pipat
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 15:32
|
|
พระบรมรูปเลียบพระนครนั้น พบในหนังสือของคารล บ๊อค carl bock แต่รูปนี้ ได้รับอภินันทนาการจากคุณเอลวิส เพราะผมเองไม่สามารถค้นเจอจากโกดังรูปของตัวเอง
บ๊อคเข้ามาคราวกรุงเทพร้อยปีพอดี จึงได้รูปถ่ายคราวงานสำคัญนั้นไปมาก แต่รูปพวกนี้ ก็แจกจ่ายให้คนอื่นๆ เหมือนกัน ต่างคนก็ต่างอธิบายความ
ผมเชื่อว่าเป็นการเลียบพระนครก็เพราะทรงพระมหาพิไชยมงกุฏนี่ละครับ ถ้าทรงทอดพระกฐิน ไฉนไม่ทรงพระชฏามหากฐินให้เป็นไปตามธรรมเนียม
รูปเก่า ถ้าอยู่ในสายตาคนมีความรู้ ย่อมจะมีชีวิตชีวาอย่างนี้ละครับ อยู่กับผมอีกสิบปี ก็ยังเป็นรูปใบ้ แสดงแต่ความเงียบ
ในกรุของผม ยังมีรูปที่ไม่เคยเผยแพร่อีกจำนวนหนึ่ง ท่านที่มีความรู้อย่าถอยหนีไปใหนนะครับ นึกว่าช่วยอาจารย์กระตุ้นไฟของความเป็นไทยขึ้นมา ใหนๆ ท่านก็ทนรบกับคนบ้า เพื่อรักษาพื้นที่น้อยๆ บนอินเตอร์เนตให้ปลอดเชื้องัวบ้าอย่างเหน็ดเหนื่อย
ถือว่าอวดรูปเป็นกำลังใจละกัน ------------------------------- พระรูปนี้ อาจจะเคยเห็นคล้ายๆ กันมาบ้าง แต่ที่จะชัดเจนงดงามอย่างนี้ เห็นจะยาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 15:38
|
|
มีข้อสงสัย ช่างเทคนิค จับเทียบให้เห็นไปเลย ผู้เชี่ยวชาญจะได้วินิจฉัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 15:44
|
|
ดังได้เคยบอกว่าพระบรมรูปองค์ขวา ล่าง ที่มีฉากหลังอลังการณ์นั้น พบในพระอารามหลวงชั้นเอกหลายแห่ง ผมเคยปืนขึ้นไปชม ก็พบว่าแตกเป็นเกล็ด ลักษณะคล้ายภาพพิมพ์สีน้ำมัน จึงเดาว่า คงจะทรงสั่งให้ทำมาพระราชทาน
ฉากหลังนั้น ลบง่ายมากครับ เอาหมึกระบายที่กระจกเนกะตีฟ แป๊ปเดียวก็เสร็จ จึงจะเห็นว่า บางพระรูป ฉากหลังมืดสนิทจนเกินไป ภาษาช่างเขียนเรียกว่า ตัน ไม่มีอากาศ
ถ้าทิ้งฉากหลังเป็นผ้าดำแล้วไซร้ ด้วยแสงสว่างขนาดนี้ ยังไงก็เห็นรอยยับของฉากครับ และในสมัยร้อยปีก่อน ไม่มีใครผลิตฉากหลังที่เป็นสีทึบออกขาย อยากให้ทึบ ทำที่เนกะตีฟ ง่ายกว่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 15:53
|
|
ขยายรายละเอียด เห็นจะฉายราว 2417 ครับ ผมเทียบจากพระบรมรูปที่ทรงตราจุลจอมเกล้า และที่ทรงลิลิตนิทราชาคริต ทรงเจริญพระมัสสุ ประมาณนี้ทุกพระองค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 15:55
|
|
พระบรมฉายาลักษณ์ในค.ห. 60 งามยิ่งยวด มีคำถามเรื่องเครื่องราชฯ และสายสะพาย มาถามคุณ V_Mee และคุณ UP ให้ไม่ได้หยุดพักอีกแล้ว สร้อยที่พาดทับบนสายสะพาย คือสังวาลนพรัตน์ หรือเปล่าคะ
พระบรมฉายาลักษณ์นี้ ถ้าทรงฉายเมื่อปี 2417 ก็พระชนม์ 22 พรรษา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 15:57
|
|
ขยายรายละเอียดเครื่องราชให้เลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 16:28
|
|
โอย..โอ้..ต้องขออุทานไม่เป็นศัพท์ ตะลึง...
พระบรมฉายาลักษณ์องค์บนนี้ งามเหลือเกินครับ เห็นแล้วขนลุก สีพระพักตร์และแววพระเนตรแลดูละมุนละไม เปี่ยมด้วยพระการุณยธรรม
พระบรมรูปองค์นี้ พระพุทธเจ้าหลวงทรงสายสะพายแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ พร้อมพระมหาสังวาลนพรัตนฯ เฉวียงพระอังสาขวาไปบั้นพระองค์ซ้าย ดาราองค์บนสุดคือดารานพรัตนฯ ถัดมาเบื้องซ้ายเป็นดารามหาสุราภรณ์มงกุฎสยาม ขวาเป็นดารามหาวราภรณ์ช้างเผือก ล่างสุดคือดาราปฐมจุลจอมเกล้า ทรงเครื่องแบบนายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ปักอักษรพระปรมาภิไธย ส.พ.ป.ม.จ. (สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์) ที่ปลายพระกรฉลองพระองค์ พระดุม ๗ เม็ด ฉลองพระองค์น่าจะเป็นสีแดง คาดพระแสงกระบี่ยาว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 16:39
|
|
จากความเห็นที่ ๖๑
พระบรมรูปองค์ซ้ายบน นอกจากเครื่องทรงแล้ว องค์ประกอบอื่นนอกนั้นไม่เหมือนกับพระบรมรูปองค์อื่นๆ เลย
ส่วนพระบรมรูปองค์บนขวาและล่างขวา อาจจะฉายในคราวเดียวกันครับ เพราะการทอดเครื่องราชูปโภคบนม้าเคียงทั้งสอง ดูคล้ายกันมาก (เสียดาย องค์ขวาล่างเห็นเครื่องราชูปโภคไม่ชัดเลย มืดตื๋อ) ส่วนที่ดูแปลกๆ ไปคือฉลองพระองค์ทำไมสีและลวดลายหายไปในองค์ล่างขวา แต่รับรองว่าพระที่นั่งที่ประทับเป็นคนละองค์กันแน่นอน องค์ขวาบนและซ้ายบนคือพระที่นั่งกง องค์ขวาล่างและองค์ซ้ายล่างคือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์=พระราชยานพุดตานทอง (สังเกตการห้อยมาลัยที่หน้าพระที่นั่ง=พระราชยาน ดูคล้ายกันมาก แต่จะฉายวาระเดียวกันหรือไม่ ผมไม่ทราบครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 16:55
|
|
กระทู้นี้วิ่งฉิวปลิวลม
ยังติดใจรองพระบาทในพระรูปสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ลองขยายภาพดู คิดว่าเป็นรองเท้าที่เรียกว่า Victorian slippers เทียบกับคู่ขวา นี่คือ Victorian slippers สำหรับผู้หญิง จะเห็นว่าลักษณะคล้ายคลึงกัน คือปิดหัวและส้น ส้นแบนราบ ต่างกันแต่คู่หนึ่งหัวแหลม อีกคู่หัวแบนทู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 19:20
|
|
พระบรมรูปในความเห็นที่ ๖๐ เป็นพระบรมรูปทรงเครื่องเต็มยศ นายพันเอก ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (ปัจจุบัน คือ กรมทหาราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.ป.ร.)
ฉลองพระองค์มีรายละเอียดตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานกรมทหารบกราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนิพนธ์ในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ดังนี้
ปี ๒๔๑๔ เมื่อกรมทหารมหาดเล็กจัดเป็น ๖ กองร้อย ชั้นแรกบรรดานายทหารสัญญาบัตรแต่งดังนี้ เครื่องเต็มยศ หมวกรูปแฮลเม็ตทรงเตี้ยพื้นแพรขนสีดำมีของทอง ตราหน้าหมวกเป็นอักษรพระบรมนามาภิธัยย่อ มีรัศมีเช่นเดิมแต่ใหญ่กว่า และมีสายรัดคางเป็นโซ่ตะขาบ ยอดหมวกเป็นกลีบมีจานรองรับ จำปาปักพู่คลุมขนนกยางขาว เครื่องแต่งหมวกนี้ล้วนเป็นเครื่องกะไหล่ทอง แต่พระมาลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเครื่องทองคำและใช้พู่ขนนกการะเวก หมวกเช่นนี้ใช้แต่เฉพาะในคราวจะเสด็จอินเดียเท่านั้น เมื่อเสด็จกลับจากอนเดียแล้วก็เลิก เสื้อรูปทูนิกยาวตัดเป็น ๔ ปีก (คือผ่าเอวผ่าหลัง) อพรสีน้ำเงินแก่ มีลายปักดิ้นทองเส้นเดียวที่ข้อมือเป็นอักษรพระบรมนามาภิธัยย่อ ส.พ.ป.ม.จ. และอุณาโลม อักษร พ. ปักดิ้นเงิน รอบข้อมือเป็นลายยันต์ มีลวดคู่หมายยศ ๑ คู่ ๒ คู่ ๓ คู่ ชั้นนายพันมีเส้นลวดเงินเพิ่ม คอเสื้อมีลวดเป็นขอบรอบ ที่กลางเป็นลายยันต์ ร้อยจักรที่ข้างหน้าเป็นเครื่องหมายยศอีกอย่างหนึ่งข้างละ ๑ จักร ๒ จักร ๓ จักร ตามลำดับชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย และมีอินทรธนู้นแพรสีเดียวกับเสื้อ ปักดิ้นเลื่อมทองเป็นลายยันต์ไม่มีเครื่องหมายยศ กระดุมเสื้ออย่างเดิม (คือ ดุมอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ส.พ.ป.ม.จ. ไม่มีรัศมีแต่เปลี่ยนเป็นมีใบไชยพฤกษ์วงโอบรัดครึ่งตัว) แต่เป็นกะไหล่ทอง มีที่อก ๗ เม็ด หลัง ๒ เม็ด อินทรธนู ๒ เม็ด และมีแพรดำผูกเป็นหูกระต่ายที่คอเสื้อด้วย นุ่งแพรสีน้ำเงินแก่ สวมถุงเท้ายาวผ้าสีขาว รองเท้าหนังดำ บรรดานายทหารเวลาแต่งเต็มยศแห่เสด็จพยุหยาตราสวมเสื้อครุยทุกชั้น แต่เมื่อตั้งกรมยุทธนาธิการแล้วจึงได้เลิก
เครื่องศัสตราวุธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระแสงกระบี่ฝักนากก้ามทำด้วยกรามช้าง มีสายรัดพระองค์ไหมถักสีดำ หัวเป็นทองคำรูปสี่เหลี่ยมมีลายเป็นพระบรมนามาภิธัยย่อไขว้กัน
ต่อมาบรรดานายทหารเพิ่มให้มีสายสะพายไหมแดงถัก สะพายบ่าซ้ายไปขวา ภายหลังเปลี่ยนเป็นนายทหารใช้ไหมแดงริ้วทองสลับเงิน ส่วนสายสะพายแดงนั้นเลื่อนไปให้นายสิบเอกสะพาย เครื่องแบบตามที่บรรยายมานี้ใช้ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๔ - ๒๔๑๘ เท่านั้น ฉะนั้น จะวินิจฉัยได้ว่า พระบรมรูในความเห็นที่ ๖๐ นั้น ทรงฉายเมื่อคราวเสด็จประพาสอินเดีย พ.ศ. ๒๔๑๕ ได้หรือไม่?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 21:44
|
|
เครื่องกำลังร้อน เติมรูปก่อนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 21:53
|
|
แทรกด้วยโคสะนาครับ...... พระรูปจากหนังสือเล่มที่มีจำหน่ายทั่วไป เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เมื่อปี 2410 ฉายพร้อมพระแสงสั้น(พระแสงกระเบา) ที่ฝรั่งเศสถวาย จากมกุฏราชกุมารถึงมกุฏราชกุมาร พระแสงนี้ จึงเป็นข้ออ้างหนึ่งในการถวายพระเศวตรฉัตรแด่เจ้าฟ้ารัชทายาท
ให้พินิจพระพักตร์ ของเด็กหนุ่มวัยเพียงสิบห้า เพื่อเทียบกับพระบรมรูปต้นกระทู้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 21:58
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 22:04
|
|
_เอาละ....ตัดกลับเข้ารายการหลักของเราต่อไป พระรูปนี้ มีงามกว่านี้ แต่ต้องค้น ขอเสนอเป็นเครื่องเทียบก่อนนะครับ เป็นพระรูปที่ฉายก่อนเสด็จอินเดีย อาจจะหลังบรมราชาภิเษกไม่นาน พระสรีระยังเป็นเด็กหนุ่ม ภาษาชาวบ้านก็คือยังเก้งก้าง แขนขายาว และยังเห็นวี่แววว่าทรงอิดโรยจากพระโรค ไม่เจริญพระพลานามัยสมบูรณ์ดี
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 มี.ค. 08, 22:08 โดย เทาชมพู »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 21 มี.ค. 08, 12:17
|
|
รูปทหารในความเห็นที่ ๗๐ มีคำตอบจากตำนานกรมหารบกราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ดังนี้
ปี ๒๔๑๓ เมื่อกองทหารมหาดเล็กชั้นพวกมหาดเล็กหลวงครั้งแรก ๗๒ ตน ตัวนายและพลทหารแต่งคล้ายคลึงกันคือ เครื่องเต็มยศหมวกรูปทรงถังสูงหุ้มแพรสีม่วงแก่ (ซึ่งเป็สีเสื้อยศข้าราชการฝ่ายทหารในสมัยนั้น) ขลิบลูกไม้ทองเทศ (คือแถบทองมีลวดลายอย่างแขก) พันหน้าหมวกเยื้องขึ้นไปทางเบื้องขวา มีตราเงินหน้าหมวกเป็นอักษรพระบรมนามาภิธียย่อคือ ส.พ.ป.ม.จ. และเลข ๕ ไว้กัน (หมายความว่าสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์รัชกาลที่ ๕) รอบอักษรย่อนั้นมีรัศมีเป็นแฉก และมีแพรสีทับทิมห้อยจากข้างบนทาบลงมาทางข้างขวาด้วย เสื้อรูปทูนิกยาวตัดเป็น ๔ ปีก (คือผ่าเอวและผ่าหลัง) แพรสีเหล็ก (ซึงเป็นสีเสื้อยศของมหาดเล็กในสมัยนั้น) มีแถบทองอย่างเล็กขลิบที่คอและขดเป็นลายยันต์ ที่มุมที่คอและข้อมือติดแถบทองเล็กวงรอบและขดเป็นลายยันค์ขัดสมาธิ ดุมเงินมีอักษรพระบรมนามาภิธัยย่อเช่นกล่าวแล้ว แต่ไม่มีรัศมีเปลี่ยนเป็นมีใบชัยพฤกษ์วงโอบรัดครึ่งตัว นุ่งแพรสีเหล็ก คาดประคตแพรสีทับทิมชายครุยข้างในเสื้อ ให้ชายห้อยพ้นปีกเสื้อออกมาอยู่ข้างซ้าย คาดเข็มขัดหนังดำหัวเงิน มีอักษรพระบรมนามาภิยย่อเช่นตราหน้าหมวกทับนอกเสื้อ ถุงเท้าขาวอย่างยาว รองเท้าหนังดำ (รูปคอตชูมีเข็มเงิน) นายทหารชั้นผู้ใหญ่พิ่มลายยันต์ทองที่คอและข้อมือเสื้อเป็น ๓ ชั้น นายดาบและนายสิบเอกเป็นยันต์ ๒ ชั้น และมีเครื่องหมายยศอีกอย่างหนึ่ง คือ มีบั้งแถบทองติดที่แขนเสื้อข้างซ้ายอย่างนายสิบเป็น ๓ ชั้น คือ นายดาบ ๓ บั้ง นายสิบเอก ๒ บั้ง นายสิบโท ๑ บั้ง นายสิบตรีไม่มี บรรดานายทหารชั้นที่หมวกเพิ่มพู่ขนนกฝรั่งสีเขียว (ใบไม้) มำเป็นฝอยติดข้างเบื้องซ้ายอีกด้วย แพระมาลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นใช้พู่ขนนกการะเวกแทนขนนกฝรั่ง เครื่องสัตราวุธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระแสงกระบี่ฝักทองมีสายรัดพระองค์อย่างแถบทองเป็นพิเศษ นายทหารผู้ใหญ่และนายดาบใช้กระบี่ฝักหนังสีดำเครื่องทอง สายกระบี่หนังสีดำ นายสิบ พลทหารใช้ปืนอย่าง "กรีน" มีเข็มขัดหัวทองเหลือง คันชีพและซองดาบปลายปืนหนังสีดำ
เครื่องแบบนี้ใช้อยู่ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๑๔ ภาพนี้จึงน่าจะถ่ายในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๑๔ แต่จะในโอกาสใดไม่แจ้ง จากภาพ นายทหารคนซ้ายสุดมียศเป็นนายดาบ เพราะติดบั้ง ๓ บั้งที่แขนเสื้อซ้ายและขัดกระบี่ นายทหารคนที่ ๒ ยศนายสิบเอก เป็นพลแตร (ถือแตร) ส่วนที่เหลือเป็นพลทหาร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|