เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 208383 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 09 พ.ค. 08, 19:02

"พุดทะเกต" (ฟังคล้ายๆ พุทธเกศ  ยิงฟันยิ้ม)

จำไม่ได้แน่ชัดว่าสะกดอย่างไร ชื่อนี้มีปรากฏใน ตำนานนางนพมาศ หมายถึง โปรตุเกส นั่นเอง

ไปเจอมาว่าภาษาลาวเรียก "ปาก-ตุย-กาน"  ลังเล (test Lao Unicode ครับ: ປາກຕຸຍການ )

ปากตุยกาน นี้ เข้าใจว่าถอดมาจากคำฝรั่งเศสตรงๆ เลยครับ คือ Portugal (ป็อกฺร-ติอู-กัล)

และอีกหลายชื่อก็รับมาจากภาษาฝรั่งเศส ในขณะที่เรารับมาจากภาษาอังกฤษ เช่น

เบลเยียม (Belgium)  vs แบนฺซิกฺ (Belgique : เบ้ล-ฌิก-เกอะ)
ออสเตรีย (Austria)  vs โอตฺริดฺ (Autriche : โอ-ตฺริช-เฌอะ)
สเปน (Spain)        vs แอสะปายฺ (Espagne : เอ็ส-ปาณ-เหญอะ)
สวีเดน (Sweden)   vs ซุยแอ็ดฺ (Suède : ซิอู-แอ็ด-เดอะ)
นอร์เวย์ (Norway)  vs นอกฺแว (Norvège : น็อกฺร-แวช-เฌอะ)
กรีซ (Greece)      vs เกฺรกฺ (Grèce : แกฺร็ก-เกอะ)
ตุรกี (Turkey)       vs ต๊วกฺกี (Turquie : ต๊วกฺร-กี)

ปล. "ร" ในภาษาลาว ออกเสียง "ล"

ที่มา: http://www.geonames.de
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 09 พ.ค. 08, 21:23

เหลือขอ
เป็นศัพท์ช้างครับ

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระปิ่นเกล้า ว่าท่านโปรดรำม้าล่อช้าง
วันหนึ่งท่านได้ม้าที่ไม่เคยขา(นี่ก็อีกศัพท์หนึ่ง)
สั่งอย่างมันจะทำอีกอย่าง

เคราะห์ร้ายไปเกิดเรื่องตอนที่ช้างมันคึกจะเหยียบม้าทรง
ไอ้ม้าก็ยืนนิ่งรอคำสั่ง...
ควาญสับขอให้ช้างหยุดจนมิดขอ ให้ช้างค้างอยู่อย่างนั้น
กว่าจะแก้ให้ม้าโจนออกมาได้ ผมจำไม่ได้แล้วว่าต้องกระแทกตีนที่แผงม้าหรืออะไรสักอย่าง
แต่สุดท้ายก็รอด

หมอควาญได้บำเน็จหลายชั่งอยู่
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 09:08

โอ...ศัพท์ช้าง    ขอบคุณมากค่ะคุณpipat     ตัวเองเวลาอ่านหนังสือเพลินบางทีไม่ทันคิดว่าศัพท์มาจากไหน




เรื่องพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า    ท่านโปรดทรงม้าเข้าล่อช้างน้ำมัน
ม้าตัวที่ทรงวันนั้นขึ้นระวางเป็นเจ้าพระยา สายฟ้าฟาด เป็นม้าทรงตัวโปรด  ไม่ใช่ม้าทรงที่ไม่คุ้น
แต่เป็นม้าเต้นน้อย

ช้างนั้นชื่อพลายแก้วขึ้นระวางเป็นพลายไฟประลัยกัลป์

หมอที่ขี่พลายประลัยกัลป์นั้นชื่อหมออาจค่ะ์

พอช้างไล่ทรงกระทบพระบาทจะให้ม้าวิ่ง  ม้าออกวิ่งน้อย
หมออาจฟันที่สำคัญเหนี่ยวพลายแก้วไว้อยู่มือ

อีกนัยหนึ่่งว่าปิดตาช้างแล้วเบนไปทางอื่นทัน


จำมาจากงานของคุณณัฐวุฒิ  สุทธิสงครามค่ะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 11:51

ผมทันแต่วลีว่า "เด็กเหลือขอ" เพิ่งมารู้ที่มาที่ไปวันนี้เอง  ยิงฟันยิ้ม

เหลือขอ คือ เกินกำลังที่ขอสับ (ช้าง) จะทำให้หยุดได้ คือ ดื้อ  เจ๋ง

ปัจจุบันกลายเป็นวิเศษณ์ที่แปลว่า "ไม่เอาไหน" "ไร้ค่า" "ไม่มีคุณค่า" อันนี้ตามความรู้สึกที่เคยเจอศัพท์นี้มานะครับ แต่ถ้าตามราชบัณฑิตยสถานท่านว่า

เหลือขอ ว. ดื้อมาก, เอาไว้ไม่อยู่.

ถ้า เอานิยามของราชบัณฑิตยฯ ไปเรียกลูกเพื่อนที่เป็นเด็กดื้อว่า "เด็กเหลือขอ" คงเป็นเรื่อง   ลังเล
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 12:56

"เฮียไปเที่ยวไหนมา"
"ไปวักกุลีลาว"
ก็เป็นปกติครับสำหรับการออกเสียง ด-เด็กลำบาก เหมือน "มอญลูลาว"

ผมมาสนใจคำว่า  "กุลี"  คุณพ่อว่าหมายถึงกรรมกรที่แบกข้าวสาร  ทำงานแบกของต่างๆ  ไม่ทราบว่าเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นหรือเปล่าครับ ..... ยิ้มกว้างๆ

เคยได้ยินบ้างเหมือนกันในคำพูดที่ว่า "วันนี้โดนใช้งานหนักหยั่งกะกุลี"
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 13:15

ต้องโยนข้อหาห้องสมุดเดินได้ให้คุณ wandee สักกระทง  ยิ้มกว้างๆ
(เอ โบราณเขาเอาคำฟ้องใส่กระทงหรืองัยน่ะ)

รายละเอียดครบถ้วนดีจัง ขอบคุณครับ

ผมไม่ได้อ่านคุณณัฐวุฒิ อ่านแต่สาส์นสมเด็จ (จำเล่มไม่ได้ คงต้องค้นคำว่า"พระปิ่นเกล้า"ในสมุดค้นคำ เล่ม 27)
สมเด็จนริศทรงเล่าว่า ผู้อยู่ในเหตุการณ์เล่าให้ทรงได้ยินอีกที บอกว่าม้านั้น เป็นของดี
ทำนองว่า พระปิ่นเกล้าท่านทรงผิดพลาดเอง คือแม้แต่อยู่ต่อหน้าช้างตกมัน ก็ไม่ตื่น ยืนเหยาะอยู่กับที่ รอคำสั่ง
แต่พระปิ่นเกล้าทรงใช้คำสั่งไม่ตรงปัญหา
ใครสักคน ตะโกนบอกวิธีออกไป....ผมก็ไม่ได้จำไว้ครบถ้วนเสียด้วย

ใครมีสาส์นสมเด็จ ช่วยสอบให้ด้วยเถอะครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 14:25

ตอบคุณ Bana ครับ

เรื่องคำว่า "กุลี" นี้ เคยผ่านตามานานแล้วครับ จำได้ว่าเป็นคำเพี้ยนที่ฝรั่งใช้เรียกกรรมกรแบกหาม ที่เป็นชาวอินเดีย หรือจีน

ก็เลยได้กลับไปค้นพจนานุกรมคำยืมในภาษาอังกฤษที่มาจากคำอินเดีย ของ ศ.เฮนรี่ ยูล ได้ความว่า

COOLY , s. A hired labourer, or burden-carrier; and, in modern days especially, a labourer induced to emigrate from India, or from China, to labour in the plantations of Mauritius, Réunion, or the West Indies, sometimes under circumstances, especially in French colonies, which have brought the cooly's condition very near to slavery. In Upper India the term has frequently a specific application to the lower class of labourer who carries earth, bricks, &c., as distinguished from the skilled workman, and even from the digger.

The original of the word appears to have been a nomen gentile, the name (Kolī) of a race or caste in Western India, who have long performed such offices as have been mentioned, and whose savagery, filth, and general degradation attracted much attention in former times, [see Hamilton, Descr. of Hindostan (1820), i. 609]. The application of the word would thus be analogous to that which has rendered the name of a Slav, captured and made a bondservant, the word for such a bondservant in many European tongues. According to Dr. H. V. Carter the Kolīs proper are a true hill-people, whose especial locality lies in the Western Ghāts, and in the northern extension of that range, between 18° and 24° N. lat. They exist in large numbers in Guzerat, and in the Konkan, and in the adjoining districts of the Deccan, but not beyond these limits (see Ind.Antiquary, ii. 154). [But they are possibly kinsfolk of the Kols, an important Dravidian race in Bengal and the N.W.P. (see Risley, T. and C. of Bengal, ii. 101; Crooke, T. C. of N.W.P. iii. 294).] In the Rās Mālā [ed. 1878, p. 78 seqq.] the Koolies are spoken of as a tribe who lived long near the Indus, but who were removed to the country of the Null (the Nal, a brackish lake some 40 m. S.W. of Ahmedabad) by the goddess Hinglāj.

Though this explanation of the general use of the term Cooly is the most probable, the matter is perplexed by other facts which it is difficult to trace to the same origin. Thus in S. India there is a Tamil and Can. word kūli in common use, signifying 'hire' or 'wages,' which Wilson indeed regards as the true origin of Cooly. [Oppert (Orig. Inhab. of Bharatavarsa, p. 131) adopts the same view, and disputing the connection of Cooly with Koli or Kol, regards the word as equivalent to 'hired servant' and originating in the English Factories on the E. coast.] Also in both Oriental and Osmanli Turkish kol is a word for a slave, whilst in the latter also kūleh means 'a male slave, a bondsman' (Redhouse). Khol is in Tibetan also a word for a servant or slave (Note from A. Schiefner; see also Jäschke's Tibetan Dict., 1881, p. 59). But with this the Indian term seems to have no connection. The familiar use of Cooly has extended to the Straits Settlements, Java, and China, as well as to all tropical and sub-tropical colonies, whether English or foreign.


ที่มา : http://dsal.uchicago.edu/dictionaries/hobsonjobson/
YULE H., Sir. Hobson-Jobson: A glossary of colloquial Anglo-Indian words and phrases, and of kindred terms, etymological, historical, geographical and discursive. New ed. edited by William Crooke, B.A. London: J. Murray, 1903.
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 17:47

ลาก สาส์นสมเด็จ ปกแข็ง ๙ เล่ม พิมพ์ ๒๕๓๔   ลงจากชั้นหนังสือด้วยความยากลำบาก

ตรวจสอบสารบัญและคำค้นเรื่องอย่างเพลิดเพลิน 
เผลอไปอ่าน โหมดกสาปน์ และ ครูแจ้งอยู่พักหนึ่ง
หาเรื่อง พระปิ่นเกล้าไม่พบ
ตรวจสองรอบ  ยังไม่เจอ

จึงเริ่มอ่านใหม่ตั้งแต่เล่มหนึ่งค่ะ  เจอค่ะในหน้า ๑๘๕

จึงคัดลอกมาเต็มๆ  ดังต่อไปนี้



หมายเหตุใบแก้ตำนานวังหน้า

หน้า ๖๙   ตรงพระปิ่นเกล้าทรงม้าล่อช้าง  ซึ่งมีคำว่า  "พอช้างไล่ ทรงแซ่จะให้ม้าวิ่ง" นี้   ผิดกับที่พวกกรมม้าเขาเล่ากัน

เสียงพวกกรมม้า  ดูเปนติโทษพระปิ่นเกล้า   อยู่ข้า้งจะยกย่องม้า
เขาว่าม้าตัวนั้นแคล่วคล่องดีทั้งน้อยทั้งใหญ่   แลสนิทอยู่ในบังคับทุกอย่าง
คำนี้คงจิง 

พระปิ่นเกล้าจึงโปรดแลไว้พระไทยถึงทรงล่อช้าง


ที่เกิดเหตุนั้นเขาว่าพอช้างไล่กระชั้นเข้ามา  พระปิ่นเกล้าตกพระไทย  กระทบแผงเตือนจะให้วิ่ง
ม้าสำคัญว่าจะให้เต้นน้อย(ด้วยหัดกันมาอย่างนั้น  ถ้าจะให้เต้นน้อยแล้วดึงบังเหียนกระทบแผงข้าง)  ม้าจึงเต้นเสีย

ถ้าได้ทรงลงแซ่แล้วคงไม่มีเหตุอไร

ในข้อนี้แก้คำ  "ทรงแซ่"  เปน  "ทรงกระทบแผงข้างเตือน" เสียก็เปนที่เรียบร้อย

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

นริศ

(รักษาตัวสะกดตามต้นฉบับ)



บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 22:36

นอกจากเป็นห้องสมุดเดินได้ ยังเป็นบรรณารักษ์สายฟ้า
โอ้โฮ....เล่นอ่านทีละเล่มเลย นับถือๆๆๆ
(แปลว่านับถือมาก...555)

ข้อความที่ทรงเล่า ดูเหมือนจะเป็นการตรวจปรูฟให้สมเด็จฯดำรง
ตามไปอ่านประชุมพงศาวดารภาค 13 ตำนานวังน่า ก็ไม่เจอข้อความไกล้เคียงกันเลย
เห็นจะต้องรบกวนบรรณารักษ์สายฟ้าตาเหยี่ยว หรือใครที่สะดวกและใจดี
ช่วยสอบอีกสักรอบเถอะครับ ว่าทรงนำลงในเอกสารชื่อไร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 23:00

สาส์นสมเด็จ  วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๑  หน้า ๑๘๑


ทูล  สมเด็จกรมพระนริศรานุวัติวงศ์

ตำนาน วังน่าตอนกรุงเก่าสำเร็จตอน ๑    ได้ส่งมาถวายพร้อมกับจดหมายฉบับนี้
ขอได้โปรดทรงช่วยตรวจตราด้วย

ดำรงราชานุภาพ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 23:42

คงจะต้องมีอะไรผิดพลาด
ผมสอบจากซีดีรอม ประชุมพงศาวดาร ที่กรมศิลปากรทำ
เขาใช้ต้นฉบับจากที่พิมพ์แจกในงานศพ นางสุ่น ชาติโอสถ ปีมะแม พ.ศ.๒๔๖๒
ตรวจสามรอบแล้ว ไม่เจอ

จะไปไล่หาจากฉบับอื่นที่เป็นเล่มสมุดดูนะครับ

เอ....หรือว่า กรมฯ พิมพ์หล่นหาย
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 10 พ.ค. 08, 23:53

ขอบพระคุณท่าน Hota ครับ

คำว่า " ห่วย "  ใช้กับของไม่ดี  ใช้ไม่ได้  แต่ร้านประเภทหนึ่งเราเรียกกันว่า "ร้านโชว์ห่วย" กับไม่ได้หมายความในทางไม่ดีครับ

ไม่ทราบว่า "ห่วย"  มีที่มาอย่างไรครับ  ฮืม  ฮืม  ฮืม
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 11 พ.ค. 08, 01:05

เรื่อง ห่วย โชห่วย นี้ ได้ยินมาว่าเป็นคำจีนแต้จิ๋วครับ

เนื่องจาก ผมไม่มีความรู้ภาษาจีน ก็ได้แต่จดๆ จำๆ ผู้รู้เค้าว่ากันมานะครับ ยังไงถ้าคุณ CrazyHOrse ผ่านมา ก็ช่วยแนะนำด้วยอีกแรงนะครับ

"ห่วย" เข้าใจว่ามาจาก 壞 (坏) หมายถึง ไม่ดี, ร้าย, เสีย, แย่

ผมไม่แน่ใจว่า คำนี้ เป็นคำเดียวกับ "หวย" หรือเปล่า เพราะใน "ประชุมพระนิพนธ์  สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" อธิบายว่า "ฮวยหวย"   คือ การเล่นพนันชนิดหนึ่ง

"หวย" ที่เราพูดๆ กันในปัจจุบันก็คงย่อมาจากคำว่า "ฮวยหวย" นี่แหละครับ โดยหารู้ไม่ว่า "ฮวยหวย" (好壞 หรือ 好坏 = hao3 huai4) แปลว่า good and bad; advantageous and disadvantageous นั่นคือ "หวย" แปลว่า "เสีย (เงิน)" นั่นเอง  ยิงฟันยิ้ม

==================

ส่วน "โชห่วย" (ไม่ต้องมี ว์ ครับ เพราะว่าไม่ได้มาจาก show  ยิงฟันยิ้ม) ก็มาจาก 粗貨 (粗货) (กวางตุ้ง: cou1 fo3, โชว-โฟ) แปลว่า ของเบ็ดเตล็ด หรือ ของใช้พื้นๆ ทั่วๆ ไป ซึ่งก็คือ "ของชำ" นั่นแหละครับ

โช () แปลว่า rough, thick, course; rude
ห่วย () แปลว่า goods, commodities, products

ส่วน แต้จิ๋วจะออกเสียงคำเหล่านี้ยังไง คงต้องขอความช่วยเหลือจากคุณ CrazyHOrse แล้วหล่ะครับ  ยิงฟันยิ้ม

แต่ที่ผมสงสัยคือ "ของชำ" นี่แหละครับ คือ "ชำ" นี่มันภาษาอะไร ? หรือจะมาจาก โชว () แต่ครั้งโบราณกาล ลังเล
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 11 พ.ค. 08, 01:37

ตามรอยคำว่า ชำ ต่อ
คำแรก แย่หน่อย ชำเรา...(มีชำเขาหรือไม่หนอ)
คำที่สอง ดีหน่อย เพาะชำ

คำไกล้คียงก็มี ช้ำ และฉ่ำ

อ้อ ฉำอีกคำ

จะพึ่งครูฑัต ท่านก็ไม่อยู่บ้าน
หวังว่าสักกะเดี๋ยว บรรณารักษ์สายฟ้า ท่านได้รับทราบความเดือดร้อน จะเปิดหาให้
 ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 11 พ.ค. 08, 06:06

"ชำเรา" นี้ มาจากภาษาเขมรครับ แปลว่า ลึก
ในภาษาไทยปัจจุบัน หมายถึง การสอดใส่ (ทำให้ลึก) ส่วนภาษาลาวใช้ "ล่วงเกิน"  ตกใจ

ส่วน "เพาะชำ" ผมเข้าใจว่าเป็นคำไทเดิม ยังไม่เคยค้นครับ แต่ที่คิดไว้เช่นนั้น เพราะว่า ดูศัพท์แล้วเป็นคำซ้อนความหมาย ทำนองเดียวกับคำว่า เพาะปลูก

คำที่ขึ้นด้วย "ชำ" มาจากคำเขมรก็เยอะครับ พวก "ฉ" ก็ด้วย

ส่วน ช้ำ - ฉ่ำ นี้ มาจากคำเขมรทั้งสองคำ แปลว่า ชุ่ม รอยช้ำ เป็นจ้ำ ก็คือรอยชุ่มฉ่ำของเลือดเสีย  ยิงฟันยิ้ม

"จำ" นี้ ไม่ทราบครับ แต่เดาว่า น่าจะเป็นคำไทเดิม ก็เลยไปสอบกับคำลาว ได้มาว่า "จำ" ทางลาวก็ใช้

=========================

แนะนำพจนานุกรม ลาว-ฝรั่งเศส, ฝรั่งเศส-ลาว ครับ แต่ว่า ต้องมี font ลาว และรู้ศัพท์ฝรั่งเศสที่จะเทียบกับคำลาวนะครับ  ยิงฟันยิ้ม
http://www.laosoftware.com/laolex/traduction/interrogation-fr.php

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง