pipat
|
สหายต่างชาติ ส่งข้อมูลใหม่มาให้ศึกษา พระบรมฉายาสาทิศลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระรูปซึ่งไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 18:49
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 18:54
|
|
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cannavaro
อสุรผัด

ตอบ: 37
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 14 มี.ค. 08, 13:10
|
|
ขอบคุณครับ เป็นบุญตาที่ได้ชม
พระรูปนี้ ดูเหมือนพระชนมายุยังไม่มากเท่าไหร่ น่าจะยังไม่ถึง 30 พรรษาหรือป่าวครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 14 มี.ค. 08, 13:21
|
|
กำลังทำการบ้านให้เพื่อนอยู่ครับ มีให้เลือก 2 ครั้งคือ เมื่อบรมราชาภิเษกครั้งแรก 2411 หรือครั้งที่ 2 เมื่อ 2416
ส่วนตัวมีความมั่นใจที่จะระบุ แต่ยังไม่มั่นใจที่จะแสดงความเห็น ส่วนพระรูปนี้ ซึ่งคนทั้งหลายมักจะบอกว่าเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 2416 นั้น ผมขอยืนยันว่า มิใช่ครับ เป็นการฉายพระบรมรูปเพื่อฉลองพระนครครบ 100 ปี พ.ศ. 2425
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 15 มี.ค. 08, 01:44
|
|
ดูจากพระบรมฉายาลักษณ์แล้ว ผมคิดว่าพระชนมายุไม่น่าจะเกิน 20 หรือจะเป็น พ.ศ.2414 ครั้งเมื่อขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ...... 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 15 มี.ค. 08, 02:13
|
|
นี่ไปเอาปี 2414 มาจากใหนอีกล่ะท่าน ข้าพเจ้างง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 15 มี.ค. 08, 11:19
|
|
พระบรมฉายาลักษณ์องค์นี้ยังไม่ได้ทรงไว้พระมัสสุ (หนวด) น่าจะทรงฉายตอนต้นรัชกาล ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย คือ ทรงฉายคราวบรมราชาภิเษกครั้งแรกหรือครั้งที่สอง
ข้อที่จะพิสูจน์ว่าทรงฉาย พ.ศ. ๒๔๑๖ นั้น เห็นจะต้องดูที่ลักษณะเส้นพระเจ้า เพราะในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ เสด็จออกทรงผนวช เมือทรงลาผนวชแล้ว จึงโปรดให้มีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ ซึ่งห่างจากลาเวลาที่ทรงลาผยวชไม่นานนัก และหากพระบรมฉายาลักษณ์นี้ทรงฉายเนื่องในการบรมราชาภิเษกครั้งที่สอง น่าจะสังเกตเส้นพระเจ้าได้ว่า จะค่อนข้างสั้น
แต่หากทรงฉายคราวบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ เวลานั้นเพิ่งจะทรงหายจากพระประชวรไข้ป่า ซึ่งว่กันว่าพระอาการเจียนอยู่เจียนไปเลยทีเดียว กรณีนี้คงต้องสังเกตจากพระพักตร์และพรอิริยาบถ
นอกจากนั้นในบันทึกเรื่องการพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ ก็กล่าวไว้ว่า ทรงพระเครื่องต้นและทรงฉายพระบรมฮายาลักษณ์ไว้ แต่คงไม่ใช่องค์ที่ชิญมาให้ชมกันนี้ เพราะเวลานั้นดูเหมือนจะทรงไว้พระมัสสุแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 15 มี.ค. 08, 23:25
|
|
ขออำภัยครับ 2511 คราวบรมราชาภิเษกครั้งแรกครับ(ผิดอย่างแรง) คือจากพระบรมฉายาลักษณ์น่าจะประมาณ 15-16 พระชันษา......... 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 16 มี.ค. 08, 04:44
|
|
น่าสนใจมากครับ ยังหาคำตอบที่แน่ชัดไม่ได้ แต่มีพระบรมฉายาลักษณ์มาเพิ่มอีกหนึ่งองค์ โปรดดูตามลิ้งก์นี้ http://www.thaisamkok.com/forum/lofiversion/index.php/t7469.htmlดูเผินๆ อาจคิดว่าเป็นองค์เดียวกับที่คุณพพ.เชิญมาในความเห็นที่ ๔ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ครับ สังเกตเครื่องราชูปโภคที่เชิญมาทอดถวายไว้ที่ม้าเคียงทั้งซ้ายและขวาตลอดจนพระสุพรรณราชที่ทอดไว้บนพื้นนั้น เป็นคนละสำรับกัน พระสุจหนี่ที่ลาดรับพระที่นั่งกง ก็คนละลวดลายกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 16 มี.ค. 08, 11:31
|
|
พระพรมรูปชุดนี้ ตามพระอารามหลวงชั้นเอก มีแขวนประดับไว้ เป็นรูปใส่กรอบขนาดใหญ่มาก เห็นจะเกือบเท่าพระองค์จริง พิมพ์สอดสี บนวัสดุคล้ายกระดาษ อาจจะเป็นแผ่นหนังหรืออะไรไม่อาจบอกได้ แต่มีรอยแตกระแหง เป็นเกล็ดไปทั้งชิ้น
ผมไม่สามารถพิจารณาไกล้ได้ เดาว่าจะสร้างพระราชทานในปีฉลองพระนครครบร้อยปี ทั้งหมด เดาล้วนๆ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 16 มี.ค. 08, 23:48
|
|
จากรูปใน คห.1 กับรูปในคห.สุดท้าย พระมหาพิชัยมงกุฏ ผมว่าไม่เหมือนกันครับ ส่วนพานพระศรีดุแล้วคล้ายกันมากครับ..... 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 17 มี.ค. 08, 02:41
|
|
พระบรมฉายาลักษณ์องค์แรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระชฎากลีบครับ สององค์หลังทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ
ส่วนเครื่องราชูปโภคในพระบรมฉายาลักษณ์องค์แรก ม้าเคียงขวาพระหัตถ์ทอด ๑. พานพระขันหมาก (สำรับเล็ก สร้างในรัชกาลที่ ๔ ชาววังชอบเรียกว่า "ชุดสมเด็จพระเทพ (ศิรินทรฯ)" เพราะเชื่อกันว่าทรงสร้างพระราชทานสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี แต่..ผมไม่ใคร่จะเชื่อครับ) ๒. พระสุพรรณศรี (สร้างในรัชกาลที่ ๔) ที่พื้นทอด พระสุพรรณราช (มองไม่ถนัดว่าลวดลายเป็นอย่างไร เข้าใจว่าเป็นองค์ที่สร้างในรัชกาลที่ ๔ พร้อมกับพานพระขันหมากสำรับเล็ก) ม้าเคียงซ้ายพระหัตถ์ทอด ๑. พระมณฑปรัตนกรัณฑ์ (เล็ก สร้างในรัชกาลที่ ๔) ๒. พระสุวรรณภิงคาร (ของนอกสำรับพานพระขันหมากเล็ก)
เครื่องราชูปโภคในพระบรมฉายาลักษณ์องค์ที่ ๒ ทอดเครื่องราชูปโภคสำรับพานพระขันหมากเล็ก (รัชกาลที่ ๔) เหมือนในพระบรมฉายาลักษณ์องค์แรก แต่ไม่ได้ทอดพระสุวรรณภิงคาร ส่วนพระสุพรรณราชทอดไว้ที่พื้นเบื้องซ้ายแทน
เครื่องราชูปโภคในพระบรมฉายาลักษณ์องค์ที่ ๓ ม้าเคียงขวาพระหัตถ์ทอด ๑. หีบพระศรีพร้อมพานรอง ๒. พระสุวรรณภิงคาร พื้นเบื้องขวาทอดพระสุพรรณราช (ทรงเฟือง สร้างในรัชกาลที่ ๑) ม้าเคียงซ้ายพระหัตถ์ทอด ๑. พระมณฑปรัตนกรัณฑ์ (สำรับใหญ่ สร้างในรัชกาลที่ ๑) ๒. พานพระขันหมาก (เล็ก สร้างในรัชกาลที่ ๔) ๓. พระสุพรรณศรี (สร้างในรัชกาลที่ ๔)
จากพระบรมฉายาลักษณ์ทั้ง ๓ องค์จะเห็นความแตกต่างของการเชิญเครื่องราชูปโภคมาทอดถวายในอดีตกับในปัจจุบัน กล่าวคือ ในอดีต จะเชิญอย่างแยกสำรับก็ได้ เช่น อาจเชิญเครื่องราชูปโภคในสำรับใหญ่ของรัชกาลที่ ๑ มาปะปนกับเครื่องราชูปโภคสำรับเล็กของรัชกาลที่ ๔ หรือเชิญตามแต่จะทรงใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย ส่วนในปัจจุบัน การทอดเครื่องราชูปโภคจะจัดคุมสำรับอย่างชัดเจน ไม่มีการเชิญของแตกสำรับมาปะปน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 17 มี.ค. 08, 12:47
|
|
ในเมื่อพระฉายาลักษณ์องค์แรกทรงพระมหากฐินซึ่งมียี่ก่าหรือขนนกการเวกประดับที่พระมหามงกุฎ จึงพอจะตัดประเด็นเรื่องทรงฉายในคราวบรมราชาภิเษกครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๑ ออกไปได้ เพราะเหตุผลที่ต้องสร้างพระมหากฐินนั้น เพราะน้ำหนักของพระมหาพิชัยมงกุฎที่หนักเอามากๆ อีกทั้งขนาดไม่พอดีกับพระเจ้า ดังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยทรงเล่าไว้ในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ว่า เวลาทรงพระมหาพิชัยมงกุฎแล้ว จะต้องทรงระวังมิให้พระมหาพิชัยมงกุฎโค่นลงมาเป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ดังนั้นสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าเมื่อเสด็จเสวยราชย์จึงมักจะทรงสร้างพระมหากฐินซึ่งมีน้ำหนักเบาและมีขนาดเหมาะกับพระเจ้าไว้ทรงแทนพระมหาพิชัยมงกุฎในเวลาทรงพระเครื่องต้น ดังนั้นจึงน่าจะตัดประเด็นเรื่องทรงฉายเมื่อคราวบรมราชาภิเษกครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ออกไปได้
ประเด็นที่จะต้องสืบค้นต่อไปคือ โปรดให้สร้างพระมหากฐินนั้นเมื่อไร ในประเด็นนี้มีข้อที่น่าจะหยิบยกขึ้นพิจารณาประกอบ คือ การเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐินในสมัยก่อนมักจะเสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นกระบวนราบ ซึ่งเวลาเสด็จฯ จะต้องทรงเครื่องบรมราชถูษิตาภรณ์ประทับพระราชยานไปดทียบที่เกยหน้าพระอาราม แล้วจึงทรงเปลื้องพระมหากฐินเปลี่ยนไปทรงพระมาลาเส้าะเทิ้นเสด็จเข้าส๔พระอาราม และเวลาเสด็จฯ กลัยก็จะทรงเปลี่ยนมาทรงพระมหากฐินยาตรากระบวนเสด็จกลับ ดังนั้นพระมหากฐินองค์นี้น่าจะสร้างและเริ่มทรงใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๑๒
นอกจากนั้นการถ่ายในตอนต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นยังเป็นการใหญ่อยู่ ธรรมเนียมการฉายพระบรมฉายาลักษณ์ในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาจึงยังคงจะไม่มี แต่คงจะฉายพระบรมฉายาลักษณ์เฉพาะในการพระราชพิธีสำคัญซึ่งเป็นการนานๆ ครั้ง และถ้าพระบรมฉายาลักษณ์องค์ที่ว่า พระราชทานไว้ตามพระอารามต่างๆ นั้นเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรงฉายคราวฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปีแล้ว พระบรมฉายาลักษณ์ในความเห็นแรกจึงน่าจะทรงฉายเมื่อคราวบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ เป็นแน่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 17 มี.ค. 08, 15:33
|
|
ด้วยความเคารพ ผมขออนุญาตแสดงความเห็นเรื่องพระชฎาต่างไปจากคุณ V_Mee นะครับ
ผมว่าพระชฎาในพระบรมฉายาลักษณ์ตามความเห็นที่ ๑ นั้นคือ "พระชฎากลีบ" สร้างในรัชกาลที่ ๑ ครับ ไม่ใช่พระชฎามหากฐิน
พระชฎากลีบสร้างด้วยทองคำลงยาประดับเพชรมีส่วนประกอบคือ มาลาไม่มีเกี้ยว ส่วนยอดค่อนข้างแบนจำหลักเป็นกลีบ ปลายสะบัดไปข้างหลัง เป็นยอดเดี่ยวปลายมนช้อยขึ้น ส่วนพระชฎา ๕ ยอด หรือพระชฎามหากฐิน ปัจจุบันมี ๔ องค์ คือของรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ พระชฎามหากฐิน ๔ องค์นี้ทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชร ลักษณะคล้ายกัน มีส่วนประกอบ คือ มาลา เกี้ยว ส่วนยอดเป็น ๕ แฉก ยอดกลางสูง อีก ๔ ยอดเล็กและต่ำกว่า ปลายสะบัดไปข้างหลังแต่ปัดลงไม่ช้อยขึ้น ตรงกระหม่อมติดกระจังโดยรอบเป็นชั้น มีกรรเจียกจร ตอนล่างส่วนยอดพระชฎาปักใบสนหรือขนนกการเวก
พระชฎามหากฐินรัชกาลที่ ๑ และพระชฎามหากฐินรัชกาลที่ ๕ ทรวดทรงต่างจากที่เห็นในพระบรมฉายาลักษณ์แน่นอนครับ พระชฎามหากฐินจะมีทรงค่อนข้างป้อมเตี้ยกว่า และถ้าจะสันนิษฐานว่าพระชฎาองค์นี้เป็นพระชฎามหากฐินรัชกาลที่ ๑ ก็ต้องขอยืนยันอีกว่าไม่ใช่แน่ เพราะพระชฎามหากฐินรัชกาลที่ ๑ มีเกี้ยว ๓ ชั้นและดอกไม้ไหวแซม ส่วนพระชฎาในพระบรมฉายาลักษณ์นั้นไม่มีเกี้ยว ทรงเพรียวสูง และมียอดกลีบปลายปัดซึ่งเป็นลักษณะของพระชฎากลีบครับ
อย่างไรก็ดี พระชฎากลีบและพระชฎามหากฐินรัชกาลที่ ๑ มีส่วนที่คล้ายกันส่วนหนึ่งคือยี่กาเป็นแบบ "ใบสน" ส่วนพระชฎามหากฐินรัชกาลที่ ๕ ยี่กาเป็นแบบ "ขนนกการเวก" ครับ มีลักษณะไม่เหมือนกัน
ฉะนั้น พระบรมฉายาลักษณ์องค์ที่พวกเรากำลังสืบที่มากันอยู่นี้ จึงอาจฉายในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ช่วงใดๆ ก็ได้ ยังไม่อาจชี้ชัด เพราะพระชฎากลีบเป็นของที่สร้างมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|