ลูกไม้
สำหรับพับเฉียงทอง                   ลอยดอก
หน้าเจียรบาดประหลาดให้           แซ่ซ้องชมโฉม

คำอธิบายถึงผ้าลูกไม้ข้างบนนี้ทำให้รู้ว่าเป็นลูกไม้ดอก   ผืนกว้างพอจะใช้ห่มเป็นสไบได้ ไม่ใช่ลูกไม้ขลิบริมผ้า 
มีลวดลายเป็นดอก บนพื้นโปร่งเหมือนรวงผึ้ง   สีขาว   
น่าจะเป็นลูกไม้คล้ายๆอย่างนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 25 มี.ค. 08, 09:14

ถามตัวเองเมื่ออ่านนิราศธารโศกบทนี้ ว่าผ้าลูกไม้มาจากไหน
สมัยปลายอยุธยา มีทางเดียวคือเป็นของอิมพอร์ต  ว่าแต่จากประเทศไหน
ไม่น่าจะเป็นเปอร์เชีย หรืออินเดีย  แต่เป็นยุโรปเสียละมาก
ก็นึกถึงผ้าลูกไม้โปรตุเกสขึ้นมาทันที

ภาพนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง