เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3949 ขอความช่วยเหลือหน่อยครับ
sweden
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


 เมื่อ 08 มี.ค. 08, 19:24

[img src=text.jpg][/img]
ขอความช่วยเหลือหน่อยครับ เลขในภาพมีความหมายว่าอะไรครับ


บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 มี.ค. 08, 21:51

สวัสดีครับคุณ Sweden

ตอนแรกเห็นผ่านๆ นึกว่าเป็นการบอกวันเดือนปี แต่ดูดีๆ แล้วไม่น่าจะใช่ครับ เพราะดูแล้วคล้ายๆ กับตารางเรียงลำดับตัวเลข ๑ - ๗ เสียมากกว่า ซึ่งผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าหมายถึงอะไร

เข้าใจว่า เจ้าหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติ ฝ่ายที่ทำงานเกี่ยวกับเอกสารโบราณ ท่านน่าจะทราบครับ คุณ Sweden ถ้าอยู่เมืองไทย และอยู่ที่กรุงเทพฯ ลองไปติดต่อสอบถามได้ครับ ผมว่าท่านเหล่านั้น คงยินดีให้คำตอบครับ

แต่ถ้าให้เดา น่าจะเป็นการทำนายดวงในช่วงอายุต่างๆ

           ๔
ชัณสา ๕ ๖ ๗
        ๑ ๒ ๓

น่าจะมีวีธีการอ่านว่า อายุเท่าไหร่ ดวงเป็นอย่างไร เพราะว่าหน้ารหัสมีคำว่า ชันษา อยู่

ชันษา    [ชันนะสา] น. อายุ. (ย่อมาจาก ชนมพรรษา).





บันทึกการเข้า
sweden
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 03:03

ขอบคุณครับคุณ Hotacunus  ผมก็ไม่เข้าใจว่าเลขนั้นคืออะไร  อาจจะเป็นระบบดาวก็ได้

 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 06:11

ตัวเลขนั้นเป็นแผนที่ระบุว่าพระเคราะห์องค์ใดสถิตอยู่ที่ใดของผู้เกิดปีจอครับ กล่าวคือ คนเกิดปีจอ พระพุธ (๔) เป็นปาก มีวาจากระด้าง พระศุกร์ (๖) เป็นใจ มีใจแกล้วกล้า พระพฤหัสบดี (๕) กับพระเสาร์ (๗) เป็นมือ มีฝีมือดี ทำการช่างดี พระอาทิตย์ (๑) กับพระอังคาร (๓) เป็นเท้า เป็นผู้เดินทางสะดวก ไม่ต้องเหนื่อยนัก พระจันทร์ (๒) เป็นที่นั่ง (ก้น) ไม่ค่อยสนใจเรื่องราคะตัณหา ดังนี้เป็นต้น

คนเกิดแต่ละปีก็จะมีชันษาสถิตอยู่ ณ ที่ต่างๆ กันไป เช่น ชันษาของคนเกิดปีจอสถิต ณ เท้าขวาของพระพรหม ส่วนพระเคราะห์แต่ละองค์ก็สถิตในอวัยวะส่วนต่างๆ กันตามปีเกิดครับ

ผู้ที่ดูเป็น เห็นแผนที่แล้วจะทราบทันทีว่าคนที่เกิดปีนั้นๆ มีบุคลิกลักษณะอย่างไร ผมเข้าใจว่าสมุดนี้เป็นสมุดทำนายดวงชะตาตามปีนักษัตรครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 มี.ค. 08, 15:40

ขอบคุณ คุณ UP ครับ ที่มาไขปริศนาให้  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
sweden
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 มี.ค. 08, 04:15

ขอบคุณคุณมากครับ คุณ Up, ก่อนเอื่นต้องขอบอกว่าผมไม่ไช่คนไทยและเขียนไม่ค่อยถูกต้องนัก
ผมก็พยายามอ่านและแปล  เอกสารการพยากรณ์ มีคำบางคำที่ผมก็ไม่เข้าใจว่ามีความหมายว่าอะไร
ในสมุดที่ผมอ่านนี้ก็เขียนว่า

เปรปากๆ  คุณ Up  แปลว่า เป็นปาก ใช่ไหม ผมก็คิดเหมือนกันแต่ในสมุดนี้ก็สะกดอีกอย่างหนึ่ง
เปรบ์ากๆ หรือ เปรม์าก คูออกไม่ชัด และใช่อย่างสะกดของคำนี้ทั้งสอง เปรปาก เปรม์าก(บ์าก) สลับกัน ปรากฏในประโยคเดียวกันทุกที่

ชัณสา ............. พุทเปรปากๆ

ชัณสา ............. จันเปรบ์ากๆ ม์าก





บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 มี.ค. 08, 07:13

เปร คือ เป็น
บ์าก คือ ปาก ครับ

พยัญชนะที่มีหางยาวขึ้นไปเช่น ฝ, ป หากว่าเขียนด้วยลายมือเชื่อมต่อด้วยสระบางสระอาจก่อให้เกิดความสับสน เช่น ฝา กับ ผา หรือ บา กับ ปา ถ้าเขียนตวัดๆ สระอาต่อไปเลย จะแยกไม่ออกครับว่าคำไหนเป็นคำไหน โบราณท่านมีวิธีเขียนที่แยบยล คือใช้วิธีใส่ทัณฑฆาตลงไปเหนือพยัญชนะนั้นๆ เช่น บ. ใบไม้ ถ้าเขียน บ์ ก็เป็น ป.ปลา, ผ.ผึ้ง ถ้าเขียน ผ์ ก็เป็น ฝ.ฝา เป็นต้น แต่บางทีก็แล้วแต่อารมณ์ผู้เขียนเหมือนกันนะครับ ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาจพบได้ทั้ง ปาก และ บ์าก

ส่วนที่คุณ sweden อ่านว่า "ม์าก" นั้น แท้จริงคือ "บ์าก" หรือ "ปาก" นั่นแหละครับ ท่านเขียนหวัดไปนิด

อีกที่หนึ่งคือ เปรบ์ากๆ เจรจา ก็อ่านว่า ...เป็นปาก ปากเจรจา...
บันทึกการเข้า
sweden
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 มี.ค. 08, 00:21

ขอบคุณมากครับ  คุณ UP  ผมมีหนังสือเกี่ยวกับการอ่านตัวอักษรไทยสมายโบราณแต่ บางคำก็ไห้ผมสับสน ขอความช่วยแนะนำหนังสือไทยเกี่ยวกับเรืองสะกด เขียน และ อ่าน อักษรไทยต่างๆ

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 มี.ค. 08, 16:28

เอกสารจากไหนหรือครับ แบบตัวหนังสือค่อนข้างใหม่ แต่ไม่ใช้วรรณยุกต์กำกับเลย  ฮืม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 มี.ค. 08, 17:23

ไม่รู้ว่าผมเป็นโรคจิตป่าว...ชอบกลิ่นกระดาษเก่า...ใบลานเก่า ๆ

ลองอ่านตำรา..."พรหมชาติ"...เพิ่มความเข้าใจนะขอรับ

ดูมันคุ้น ๆ สงสัยชาติก่อนเป็นมอด...เป็นปลวก...แหง๋ม ๆ... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 มี.ค. 08, 17:49

"...ผู้ใดเกิดปีกุน....ศิริที่เท้าซ้ายของพรหม
พฤหัสบดีเป็นปาก ท่านว่าเจรจาพาทีมีเหตุผล คนเชื่อถือในคำพูด
มักจะมีคนมาหาขอคำปรึกษาหารือ เป็นสมณะชีพราหมณ์
จะมีคนนับหน้าถือตาได้เป็นสมภารเจ้าวัด มีลูกศิษย์ลูกหาเป็นข้าทาสบริวารมาก..."

คัดลอกมาให้อ่านจาก... "ตำราพรหมชาติ ประจำครอบครัว ฉบับสมบูรณ์" โดย "ห้องโหรศรีมหาโพธิ์"

ลองอ่านเทียบกับคำแปลในภาพล่างสุด ใจความน่าจะใกล้เคียงกัน


บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 มี.ค. 08, 03:23

@ ถาผูใดเกิดปีจอ ผูนันยูตีนขวาพรํม
             ๔
ชัณสา  ๕  ๖  ๗  พุทเปรปาก ๆ
        ๑   ๒  ๓

@ ถาผูใดยเกีดปีมะโรง ผูนันยูอกพรม
        ๖  ๕
ชัณสา ๒ ๗ ๑ ประหัษเปรบ์ากเจรจา
          ๓  ๔

@ ถาผูใดยจะดูพรหมชาษ ปีชวตผูนัน
                     ๑  ๑
ยุหัวพรหมชัณะสา  ๒    จันเปรบ์าก
                     ๕  ๒

@ ผูใดเกิษปีกุนผูนันยูแขนพรํม
            ๕
ชัณสา  ๖ ๓ ๑  ประหัศเปรบ์าก ๆ เจรจา
         ๒ ๓ ๔


==================================

เรื่องการสะกดคำของสมุดไทย-สมุดข่อย ยังมีไม่มาตรฐานครับ ต่างคนต่างสะกด
ผมเคยปริวรรต สมุดไทยที่ได้มาจากภาคใต้ ตัว "พ" เค้านิยมใช้ "ภ" แทน
สรุปได้ว่า หลักเกณฑ์การสะกดคำในสมัยโบราณนั้น มีหลักอยู่ระดับหนึ่งครับ
แต่โอกาสสะกดผิด สะกดถูกนั้นมีมาก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ทางภาษาไทยของผู้เขียน (เพราะสมัยก่อนไม่มีพจนานุกรม)

ปกติแล้ว ถ้าเป็น "ไ" มักจะลงท้ายด้วย "ย" ครับ เช่น ไป ก็เขียน "ไปย" หรือ ใด ก็เขียน "ใดย"

จะสังเกตได้ว่า แม้แต่ในเอกสารฉบับเดียวกันนี้ บางคำก็ยังสะกดไม่เหมือนกัน

ใด, ใดย      = ใด
ชัณสา, ชัณะสา   = ชันสา
เกิด, เกีด, เกิษ   = เกิด      
พรม, พรํม, พรหม   = หรหม
ประหัศ, ประหัษ   = พฤหัส (บดี)

ส่วนตำรานั้นผมไม่แน่ใจครับ แต่คิดว่าน่าจะมีอยู่ คงต้องไปลองหาดูตามห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการปริวรรตเอกสารโบราณ เช่น ม.ศิลปากร (กรุงเทพฯ) หรือ ที่ ม.เชียงใหม่
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 มี.ค. 08, 09:26

ดูแบบตัวอักษรถือว่าไม่เก่ามากนัก  ไม่ทราบว่าเอามาจากที่ไหนครับ ......... ตกใจ

เป็นตำราพรหมชาติแบบท่านชัยว่าล่ะครับ  ถ้าสถิตอยู่ตามส่วนของพระพรหม  เป็นตำราพรหมชาติโดยถือเอาการตกฟากเป็นเกณฑ์

พรหม              พระพรหม
ชาติ                เกิด                    ........... อายจัง
บันทึกการเข้า
sweden
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 มี.ค. 08, 18:37

ขอบคุณทุกๆ คน ครับ ถ้าผมอยากจะซื้อสมุดไทยตำราพรหมชาติจะหาซื้อได้ที่ไหนครับ

บันทึกการเข้า
chai1960
มัจฉานุ
**
ตอบ: 67



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 มี.ค. 08, 20:29

"ตำราพรหมชาติ"
มีวางขายตามแผงหนังสือหลายแห่ง แต่พอหยิบดูเนื้อหาถูกตัดทิ้งไปหลายส่วน
ว่าจะหาซื้อแทนเล่มเดิมซึ่งเก่ามากแล้ว
ตำรานี้จะรวบรวมวิธีดูดวงชะตาขั้นพื้นฐานไว้เกือบหมด
แต่ไม่ถึงระดับผูกดวง โดยโหราจารย์ นะครับ
แต่ถ้าศึกษาดี ๆ ก็พอจะทำนายอะไรสนุก ๆ ได้

ตำรา พรหมชาติ ที่ผมมีอยู่นั้น จัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งที่ 6 เมื่อ พ.ศ.2522
หน้าปกเป็นรูป ราหูอมจันทร์
หนาประมาณ 800 หน้า ราคาที่ปก 100 บาท
ลองติดต่อ สำนักพิมพ์ อำนวยสาสน์
406 ถนนมหาไชย เหนือลหุโทษ กม.2 กรุงเทพมหานคร โทร 2212479

ข้อมูลอาจจะเก่าไปหน่อย...ต้องขออภัยด้วยครับ
บันทึกการเข้า

ประวัติศาสตร์เหมือนสายน้ำมีทั้งช่วงที่ไหลรินฉ่ำใสและช่วงที่ถาโถมทำลาย
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง