เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 208502 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 29 มี.ค. 08, 22:55

ราชบัณฑิตไม่มีกระจก
สี่เท้ายังรู้พลาด...
ราชบัณฑิตก็ผิดอย่างจัง
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 30 มี.ค. 08, 08:07

เมื่อวานรายการทีวีมีให้ทายคำ ผู้เข้าแข่งไม่รู้จักคำว่า "เจว็ด"
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 30 มี.ค. 08, 10:23

คำนี้ไม่รู้จักมาตั้งแต่สมัยคุณชายคึกฤทธิ์แล้วครับ
ท่านเคยเปรียบว่า อย่าทำกับสถาบันเหมือนเป็นเจว็ด

มีคนฟ้อง

ตอนนั้นหนังสือพิมพ์ช่วยกันอธิบายใหญ่ว่า เจว็ดคืออะไร

ถ้าเราเดินเข้าประตูกรมศิลปากร ด้านที่เป็นทางเข้า
เจว็ดจะอยู่ที่ประตูนั้นแหละครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 30 มี.ค. 08, 19:10

ใครอยู่ในบ้านที่มีศาลพระภูมิ  คงจะเห็น "เจว็ด" ในศาล   
รูปที่นำมาลง เป็นเจว็ด แบบหนึ่ง ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 30 มี.ค. 08, 19:12

พจนานุกรมราชบัณฑิตฯมีคำแปลกๆ ที่ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็คงไม่ได้ใช้
ใครเคยได้ยินคำว่า สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย บ้างคะ 
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 31 มี.ค. 08, 05:23

ไม่เคยได้ยินเลยครับ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย  รูดซิบปาก

ราชบัณฑิตยฯ ท่านเก็บหมด ทั้งเก่าใหม่ วรรณคดี

ผมดูศัพท์ในพจนานุกรม ถ้าเป็นคำพวกบาลี-สันสกฤตแปลกๆ ที่ไม่ใช้กันทั่วไปในสมัยนี้ ส่วนใหญ่ก็มาจากงานวรรณคดีประเภทกาพย์กลอนเป็นส่วนใหญ่

ถ้าเป็นคำไทยแปลกๆ ก็มักมาจากภาษากฎหมายสมัยโบราณ หรือเป็นภาษาปากที่เดี๋ยวนี้ไม่พูดกันแล้ว

แต่ที่น่าแปลกคือ "ผลไม้" กลับไม่มีในพจนานุกรม  ยิงฟันยิ้ม ไม่รู้ลืมหรืออย่างไร ฮืม (ผมค้นในฉบับอินเตอร์เน็ต เค้าบอกไม่มีครับ)

แล้วใครเคยได้ยินคำว่า "พรรคกลิน" (ไม่เกี่ยวกับพรรคกระยาจก) บ้างครับ  ยิงฟันยิ้ม  คำนี้เป็นศัพท์เฉพาะวงการมากๆ แต่เดี๋ยวนี้ก็ใช้อยู่

ไม่รู้ว่าในอนาคต เราจะต้องบรรจุคำเหล่านี้เข้าด้วยหรือเปล่า

ชัวร์ - คอนเฟิร์ม - แคนเซิล - โอเค - บาย - โปรโมชั่น - เดิร์น
ถ้าเป็นนักศึกษาก็น่าจะพูดคำเหล่านี้ อย่างน้อยอาทิตย์ละหน - พรีเซ้นต์ - ดีเฟ็นซ์ - ทีสิส - แอ็บสแตร็ก รูดซิบปาก

สุดท้าย เมื่อสองสามวันมานี้ ได้ยินบุคคลหนึ่งขุดคำว่า "แอ๊กอ๊าต" (ไม่ใช่เอี๊ยดอ๊าด) ขึ้นมา  ยิงฟันยิ้ม เข้าใจว่ามาจาก "Act Art"  ลังเล

คำนี้เคยได้ยินตอนเด็กๆ ครับ จำไม่ได้แล้วว่าตอนช่วงอายุเท่าไหร่ แต่พอจะเข้าใจว่าความหมายว่าหมายถึง "วางท่า" "โอ้อวด" "ทำเท่" "เก็ก" "วางท่า" คือทำตัวเหมือนว่าตัวเองมีดีแต่จริงๆ แล้วไม่มีอะไร คำนี้ เป็นคำประชดประชัน เอาไว้เหน็บแนม

จริงๆ ก็ไม่รู้ที่มาเหมือนกันครับ  ยิงฟันยิ้ม แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ถ้ามาจาก Art แล้วกันเกี่ยวอะไรกับศิลปะ ?

 

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 31 มี.ค. 08, 06:25

เคยอ่านเห็นสองสามครั้งค่ะ สีจัก ยักหล่ม  ถ่มร้าย
เป็นลักษณะที่ไม่ดีของหญิง


แอ๊กอาร์ต นี่เป็นศัพท์ประมาณปี ๒๔๙๕ เป็นต้นมา  ประมาณว่า เย่อหยิ่งมากกว่าเบ่ง
เมื่อหญิงสาวเดินเชิดผ่านชายหนุ่มไป  ก็อาจมีคำลอยมาว่า แอ๊กอาร์ต
ชายหนุ่มที่แต่งตัวหล่อเป็นพิเศษ เดินผ่านกลุ่มสตรีไปโดยไม่แสดงอาการสนใจ
ก็ได้รับคำชมเชยเช่นว่านี้ด้วยกันค่ะ
ชายหนุ่มหน้าตาดีที่แต่งตัวขมุกขมอม ตุรัดตุเหร่ผ่านกลุ่มหญิงสาวไป  ไม่เข้าขั้นได้รับการชมเชยเช่นนี้เลยค่ะ
ในระหว่างเพศเดียวกัน  ถ้าผู้ใดทำอมภูมิไม่ตอบคำถาม  ก็ตกอยู่ในกลุ่มเป้าหมายได้รับการกระแทกกระทั้นด้วยวลีนี้ค่ะ


พรรคกลิน  ได้ยินอยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 31 มี.ค. 08, 07:59

คุณ Wandee อธิบายได้เห็นภาพแจ่มแจ้ง   ยิงฟันยิ้ม
หนุ่มสาวยุคนั้นเขา" แอ๊คอาร์ต"  สมัยนี้ไม่เต๊ะท่าแล้วค่ะ    แต่สาวๆอาจถูกวิจารณ์ว่า "แอ๊บแบ๊ว" กันมากกว่า

คุณโฮฯ ไม่เจอคำว่า "ผลไม้"  ดิฉันเจอความหมายเด็ดของคำว่า " ดอกไม้"

ถ้าจะหมายถึงอะไรที่สีสวยๆตูมและบานอยู่บนต้นไม้   ต้องค้นที่คำว่า "ดอก" เฉยๆ  ถึงจะได้ความหมาย

ดอก ๑  น. ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทําให้เกิด
 ผลและเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ มีเกสรและเรณูเป็นเครื่องสืบพันธุ์, เรียก
เต็มว่า ดอกไม้;

ทั้งๆตอนนี้  ท่านบอกว่า "เรียกเต็มว่า ดอกไม้"

แต่ถ้าค้นคำว่า " ดอกไม้" จะได้ความหมาย อย่างเดียว ว่า
ดอกไม้  น. ฟันของเด็กที่แรกขึ้น.     ลังเล
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 31 มี.ค. 08, 13:22

พรรคกลิน ต้องเชิญทหารเรือมาอธิบายครับ
ผมจำไม่ได้แน่ว่าหมายถึงช่างเครื่องหรือเปล่า

สมัยก่อนอ่านหนังสือ กระดูกงู เจอบ่อย อีกคำดูเหมือนจะพรรคนาวิน
เป็นศัพท์เฉพาะจริงๆ ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 31 มี.ค. 08, 16:12

กลิน มีรากศัพท์จาก กล ครับ คือวิศวกรนั่นเอง แต่เป็นศัพท์เฉพาะในวงทหารเรือ ชาวบ้านไม่มีใครใช้กันครับ

พูดถึง กล นึกได้อีกคำหนึ่งคือ "ชอบกล"
คำนี้ยังใช้กันอยู่แต่ความหมายกลายจากบวกเป็นลบไปเสียแล้ว

สมัย ร.๔ ต้องใช้ว่า "ไม่ชอบกล" ถึงจะได้ความหมายเดียวกับ "ชอบกล" ในปัจจุบันนี้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 31 มี.ค. 08, 17:10

ขอบคุณคุณ Wandee ครับที่ช่วยอธิบายความหมายของ Act Art  ยิงฟันยิ้ม

ใช่เลยครับคุณ CrazyHOrse มาจากคำว่า "กล" แต่ผมยังหาไม่ได้ว่าใครเป็นคนบัญญัติศัพท์คำนี้ เพราะเห็นครั้งแรก ผมงงเลย อิอิ  ยิงฟันยิ้ม ว่า "กลิน" คืออะไร พอไปค้นก็พบว่า คำนี้น่าจะเป็นการผูกศัพท์ขึ้นเองของไทย ซึ่งผมพยายามค้นคำนี้ในพจนานุกรมสันสกฤต-บาลี-ฮินดี ก็ยังไม่พบ

กลิน คือ กล + อิน (คำเติมเพื่อแสดงว่าเป็นผู้กระทำ หรือ ผู้มี) เข้าใจว่า คงให้เป็นไปในทำนองเดียวกับคำว่า "พรรคนาวิน" (นาว + อิน = คนเรือ) และคำว่า "พรรคนาวิกโยธิน" (นาวิก + โยธ + อิน)

ดังนั้น "กลิน" ก็คือ คนที่ทำงานกับเครื่องยนต์กลไกต่างๆ หรือ พูดง่ายๆ คือ ช่างกล นั่นเองครับ

คำว่า กลิน นี้ เลยทำให้ผมอยากรู้ว่า ในพจนานุกรมของราชบัณฑิตยฯ ท่านมีคำประเภทนี้เก็บไว้กี่คำ ก็ค้นมาได้ดังนี้ครับ

พรรคกลิน (เหล่าทหารเรือที่เป็นช่างกลประจําท้องเรือ)

ชีวิน (ผู้เป็นอยู่, ผู้มีชีวิต), โภคิน (ผู้บริโภค, คนมั่งมี, คนมีสมบัติ), ราคิน (ผู้มีความกําหนัด)

สุขิน (ผู้มีความสุข), เวคิน (ผู้มีความเร็ว, ผู้เดินเร็ว), โยคิน (โยคี), พยัคฆิน (เสือโคร่ง)

ธรณิน (ธรณี, แผ่นดิน), ผณิน (งู), หัสดิน (ช้าง), ทันติน (ช้าง), วาทิน (คนเล่นดนตรี)   

นาวิกโยธิน (ทหารเรือฝ่ายบก), พรรคนาวิกโยธิน (เหล่าทหารเรือที่ประจําการพลรบฝ่ายบก)

โยธิน (นักรบ, ทหาร), ศิลปิน (ผู้มีความสามารถแสดงออกซึ่งคุณสมบัติทางศิลปะ)

กริน (ช้าง, ช้างพลาย), กินริน (กินนรเพศหญิง), จักกริน (ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์)

เปศัสการิน (ต่อแตน; หญิงผู้ปักลายเสื้อผ้า), ไพริน (ผู้มีเวร; ข้าศึก)

ภมริน (ผึ้งทั่วไป), ภุมริน (แมลงผึ้ง, แมลงภู่), มัตสริน (คนตระหนี่)

ศฤงคาริน (ผู้มีศฤงคาร), ศิขริน (ภูเขา), ศิงขริน (ภูเขา), ศีขริน (ภูเขา)

หาริน (ถือเอา, นําไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้)

ศูลิน (พระอิศวร), จุลชีวิน (สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์)

ดบัสวิน (ผู้ประพฤติความเพียร, ฤษี), นาวิน (คนเรือ, ทหารเรือที่ประจําการพลรบในกองทัพเรือ)

พรรคนาวิน (หล่าทหารเรือที่ประจําการพลรบ), อัศวิน (นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ)

วศิน (ผู้ชํานะตนเอง, ผู้สํารวมอินทรีย์), ปักษิน (สัตว์มีปีก คือ นก), สากษิน (สักขี)

วาสิน (ผู้อยู่, ผู้ครอง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น คามวาสี = ผู้อยู่บ้าน , อรัญวาสี = ผู้อยู่ป่า)

คำเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเจอในบทกลอนเสียมาก (ยกเว้นตัวสีน้ำเงินที่ผมเห็นว่า ยังมีใช้ในภาษาเขียนภาษาพูดในปัจจุบันอยู่ โดยเฉพาะคำว่า "ศิลปิน")
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 31 มี.ค. 08, 17:11


ดอกไม้  น. ฟันของเด็กที่แรกขึ้น.     ลังเล


 เศร้า  รูดซิบปาก  ลังเล  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 31 มี.ค. 08, 18:07

เคยได้ยินคำว่า "ดอกไม้" ที่แปลว่าฟันของเด็กที่แรกขึ้น  เป็นครั้งแรกจากคนแก่ที่มาเลี้ยงลูกสาวคนโต
เมื่อลูกสาวคนแรกฟันขึ้น เป็นสีขาวซี่นิดๆ  ป้าเรียกว่า  "ดอกไม้"   ใช้ผ้าเช็ดหน้าสะอาด ถูทำความสะอาดฟัน  ให้หมดคราบนม
ตอนนั้นยังนึกว่า ทำไมป้าคนเลี้ยง ใช้ภาษา poetic จัง
เพิ่งมารู้ตอนนี้เองว่า เป็นภาษาโบราณ   คงจะทำนองเดียวกับเรียกร่องกระดูกส่วนหน้าของบ่า ว่า ไหปลาร้า   ละมังคะ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 01 เม.ย. 08, 07:56

อาจเป็นการเปรียบเทียบฟันเด็กที่งอกใหม่เหมือนดอกไม้แรกแย้มมั้งครับ  ยิงฟันยิ้ม

คนโบราณชอบเปรียบเทียบ ไม่ชอบพูดตรงๆ อย่างเด็กที่น่ารัก ก็จะบอกว่า "น่ารัก น่าชัง"  ยิงฟันยิ้ม นัยว่า ป้องกันไม่ใช้ผีเอาตัวไป เพราะผีจะได้ยินว่า เด็กคนนี้หน้าตาน่าชัง  ลังเล เป็นลักษณะเฉพาะของสังคมที่ยังนับถือผีกันอยู่  รูดซิบปาก

ไม่แน่นะครับ ที่ให้เรียกฟันเด็กที่งอกใหม่ว่า "ดอกไม้" อาจเกี่ยวข้องกับความเชื่อบางประการในคติการนับถือผีก็ได้นะครับ  ฮืม

ส่วนคำว่า "ไหปลาร้า" นี่ติดใจผมมานานแล้ว เพราะไม่เคยเชื่อว่ามันจะเกี่ยวข้องอะไรกับไหปลาร้าเลยแม้แต่นิดเดียว แต่ทำไมเรียกกันมานมนานว่าไหปลาร้า  ลังเล

อิอิ ไปเจอโพสเก่าๆ ของตัวเองที่เรือนไทย ว่าไว้ว่า

"ราชาศัพท์เรียกว่า "พระรากขวัญ"

ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานการสร้างพระธาตุพนม) แปลไว้ว่า "กระดูกด้ามมีด"

ก็เลยคิดเล่นๆ ว่า กระดูกไหปลาร้า อาจไม่ได้เกี่ยวกับ ไหปลาร้า แต่อาจเพี้ยนมาจาก ด้ามมีดพร้า (พร้า เพี้ยนเป็น ปลาร้า) ฮืม

จะว่าไปแล้ว รูปร่างของกระดูกไหปลาร้า ก็คล้ายกันกับด้ามมีดพร้าเหมือนกันนะครับ

ไม่มีคำอธิบายครับ เพราะไม่รู้เหมือนกัน ทิ้งไว้ให้ช่วยกันคิดครับ"


ตอนนี้ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า "ปลาร้า" เพี้ยนมาจาก "พร้า" แต่ก็ติดอยู่ที่คำว่า "ไห" ว่ามันจะเพี้ยนมาจากคำว่าอะไรดี  ลังเล

ตามความหมายแล้ว "ไหปลาร้า" น่าจะแปลว่า "ด้ามพร้า" หรือ "ด้ามมีด" ในคำเขมร ก็ชัดเจนว่า เรียก "ฎงฺกำบิตฺ" (ด้ามมีด)

ไห น่าจะเพี้ยนมาจากคำอะไรซักคำที่แปลว่า "ด้าม" ตอนนี้ยังนึกไม่ออกครับ

หรือจะเพี้ยนมาจาก "มีด" คือ สำเนียงถิ่น (ไหนก็มิอาจทราบได้) เรียก "มีดพร้า" แต่ออกเสียงเป็น "ฮีด-พล้า" คนสำเนียงกลางก็ได้ยินเป็น "ฮี-พลา-ล้า" เลยไปเทียบเสียงเทียบศัพท์ให้เป็น "ไห-ปลา-ร้า" ทฤษฎีนี้ เพิ่งคิดสดๆ  อายจัง แต่ก็ฟังดูทะแม่งๆ  ยิงฟันยิ้ม แต่ก็เป็นไปตามหลักการเพี้ยนของคำได้เช่นกัน คือ M - H - P - F - V พวกนี้ มันเพี้ยนไปมาระหว่างกันได้ง่าย ยิ่งถ้าพูดในโทน ตรี หรือ จัตวา

จะว่าไปแล้ว รูปร่างของกระดูกก็มีทรงเหมือน "มีดพร้า" เสียด้วย





==================

ไปเจอสำนวนแปลกๆ ในพจนานุกรมอีกแล้วครับ "พร้างัดปากไม่ออก" (สํา) ว. นิ่ง, ไม่ค่อยพูด, พร้าคัดปากไม่ออก ก็ว่า.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 01 เม.ย. 08, 08:52

โบราณเขาไม่ได้ชมเด็กว่า "น่ารักน่าชัง" นะคะ  เขาใช้คำว่า "น่าเกลียดน่าชัง"   ไม่มีอะไรดีๆอยู่ในคำเลยค่ะ
ที่แน่ใจเพราะจำได้ว่า อายุสัก ๘ ขวบ คุณแม่พาไปเยี่ยมคุณน้า เพื่อนรุ่นน้องของท่าน ที่เพิ่งคลอดลูกชายใหม่ๆ
พอเห็น   คุณแม่ก็บอกว่า "หน้าตาน่าเกลียดน่าชัง  "  แม่เด็กก็ยิ้มอย่างปลื้ม
กลับมาจากบ้านนั้น ถามคุณแม่ว่า ทำไมคุณแม่ไปบอกว่าน้องหน้าตาน่าเกลียดล่ะคะ

คุณแม่หัวเราะแล้วตอบว่า โบราณเขาถือ   ห้ามชมเด็ก   หน้าตาน่ารักยังไงก็ชมไม่ได้  ผีจะมาเอาไป  ต้องพูดให้ตรงข้ามเข้าไว้   

ดิฉันจำได้ว่า เคยเปิดดูในนิยายเก่าๆ  เจอสำนวนแบบนี้หลงเหลืออยู่ 

คำว่า "น่ารักน่าชัง" มาทีหลังค่ะ น่าจะยุคคุณโฮ   ความยึดถือข้อนี้จางลงไปสักครึ่งแล้ว
จะพูดว่าน่าเกลียดน่าชังก็ตะขิดตะขวง  เลยเพี้ยนมาเป็นคำ "น่ารักน่าชัง"  ซึ่งไม่มีความหมายอะไรค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง