pipat
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 18 มี.ค. 08, 07:21
|
|
รูปนี้ฝากคุณอั้พครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 18 มี.ค. 08, 07:32
|
|
พระมหามงกุฏหนักเพียงใด พระรูปนี้คงบอกได้ ตั้งแต่มีกล้องเข้ามาในประเทศไทย ต้องถ่ายกลางแจ้งตลอด ถ้าต้องการรูปที่คมชัด
ราว 2410 เริ่มถ่ายรูปในร่มได้แล้ว แต่ต้องเปิดหน้ากล้องนานร่วมครึ่งชั่วโมงครับ นานจนกล้องจับการเคลื่อนไหวของแสงระยิบระยับในที่มืดได้
ในช่วงเวลานั้น พระบรมรูปอย่างที่เชิญมาให้ชม ต้องฉายแสง 10 นาทีเป็นอย่างเร็วครับ ไม่เว้นแม้แต่พระบรมรูปที่เพิ่งค้นพบใหม่นี้ ซึ่งฉายคราวบรมราชาภิเษกครั้ง 2411 แน่ๆ
ปล. ผมค้านคุณบานาเรื่องพระบรมรูปเสด็จวัดราชบพิธน่ะครับ คุณลงพ.ศ 2513 นั่นรัชกาลที่ 9 แล้วครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 18 มี.ค. 08, 08:07
|
|
ขอบพระคุณคุณ พพ.ครับ รูปในความเห็นที่ ๓๐ ทำให้ทราบว่าธรรมเนียมการรับพระมหาสังวาลนพรัตน์เฉวียงพระอังสาขวาไปซ้ายนั้น เป็นธรรมเนียมเฉพาะการรับพระบรมราชาภิเษกขณะประทับบนพระที่นั่งภัทรบิฐ แต่ครั้นทรงในเวลาอื่น จะทรงเฉวียงพระอังสาซ้ายไปขวา และอาจเป็นไปได้ว่า ธรรมเนียมการทรงพระมหาสังวาลนพรัตน์จากพระอังสาขวาไปซ้ายจะเคร่งครัดขึ้นเฉพาะเมื่อทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ขึ้นแล้วในรัชกาลที่ ๕ และทรงกำหนดให้ทรงสายสะพายนพรัตนฯ เฉวียงจากพระอังสาขวาไปซ้าย เมื่อทรงพระมหาสังวาลทับสายสะพาย จึงต้องเฉวียงไปทางนั้นเท่านั้น ต่างจากในอดีตที่ไม่มีสายสะพายนพรัตนฯ มาเป็นเครื่องกำกับที่ชัดเจน
พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๔ องค์บน ในความเห็นที่ ๒๔ น่าสนใจมากครับ เห็นแล้วนึกถึงพระป้ายที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ที่มีพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ ทรงยืนในพระอิริยาบถอย่างพระสยามเทวาธิราช ทรงเครื่องอย่างในพระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้ งามดีแท้ ผมเห็นว่างามกว่าพระบรมฉายาลักษณ์องค์ล่างที่ดูแล้วเหมือนประทับไม่ค่อยจะทรงสบายนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 18 มี.ค. 08, 20:27
|
|
คุณ Pipat กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎตามแบบวัฒนธรรมตะวันตกแล้ว ชวนให้นึกถึงการสถาปนาเจ้าอุปราชสุริยะ เป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ซึ่งเป็นช่วงหลังจากเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกแล้ว ครั้งนั้นโปรดสวมมาลายอดเกี้ยวพระราชทานดูแล้วเหมือนพิธีสวมมงกุฎของฝรั่ง และอีกครั้งเมื่อโปรดสถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้านครน่านเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่านนั้น เมื่ออาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาจบแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานสวมเสื้อครุยพระราชทาน แล้วทรงสวมชฎาพระราชทานพระเจ้านครน่าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 18 มี.ค. 08, 21:32
|
|
แหะๆ เข้ามาสารภาพว่างงกับพระบรมรูปในความคิดเห็นที่ 24 25 และ 27 ของคุณพิพัฒน์ครับ
ผมเคยทราบ (จากคุณ pipat น่ะแหละ) ว่าพระจอมเกล้าท่านประชวรด้วยพระโรค facial pulsy (ไม่ทราบว่าจะมีราชาศัพท์มั้ย - แต่ถึงมีนายติบอก็จำไม่ได้อยู่ดี ขนาดขากรรไกรเรียกว่าอะไรก็ยังจำไมได้ แหะๆ) ผู้ป่วยด้วยโรคนี้ ถ้าเป็นที่แขนงประสาทเดียวกับที่ทรงประชวร จะยิ้มไม่ขึ้น ในภาพถึงมุมพระโปษฐ์ตก......
แต่ดูไปดูมา ไม่รู้ว่าภาพไหนอัดผิด วาดผิดบ้าง มุมพระโอษฐ์ตกสลับไปสลับมา.... งงอีหลีอีหลอกะด้อกะเดี้ยครับ แหะๆ เห็นทีคงต้องเรียนถามคุณ UP และคุณ V_mee เรื่องสังวาลย์ หรือเรียนถามคุณ pipat เรื่องบันทึกของหมอ บรัดเล เพื่อหาคำตอบที่ช่วยคลายข้อสงสัยของนายติบอแล้วล่ะครับ แหะๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 18 มี.ค. 08, 22:18
|
|
หนุ่มติบอแกล้งงง ผมบอกไว้แล้วว่าพระรูปลายเส้นกลับซ้ายเป็นขวา งเทียบให้ดูด้วยนา..... คำให้การหมอปลัดเล ดูเหมือนจะอยู่ประชุมพงศาวดารภาค 31 เอ....หรือจะอยู่ในWilliam L. Bradley, Siam Then จำไม่ได้แล้ว แต่ในมอฟเฝ็ต แผ่นดินพระจอมเกล้า มีแน่ๆ ครับ -------------- ขยายพระรูปมาฝากคนชอบดู สังเกตว่า แสงลามวัตถุที่อยู่นิ่ง จนเกิดประกายระยิบระยับ เพราะเปิดหน้ากล้องนานมากๆๆๆๆ เหมือนถ่ายไฟท้ายรถยนตร์ตอนมืดน่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 18 มี.ค. 08, 23:09
|
|
ความคิดเห็นที่ 24 ก็กลับ (หรือเปล่าครับ ) แหะๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 19 มี.ค. 08, 00:10
|
|
24 บน เป็นพระบรมรูปบนแผ่นเงิน เทคนิคนี้ จะได้รูปเดี่ยวที่เป็นเนกะตีฟ/โพสะตีฟในตัวครับ คือเอียงไปทางหนึ่ง จะเห็นเป็นเนกะตีฟ เอียงอีกทาง เป็นเนกะตีฟ
แต่ตัวรูปจริงๆ นั้น เหมือนเรายืนหน้ากระจกเงา คือกลับซ้ายเป็นขวา ถ้าต้องการให้กลายเป็นรูปจริง ก็ถ่ายก๊อปปี้รูปแรกนี้ รูปที่ 2 ก็กลายเป็นกลับขวาเป็นซ้ายครับ
สรุปว่า พระบรมรูป 24 นั้น กลับซ้ายเป็นขวาครับท่าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 19 มี.ค. 08, 00:44
|
|
ปั่นกระทู้ได้ผล อย่ากระนั้นเลย นำรูปอื่นๆ ที่น่าชมมารวมไว้ด้วยดีกว่า จากนักสะสมคนเดิมครับ คุณวีมีและคุณอัพ คงยิ้มชอบใจ
ขอยกให้เป็นผู้บรรยายหลักนะครับ ผมเป็นพนักงานจัดรูปครับ (ถ้ามีข้อมูลทางเทคนิค ก็จะเสริมให้เป็นเครื่องเคียง)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 19 มี.ค. 08, 20:57
|
|
เจ้านายพระองค์นี้ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ หรือว่าเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีฯ คะ งามมาก ไม่เคยเห็นมาก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 19 มี.ค. 08, 21:43
|
|
เทียบพระรูปเจ้านายเมื่อทรงพระเยาว์หลายองค์ เห็นว่าน่าจะเป็นเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ครับ
ทรงมีสง่าราศรีและความผึ่งผาย เกินกว่าเด็กในอายุเพียงนี้ จะแสดงออกได้ พระรูปมีขนาดใหญ่มากครับ เท่าสมุดเมนูอาหารทีเดียว
เดาว่าเป็นฝีมือช่างภาพหลวงคนใหม่ จี อาร์ แลมเบิร์ต ซึ่งเข้ามาหากินในบางกอกราว 2420 และขุนสุนทรสาทิศลักษณ์คงไปเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมแก้สหลวงแล้ว แลมเบิร์ต เป็นช่างภาพชั้นนำ มีออฟิสทีเดียวสามแห่ง ทั้งปัตตาเวีย สิงค์โปร์ และกรุงเทพ พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 หลังปี 2420 เป็นฝีมือเขาเกือบหมดครับ
ผมอาจจะเล่าเรื่องได้ไม่ครบถ้วน ชีวิตในรัชกาลที่ 5 ไม่มีความรู้เลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุ้งแห้งเยอรมัน
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 19 มี.ค. 08, 21:50
|
|
ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ฯแน่นอนค่ะ พระรูปนี้หน้าตาละม้ายคล้ายสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลย์มารศรีฯ และทำให้รู้สึกว่า สองพระองค์งามทั้งพี่ทั้งน้อง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 19 มี.ค. 08, 23:00
|
|
พระรูปนี้ โสกันต์แล้ว พระชนม์เห็นจะประมาณ ๑๓ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ประสูติเมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๒๔ สันนิษฐานว่า พระรูปนี้ฉายประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๗
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 19 มี.ค. 08, 23:04
|
|
ขยายได้อีกเล็กน้อยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 08:28
|
|
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์ ทรงโสกันต์เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ และเมื่อคราวโสกันต์นั้น เมื่อพระบรมวงศ์ทรงตัดพระเมาฬีแล้ว ภูษามาลาจะเจริญเส้นพระเกศาจนเกลี้ยง แต่ในพระรูปนี้เส้นพระเกศาเริ้มขึ้นแล้ว จึงพอจะคะเนได้ว่า พระรูปนี้คงจะทรงฉายราวเดือนมีนาคม ๒๔๓๗ หรือเมษายน ๒๔๓๘ (สมัยนั้นเปลี่ยนปีในวันที่ ๑ เมษายน) ก่อนเสด็จออกไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษไม่นานนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|