Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 90 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 01:35
|
|
รุงรังเป็นยายเพิ้ง คือหญิงที่แต่งกายไม่เรียบร้อย ทรงผมรุงรังไม่ได้หวี ทรงผมสมัยหลังสงครามโลก นิยมดัดให้หยิกเป็นพิเศษ เพื่อความทนทาน ถ้ามิได้ไปเสริมสวยบ่อยๆ ทรงผมจะดูกระเซิง มัวแต่เช็ดกระไดไชรูื่ท่อ ตำน้ำพริกเสียงสนั่นอยู่ในครัว จุดประสงค์ก็เพื่อรับใช้สามีและครอบครัว เสื้อผ้าไม่เข้าชุดกัน
กระเชอก้นรั่วคือ หญิงที่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ซื้อแล้วซื้ออีก เก็บเงินไม่ได้ เงินรั่วหลุดไหลหายหมด
กระเชอเป็นภาชนะไปจ่ายตลาด เป็นกระจาดขนาดย่อม ปากผาย พจนานุกรมมติชน แจงว่า อัตราตวงของโบราณ ๕ กระเชอเท่ากับ ๕ ทะนาน
การถือไปตลาด เรียกว่ากระเดียด คือใส่เอวให้น้ำหนักพึ่งพิงเข้าที่เอวส่วนหนึ่ง ทำให้การเดิน มีการเคลื่อนไหวที่น่ามองถ้าผู้กระเดียดเป็นหญิงสาวอายุน้อย
แถมกระทายให้อีกคำนะคะ กระบุงขนาดเล็ก ปากผาย
เมื่อวันทองไปเยี่ยมขุนช้างที่ติดคุก นางลุกลนลานคลานเข้าห้อง ประจงจ้องจับกุญแจไขกำปั่น เปิดฝาคว้าทองสองสามอัน แล้วหยิบขันปากสลักตักเงินตรา ใส่ลงในกระทายเป็นหลายขัน ปากนั้นกอบเบี้ยเกลี่ยปิดหน้า
ขุนช้างขุนแผนฉบับหอสมุดแห่งชาติ บอกว่า เป็นเงินสองชั่ง ฉบับครูแจ้ง เอ่ยว่า สองถัง
เมื่อพระไวยไปกราบทูลขอให้พระราชทานปล่อยตัวขุนช้างเพราะสงสารมารดา ขุนช้างและวันทองไปกินอาหารที่เรือนพระไวย
จึ่งบอกกับวันทองว่าน้องกู อ้ายเงินสองถังอยู่หรืออย่างไร จงเอาไปให้แม่ศรีมาลา เราจะช้าอยู่นักก็ไม่ได้ วันทองว่าอย่าพูดให้อึงไป ข้าจัดแจงไว้ให้เสร็จธุระ ฯ
คงมีโอกาสได้นำขุนช้างขุนแผนตอนแต่งงานพระไวยสำนวนครูแจ้ง มาเล่าแถวๆนี้ คนที่ยังไม่ได้อ่าน คงพอมีอยู่บ้าง อ่านแล้ว ขออนุญาตพูดว่า รีเฟรชชิ่งมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 91 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 01:47
|
|
ขออภัยครับท่านติบอ กลัวจะไม่ได้ใช้ ฌ อ่ะครับ เดี๋ยวสนิมขึ้น........อิอิ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Hotacunus
|
ความคิดเห็นที่ 92 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 06:21
|
|
เห็นพูดกันถึง "ช" หรือ "ฌ" ก็เลยนึกได้ว่า ในภาษาไทยเรา น่าจะใช้ "ฌ" กันซักกี่คำ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก็สามารถค้นได้จากเว็บราชบัญฑิตยสถานด้วยเวลาไม่ถึงสามวินาที  ก็ได้ผลมาดังนี้ครับ (ผมลบความหมาย และจัดกลุ่มคำใหม่) คำตั้ง คำศัพท์ฌาน เข้าฌาน, ปฐมฌาน, ทุติยฌาน ตติยฌาน, จตุตถฌาน, รูปฌาน, อรูปฌาน
ฌาปน- ฌาปนกิจ, ฌาปนสถาน
เฌอ เฌอเอม
วัชฌ์ เพชฌฆาต
โพชฌงค์
มัชฌ- มัชฌันติก-, วิมัชฌันติก, มัชฌันติกสมัย
มัชฌิม- มัชฌิมชนบท, มัชฌิมนิกาย, มัชฌิมบุรุษ, มัชฌิมประเทศ, มัชฌิมภูมิ, มัชฌิมยาม, มัชฌิมวัย, มัชฌิมา, พระมัชฌิมา, มัชฌิมาปฏิปทา
วัญฌ์
สัชฌ สัชฌะ, สัชฌุ, สัชฌกร, สัชฌการ, สัชฌุกร, สัชฌุการ
สัชฌายะ
สัญฌา
อภิชฌา
อัชฌัตติก อัชฌัตติกปัญญา
อัชฌา
อัชฌาจาร
อัชฌาสัย อัชฌาศัย
อุปัชฌาย อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ, อุปัชฌายวัตรจะเห็นได้ว่า ทุกคำล้วนเป็นคำบาลี ยกเว้นคำเดียวคือ "เฌอ" ซึ่งเป็นคำเขมร แปลว่า ต้นไม้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 168
|
ความคิดเห็นที่ 93 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 07:57
|
|
มีกระเชอ แล้วมีกระชุไหมครับ ป้ากับปู่กู้อีจู้ อีจู้นี่เด็กสมัยใหม่คงไม่รู้จัก นึกว่าป้ากับปู่ยากจนต้องไปกู้เงินจากอีจู้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับหลงจู๊
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 94 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 10:02
|
|
ตอนนี้นึกออกคำหนึ่งที่ยังได้ยินพ่อแม่พูด แต่ไม่เคยได้ยินบ้านไหนใช้กันนัก
นั่นคือ "ฟ่าม" ที่แปลว่าไม่แน่น ฟุๆ ครับ
เช่น ส้มโอนี้เนื้อฟ่ามจังเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 95 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 10:47
|
|
ฟ่ามนี่เป็นคำสารพัดประโยชน์ของชาวหน้าพระลานเลยครับ เขียบรูปคนไม่ดี เว้นไม่งาม ไม่แข็งแรง ก็บอกว่า มันฟ่ามๆ ไปหน่อย
เขียนบทความยืดยาดไม่เข้าประเด็นทันใจ ก็บอกว่าเนื้อหามันฟ่ามๆ ไปหน่อย พรีเซ้นท์หน้าห้อง พูดไม่เก่ง ก็โดนข้อหานี้แหละครับ...ฟ่ามไปหน่อย
แสดงว่าภาษานี่ อาจจะตกค้างหรือมีชีวิตในบางที่ ต่างกับบางที่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 96 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 11:18
|
|
อีกคำหนึ่งครับ "ดุ้ง"
จะได้ยินพ่อแม่พูดเวลาของบุบหรือนูนออกมา เช่น กล่องสังกะสีนั่นโดนของวางทับจนฝามันดุ้ง
อีกคำที่คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน คือ "เสียด" กับ "เฉียด"
สมัยหัดขับรถใหม่ๆ ผมเคยขับรถไปเบียดกับรถอีกคันที่จอดอยู่ เป็นรอยนิดหนึ่ง พ่อถามด้วยเสียงเขียวว่า "ขับรถไปเสียดกับใครมาถึงเป็นรอย" ผมก็ถามว่า "พ่อหมายถึงไปเฉียดเหรอ?" พ่อบอกว่า "ไม่ใช่ เฉียดคือไม่โดน แต่เสียดคือโดน ถ้าเฉียดต้องไม่มีรอยสิ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 196
|
ความคิดเห็นที่ 97 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 14:15
|
|
บ้านผมก็ใช้ ฟ่าม ตามความหมายของคุณ UP(ใช้กับผลไม้อย่างเดียว) แต่ไม่เคยใช้แบบอ.พิพัฒน์ เลย
สำหรับเรื่องรถ กรณีนั้น น่าจะใช้เฉี่ยว นะครับ ไม่เคยใช้ทั้ง เสียดและเฉียด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 98 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 14:27
|
|
ผมว่า "เฉี่ยว" มันเป็นอาการที่เสียดสีไปโดยเร็ว แต่สภาพการณ์กับสภาพรอยแผลที่ผมก่อไว้บนรถนั้นมันคือความเซ่อซ่าของผมเองที่ค่อยๆ ขับรถตัวเอง ไปเบียดเข้ากับรถอีกคันหนึ่งซึ่งจอดไว้เฉยๆ ข้างทาง อย่างนุ่มนวล ไม่มีอาการโฉบเฉี่ยวฉวัดเฉวียนใดๆ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 99 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 15:08
|
|
คำว่าเสียด เห็นจะตระกูลเดียวกับเสนียด เป็นเสียงที่ถูกยืด ...หรือหด ก็ไม่รู้
แต่เสนียด ที่คล้ายกับความหมายที่คุณพ่อคุณอั้พใช้ ชาวหน้าพระลานใช้เรียกเครื่องมือครับ ไม้เสนียด เป็นเครื่องมือเล็กๆ คล้ายเครื่องมือหมอฟัน ใช้ทำร้องรอยเล็กๆ ในงานหล่อขี้ผึ้ง หรืองานปั้นดินที่เข้าสู่ขั้นตอนการเก็บรายละเอียด
ในคำพูดธรรมดาก็เหลือในคำว่าเสียดสี ส่อเสียด แต่เสนียดในภาษาพูดนี่ ไปไกลห่างจากความหมายของภาษาช่าง ...หลายอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 100 เมื่อ 13 มี.ค. 08, 16:25
|
|
ฟ่าม ผมใช้กับทุกอย่างที่เนื้อไม่แน่น ส่วนมากเป็นใช้กับเรื่องที่เป็นรูปธรรม กรณีนามธรรมอย่างที่คุณ pipat ว่า ผมไม่เคยใช้ แต่ถ้าได้ยินก็เข้าใจได้แบบนี้ครับ
ส่วนเรื่องเจ็ดชั่วโคตรหรือเจ็ดชั่วคน ทางจีนนี่วัฒนธรรมเขาเป็นครอบครัวขยาย ลูกเรียงพี่เรียงน้องนี่เขานับเป็นพี่น้องกัน ใช้ชื่อชุดเดียวกัน โดยเขียนบทกวีไว้บทหนึ่ง แล้วไล่ตัวอักษรไปทีละตัวเป็นคำต้นของชื่อคนทั้งรุ่นนั้น ธรรมเนียมนี้ทำให้หลายครอบครัวสามารถสืบประวัติย้อนหลังไปได้หลายสิบชั่วคน (บางตระกูลอ้างว่าสืบไปไดเกินร้อยชั่วคน แต่ไม่รู้มีมั่วบ้างหรือเปล่า) ดังนั้นเวลาโดนประหารนี่จะได้รับเกียรติกันทั้ง ๗ รุ่น ตายทีละหลายร้อยคนนี่ก็เพราะอย่างนี้แหละครับ เพราะลูกหลานของพี่น้อง พลอยโดนไปด้วยกันทั้งยวง อนาถใจเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
Bana
|
ความคิดเห็นที่ 101 เมื่อ 14 มี.ค. 08, 09:40
|
|
เสียด บ้านผมจะใช้กับอาการครับ เสียดท้อง ประเภทจุกเสียดอะไรทำนองนี้ครับ เสนียด ก็เคยได้ยินแต่ว่าเป็นหวีชนิดหนึ่ง เป็นซี่ถี่ๆ ที่ใช้สางเหาออกจากผมเด็กๆ เดี๋ยวนี้ก็ยังงเห็นใช้อยู่ครับ ดุ้ง ได้ยินสองอย่างครับ หลังดุ้ง หรือช่างไม้เล็งไม้เล็งอกไก่ แล้วบอกว่ามันดุ้ง............... 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 102 เมื่อ 19 มี.ค. 08, 23:20
|
|
วันนี้ เกิดคุยกับคนในบ้านเรื่องหุงข้าวแบบเก่า ยุคไม่มีหม้อไฟฟ้า หุงแบบเช็ดน้ำ และไม่เช็ดน้ำ ซึ่งยากเย็นมากเมื่อเทียบกับเสียบปลั๊กหม้อข้าวไฟฟ้า เลยมีคำว่า "ดง" ถูกเอ่ยขึ้นมา เป็นคำกริยา ไม่ใช่ป่าดงพงไพร "ดงข้าว" เป็นอะไรที่หนุ่มสาววัยทำงานสมัยนี้ไม่รู้จักแล้วมั้งคะ คำนี้เขาไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่จะใช้อีกแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 196
|
ความคิดเห็นที่ 103 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 13:05
|
|
>ดง รู้จักตอนเรียนลูกเสือครับ ไม่รู้สมัยนี้ยังต้องทำอยู่รึเปล่า
ทั้งขี้ไต้ ไม้ขัดหม้อ (อุ๊ป...ผิดกระทู้) เจอมาหมดเลย โดยส่วนตัวเป็นวิชาที่ชอบครับ (ยกเว้นตอนฝึกเข้าแถว กับ การขัดเข็มขัด)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 104 เมื่อ 20 มี.ค. 08, 15:45
|
|
สะเด็ด ที่คนละความคำกับ "เสด็จ" คำนี้แปลว่า ทำให้(น้ำ) แห้ง โดยเร็ว ล้างผัก ยกขึ้นมาสะบัดๆ ให้สะเด็ดน้ำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|