เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 207980 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 17:35

เกริน  [เกฺริน] น. ส่วนที่ต่อขึ้นไปที่หัวหรือท้ายราชรถ หรือขนาบอยู่ 
 ๒ ข้างบุษบก มีลักษณะคล้ายโขนเรือที่งอนอ่อน.
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 18:09

เลียบน่าจะเป็นศัพท์สูงที่ตกต่ำอีกคำครับ
การเลียบพระนคร เป็นพฤติกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของมหาจักรพรรดิราช
แปลว่า กษัตริย์น้อยๆ อำนาจ ทำไม่ได้

อาจจะเปรียบเหมือนปล่อยม้าอุปการ ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นคติที่แตกออกไปจากพระเจ้าเลียบโลก

เลียบ จึงหมายถึงการไปโดยศักดานุภาพ มิใช่กร่อยลงมาจนกลายเป็นมะริดติ๊ดต๊อด เช่นเลียบๆ เคียงๆ

เคียง คำนี้ก็เลิกใช้แล้ว
ไปตกต่ำอยู่ในจานลาบซะนั่น

เคียงม้า...น่าจะเป็นศัพท์สูงเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 19:19

ถ้ามีศัพท์บาลีสันสกฤตที่แปลว่า เลียบพระนคร   ถึงจะเป็นได้ว่า คำนี้มีความหมายสูงมาก่อน  รับมาจากอินเดียซึ่งมีอารยธรรมอลังการเป็นแม่บทของเอเชียอาคเนย์
แต่ดูจากลักษณะศัพท์ที่เป็นคำประสม ไทย กับ บาลีที่กลายเป็นไทยแล้ว คือ เลียบ + พระนคร
ยังไม่เชื่อว่าจะถึงขั้นนั้นค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 19:31

ขึ้นคาน   สาวๆรู้ว่าแปลว่าอะไร
แต่ "คาน" ในที่นี้ ไม่ค่อยจะรู้ความหมายกันแล้ว    บางคนนึกว่า หมายถึง "ไม้คาน"
ที่แม่ค้าหาบของ

ไม่ใช่ค่ะ
เมื่อก่อนนี้  เรือที่ยังไม่ได้เอาลงแล่นไปไหน   เขาจะเก็บไว้บนฝั่ง  มี"คาน"ไม้
รองรับเรือไว้
เรือที่ขึ้นคานอยู่ก็คือเรือที่ยังไม่ได้เอาลงน้ำ คือยังไม่ได้ใช้สอย   ค้างเติ่งอยู่บนคานนั่นแหละ

โอ้ใจนางอย่างนี้ก็มีมั่ง
จนเหลือดังข่าวก้องดังกลอนโขน
เพราะนิสัยใจขนิษฐ์เล่นปลิดโยน
จนมาโดนกันกระดากไม่อยากเชย

คนต่างคนก็เชือนออกเบือนเบื่อ
ต้องเป็นเรือขึ้นคานอยู่เฉยเฉย
อันผัวดีที่จะได้อย่าหมายเลย
ด้วยมากเชยหลายชู้เขารู้กล ฯ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 05 มี.ค. 08, 22:11

ถ้าเลียบเป็นคำต่ำ คงยากที่ได้ไปประสมกับคำสูง และใช้ในความหมายสูง

ขอให้สังเกตศัพท์ในโองการแช่งน้ำ ว่าเป็นศัพท์ไทยประสมแขกทั้งนั้น
ที่เป็นไทยแท้ๆ มีมากเสียด้วย เช่น
เอางูเปนแท่น
แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน
บินเอาครุฑมาขี่
ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก
เอาเงือกเกี้ยวข้าง
เจ้าคลี่บัวทอง
ผยองเหนือขุนห่าน
ท่านรังก่อดินก่อฟ้า
หน้าจตุรทิศ

ถ้าจะเติมคำว่า เลียบพระนครเข้าไป ก็น่าจะอยู่ดีมีสุขนา....ฮิฮิ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 01:15

ผมขอขายหน้าตัวเองหน่อยครับท่านอาจารย์  ทีแรกผมนึกว่าขึ้นคาน  คือ ขึ้นคลาน  คือชราจนต้องคลานน่ะครับ

คำไทยบางคำชอบเอาความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกันมาผสมกันนะครับ  เช่น

ลดหย่อนผ่อนโทษ  ลด-หย่อน-ผ่อน  น่าจะมีความหมายเดียวกันครับ
ช้างสาร  ช้าง-สาร   คือช้างเหมือนกัน

บางอย่างน่าจะมีที่มาเพื่อความลงตัวหรือความไพเราะของฉันทลักษณ์  เลียบพระนคร-เลียบค่าย  ผมไม่แน่ใจว่าจะใช้แต่กับชั้นพระราชาหรือเปล่า  แต่ถ้ามาจากภาษา เขมร-มคธ-สันสกฤษ  เป็นคำสูงแน่ชาวบ้านไม่ค่อยได้ใช้....... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 10:03

          สาวน้อยร้อยชั่ง     รูปแม่งามดังดุจอัปสรโสภา
ผ่องพรรณขวัญตา            นางวิไลในหล้าสุดที่จะหาเทียมนาง

            เพลงเก่าประพันธ์โดยครูแก้ว และครูเอื้อ สำหรับนางสาวไทยปี ๒๔๙๑
(ข้อมูลว่า เงินรางวัลตำแหน่งนางสาวไทยตอนนั้นเท่ากับ ๘,๐๐๐ บาท - ร้อยชั่ง) 

            ต่อมา  ขุนวิจิตรมาตรา " กาญจนาคพันธุ์ " ท่านเปรียบเทียบเครื่องรับโทรทัศน์เมื่อแรกมี
ราคาเครื่องละ ๘,๐๐๐ บาท ว่าเป็น  สาวน้อยร้อยชั่ง

จากเว็บคนรักสุนทราภรณ์ และ รถไฟไทย ครับ


บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 มี.ค. 08, 10:35

สมุด และ หนังสือ
ปัจจุบันก็ใช้สลับจนการสลับ กลายเป็นการยอมรับไปเสียนั่น

ทุกวันนี้ เรียกกันว่า หนอนหนังสือ
แต่สมัยสมเด็จ ดำรง พระองค์ทรงยกย่องเจ้าคุณอนุมานว่า
อย่างเธอ เขาเรียกว่า ตัวหนอนในสมุด

หนังสือเป็นนามธรรม มีแต่ปีศาจหนอนแหละ ที่ไปสิ่งสู่ได้....หึหึ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 17:15

หนอนหนังสือ น่าจะแปลตรงตัวจาก bookworm

เห็นคำว่า "สะเหร่อ" ใช้กันทั่วไปในเน็ต   ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วสะกดยังไง "สะเหล่อ " "เสล่อ" หรือ "เสร่อ"
มีอีกคำที่ดูเหมือนจะเลิกใช้กันไปแล้ว คือ"ลาว" เพราะฟังๆแล้ว  ไม่ยุติธรรมกับเพื่อนบ้านของเราเท่าไหร่

เอาเป็นว่า เมื่อก่อนนี้ ใช้คำว่า "เชย"
คำนี้มาจากชื่อลุงเชย  ของป.อินทรปาลิต   เศรษฐีชราแห่งปากน้ำโพ ทั้งขี้เหนียวทั้งทำอะไรเด๋อด๋าน่าขำ
ทั้งๆชื่อ "เชย "ถือว่าเพราะ   ดูแต่คุณเชย พี่สาวฝ่ายดีของแม่พลอยนั่นไงคะ

และเก่ากว่า "เชย" คงไม่มีหนุ่มสาวรู้จักกันแล้ว คือคำว่า "เปิ่น"
บันทึกการเข้า
meemee
อสุรผัด
*
ตอบ: 5



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 19:35

พูดถึงคำว่า "เชย"
ได้อ่านมาก่อนหน้านี้เหมือนที่อาจารย์บอกว่า มีที่มาจาก "ลุงเชย" ของสามเกลอ
แต่เคยบอกเพื่อน เพื่อนไม่เชื่อ หาว่า ชื่อลุงเชย มีที่มาจากคำว่าเชยที่หมายถึงบ้านนอกนั่นแหละ
เลยทะเลาะกับเพื่อนใหญ่
พออาจารย์มาย้ำ เดี๋ยวจะได้เอาไปให้เพื่อนดู

อีกคำเกี่ยวกับลุงที่สงสัยคือ "ทรงลุง"
เมื่อก่อนเคยได้ยินผู้ใหญ่พูดว่า กางเกงทรงลุง

มันแปลว่าอะไรคะ
เคยมีคนบอกว่า คือกางเกงทรงที่ชาลี แชปปลินใส่ แต่ก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้อง ทรงลุง
บันทึกการเข้า

น้องหมีเอง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 20:31

กางเกงทรงลุงคือกางเกงรุ่นเก่า  จีบเอว  หลวมรุ่มร่าม  คุณลุงในยุคที่มีคำนี้ยังคงสวมกัน เพราะติดมาตั้งแต่ยังหนุ่ม   ส่วนหนุ่มๆสวมกางเกงคับ   ฟิตเปรี๊ยะ  ถึงจะเท่
หนุ่มคนไหนเชย นุ่งกางเกงหลวม ก็เรียกว่านุ่งกางเกงทรงลุง ค่ะ
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 มี.ค. 08, 22:32

นึกถึงคุณเทิ่ง เวลาแกพูดคำว่า 'เลิศสะแมนแตน'
บันทึกการเข้า
drunken beauty
อสุรผัด
*
ตอบ: 18


เขาเป็นมั่งคั่งนั่งรถยนต์ เราเป็นคนสองขาพาร่างไป


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 02:41

แม่เจ้าโวย :Dชั่วไม่ทันหม้อข้าวเดือด หลายคำเหมือนกันนะนี่ แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 03:12

วันนี้คุยกับเด็กที่ร้าน... ได้คำมาเรียนถามอาจารย์คำนึงครับ

คือคำว่า "ที่ชอบ ที่ชอบ"




เรื่องของเรื่องคือเด็กคนงานที่ร้านผม 2 นางไปทำบุญกันมา
แล้วก็ไปคุยกันด้วยบทสนทนานี่ที่หน้าพระประทานในพระอุโบสถ

เด็ก 1 : นี่เธอ ฉันฝันเห็นแม่ที่เพิ่งเสียไปตลอดเลย ทำไงดี
เด็ก 2 : เธอก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คุณแม่ไปแล้วนี่ เดี๋ยวท่านก็ได้รับแล้วแหละ
เด็ก 1 : เดี๋ยวฉันว่าจะไปกรวดน้ำให้แม่ล่ะ
            อยากอธิษฐานให้ท่านไปที่ชอบๆ
เด็ก 2 : เธอแน่ใจหรอ ว่าเธออยากให้ท่านไปอยู่ในที่ๆท่านชอบ
เด็ก 1 : เธอก็ถามแปลก จะให้ฉันขอให้แม่ไปในที่ๆแม่ไม่ชอบหรือไง
เด็ก 2 : ฉันว่านะ ปกติแม่ก็รักลูก ที่ๆท่านชอบอาจจะหมายถึงอยู่กับเธอทุกคืนก็ได้
เด็ก 1 : ว๊าย!!! ปากไม่ดี อย่ามาอำฉันสิ
            แม่ขา ไปที่ชอบๆเถอะนะคะแม่ อย่าอยู่กับหนูเลยค่ะ หนูกลัว





ตกลงคำว่า "ที่ชอบ ที่ชอบ" นี่.... ภาษาเก่าแปลว่าอะไรครับอาจารย์
นายติบอเดาได้แต่ว่าภาษาใหม่น่าจะแปลว่า "ที่ไหนก็ได้ ที่ไกลๆกูหน่อย" อ่ะคับ แหะๆ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 มี.ค. 08, 06:46

คำที่กำลังเลือนหายไปส่วนหนึ่งมักจะเป็นคำที่ผูหลักผู้ใหญ่รุ่นก่อนๆจะพูดกับดิฉันเสมอ และเป็นคำที่ความหมายดี เวลาเราทำอะไรให้ท่าน สวัสดี ส่งของ มอบของให้ผู้หลักผู้ใหญ่ นอกจากท่านจะขอบใจลูกหลานแล้ว ก็มักจะต่อด้วยคำว่า ขอให้เจริญๆเถอะ และตามด้วยคำที่ไพเราะอีกคำค่ะ
"บุญรักษา"ค่ะ

เดี๋ยวนี้เจอแต่ เต๊กแก เป็นหลัก...

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง