สวัสดีครับอาจารย์เทาชมพู
"หากินตามชายเฟือย" ถ้า "เฟือย" ตามความหมายในพจนานุกรม ก็น่าจะแปลได้ว่า "หากินตามชายน้ำ" หรือ หาอะไรกินได้ตามริมลำธาร (ปลาเล็กปลาน้อย, ผักต่างๆ ที่ขึ้นริมน้ำ) ก็เก็บกินไป ซึ่งดูแล้วให้ความรู้สึกว่ายากจน หาเช้ากินค่ำ อาจเป็นที่มาของความหมายว่า "กระจอก" ก็ได้นะครับ
สกุลรุนช่อง นี่เคยได้ยินครับ แต่คำว่า รุน นี้ เพี้ยนมาจาก "รุ่น" ได้หรือไม่ ? ปกติที่เคยอ่านพบก็จะเป็นการใช้ในเชิงลบ เช่น ไม่มีสกุลรุนช่อง ไม่คุ้นกับความหมายเชิงบวก (เขาเป็นคนมีสกุลรุนช่อง

)
คำว่า "ช่อง" คงเป็นอย่างที่อาจารย์ว่าคือ มีความหมายเหมือน "บ้าน" (บ้านช่อง ห้องหอ)
ทำให้นึกต่อไปถึง "ซ่อง" ว่า "ช่อง" กับ "ซ่อง" จะมีรากมาจากที่เดิมกันหรือไม่
อันที่จริง "ซ่อง" ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า
ซ่อง ๑ น. ที่มั่วสุมชุมนุมกันลับ ๆ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ซ่องการพนัน
ซ่องโจร ซ่องโสเภณี. ก. ประชุม.ช่อง น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม;
โอกาส เช่น ไม่มีช่องที่จะทําได้.การแอบประชุมกัน อาจเริ่มกระทำที่ทางเข้าออก (ช่อง) ตามตรอกซอกซอย

แต่ปัจจุบัน ถ้าพูด "ซ่อง" เฉยๆ ก็จะหมายถึง "ซ่องโสเภณี"
ซ่องโจร ซ่องการพนัน คิดว่าปัจจุบันไม่มีใช่ในภาษาพูดแล้ว แต่ในภาษากฎหมายคงยังมีใช่อยู่
ซ่องโจร - แก็งค์โจร, กลุ่มโจร, รังโจร, แก็งค์มาเฟีย
ซ่องโสเภณี - ซ่อง, ซ่องกะหรี่
ซ่องการพนัน - บ่อนการพนัน, บ่อน
ส่วนกริยาก็คงมีใช้อยู่คือ "ซ่องสุม" เช่น ซ่องสุมอาวุธ, ซ่องสุมผู้คน
ดูจากรูปศัพท์ "ซ่อง" ไม่ว่าจะเป็นกริยา หรือ นาม ล้วนส่อความหมายในเชิงลบเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายที่ต้องแอบกระทำกัน