เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 207804 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 16 พ.ค. 08, 07:59

ขอบคุณในความวิริยะของคุณ Hotacunus ครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 16 พ.ค. 08, 11:02

ท้าวฮุ่ง ก็เป็นอีกชื่อหนึ่งที่จะมาขัดคอลุงโฮได้
คือหมายความว่า แกต้องตรองเมืองฮุ่ง หรือรุ่ง หรือร่วง หรือโรจน์.....หรืออุทัย
และพรญางำเมืองก็ต้องครองเมืองงำ หรือเมืองงำเืมือง.....ประมาณนั้น
ท้าวอู่ทองนั้น ผมคิดว่าอู่คือชื่อ ทองคือสมัญญา แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรมาสนับสนุนเหมือนกัน
เรื่องนี้ น่าคิดต่อจริงๆ ครับ

ถ้าจะมีเมืองที่ชื่อสุวรรณภูมิ หรือสุพรรณภูมิจริง
เมืองนี้ก็ต้องเก่าขนาดพระโสณะ พระอุตตระท่านมาเผยแผ่พระศาสนาทีเดียว
เมืองสุพรรณฯ เห็นจะตัดทิ้งได้ เพราะไม่อยู่ติดน้ำ
ไม่สอดคล้องกับตำนานผีเสื้อน้ำมากินเด็ก และท่านทั้งสองช่วยขับไล่

ทางมอญเขาจึงมั่นใจว่าทั้งสองท่านมาขึ้นฝั่งที่ชายหาดบ้านตน
ถ้าจะเอาหลักฐานเข้าอ้าง โบราณสถานที่เก่าสุด เจอแต่ในภาคกลางของเรา
อย่างที่เมืองเก่าอู่ทองนั่น ว่าเก่าถึงอมราวดีทีเดียว
ความอุดมสมบูรณ์ของหลักฐาน ทำให้บวสเซลิเย่ร์ชักจะเอนเอียงมาเชื่อว่า ศูนย์กลางของฟูนัน อยู่ที่นี่
(ไม่ทราบว่าก่อนตาย แกเปลี่ยนความเชื่อหรือยัง) แต่นักวิชาการทั่วไปยังไม่ยอมรับ

หลักฐานที่ตระหง่านค้ำเมืองมอญก็คือ เมืองนครปฐมครับ
มหาสถูปก่อนที่พระจอมเกล้าจะโปรดให้สร้างพระปฐมเจดีย์ครอบ มีขนาดมโหฬารน่าระย่อ
แม้แต่ที่ย่อมลงมาอย่างวัดหน้าพระเมรุ ก็ยังมองข้ามไม่ได้
ยังไม่ต้องพูดถึงวัดโขลงที่คูบัว หรือมหาสถูปแห่งลพบุรีที่วัดนครโกษา
ของระดับนี้ สุพรรณฯ ไม่มีเลยครับ

ผมจึงเชื่อว่าสุพรรณ เป็นชุมชนใหม่รุ่นกำแพงเพชร หรือพิษณุโลก
ไม่เก่าลงไปอีกห้าหกศตวรรษทันกับคำว่าสุวรรณภูมิ

บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 16 พ.ค. 08, 14:14

ปุงเต้า คือที่โกยผงครับ เขียนอย่างนี้ครับ 糞斗
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 16 พ.ค. 08, 18:46

เรื่องชื่อท้าวฮุ่ง (ก็คือ รุ่ง) ขุนเจื๋อง หรือแม้แต่ งำเมือง ก็ตาม เป็นอีกแบบครับ เทียบกับชื่อ "ร่วง" "อู่ทอง" ไม่ได้ คนละบริบทกัน

ดังที่ผมกล่าวไปแล้ว ชื่อของกษัตริย์ทางเหนือ ถูกระบุไว้ชัดเจนในเรื่องของลำดับเวลา และตัวตน ซึ่งต่างกับตำนานทางภาคกลาง

ส่วนเรื่องเมืองสุวรรณภูมิในตำนานนั้น ไม่มีหลักฐานสนับสนุนครับว่าอยู่ในไทยหรือไม่ เพราะเป็นเพียงการคาดว่าเท่านั้น

ชื่อ "สุพรรณภูมิ" น่าจะถูกตั้งขึ้น ด้วยความเชื่อในชั้นหลังนี่แหละครับ โดยน่าจะถูกนำเอามาจากตำนานในพุทธศาสนาตอนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราช

มีนักวิชาการอินเดีย หรือ ลังกานี่แหละ ผมจำไม่ได้แล้ว เค้าก็เสนอว่า เส้นทางที่ว่ามาสุวรรณภูมินี้ อาจเป็นการแต่งขึ้นเองโดยภิกษุลังกา เพราะในศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชก็ไม่พบว่ามีเส้นทางดังกล่าว เพื่อให้ดูว่ามีการแพร่ขยายของพุทธศาสนาไปทุกทิศ

ส่วนชื่อ "สุวรรณภูมิ" (สมัยพุทธศตวรรษที่ ๓) นี้ โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าอยู่แถบพม่าตอนใต้ครับ ในหนังสือเก่าๆ จะพบพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า เหตุที่พระองค์เชื่อว่าศูนย์กลางของทวารวดีอยู่ที่เมืองนครปฐม ไม่ได้อยู่ที่เมืองมอญ (สุธรรมวดี - สะเทิม) เพราะดูจากโบราณวัตถุ-โบราณสถานแล้ว ของที่นครปฐมเก่ากว่ามาก

แต่จากการที่ผมเพิ่งได้คุยกับนักโบราณคดีพม่าระดับเก๋า ท่านเล่าว่า ตอนนี้ พบเมืองโบราณที่รัฐมอญ เก่ากว่าเมืองโบราณนครปฐม กำลังทำการขุดค้นอยู่

จากภูมิศาสตร์แล้ว ทางนั้นก็ติดต่อกับทะเลไปอินเดียได้ง่ายกว่า และมีอ่าวมะตะบัน เป็นชัยภูมิ

เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องของการสันนิษฐาน และหาข้อมูลมาสนับสนุนไปกันเรื่อยๆ ครับ ยังไม่สรุป

เรื่องฟูนันที่อู่ทอง เห็นจะต้องพับเก็บแล้วครับ เพราะรายงานการขุดค้นทางโบราณคดีในปัจจุบัน รายงานว่าบริเวณปากแม่้น้ำโขงนั่นแหละครับที่เป็นอู่อารยธรรมของฟูนัน ด้วยเหตุที่เป็นจุดกึ่งกลาง ระหว่างโลกตะวันตก (โรมัน-อาหรับ-เปอร์เซีย-อินเดีย) กับ จีน

เรื่องพระปฐมเจดีย์องค์เดิม มีเงื่อนงำอยู่ในแผนที่เมืองสำคัญสมัยอยุธยา ในสมุดภาพไตรภูมิ ระบุว่าสร้างราวปี ๑๑๙๙ หรืออะไรประมาณนี้แหละครับ ไม่รู้ว่ามั่วกันในชั้นหลัง หรือ เป็นข้อเท็จจริงที่เล่าสู่ต่อๆ กันมา ถ้าเป็นข้อเท็จจริง ก็อาจกล่าวได้ว่า พระปฐมเจดีย์องค์เดิม อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อฉลองพุทธศาสนาครบ ๑๒๐๐ ปี ก็เป็นได้

ส่วนอู่ทองนั้น น่าจะตั้งเมืองมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ครับ แต่มาเจริญเป็นวัฒนธรรมทวารวดีที่ชัดเจนในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ เรื่องความเจริญของเมืองเหล่านี้ ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๗ ทำเลของเมืองโบราณทวารวดีตั้งอยู่ไม่ไกลจากทะเลครับ ซึ่งอยู่ในช่วงการถอยกลับของระดับน้ำทะเลสมัยโฮโลซีนตอนปลาย ดังนั้น ถ้าลากเส้นตามเมืองโบราณทวารวดีในที่ราบภาคกลาง ก็จะได้แนวชายฝั่งทะเลโบราณแบบคราวๆ ครับ

เรื่องเมืองสุพรรณภูมิ ก็ควรจะตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ครับ และน่าจะเป็นการสืบต่อมาจากเมืองโบราณอู่ทอง ไม่เก่าไปถึงสมัยพระเจ้าอโศกแน่นอน
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 16 พ.ค. 08, 18:46

ปุงเต้า คือที่โกยผงครับ เขียนอย่างนี้ครับ 糞斗

ขอบคุณครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 16 พ.ค. 08, 19:56

ยังขัดคอได้อีก.....
ชื่อฮุ่ง รุ่ง ร่วง ...น่าจะเป็นคำไทย และน่าจะอยู่ในเนื้อหาวัฒนธรรมเดียวกัน
คือสุโขทัยเองนั้น เป็นตัวคั่นลานนากับอยุธยา
แต่ถ้าดูสายสัมพันธ์แล้ว จะสนิทกับเมืองเหนือมากกว่าเมืองใต้
ชื่อรุ่ง กับชื่อร่วง จึงอยู่สาแหรกเดียวกันได้ด้วยประการะฉะนี้แล.....

ตอนที่กรมพระราชวังบวร(กรมหลวงอิศรสุนทร) โปรดให้รวบรวมตำนานเมืองเหล่านี้
ยังต้องตั้งชื่อว่า พงศาวดารเหนือ แปลว่าไม่ใช่อยุธยา
อย่างไรก็ตาม ผมยังคิดว่า การตั้งชื่อกษัตริย์อย่างง่ายนี้ เป็นประเพณีของตำนาน
แต่ตำนานก็มีทั้งที่จดบันทึก หรือมิได้จดบันทึก
เช่นเดียวกัน เรื่องราวสำคัญๆ บางวัฒนธรรมก็ทำไว้เป็นจารึก บางวัฒนธรรมก็ไม่ทำ
สุโขทัยจึงมีจารึกนับไม่ถ้วน ส่วนอยุธยา โดยเฉพาะในเขตราชธานี จึงแทบไม่มีจารึกเลย

แต่ความทรงจำก็ยังสืบสายต่อมา ไม่เช่นนั้นพระวันรัตน์ท่านคงแต่งจุลยุทธการวงศ์มิได้
แม้แต่ต้นเรื่องของพระราชพงศาวดาร ก็ยังเก็บตำนานไว้หน่อยหนึ่ง
ดังนั้น การที่ตำนานอู่ทองถูกเก็บเอาไว้ แม้จะเป็นเศษชิ้นส่วนมากๆ ก็ตาม
เชื่อว่า มาจากระบบเก็บรักษาความทรงจำแบบไทยๆ (จะไทยเหนือหรือใต้ ก็พออนุโลมเป็นกลุ่มเดียวกันได้)
ผมยังไม่อยากจะคิดว่า ไทยใต้นั้น ใช้วัฒนธรรมที่แยกออกจากไทยเหนือ
เพราะยังคิดว่า ตำนานสุวรรณโคมคำ และสิงหนวัตินั้นเอง
ที่เป็นแหล่งเก็บรักษารากเง่าร่วมกันของไทยอยุธยากับไทยยวนรวมทั้งไทยสุโขทัยไว้

รอลุงโฮมาแยกธาตุ.....
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 17 พ.ค. 08, 00:40

ขอบคุณลุงโฮครับ

ที่ผมถามอาณาเขตของนครรัฐทวารวดี  ผมคิดว่าไม่น่าจะใหญ๋เท่าฟูนันหรือขอม  อาจมีอาณาเขตแค่บริเวณตอนกลางของไทยในปัจจุบัน  และเมืองอู่ทองผมยังเชื่อว่าเป็นเมืองสำคัญหรือราชธานีของทวารวดีและนครปฐมหรือละโว้ก็เป็นราชธานีที่สำคัญเช่นกัน  แต่ที่ไหนจะมากกว่ากันอันนี้ข้อสันนิษฐานของท่านพิพัฒน์เรื่อง  สิ่งก่อสร้างที่ดูโอฬารก็น่าคิด  แต่ข้อสำคัญอาจมีเพียงว่า  เจ้าผู้มาตั้งเมืองอโยธยาใหม่  คือเจ้าที่มาจากเมืองอู่ทอง  เรียกเจ้าอู่ทอง ครับ และท่านอาจมีชื่อเป็นนามของท่านด้วย  และเป็นวัฒนธรรมการเรียกที่ต่างจากฝ่ายเหนือแบบลุงโฮว่าก็ยังพอฟังได้ครับ

ผมดีใจที่ท่านพิพัฒน์มีความสนใจในตำนานของล้านช้างและศรีโคตรบูร  ซึ่งต้องของพึ่งพาต่อไปในโอกาสหน้า  เรื่องของเมืองต้นของ(ต้นแม่น้ำโขง)  ตำนานการไหลเรือไฟ  เรื่องของความเชื่อมโยงระหว่างศรีโคตรบูรกับล้านช้างและฝั่งเชียงแสน  มหากาพย์เรื่องท่าวฮุงท่าวเจือง  เกี่ยวกับตำนานสุวรรณโคมคำน่าสนใจครับ  น่าสนใจว่าเป็นตำนานหรือประวัติศาสตร์ที่พิสูจน์ได้  แต่คงหลีกเรื่องอภินิหารไม่ได้เพราะแถบบ้านผมต้องมีเกี่ยวแทบทุกเรื่อง....... ยิ้มกว้างๆ

ศรีโคตรบูร(แถบสวันเขต,นครพนม)ใต้ลงไปถึงจำปาสัก  จำเรียกพวกข่าพวกขอม  ส่วนแถบเหนือขึ้นไปถึงเวียดนามหลวงพระบาง  เรียกพวกแถนพวกแมนครับ  แมนกับแถนเกี่ยวกันครับลุงโฮ  คือถือว่ามาจากฟ้าจากสวรรค์  อันคล้ายกับสมมติเทพของไทยเรา  ส่วนแดนแกวกับล้านช้างเชื่อว่ามีต้นไม้ใหญ่ล้มแบ่งดินแดนทั้งสองออกจากกันฝั่งตะวันออก(เวียดนาม)จึงถือเป็นดินแดนสุดขอบฟ้าชองคนโบราณยุคนั้นครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 17 พ.ค. 08, 02:01

เรื่องสุโขทัยจะใกล้ชิดกับเมืองเหนือ หรือใต้มากกว่ากันนี้ ผมว่าขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในช่วงเวลาไหนครับ

ถ้าเป็นช่วงสร้างเมืองสุโขทัยยุคแรก (ก่อนวงศ์พ่อศรีนาวนำถุม ?) แน่นอนว่าน่าจะใกล้ชิดเมืองเหนือมากกว่า และอาจเป็นวงศ์วานเดียวกันมาก่อน ? แต่ถ้าเป็นช่วงที่เริ่มมีการบันทึกประวัติศาสตร์แล้ว จะพบได้ว่าสุโขทัยใกล้กับเมืองทางใต้มากกว่าครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับวัฒนธรรมเขมรเข้ามาทั้งเรีื่องอักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์ หรือแม้แต่เมืองที่ไกลอย่างเมืองนครศรีธรรมราชก็มีร่องรอยอยู่

เมืองใต้ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงอยุธยานะครับ แต่หมายถึงละโว้-ลพบุรี เงื่อนงำก็มีอีก คือตำนานพระร่วง (บาง version) กล่าวว่า พระร่วงเดิมอยู่เมืองละโว้ และต้องต่อมาหนีมาบวชที่สุโขทัย (ตำนานขอมดำดิน) หรือ เดิมพระร่วงต้องส่งสวยน้ำไปให้ละโว้ (บาง version บอกว่าส่งไปให้พระเจ้ากรุงกัมพูชา)

อันที่จริงคำว่า เมืองใต้ นี้ จะเป็นคำที่ใช้กันในตำนานเมืองเหนือ ซึ่งแน่นอนว่าจะหมายถึง อยุธยา เพราะตำนานแต่งขึ้นในช่วงที่อยุธยาเป็นราชธานีแล้ว แต่ถ้าสมัยก่อนอยุธยา ตำนานเมืองเหนือจะเรียกละโว้ว่า กัมโพชะ

เรื่องชื่อ ฮุง ร่วง รุ่ง เรือง เจื๋อง นี้ ผมว่าป็นคำไทยเดิมครับ และให้ความใกล้ชิดกับเมืองเหนือ แต่ว่า ก็คงเป็นเรื่องราวยุคแรกๆ ของเมืองสุโขทัย (ใช้ชื่อ ร่วง - รุ่ง) ก่อนที่จะรับวัฒนธรรมเขมร-ละโว้เข้ามา ผมจึงมองว่า "ร่วง" หรือ "รุ่ง" นี้น่าจะเป็นชื่อเมืองมาก่อน ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนเป็นชื่อบาลีว่า สุโขทัย

"เมืองเชียงรุ่ง" ก็พอเป็นตัวอย่างเทียบได้กับชื่อเมืองที่ใช้ภาษาไทยเดิมครับ อย่างไรก็ตาม บางท่านเรียก เชียงรุ้ง ซึ่งจะหมายถึง รุ้ง (กินน้ำ) หรือ นกรุ้ง อะไรนี่แหละครับ แต่ส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่า "รุ่ง" ที่แปลว่า สว่าง มากกว่า ซึ่งตรงกับคำบาลีว่า อุทัย






บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 17 พ.ค. 08, 02:17

ขอบคุณสำหรับความรู้เพิ่มเติมครับ คุณ Bana  ยิงฟันยิ้ม

แต่อ้างนิดครับ

"เจ้าผู้มาตั้งเมืองอโยธยาใหม่  คือเจ้าที่มาจากเมืองอู่ทอง  เรียกเจ้าอู่ทอง ครับ และท่านอาจมีชื่อเป็นนามของท่านด้วย  และเป็นวัฒนธรรมการเรียกที่ต่างจากฝ่ายเหนือ"

อันที่จริงไม่ใช่วัฒนธรรมการเรียกชื่อหรอกครับ อิอิ แต่ว่า หลักฐานที่มีมันพอจำแนกได้แบบนั้นครับ คือ ตำนานทางเมืองเหนือมีความละเอียดในการบันทึกชื่อ และปีครองราชย์ แต่ว่าตำนานทางภาษากลางไม่มีการบันทึกแบบนั้น มักจะเล่าต่อๆ กันมาปากต่อปาก ดังนั้น การเรียกชื่อราชาโดยอ้างอิงจากชื่อเมือง จึงจดจำง่ายกว่า ดังเช่น พระเจ้ากรุงจีน พระเจ้ากรุงกัมพูชา พระยาไตรตรึงษ์ เป็นต้น

ที่สำคัญคือ ทั้งชื่อพระร่วง และ ท้าวอู่ทอง ต่างก็ "ถูกบันทึกเป็นตัวอักษร" โดยคนเมืองใต้ครับ (อยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์) อย่างไรก็ตามในตำนานสิบห้าราชวงศ์ ในตอนที่เล่าเกี่ยวกับ "สามสหายกษัตรา" ผมจำไม่แน่ชัดว่า ใช้ชื่อ "พระร่วง" ด้วยหรือเปล่า จำได้เลาๆ ว่าเรียกว่าพระร่วงเหมือนกันครับ

อย่างไรก็ตาม ในศิลาจารึกมีพบชื่อ พญาร่วง ด้วยครับ

จารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร
พุทธศักราช ๒๐๕๓

วรรคที่ ๓
อนึ่งท่อปู่พระยาร่วงทำเอาน้ำไปเถิงบางพานนั้น
ก็ถมหายสิ้น และเขาย่อมทำนาทางฟ้า
และหาท่อนั้นพบ กระทำท่อเอาน้ำเข้าไปเลี้ยงนา
ให้เป็นนาเหมืองนาฝาย มิได้เป็นทางฟ้า
อันทำทั้งนี้ ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ฯ


"ปู่พญาร่วง" ในที่นี่น่าจะหมายถึง "ราชาแห่งสุโขทัย" ซึ่งไม่ได้ระบุว่าองค์ไหน แต่ทราบว่าหมายถึงราชาสุโขทัยก็คือคำว่า "ร่วง" นี่แหละครับ

กลับมาที่ "คำไทยที่ไม่ (ค่อย) ใช้กันแล้ว"  ยิงฟันยิ้ม

เถิง - ถึง
ถมหายสิ้น - ถูก (ดิน) กลบไปหมดแล้ว
ทำนาทางฟ้า - ทำนาโดยอาศัยฟ้า (ฝน), ทำนาโดยพึ่งฟ้า
นาเหมืองนาฝาย - นาชลประทาน
มิได้เป็นทางฟ้า - ไม่ต้องอาศัยฝน
อันทำทั้งนี้ - ที่กระทำทั้งหมดนี้

==================================

จารึกมหาสังฆราชาศรีตรีปิฎก
ไม่ทราบศักราช อักษรฝักขาม พบที่จังหวัดเชียงราย

... ชาวเจ้าทั้งหลายเป็นสักขี มีต้นว่า มหาสังฆราชาศรีปิฎกอุตมมญาณเทพาเจ้าป่ารวกนี้
มหาเถรสุวรรณเจ้าป่าสงัด มหาเถรธรรมโรจิเจ้าจอมทอง มหาสามีนันทประหญาเจ้าวัดหมื่นไร
มหาสามีจันทรังสีป่าญะสุมงคล มหาสามีเจ้าวัดพญาร่วง มหาเถรอินทรประหญาเจ้า วัดศรีชุม ...


==================================
จารึกวัดเก้ายอด
พุทธศักราช ๑๙๕๕ พบที่จังหวัดพะเยา

ด้านที่ ๑
... คำจารึกว่า แต่แดนวิหาร วัดเก้ายอด
เมือวันตกเอาคือเวียงเป็นแดน
มาวันออกอาบ้านพญาร่วง บ้านหมอช้างเป็นแดน
เมือเหนือเอาหินฝังไว้เป็นแท่น ...


==================================
จารึกเจ้าสี่หมื่นพยาวฝังเสมาวัดลี
พุทธศักราช ๒๐๓๘ ไม่ทราบที่มา

ด้านที่ ๑
... แลครูพระเป็นเจ้าให้อาราธนาชาวเจ้า มาชุมนุมสงฆ์
มีต้นว่า มหาสามีญาณเทพเจ้าอยู่วัดมหาพล มาเป็นอาทิกัมม์
มหาสามีนนประหญาวัดใหม่
มหาสังฆราชาพุธาทินนอยู่วัดหลวง
มหาเถรสุวันเจ้า มหาสามีนนวัดพระยาร่วง เจ้าเถรญาณมงคลวัด . . . . .


==================================

เหล่านี้เป็นร่องรอยของชื่อ "พญาร่วง" ในศิลาจารึกครับ จะสังเกตได้ว่า เป็นจารึกรุ่นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ ซึ่งที่พบในเมืองเหนือนั้น ล้วนเป็นชื่อวัด ชื่อหมู่บ้าน ส่วนที่กำแพงเพชรก็เป็นชื่อท่อ ซึ่งหมายถึง ท่อน้ำชลประทานที่สร้างขึ้นในสมัยพญาร่วง คำว่า "พ่อปู่" ในที่นี้ก็คงหมายถึง "บูรพกษัตริย์"
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 18 พ.ค. 08, 02:10

วันนี้ดูอินเดียน่า โจนส์  ชอบในคำพูดที่ว่าประวัติศาสตร์กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ มักเขียนในห้องสมุด  แต่ผมยังเชื่อระบบ"มุขปาฐะ"นะครับ  การเล่าสืบต่อกันมาไม่ว่าจะเป็นในเชิงนิทาน  ตำนาน  หรือลัทธิความเชื่อ  คตินิยมในแต่ละยุคสมัย  ประกอบกับบางสิ่งที่ยังพอเห็นได้ในปัจจุบัน  ยังไม่ควรมองข้าม  และการสันนิษฐานโดยอาศัยคติเหล่านั้นประกอบกับจารึกหรืออักษรที่พอหากันพบ  ผมยังเชื่อถึงความเชื่อมโยงของทุกชาติพันธุ์ในคาบสมุทรแห่งนี้  ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางเหนือหรือใต้  ความรุ่งเรืองของแต่ละยุคอาจปรากฏในสถาปัตยกรรมและอักษร  นอกจากนั้นล่ะ  คติความเชื่อก็ต้องเชื่อมโยงกันด้วยครับ

ทางภาษาลาวไม่มี  ร-เรือ(เสียง) ครับ
ฮุง  -  แปลว่า  สว่าง
ฮุ่ง  -  แปลว่า  เหยี่ยว(หรือ แหลว)

แถน  คือเทวดาที่อยู่บนฟ้า  พวกแมน-หรือสืบเชื้อสายมาจากแถน(เทวดา,อินทร์,พระอาทิตย์,พระจันทร์)  คือคติความเป็นสมมติเทพของผู้ครองเมืองนั่นเอง  ชื่อก็คงย่อมสอดคล้องกับคติเหล่านี้  พ่อร่วง-พญาร่วง-พระร่วง  คือร่วงมาจากฟ้า  เป็นไวพจน์ของคำเรียกผู้ครองนคร  เหมือน  จอมนรา  เจ้าชีวิต  ผ่านฟ้า ฯลฯ  พญาร่วง  คงเป็นคำเรียกผู้เป็นใหญ่ตามลัทธิขอม  เหมือนเจ้าชีวิต ในปัจจุบันของประเทศเพื่อนบ้าน  เพราะการออกพระนามคงไม่เหมาะ  ผมกำลังจะเทียบเคียงกับเจ้าอู่ทอง  อิอิ  .....อันนี้เป็นข้อคิดเห็นล้วนๆของผมนะครับ  ท่านพิพัฒน์คงไม่ถือสา

เชียง - แปลว่า ผู้เคยบวชเณรมาแล้ว (เหมือนน้อยในภาคเหนือ)
เชียง - แปลว่า เมือง ก็ได้

เชียงฮุง(เชียงรุ้ง)  เมืองที่สว่าง  รุ่งเรือง ,  เชียงแสน  เมืองแห่งพระเจ้าองค์แสน(พระพุทธรูปหนักแสนชั่ง)  เชียงทอง  เมืองทอง
เจือง(เจียง) - หนึ่ง,ที่หนึ่ง  เดือนเจือง - เดือนอ้าย
ผาเมือง  -  สาด-ตกมาสู่เมือง        ฝนผาเข่าเฮือน - ฝนตก-สาดเข้าบ้าน ........... ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 18 พ.ค. 08, 07:33

เห็นคำว่า "ผาเมือง" ผมกลับนึกถึง "กำแพง (เมือง)"  ยิงฟันยิ้ม (เทียบ หน้าผา)

คำว่า "กำแพง" นี้ ก็เป็นคำเขมรครับ เป็นคำยืมที่เราใช้กันจนเป็นคำในภาษาไทยมาตรฐานไปแล้ว

ผมไม่แน่ใจว่าในตำนานเล่าไว้หรือเปล่าว่าทำไมถึงถวายพระนามว่า "ผาเมือง"

ถ้าจะทึกทัก ก็คงมีความหมายว่า "ผู้ปกป้องเมือง" (ดุจกำแพงเมือง)

ความหมายนี้ทำให้ผมนึกไปถึงพระนามว่า "งำเมือง" ด้วย ทึกทัก (อีกที) ว่า "งำ" นี้ คงมีความหมายเดียวกับ "ครอบงำ" แต่ในเชิง "ปกป้อง" หรือ "คุ้มครอง" ถ้าให้ทึกทักแปลก็คงได้ว่า "ผู้คุ้มครองเมือง"

ทึกทักถูกผิดเช่นใด ท่านที่มีความรู้ภาษาคำเมือง-ภาษาลาว โปรดแนะนำด้วยครับ

สอบถามเพิ่มเติมครับ "แหลว" นี้ เป็นคำลาว แปลว่า "เหยี่ยว" ใช่หรือเปล่าครับคุณ Bana ถ้าใช่ก็น่าสนใจเกี่ยวกับการเพี้ยน "หล" / "หย" มากทีเดียว

=================
คำว่า "เจื๋อง" ที่แปลว่า "(เดือน) แรก" นี้ น่าสนใจว่า อาจมีที่มาเดียวกันคำจีนด้วยครับ คือ 正月 (zheng1 yue4) first month of the lunar new year

(กวางตุ้ง: zeng3, เจง)

ถ้า "เจื๋อง" เป็นคำร่วมไท-จีน ก็คงมาจากสำเนียงกวางตุ้งนี่แหละ (หรือสำเนียงจีนถิ่นแถวๆ นั้นที่อยู่ใกล้ๆ กับเผ่าไท) เพราะทางแต้จิ๋วดูเหมือนจะออกว่า "เีจีย" ซึ่งปัจจุบันเราคุ้นเคยกันกับประโยคที่ว่า "ซินเจียอยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้"

================

นึกไปนึกมา คำว่า "เชียง" นี้ ทำให้ผมนึกถึง "เส่ง" ของภาษาจีนกวางตุ้งที่แปลว่า "เมือง" หรือ "ป้อม" เหมือนกัน

(กวางตุ้ง: seng4, เส่ง) ไม่รู้จะเกี่ยวกันหรือเปล่านะครับ แต่จากเสียงแล้วทำให้นึกไปได้เช่นนั้น โดยเฉพาะเสียง "ส-ช" นี้เพี้ยนกันได้ง่ายมาก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 18 พ.ค. 08, 08:23

มีเอกสารโบราณ เรื่องตั้งเจ้าเมืองอีสานครั้งรัชกาลที่ 1
ความตอนต้นบอกว่า
ขุนมีสองแบบ คือขุนผา และขุนมาร
ทำให้เข้าใจได้ว่าผาเมือง เป็นอบ่างไร

คุณบานาต้องมาเฉลยหน่อยละ ว่าผา ในภาษาอิสาน แปลว่าอะไร
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 18 พ.ค. 08, 08:44

ส่วนคำว่า "ทอง" นี้ เคยอ่านคำอธิบายของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ว่าเป็นคำ มอญ-เขมร

ส่วนภาษาตระกูลไทใช้ "คำ" ภาษาไทยมาตรฐานเลยกลายเป็น "ทองคำ"

น่าสนใจว่า ในภาษาจีนมีคำสองคำที่ออกเสียงคล้ายทั้ง "ทอง" และ "คำ" ซึ่งต่างก็เป็นธาตุที่มีค่าทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์

(กวางตุ้ง: tung4, โถ็ง) ทองแดง
(กวางตุ้ง: gam1, กัม) ทองคำ

แถม "เงิน" อีกคำครับ

(กวางตุ้ง: ngan4, หงั่น) เงิน
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 19 พ.ค. 08, 01:44

ในภาษาล้านช้าง  ผามีหลายความหมายครับ
- แปลว่า  อาวุธที่ใช้ล่าสัตว์  มีลักษณะแบบหน้าไม้
- แปลว่า  ตกมาสู่  หรือสาด(ใช้กับฝน)  ฝนผา - ฝนสาด
- แปลว่า  หน้าผา
- แปลว่า  ปัญญา  คล้าย ผญา

ส่วน แหลว  แปลว่า เหยี่ยว  ครับ     ฮุ่ง  ก็ แปลว่าเหยี่ยว

ถ้า "ขุนผา"  ต้องหมายถึงเจ้าแห่งภูเขา หรือ เจ้าแห่งปัญญา ครับ    ผา  เป็นนาม
แต่ถ้า  "ผาเมือง"  "ผาเฮือน"   อย่างนี้  ควรแปลว่า  ตกมาสู่เมือง  สู่บ้าน  ................. ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 23 พ.ค. 08, 10:34

"ลอยชาย"

ใครอธิบายได้บ้างครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 20 คำสั่ง