เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 208449 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 07:29



เคยอ่านเห็น  เปิ่นเทิ่นมันเทศ  และ เอามันเทศมาขึ้นโต๊ะ   ในวรรณกรรมรุ่น ๒๔๖๐ - ๒๔๘๐  หมายความถึง คนที่ไม่เข้าใจมารยาทในเวลานั้น

ชิ้น   ที่แปลว่า แฟน  ก็เห็นในวรรณกรรมยุคนี้ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 10:03

>ที่ชอบที่ชอบ
เด็กเข้าใจคิดแฮะ ผมว่าคนสมัยก่อนก็น่าจะคิดตรงๆนั้นแหละ แล้วก็อยากให้วิญญาณปู่ย่าตายาย มาเฝ้าปกปักรักษาลูกๆหลานๆด้วย

บันทึกการเข้า
Emmi
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 14:22

หนอนหนังสือ น่าจะแปลตรงตัวจาก bookworm

เห็นคำว่า "สะเหร่อ" ใช้กันทั่วไปในเน็ต   ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วสะกดยังไง "สะเหล่อ " "เสล่อ" หรือ "เสร่อ"
มีอีกคำที่ดูเหมือนจะเลิกใช้กันไปแล้ว คือ"ลาว" เพราะฟังๆแล้ว  ไม่ยุติธรรมกับเพื่อนบ้านของเราเท่าไหร่

เอาเป็นว่า เมื่อก่อนนี้ ใช้คำว่า "เชย"
คำนี้มาจากชื่อลุงเชย  ของป.อินทรปาลิต   เศรษฐีชราแห่งปากน้ำโพ ทั้งขี้เหนียวทั้งทำอะไรเด๋อด๋าน่าขำ
ทั้งๆชื่อ "เชย "ถือว่าเพราะ   ดูแต่คุณเชย พี่สาวฝ่ายดีของแม่พลอยนั่นไงคะ

และเก่ากว่า "เชย" คงไม่มีหนุ่มสาวรู้จักกันแล้ว คือคำว่า "เปิ่น"

สวัสดีค่ะ อาจารย์
อ่านหลายคำแล้วก็นั่งนึก เอ เราไม่เคยได้ยินจริงๆ ด้วย
แต่เจอคำนี้ เชย และ เปิ่น เลยมานั่งนึกว่าตัวเองใช้คำนี้มากน้อยแค่ไหน
หนูยังคงใช้คำว่า เชย และ เปิ่น อยู่ค่ะ แต่ลูกพี่ลูกน้องที่อ่อนกว่ากันสัก 10 ปี เห็นจะได้ รู้สึกแค่คำว่า เชย แต่พอพูดถึง เปิ่น ก็ทำหน้าฉงน
มองหน้าพี่ พร้อมกับมีคำถามว่า เปิ่น นี่คืออะไร

ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 17:45

คำว่า ทะแม่ง  ยังใช้กันอยู่หรือเปล่าคะ
ยังมีใครใช้คำว่า กลับรถ  บ้าง  หรือว่าใช้ ยูเทิร์น กันหมดแล้ว
ร้านเสริมสวย ยังใช้กันอยู่ไหม หรือทับศัพท์เป็น beauty salon

อ้อ อีกคำ  ไม่มีใครเรียกรถยนต์ ว่ารถเก๋ง อีกแล้วใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 18:01

เซี้ยว เฮี้ยว ก๋ากั่น ครับ
บันทึกการเข้า
elvisbhu
แขกเรือน
พาลี
****
ตอบ: 215

เป็นคนเขียนรูป


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 18:24

อรุณสวัสดิ์..
ราตรีสวัสดิ์..
สายัณห์สวัสดิ์..
บันทึกการเข้า
koraon
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 20:33

เพิ่งสมัครเป็นสมาชิกวันนี้ แต่อ่านมาพักใหญ่ๆ แล้วเจ้าค่ะ แม้นว่าจักเรียนแลทำงานด้านชีววิทยาเป็นหลัก แต่ก็พึงใจในภาษาไทย อาศัยครูพักลักจำเอาเป็นอาจิณ

คำเก่าที่เพิ่งใช้ไปวันก่อนแล้วมีพี่ๆ ในวงทำหน้างง คือคำว่า ตีขลุม ค่ะ

ตีขลุม  ก. ตู่หรือหยิบฉวยเอาของผู้อื่นโดยทึกทักเอาว่า
 เป็นของตน, แสดงอาการเป็นเชิงรับสมอ้างเพื่อ
 ประโยชน์แก่ตน.

หัวมังกุ ท้ายมังกร อันนี้เคยได้อ่านเจอว่าเป็นชื่อเรือ คือเรือมังกุ กับเรือมังกร รบกวนผู้รู้ด้วยค่ะ

ประเดี๋ยวถ้านึกอะไรออกจักมาบอกเล่าเจ้าค่ะ
บันทึกการเข้า
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 20:35

มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ  คำว่าราคือต้านครับ  ไม่เห็นใครใช้มานานมากแล้ว
ราอีกคำ จำได้ว่าอยู่ในเพลง มาร์ชจุฬา เดินๆเถิดรา นิสิตมหาจุฬาลงกรณ์     คนละรากันครับ ไม่ใช่เดินต้าน แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ฮืม  
บันทึกการเข้า
koraon
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 20:50

รา ๑  น. ไม้ที่กระหนาบอยู่ใต้ท้องพรึงรับพื้นเรือนเพื่อไม่ให้พื้นอ่อน อยู่ระหว่าง
 รอด; ไม้จีมเสาที่ปากหลุมซึ่งยังไม่ได้กลบดินเพื่อกันไม่ให้โอนเอน เรียกว่า
 ราคอเสา.
 
 
รา ๒  น. ชื่อเรียกพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ และลําต้น ใบ ราก ที่แท้จริง
 ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้
 สืบพันธุ์โดยสปอร์อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่
 ร่วมกับพืชอื่นก็มี.
 
 
รา ๓  ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป; น้อยลง, อ่อนลง, เช่น ไฟราดับไปเอง. 
 (กลอน) ว. คําชวนอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทําตาม เช่น ไปเถิดรา.
 
 
รา ๔  (กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคําว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒
 ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้าง
 ขุนแผน).
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 21:54

ที่อยากทราบที่สุดเลย  คือสมัยก่อนเวลาที่มีศัพท์แปลกๆออกมา  ผู้ใหญ่ตอนนั้นมีตำหนิเหมือนสมัยนี้บ้างไม๊ครับ

เช่นเวลามีคำว่า  เลิศสะแมนแตน- เจ๋ง - เซี้ยว - สะเหร่อ - ก๋ากั่น

สมัยนี้โดนดุหลายคำเวลามีคำแปลกๆ  ไม่ใจเลย - แหร่มเลย - โคตรเงือกเลย  ขออภัยครับถ้าบางคำไม่สุภาพ.. ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
Emmi
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 23:10

คำว่า ทะแม่ง  ยังใช้กันอยู่หรือเปล่าคะ
ยังมีใครใช้คำว่า กลับรถ  บ้าง  หรือว่าใช้ ยูเทิร์น กันหมดแล้ว
ร้านเสริมสวย ยังใช้กันอยู่ไหม หรือทับศัพท์เป็น beauty salon

อ้อ อีกคำ  ไม่มีใครเรียกรถยนต์ ว่ารถเก๋ง อีกแล้วใช่ไหมคะ


อาจารย์คะ หนูยังใช้ทั้ง 4 คำอยู่เลยค่ะ
มาอยู่อเมริกา เวลาพูดภาษาไทยกับน้องสาว หรือ พ่อ แม่ ก็ยังใช้คำว่ากลับรถ ค่ะ
สำหรับคำว่า ร้านเสริมสวย ไม่ค่อยได้ใช้ค่ะ เพราะไม่ค่อยตัดผมในร้าน ตัดเองซะเป็นส่วนใหญ่
แต่ตอนอยู่เมืองไทย ใช้คำว่า ร้านทำผม ค่ะ

รถเก๋งก็ยังใช้อยู่ค่ะ ไม่ค่อยใช้รถยนต์สักเท่าไหร่
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 23:33

จำได้ว่า ราชการพยายามหนับหนุนให้เรียกช่างตัดผมว่า
กัลบก

เดี๋ยวนี้คงมีรู้จักไม่มากแล้ว

เรื่องภาษาวิบัตินี่เป็นธรรมดาโลกครับ เอาไว้วัดว่าเราแก่ หรือวัยรุ่นงัย
เมื่อหลายสิบปีก่อน ตอนที่คุณธาดา เต็มบุญเกียรติ ยังขายแฟ๊บ (ความจริงบรีส...ตะหาก คือแฟ้บยี่ห้อบรีส)
แกพูดว่า กลิ่นสะอาด

ท่านราชบัณฑิต ถึงกะประชุมกัน ว่าใช้ได้ใหม
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 23:52

ตามที่เคยบอกว่าจะไปสกัดคำจากจารึกสุโขทัยมาครับ น่าสนใจดีที่เดียว เพราะมีทั้งศัพท์ และสำนวนที่เราอ่านเข้าใจแต่เราไม่พูดกันแบบนี้

จารึกคำปู่สบถ
อักษร    ไทยสุโขทัย
ศักราช    พุทธศตวรรษ ๒๐

คุณในปลา ยาในข้าว : โชคร้ายที่อยู่ตอนต้นของจารึกซึ่งชำรุด จึงไม่ทราบว่าข้อความก่อนหน้านี้คืออะไร แต่ก็ทำให้นึกถึงเอกลักษณ์ของภาษาไทสุโขทัยได้ชัด เหมือนกันกับที่พบในจารึกหลักที่ ๑ อยู่หลายประโยค (แต่ก็ยังมีคนบอกว่าเขียนสมัย ร.๔ ซึ่งสำนวนแบบนี้ไม่มีพูดกันแล้ว) เช่น ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว, จูงวัวไปขาย ขี่ม้าไปขาย เป็นต้น จากรูปประโยค นี้ก็น่าจะหมายถึง คุณค่าของอาหาร

สรรพโทษ - ปัจจุบันนิยมใช้ "ความผิดต่างๆ"

เกลียวสนิท - แน่นแฟ้น, กลมเกลียว, สนิทสนม

สัจจาคำ - คำพูด, คำสัญญาที่ให้ไว้

ผิ - ถ้า

ปด - โกหก, พูดโกหก, พูดเท็จ

ผิปดสัจจาคำ - ถ้าผิดคำพูด, ถ้าพูดโกหก, ถ้าพูดผิดไปจากคำสัญญาที่ให้ไว้

ฝูงพระพุทธ - เหล่าพระพุทธเจ้า - เมื่อก่อนนี้ อะไรที่เป็นกลุ่มก็เรียกฝูง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือคน แม้แต่เหล่าอดีตพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันไม่ใช้แบบนั้นแล้ว

ปางหน้า - ภายหน้า

คำสบถ - คำสาบาน
    สบถ    [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์
             ลงโทษตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติ
             ตามหรือไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).

รักด้วยใจจริง - จงรักภักดี

อย่าให้ได้แก่ปู่ - อย่าให้เกิดขึ้นกับปู่

กระทำใจรักภักดีไมตรีด้วย... - มีไมตรีจิตต่อ...

ช่วยปลดช่วยมล้าง - ช่วยแก้ไข (ปัญหา)

ด้วยรี้ด้วยพล - ด้วยรี้พล, ด้วยไพร่พล

เรามักมากท่านให้มาก เรามักน้อยท่านให้น้อย - ถ้าเราต้องการมากท่านก็ให้มาก ถ้าเราต้องการน้อยท่านก็ให้น้อย
     สังเกตว่า ปัจจุบัน "มักมาก" จะใช้ในความหมายไม่ค่อยดี เช่น มักมากในกาม แต่ไม่มีมักมากในความรู้  ยิงฟันยิ้ม

บ้านเมืองเราทั้งหลาย - บ้านเมืองพวกเรา

เราทั้งหลาย - พวกเรา

ชั่ววงศ์สุโขทัย - ในสมัยราชวงศ์แห่งเมืองสุโขทัย
     คำว่า "ชั่ว" กับ "ช่วง" คงมีรากมาจากคำเดียวกัน ปัจจุบันจะนิยมใช้ "ช่วง" ยกเว้นบางคำที่พูดกันมานานแล้ว เช่น ชั่วเวลาหนึ่ง, ชั่วขณะหนึ่ง

ปรีชญาพล - (กำลังแห่งสติปัญญา) - พลังสมอง, พลังความคิด

พาหุพล - (กำลังแขน) - พลังกาย, กำลังกาย

ตนปู่พระยา - ตัวปู่พระยา (ปัจจุบันมีคำซ้อนความหมายใช้ว่า ตัวตน)

ลูกท้าวลูกไท - ลูกท่านหลานเธอ

สรรพโทษทั้งหลาย - ความผิดต่างๆ

ทุกอำรุง - ทนุบำรุง

เสมอดั่ง - เหมือนกับ

===============================================

ถ้ามีเวลาจะหามาอีกครับ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 23:56

ก็เพราะคำว่ากลิ่นสะอาดนี่หละ ช่วยให้บรีสติดตลาดเป็นหมายเลขหนึ่งมาตั้งแต่ดิฉันเรียนหนังสือจนทำงาน คำนี้ตายหรือยัง ครีเอทีฟเก่าบรีสบางคนยังอยู่แถวนี้น่าจะบอกได้ค่ะ เจ๋ง
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 09 มี.ค. 08, 02:54

พอดีดูโฆษณา ได้ยินคำว่า "แม่เจ้าประคุณรุนช่อง"  ไม่ทราบหมายความอย่างไรครับ.... ยิงฟันยิ้ม

รุน  ก. ดุนไปเรื่อย, ไสไปเรื่อย, เช่น รุนหลังให้รีบเดินไปข้างหน้า; ระบาย
 ท้อง. น. เครื่องช้อนกุ้งชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปสามเหลี่ยม
 คล้ายชนาง แต่เล็กกว่า มีด้ามยาว ใช้ช้อนกุ้งหรือปลาเล็กปลาน้อยตาม
 ชายเฟือย.
ช่อง  น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม; 
 โอกาส เช่น ไม่มีช่องที่จะทําได้.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง