เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 208003 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 20 มี.ค. 08, 18:39

ตีแปลง     คงเข้าใจกันทั้วไปว่า เป็นปลักโคลนที่สัตว์เช่นหมู หรือควายสร้างขึ้น 
โดยการหมุนตัวไปมา กลิ้งเกลือกเพื่อไปนอนหาความเย็น  ขุดดินขึ้นมารอบๆ

บางครั้งลูกหลานในครอบครัวลงมานอนที่พื้น  ผู้ใหญ่ในเรือนก็จะประชดประชันว่า  มาตีแปลงอยู่ที่นี่เอง


วันก่อน  อ่านจดหมายเหตุเรื่องซีจัมปุกมาเมืองไทยในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปีนั้นเป็นปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๓

ณวัน ๑ เดือน๙ ขึ้น ๓ ค่ำ
เพลาบ่ายสี่โมง   หมื่นแม่นให้หมื่นจรเจนชลาล่ามมาบอกว่า
น้ำยังขึ้นไม่เต็มที่ยังเข้าไปไม่ได้   ต้นหนไม่ฟังขืนแล่นข้ามสันดอนมา
กำปั้นลำใหญ่ครือดิน   จักรพัดโคลนฟุ้งขึ้นมาเต็มกรอบจักร   จักรไม่เดิน
พอถึงปีกรั้ว  กำปั้นติดตื้นอยู่ตั้งแต่เพลาสองทุ่ม
น้ำลง  กำ่ปั่ั้นตีแปลงดิน  มูนข้างกำปั้นสูงขึ้นประมาณศอกเศษ

ติดใจคำว่า  กำปั่นตีแปลง  จึงนำมาฝาก

อันที่จริง  ซีจัมปุก หรือ เซอร เชมสบรุก เป็นนักการทูตผู้มีความสามารถมาก
พูดถูกหูคนฟังซะไม่มี


















บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 20 มี.ค. 08, 20:22

ได้ยินคำว่าตีแปลงทีไร.... ผมแอบนึกถึง อ. ท่านหนึ่งสมัยผมอยู่โรงเรียนมัธยมทุกทีครับ
อ. ท่านไม่ได้คุมเวรเคาะแปรงลบกระดาน หรือสอนเกษตรนะครับ แล้วก็ไม่ได้ตีเด็กเก่งด้วย
แต่ท่าน...... ศีรษะล้านน่ะครับ แบบที่เรียกว่าชะโดตีแปลง


พวกรุ่นพี่ๆก็เลยเรียกท่านว่า ชะโดตีแปลงบ้าง ชะโดบ้าง หรือตีแปลงบ้าง
แต่พอมาถึงผม เหลือแต่คำว่าตีแปลงซะแล้วครับ แหะๆ



ปล. เวรกรรมตามสนองครับ นายติบอผมร่วง แง๊....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 20 มี.ค. 08, 20:45

รสแหลม ใครยังใช้กันบ้างคะ?
บางทีก็ประกอบคำว่า หวาน   เป็นรสหวานแหลม
หมายถึง จัด
รสหวานแหลม หรือรสแหลม  มันไม่ใช่แค่รสจัดธรรมดา   แต่แฝงด้วยความรู้สึกว่า โดดเด่น   และอร่อย 
รสหวานจนเอียน หรือหวานแสบไส้ ไม่เรียกว่าหวานแหลม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 20 มี.ค. 08, 21:07

ลักษณะของชะโดตีแปลง
http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=surajitboy&topic=476&Cate=1


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 21 มี.ค. 08, 07:30

ม่อยกระรอก

หมายความว่าหลับหรือตาย  สลบล้มลง
พจนานุกรมของมติชนบอกว่าลงไปนอนตัวงอ
ถ้าม่อยกระรอกบนเวทีมวย คงไม่ทันจะตัวงอ  คงแผ่สองสลึง

อ่านมาจากนวนิยาย หรือบทความที่เกี่ยวกับการชกมวย

การที่กระรอกจะหล่นจากต้นไม้ คงบาดเจ็บ หรือมีโรคภัยคุกคาม
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 21 มี.ค. 08, 08:23

นึกออกอีกคำที่เคยได้ยินผู้ใหญ่ใช้กัน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ยินแล้ว

"ให้หา"

ที่ไม่ใช่หวนไห้โหยหา แต่หมายถึงให้ไปหา เช่น "จ้อยๆ หยุดเล่นได้แล้ว ยายให้หา"

ส่วนใหญ่สมัยนี้จะได้ยินว่า เรียกหา หรือ ให้ไปหา เสียมากกว่า

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 21 มี.ค. 08, 13:21

ภาษาเก่า ม่อย แปลว่า ตาย  ม่อยกระรอก คือกระรอกตาย    ใครม่อยกระรอกก็คือท่าทางเหมือนกระรอกที่หล่นจากต้นไม้ลงมาตาย 
เอาภาพ "ม่อยกระรอก" ของจริง มาให้เห็นค่ะ



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 21 มี.ค. 08, 18:56

ขอบคุณคุณเทาชมพูค่ะ ที่กรุณาแถมรูป


มีคำเก่าอยู่คำหนึ่ง  ร้อนร้าว

พระยากสาปนกิจโกศล(โหมด อมาตยกุล) เขียนไว้ใน บันทึกความทรงจำ
ถึงจะไม่เป็นคำที่ใช้ทั่วไป  ก็นิยมนายโหมดเป็นกำลังที่ใช้ภาษาไทยได้ละเอียดกินความ

นายโหมดพูดถึงว่า ท่านพิมพ์กฎหมาย เพราะเป็นความมรดกของคุณน้าพระกลิ่น บิดาบุญธรรม
ท่านจ้างอาลักษณ์คัดเป็นเงิน ๑๐๐ บาท
จ้างหมอมิชชันเนรีพิมพ์ ๒๐๐ ฉบับ เป็นราคา ๕๐๐ บาท
เมื่อเสร็จเล่มหนึ่ง เล่มสองยังค้างอยู่  เซอร์เจมส์ บรุคเข้ามาเจรจาความเมืองขอลดหย่อนภาษี
จะพูดจาสิ่งไร  ก็รู้เรื่องหมด

ท่านเจ้าคุณสำเร็จราชการกรมท่ายังเป็นราชามาตย์อยู่  ได้ซื้อไปสิบเล่มยังไม่ได้ให้เงิน

หลังจากเซอร์เจมส์ บรุคกลับออกไปแล้ว  มีรับสั่งให้สืบถามบรรดาลูกจ้างฝรั่งและผูู้้ใดเอาความไปพูดจาบอกเล่า
อยู่ในที่ท่านสงสัยพระจอมเกล้าฯ ด้วย

เจ้าคุณกรมท่ากลัวจะร้อนร้าวไปถึงพระจอมเกล้าฯ   จึงเอากฎหมายที่ซื้อเชื่อข้าไปเล่ม ๑
กับหนังสือพิมพ์ว่าด้วยราชการต่างๆของสังฆราชยองเข้าไปถวาย


บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 22 มี.ค. 08, 04:21

สองคำนี้ ไม่รู้มีที่มาที่ไปเกี่ยวกับหรือเปล่านะครับ แต่รูปคำกับความหมายมันชวนให้คิด  ยิงฟันยิ้ม

ม่อย    ก. เคลิ้มหลับไปชั่วครู่ เช่น ม่อยไปหน่อยหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มีสีหน้าสลดแสดงว่า
   เสียใจว่า หน้าม่อย.

ผล็อย, ผล็อย ๆ    [ผฺล็อย] ว. อาการที่ร่วงหรือหล่นไปโดยเร็ว เช่น ฝนตกผล็อย ๆ,
   อาการที่หลับไปโดยเร็ว เช่น หลับผล็อย, ผ็อย หรือ ผ็อย ๆ ก็ว่า.

-----------------------------------

ส่วนคำว่า "รสแหลม" นี้ เคยได้ยินครับ แต่ไม่เคยใช้เอง จำไม่ได้ว่าได้ยินที่ไหน จะเป็นคุณแม่พูดตอนทำอาหารหรือเปล่า หรือจะเป็นจากรายการทำอาหาร สมัย "คุณชายถนัดศรี" ถ้าจำไม่ผิด จะมี คุณเด๋อ ดอกสะเดา ร่วมชูโรงด้วย

ราชบัณฑิตยสถานว่าไว้ว่า
แหลม    [แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา
   แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น
   ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม.
        น. แผ่นดิน หรือ ภูเขา ที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเล หรือ มหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.

ถ้าเป็นในเชิงคำคะนอง จำได้ว่าสมัยรัฐประหารโดย รสช. จะมีกลุ่ม "ไอ้แหลม" คอยก่อกวนคลื่นวิทยุของตำรวจ และทหาร
หรือ ใช้ในความหมายว่า "ยุ่งไม่เข้าเรื่อง" เช่น นี่ๆ อย่าแหลม อย่าแหลม อันนี้ไม่รู้เป็นสำนวนเฉพาะกลุ่มหรือเปล่า แต่ตอนเด็กๆ เห็นเพื่อนใช้กัน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 22 มี.ค. 08, 06:28

ฝนตกผล็อย ๆ   ไปอ่านมาเหมือนกันค่ะ  ฟังดูแปลกหูหน่อยหนึ่ง

ฝนตกปรอย ๆ    ฝนโปรยลงมา
ฝนตกจั๊ก ๆ(มือซ้ายถือปลา  มือขวาถือผัก)
ฝนชะลาน
ฝนไล่ช้าง
ฝนตกหยิม ๆ (ยายฉิมมีกิจกรรมบางอย่าง)
ฝนซัดลงมาเหมือนฟ้ารั่ว
ฝน  น้ำฟ้า
ฝนงาม  น้ำงาม
ฝนชุก
ฝนเชย  สำนวนเก่าค่ะ  หมายความถึง ฝนแรกฤดูและตกน้อย ๆ(บรัดเล)


ต่อไปนี้อ้างอิงพจนานุกรมมติชน
ฝนกรด      ฝนขาดเม็ด
ฝนขี้มอด(ถิ่นใต้)   ฝนที่โปรยเป็นละออง

ฝนซู่       ฝนดำ
ฝนตกก็แช่ง  ฝนแล้งก็ด่า        ฝนตกขี้หมูไหล

ฝนตกไม่ทั่วฟ้า      ฝนตกไม่มีเค้า
ฝนตกอย่าเชื่อดาว

ฝนโบกขรพรรษ  น. ฝนตกตามความเชื่อที่ว่า  หากใครใคร่เปียกก็จะเปียก   หากไม่ต้องการให้เปียกก็จะไม่เปียก
ฝนพันปี   ฝนฟ้าหรือฟ้าฝน

ฝนสั่งฟ้า  ปลาสั่งหนอง
ฝนแสนห่า       ฝนหลวง

ฝนห่าแก้ว(ถิ่นใต้)  ฝนลูกเห็บ
ฝนเหล็ก     ฝนเหลือง
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 22 มี.ค. 08, 14:33

คุณ Wandee
ต้องเติม ฝนห่าใหญ่ เข้าไปด้วยรึเปล่าครับ เจ๋ง

ทีนี้ขอถามปัญหา
อะไรอยู่ใน  ห้องเครื่อง
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 22 มี.ค. 08, 15:44

คำเกี่ยวกับรสชาติ ไม่น่าจะหายไปง่ายๆ ตราบใดที่คนเรายังต้องกินอยู่
นอกจาก หวานแหลม แล้วยังมีรสปร่า เฝื่อน ปะแล่มๆ

รสชาติห่วยมากๆ เขาว่า สุนัขไม่รับประทาน ครับ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 06:59

พจนานุกรมโบราณของดิฉันล่วงลับไปแล้ว จึงไม่สามารถคิดคำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันออก คุณยายเเคยเรียกหน้าปากประตูว่า "หน้าฟักกะตู" ค่ะ ตอนเล็กๆ ดิฉันได้ยินว่างั้นจริงๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 07:14

เคยเห็นในหนังสือว่า   ปั๊กกะตู

ปัศตู  นั้น ปืนพก

ปัสะตู   ผ้าขนสัตว์ย้อมสีแดง เนื้อหยาบกว่าสักหลาด
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 24 มี.ค. 08, 08:04

ปัศตู    [ปัดสะ-] (โบ) น. ผ้าขนสัตว์เนื้อฟุ.


ไม่เคยได้ยินเลยครับคำนี้ หมายถึงในความหมายนี้นะครับ เคยได้ยินแต่ "ภาษาปัศตู" ในอาฟกานิสถาน  ยิงฟันยิ้ม

ในวิกี้ภาษาไทย เห็นสะกดว่า "พาชตู" ถอดตามภาษาอังกฤษที่สะกดได้หลายแบบเหลือเกิน
"Pashto" หรือ Pakhto, Pushto, Pukhto, Pashtoe, Pashtu, Pushtu, Pathani, Pushtoo
อาหรับ: پښتو‎ [pəʂ'to]

ถ้าเป็นชนเผ่าเรียกว่า "แขกปาทาน" นั่นเองครับ แต่ในภาษาอังกฤษจะเขียนว่า "Pashtuns" ดูจากชื่อต่างๆ ในวิกี้แล้ว แสดงว่า บ้านเราเรียก "แขกปาทาน" ตามภาษาอุรดู-ฮินดี เป็นแน่ เพราะแขกปาทานในบ้านเรานั้น จะหมายถึงแขกที่มาจากปากีสถาน แต่แขกปาทานจริงๆ แล้วอาศัยอยู่ทั้งในเขตปากีสถาน และอาฟกานิสถาน อ่านคร่าวๆ ไปๆ มาๆ รู้สึกว่า ทั้งปาทาน และ อาฟกัน ก็เป็นพวกเดียวกัน  ลังเล

Pashtuns = پشتون (Paštūn = ปศฺตูนฺ) หรือ  پختون (Paxtūn = ปคฺตูน) [Pushtuns, Pakhtuns, Pukhtuns ก็ว่า]
Pathans ก็ว่า (อุรดู: پٹھان = ปฐานฺ, ฮินดี: पठान Paṭhān = ปฐานฺ)

กลับมาเรื่องผ้าครับ ไม่รู้จะเกี่ยวกันหรือเปล่า คือประมาณเป็นสินค้ามาจากเผ่านี้  ฮืม เพราะสังเกตดูว่า พวกชื่อผ้าโบราณชนิดต่างๆ มักเรียกตามคำ เปอร์เซีย-ฮินดี ซึ่งก็คงเรียกตามพ่อแขกที่นำมาขายนั่นเอง

=========================================

http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp
http://en.wikipedia.org/wiki/Pashtu
http://en.wikipedia.org/wiki/Pashtun_people
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง