เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
อ่าน: 53135 พระบรมรูป เพิ่งค้นพบใหม่
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 03 ก.ค. 08, 14:38

พระรูปด้านบน อีกไม่นานคุณวีมี หรือคุณอั้พ คงจะมาช่วยไขความกระจ่าง
ขอเรียญเชิญนะครับ

ส่วนพระรูปต่อไปนี้มีค่าตรงที่เราทราบเรื่องประกอบ
Another photo is of a signed print of HRH King Chulalongkorn.
This was given by HRH King Chulalongkorn to Col. David B. Sickels,
who was the United States Minister to Siam in the late 1870's and early 1880's.
He was a good friend to King Rama V.

เห็นชัดว่าเป็นพระรูปในเทคนิคพิมพ์หิน สังเกตที่พื้นเบื้องหลัง มีเกร็นของลายหินเป็นสีเทาเข้ม
คนที่คุ้นกับภาพพิมพ์จะนึกออก
แต่ลายพระหัตถ์นั้นมีน้ำหนักอ่อนแก่ โดยเฉพาะตรงปลายลายเส้น
ไม่แข็งเหมือนงานพิมพ์ อย่างที่เคยเห็นในเอกสารต่างๆ  อันมักจะมาจากการแกะบล๊อกตีพิมพ์ขึ้น

ผมเคยมีวาสนาได้ชมพระราชหัตถ์เลขาส่วนพระองค์ชุดหนึ่ง มีร่วมร้อยฉบับ
มีเพียงฉบับเดียว แผ่นเล็กๆ ลายมือหวัดจนอ่านไม่ออก
ครูของผมบอกว่า คือองค์เดียวที่เป็นลายพระหัตถ์จริง นอกนั้นเป็นลายมือของเจ้าหน้าที่
ลักษณะเหมือนในพระรูปนี้ครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 03 ก.ค. 08, 14:46

ค้นต่อไปก็เจอว่า ผู้การ Sickels นี้ ไม่ใช่คนไม่ดังนะครับ ดังทีเดียว
เป็นคนแรกที่ส่งแมวสยามไปสหปาลีรัฐอะเมริกา

เป็นของขวัญประธานาธิบดี จึงเป็นผู้เปิดศักราชแมวไทยเป็นแมวโลก
ยาวนานมาถึงปรัตยุบัน.........
จบข่าว

http://www.blackandtansiamese.com/historicsiamese/historic_before_1940s.htm
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 03 ก.ค. 08, 16:30

ห่างหายไปจากกระทู้นี้เสียนาน  เพิ่งได้มาชมพระบรมฉายาลักษณ์งามๆ ที่คุณPipat กรุณานำมาให้ชมเป็นบุญตาจริงๆ ครับ  และก็ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

เมื่อมาแล้วก็ต้องรับหน้าที่บรรยายความตามที่คุณPipat ได้บอกกล่าวไว้ครับ

พระบรมฉายาลักษณ์ในความเห็นที่ ๙๙ 
สามเณรสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงฉายร่วมกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖  เมื่อทรงดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี 

ตามพระราชประวัตินั้น  สมเด็จพระบรมฯ พระองค์ใหญ่เสด็จออกทรงผนวชสามเณรเมื่อวันที่  ๑๐  กันยายน  ร.ซ. ๑๑๐ (พ.ศ. ๒๔๓๔)  และทรงลาผนวชเมื่อวันที่  ๒๑  มกราคม ปีเดียวกัน

ในระหว่างที่ทรงผนวชนั้นมีพระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรฉายร่วมกับสมเด็จพระอนุชา คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเทพทวาราวดีอยู่ ๒ องค์  องค์หนึ่งทรงฉายที่พระแท่นหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร  ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์องค์ที่คุณPipat เชิญมาให้ชมกันนั้น  ดูเหมือนว่าจะทรงฉายที่พระปฐมเจดีย์  (เพราะประทับยินอยู่หน้าเขามอ  ซึ่งไม่มีที่วัดบวรนิเวศวิหาร)  เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินพระราชทานที่วัดพระปฐมเจดีย์เมื่อวันที่ ๔ หรือ ๕  พฤศจิกายน  ปีเดียวกันนั้น-
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 03 ก.ค. 08, 16:50

ต่อด้วยพระบรมฉายาลักษณ์ในความเห็นที่ ๑๐๒

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชอนี (พระอิสริยยศในขณะนั้น)
พระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้ล้นเกล้าฯ ทรงเครื่องเต็มยศ จอมพล ผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารบกราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์  ทรงประดีบพระตรา (เรียงจากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง) นพรัตนราชวราภรณ์  มหาจักรีบรมราชวงศ์  และรามาธิบดีชั้นที่ ๑ "เสนางคบดี"  ระหว่างพระตรา ๒ องค์บน  ทรงประดับเข็มเครื่องหมายกรมหารราบเบาเดอรัม (Duhram Light Infantry) ซึ่งเป็นหน่วยทหารที่เคยเสด็จไปประจำการเมื่อทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช  และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ สมเด็จพระเจ้ายอร์ชที่ ๕ ได้มีพระราชโทรเลขเชิญให้ทรงรับพระยศเป็นนายพลเอก นายทหารพิเศษของกองทัพบกอังกฤษ และกรมทหารราบเบาเดอรัม  ที่ต้นพระกรซ้ายทรงประดับปลอกพระกรสำหรับตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ จ.ป.ร.  ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีฯ ทรงสายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์  ซึ่งได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๖๕  พระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้จึงน่าจะทรงฉายเนื่องในการเฉลิมพระชนม์พรรษา ๑  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๖๕ ตามพระราชประเพณี "ฉายรูปในวันเกิด"  ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงเริ่มไว้
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 03 ก.ค. 08, 18:15

ขออนุญาตเพิ่มเติมคำบรรยายเกี่ยวกับ พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายคู่กับสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีฯ ครับ

เหรียญที่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีฯ ทรงประดับที่พระอุระเบื้องซ้ายคือ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖ ชั้นที่ ๑ และตราวัลลภาภรณ์ ครับ

จะสังเกตได้ว่าพระราชอาสน์และโต๊ะเคียงในสมัยนั้น เริ่มเข้ารูปเป็นแบบแผนอันสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน พระราชอาสน์ตราแผ่นดิน (กองพระราชพิธีสมัยหลังๆ เรียกว่า พระราชอาสน์/พระเก้าอี้เหลืองจักรี) และโต๊ะเคียงลักษณะนี้เข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้สั่งทำและริเริ่มกำหนดธรรมเนียมการใช้ แต่ผ้าบุพระราชอาสน์อาจจะยังไม่มีแบบเคร่งครัดนัก เพราะพบว่าบางครั้งก็บุด้วยผ้ากำมะหยี่ลายดอกไม้ (ดูตัวอย่างได้ในมุขกระสันตะวันออกและตะวันตก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท) คงจะเริ่มมีธรรมเนียมใช้ผ้าบุสีเหลืองทองในปลายรัชกาลที่ ๕ จนมาเป็นแบบแผนชัดเจนในรัชกาลที่ ๖ ส่วนโต๊ะเคียง สมัยหลังๆ นี้นิยมปูผ้าเยียรบับทับอีกชั้นหนึ่ง แต่สมัยก่อน แม้ในช่วงต้นรัชกาลปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าโต๊ะเคียงพระราชอาสน์/พระเก้าอี้ จะไม่ปูผ้าเยียรบับอย่างเช่นในพระบรมฉายาลักษณ์องค์ดังกล่าวครับ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 03 ก.ค. 08, 18:21

ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์ในความคิดเห็นที ๑๐๕ นั้นงามมากครับ ขอบพระคุณคุณ pipat ที่เชิญมาให้ชมกัน เห็นแล้วน่าใช้เป็นแบบทำล็อกเก็ตพระบรมรูปหรือไม่ก็คามิโอ

และขอยืนยันว่าลายพระราชหัตถ์ในรัชกาลที่ ๕ นั้นอ่านยากมากถึงมากที่สุด ทรงเขียนหวัดมาก หากว่าเป็นลายมืออาลักษณ์ก็อ่านสะดวก แต่พระราชหัตถเลขาองค์ไหนที่ทรงเอง ต้องเพ่งแล้วเพ่งอีกและใช้ความคุ้นชินในการอ่านครับ ผมเคยได้รับหน้าที่อ่านและประมวลพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานไปยังสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์หนึ่ง ทั้งหมดนั้นทรงเอง เพราะหลายเรื่องเป็นพระราชปรารภภายในเกี่ยวกับเจ้านายพระองค์ต่างๆ กว่าจะคุ้นตาก็ต้องใช้เวลานาน และที่น่าแปลกคือสำนวนพระราชโวหารในรัชกาลที่ ๕ หากว่าง่ายก็เข้าใจง่ายจริงๆ หากว่ายากก็ยากเหลือใจ อ่านไม่เข้าใจเลยว่าทรงสื่อความว่ากระไร น่าแปลกใจมากครับ เวลามีพระบรมราชาธิบายต่างๆ อย่างเช่นในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน หรือพระราชหัตถเลขาทรงเล่าเรื่องราวต่างๆ จากยุโรป อย่างนั้นเข้าใจง่ายมาก แต่พอไปอ่านพระราชหัตถเลขาหรือพระบรมราชาธิบายเรื่องอื่นๆ บางเรื่อง กลับต้องคิดแล้วคิดอีก เดาแล้วเดาอีก ว่าทรงหมายถึงอะไร
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 05 ก.ค. 08, 09:24

ได้รับความรู้เต็มอิ่มจากทั้งสองท่าน ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ

เรื่องเขามอนั้น น่าสนใจมาก ในรูปรุ่นรัชกาลที่ 4 ได้เคยพบหลายครั้ง
เข้าใจว่าในพระบรมมหาราชวังจะมีสร้างไว้ด้วย แต่น่าจะเป็นพระราชฐานชั้นนอก เพราะในรูปมีชายหนุ่มยืนอยู่
และมีพนักงานห่มแพรสียืนอยู่ด้วย

อีกแห่งที่นึกว่าน่าจะมีก็คือที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ก่อนถูกรื้อ
ถ้าเจอรูปที่เหมาะๆ จะนำมาอวดอีกครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 09 ก.ค. 08, 21:35

ท่องเนต เจอสิ่งสำคัญ ขออวดท่านที่สนใจ
พระราชหัตถเลขาภาษาอังกฤษ บอกขายที่ราคา สองพันปอนด์
ให้รายละเอียดว่า
-------------------------
MONGKUT‚ Rama IV‚ King of Siam.   

Autograph Letter Signed ‘Mongkut RS on 6671st day of reign’‚
to ‘His Excellency Sir Henry Saint George Ord KCB the colonial governor
commander-in-chief at the British Strait Settlement’‚
announcing the return of “my dutiful faithful consul” with Ord’s letter from Singapore‚
and explaining in great detail the family background of a new ambassador he has appointed to visit Orde
“with Mr.Tom Kim Ching my consul at Port of Singapore”.   
3 pp. 6½ x 4 inches‚ with two blue seals‚ letter complete‚ but worn‚ creased‚ dust soiled and torn at folds‚
marginal defects‚ black borders.   Royal Residence‚ Grand Palace‚ Bangkok‚ Siam‚ 27 December 1867.   

King Maha Mongkut‚ also known as Rama IV‚ ruled Siam (now Thailand) from 1851 to 1868‚
during which time he successfully negotiated with Western powers and modernized his nation.
Mongkut ascended the throne upon the death of his half-brother‚ Jetta (Rama III)‚ after spending 27 years
as a Buddhist monk. Educated and multi-lingual‚ Mongkut negotiated with the United States and European
powers to open Siam to international trade. Sir Harry St George Ord (1819–1885)‚
army officer and colonial governor‚ was appointed on 5 February 1867 to be the first colonial governor
of the Straits Settlements‚ these possessions having previously been administered by the government of India.
He remained at Singapore until November 1873.
Mongkut says of Ord’s letter: “...the whole content thereof was perused by me & verbally
translated to my dear wives the Ladies whose names have been known to you before.”
The new ambassador to the Strait Settlements is to be “Phya Debiaprajun the second officer secretary of the
Presidency of Southern provinces of Malayan States‚ dependants to Siam”.

Price : £2,000.00


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 09 ก.ค. 08, 21:46

ฉบับนี้แพงขึ้นเป็นสามพันปอนด์ครับ
ก็สมควรอยู่

MONGKUT‚ Rama IV‚ King of Siam.

Autograph Letter Signed as ‘Mongkut Rex Siamensium’‚ ‘To His Excellency Sir John Bowring Knight’‚
announcing “the death our esteemed uncle His Excellency Somditch Chun Phya Pasam Maha Payurawonse
the greatest regent of Siamese Kingdom”‚ giving details of his uncle’s birth and death‚ announcing the funeral‚
and stating that his uncle’s name should remain on “the new treaty”.
3 pp. 6 x 3¾ inches‚ three black seals‚ black border to first page‚ in very good clean condition (traces of one
hinge only where formerly mounted). Numbered in Mongkut’s hand: No.64.   
Grand Palace‚ Bangkok‚ Siam‚ 7 May 1855.   
King Maha Mongkut‚ also known as Rama IV‚ ruled Siam (now Thailand) from 1851 to 1868‚ during which time
he successfully negotiated with Western powers and modernized his nation. Mongkut ascended the throne upon
the death of his half-brother‚ Jetta (Rama III)‚ after spending 27 years as a Buddhist monk. Educated and multi-lingual‚
Mongkut negotiated with the United States and European powers to open Siam to international trade. Mongkut writes:
“Yet we wish his E-ys name remained in the treaty as he has sealed thereon with his official Seal as it appeared in all
quadruplicates of the new treaty.” Sir John Bowring (1792–1872)‚ politician‚ diplomatist‚ and writer‚visited Siam in 1855
and successfully negotiated a commercial treaty with King Mongkut.

Price : £3,000.00


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 09 ก.ค. 08, 21:55

ความสำคัญประการหนึ่ง อย่างน้อยตามความเซอะของผมก็คือ
ทรงพระราชทานเกณฑ์เทียบปฏิทินไทย-ตะวันตก ให้เราได้ใช้

คือทรงระบุวันเดือนปีเกิดของสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ๋ไว้
ทำให้เราสามารถเทียบกลับ และสร้างปฏิทินที่เที่ยงตรงขึ้นมาได้

การเทียบวันเดือนปีในห้วงเวลา 100 ปีย้อนหลังนั้นค่อนข้างยุ่งยาก
เพราะเราเริ่มปีที่เดือนเมษา แถมจอมพลป. ยังมาลบศักราชเสียอีกหน ในปี 2484
ให้เริ่มปีที่วันที่ 1 มกราคม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 10 ก.ค. 08, 12:22

คราวนี้มาขอความช่วยเหลือครับ
เพื่อนส่งพระรูปนี้มาและยืนยันว่า เป็นการฉายพระรูปในวันปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475
ผมไคิดว่าจะเป็ฯเช่นนั้น แต่ไม่มีความรู้พอจะไปเถียงเขา

ท่านผู้ใดจะเมตตาติดอาวุธปัญญาให้ผมไปโต้แย้งเขาได้ใหมครับ
ขอบพระคุณมาล่วงหน้าอย่างกระวนกระวายใจ



บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 11 ก.ค. 08, 01:31

ไม่ต้องเดาเลยว่าทั้งคุณวี และคุณอั้ฟ จะปลื้มเพียงใดที่ได้ชมพระรูปนี้
ผมเองเป็นคนนอก ไม่ได้ทราบและซึ้งในพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 สักเท่าใด
เมื่อได้รับสำเนาพระบรมรูปนี้ ยังรู้สึกว่าเป็นบุญตาโดยแท้



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 11 ก.ค. 08, 02:48

พระบรมรูปอีกพระองค์ครับ



บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 11 ก.ค. 08, 07:16

ขอบพระคุณคุณ Pipat ที่กรุณาหาพระบรมฉายาลักษณ์งามๆ มาให้ชื่นชมพระบารมี

องค์แรก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  ดูเหมือนจะทรงฉายเมื่อคราวเสด็จฯ สหรัฐอเมริกา  แต่พอดีตอนนี้ไม่มีคู่มืออ้างอิงเลยยังไม่สามารถยืนยันได้  ที่ยืนยันได้คือวันที่  ๒๔  มิถุนายน  ๒๔๗๕ นั้น  ประทับที่หัวหิน  และเท่าที่ทราบจากพระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง  สาคริก)  วันนั้นสถานการณ์ที่วังไกลกังวลทั้งกังวลและสับสนมาก  ทุกคนต่างพากันรอฟังข่าวจากกรุงเทพฯ  ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการฉายพระบรมฉายาลักษณ์ครับ

พระบรมฉายาลักษณ์ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ สององค์ต่อมา

องค์แรกทรงฉายที่อังกฤษขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร  ทรงเครื่องเต็มยศ นายร้อยโททหารมหาดเล็ก (กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์) พระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้คาดว่า ทรงฉายก่อนที่จะเสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ไม่นาน

เมื่อกล่าวถึงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแล้ว  มีข้อที่น่าสังเกตที่ยังหาคำตอบไม่ได้ คือ ธรรมเนียมไทยเราแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนั้น  หากยังไม่มีการพระราชทานเพลิงศพผู้ที่ดำรงตำแหน่งเดิมแล้ว  จะยังไม่แต่งตั้งคนใหม่ขึ้นแทน  ตัวอย่างเช่นในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์  หรือพระราชาคณะถึงมรณภาพ  หากยังไม่มีการพระชทานเพลิงพระศพหรือศพแล้ว  ก็จะยังไม่โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชหรือพระราชาคณะในราชทินนามนั้น  แต่เมื่อครั้งที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สวรรคตในวันที่  ๔  มกราคม  ๒๔๓๗  ถัดมาอีกเพียง ๑๓ วัน ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแทน  ถ้าจะอ้างถึงความในประกาศสถาปนาว่า พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่กราบบังคมทูลพระกรุณาขออย่าให้แผ่นดินว่างพระรัชทายาทแล้ว  ก็น่าคิดว่า เวลานั้นล้นเกล้าฯ ก็ยังประทับทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษ  และถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันดังที่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่กังวลกันนั้น  สมเด็จพระบรมฯ ซึ่งประทับอยู่ต่างประเทศจะทรงแก้ไขสถานการณ์ได้ทันหรือ?  เพราะกว่าจะเสด็จกลับจากอังกฤษก็ต้องใช้เวลาราว ๓ สัปดาห์เข้าไปแล้ว 

พระบรมฉายาลักษณ์องค์ถัดมา  ทรงเครื่องจอมพลเรือ  ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดเครื่องแต่งตัวทหารเรือ ร.ศ. ๑๒๔  เครื่องแบบทหารเรือแบบเยอรมันนี้ใช้มาตั้งแต่ตอนปลายรัชกาลที่ ๕  มาจนถึงสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๕๔  พอวันที่  ๑  เมษายน  ๒๔๕๕  ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ทหารเรือเปลี่ยนมาใช้เครื่องแบบแบบทหารเรืออังกฤษดังที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้
พระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้น่าจะทรงฉายเมื่อคราวเฉลิมพระชนม์พรรษา  ๑  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๕๔  เพราะเมื่อเสด็จนิวัติพระนครในตอนปลายปี ๒๔๔๕ นั้น  ทรงได้รับพระราชทานพระยศเป็นนายพลเอก จเรทัพบก  และทรงรับราชการทหารบกมาโดยตลอดตราบจนเสด็จเสวยราชย์สมบัติเมื่อวันที่ ๒๓  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๕๓  ต่อมาวัที่  ๔  พฤศจิกายน  ปีเดียวกันนั้น  นายพลเรือโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นผู้แทนกรมทหารเรือทูลเกล้าฯ ถวายอินทรธนูจอมพลเรือ  นับเป็นครั้งแรกที่ทรงดำรงพระยศทหารเรือ  และในวันนั้นได้พระราชทานพระราชดำรัสตอบว่า  เมื่อแรกเสด็จออกไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษนั้น  มีพระราชประสงค์ที่จะเรียนวิชาทหารเรือ  แต่เมื่อทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแล้ว  ต้องทรงเปลี่ยนมาเรียนวิชาทหารบกและวิชาพลเรือนแทน

ฉลองพระองค์นี้เป็นเครื่องแบบทหารเรือตาม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 13 ก.ค. 08, 01:14

สังเกตว่าที่พระกรของพระนางรำไพฯ นั้น มีช่อดอกไม้ เข้าใจว่าเป็นดอกไม้ต้อนรับ
ผมเองก็คลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นพระรูปฉายที่สหรัฐอเมริกา

ไม่ทราบว่ามีใครแวะพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า อาจจะมีพระรูปนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง