เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23
  พิมพ์  
อ่าน: 208514 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 16 ก.ค. 09, 06:27

สวสดีครับ ช่วงนี้หายไปนาย รับราชการทหารมาครับ เลยไม่มีเวลาเล่น

慘 คำว่า ช้ำ ไม่รู้มาจากคำนึ้ป่าว หมายถึง ช้ำใจ
ชีช้ำ ตรงกับภาษาจีนว่า 淒慘
ภาษาสุโขทัยมีคำว่า หาว แปลว่าท้องฟ้า ภาษาจีนก็มีคำว่า หาว คือ 昊
คำว่า ห้าวหาญ ห้าว ตรงกับคำว่า 豪
คำว่า ดี 麗
คำว่า งาม 艷
คำว่า หนี 離
คำนี้ไม่รู้้คำไทยแท้ป่าว เศร้า ตรงกับภาษาจีนคำว่า 愁 กวางตุ้งอ่านว่า sao
คำว่า ลุ้น 忍

寂寞 คำนี้ไม่แน่ใจ ว่าคือคำว่า ซกมก รึป่าว เพราะความหมายต่างกันลิบลับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 24 ก.ค. 09, 15:07

คำว่า เจ้า ในคำว่า ข้าวเจ้า  ไม่ได้แปลว่า เจ้านาย เชื้อพระวงศ์ พระมหากษัตริย์ ตามที่คนปัจจุบันเข้าใจกัน  แต่แปลว่า หุง  หุง คือ การนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปต้มเคี่ยวในน้ำจนสุกนิ่ม จากนั้นจึงรินน้ำที่ต้มออก หรือเคี่ยวไปเรื่อยๆ จนน้ำที่ต้มงวดแห้งไปเอง เช่นการหุงข้าว เป็นต้น คำว่า เจ้า ในที่นี้ เป็นคำไทยเก่าแก่ เหลือใช้ในคำว่า ข้าวเจ้าเพียงคำเดียว ซึ่งคนไทยเดี๋ยวนี้ไม่ทราบความหมายแล้ว ที่สำคัญไม่พบคำนี้ในภาษาไทยถิ่นใดด้วย  แต่กลับไปพบคำว่า เจ้า ที่แปลว่า หุง นี้ ในพจนานุกรมภาษาลาว แสดงว่าลาวยังใช้และเก็บคำนี้อยู่ 

จากความหมายของคำว่า เจ้า ในคำว่า ข้าวเจ้า นี้ ทำให้คิดต่อไปได้ว่า คนไทยเรียกข้าวพันธุ์นี้จากวิธีการทำให้สุกนิ่มจนกินได้ ในขณะเดียวกันข้าวเหนียว ซึ่งเป็นข้าวอีกพันธุ์หนึ่งที่เรียกตามลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งมีแป้งมาก ต้องแช่น้ำนานก่อนนำไปนึ่งให้สุก เมื่อสุกแล้วมีลักษณะเหนียวติดกันเป็นก้อน  คนเหนือจึงเรียกข้าวเหนียวว่า ข้าวนึ่ง  ส่วนข้าวเจ้า แข็งกระด้าง แป้งน้อยกว่า ไม่ต้องแช่น้ำนาน แต่ใช้การต้มเคี่ยวในน้ำจนเปื่อยดีแล้วรินน้ำออกหรือเคี่ยวต่อจนน้ำงวดแห้งไปเอง  กลายเป็นข้าวสวย 

นี่เป็นคำไทยอีกหนึ่งคำที่คนไทยลืมไปแล้ว  แต่โชคดีที่ภาษาเพื่อนบ้านยังเก็บและใช้อยู่
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 24 ก.ค. 09, 15:15

ส่วนที่ใครสันนิษฐานว่า เป็นข้าวที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์เสวยมาแต่โบราณ โดยการอ้างทางโบราณคดีบ้าง ทางวัฒนธรรมบ้าง เหล่านี้เป็นข้อสันนิษฐานที่ยังมีน้ำหนักไม่มากพอที่ยืนยันความเชื่อดังกล่าว  การกินข้าวเหนียวนั้น อาจจะเป็นความนิยมของคนไทยบางถิ่นซึ่งแม้กระทั่งชาวไตในสิบสองปันนา จีนตอนใต้ก็กินข้าวเหนียวกัน แถมเป็นข้าวเหนียวดำด้วย และกลุ่มคนเหล่านี้ก็ปกครองโดยระบอบเจ้ามาเหมือนกัน ไม่มีเหตุอะไรที่จะกล่าวว่า ข้าวเจ้ามีเฉพาะเจ้าเท่านี้ที่กิน  การกินข้าวเหนียวข้าวเจ้า อาจจะเกิดจากสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลักในการเลือกพันธุ์ข้าวที่จะกินเป็นหลักก็ได้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 24 ก.ค. 09, 15:55

เรื่องคำว่า เจ้า แปลว่า หุง นั้น เป็นกระแสใหม่ที่ได้ยินมาไม่นานนัก และน่าคิดว่า คำนี้ทางลาวใช้ในความหมายนี้มานานเท่าไหร่แล้ว

เจ้าแปลว่าหุงมาแต่โบราณ? หรือว่าเจ้ามาแปลว่าหุงเมื่อข้าวเจ้ามีความหมายตรงกับตรงกับข้าวหุง คงต้องสอบให้ดี ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน
และเท่าที่ตรวจสอบจากฐานข้อมูลคำ proto-tai ก็ไม่พบคำว่า เจ้า ที่แปลว่าหุงนะครับ

ส่วนเรื่องข้าวเจ้าที่ "อาจ" มาจากข้าวที่เจ้ากิน ลองอ่าน คคห. ที่ผมเขียนย้อนหลังไปไม่กี่ คคห. ดูนะครับ ว่าเป็นมาอย่างไร "เจ้า" พวกไหนที่กำลังพูดถึงอยู่
และถ้าสนใจ คงจะค้นหาข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมได้ไม่ยากนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 29 ก.ค. 09, 14:07

ขอแก้ไขครับ
คำว่า เจ้า ที่แปลว่า หุง ในภาษาลาวนั้น ที่ถูกต้องเขียน จ้าว  ในภาษาลาว เขียนคำว่า ข้าวเจ้า ว่า ข้าวจ้าว ในขณะที่ในภาษาไทยเขียน ข้าวเจ้า แต่เวลาออกเสียงก็ออกเสียงว่า ข้าว จ้าว เป็นไปได้ว่า เจ้า กับ จ้าว อาจจะเป็นคำ ๒ คำ ที่เขียนและอ่านออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน กาลต่อมาด้วยเหตุที่คำหนึ่งค่อยสูญหายไป คนจึงเขียนเหลือแต่ เจ้า คำเดียว 

ส่วนคำว่า จ้าว ที่แปลว่า หุง ในภาษาลาว คำนี้ทางลาวใช้ในความหมายนี้มานานเท่าไหร่แล้ว อันนี้คงตอบได้ยากสักหน่อย เพราะยังค้นไม่พบหลักฐานการใช้คำคำนี้ในเอกสารเก่าๆ ซึ่งกำลังหาอยู่เหมือนกัน  อาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย กระนั้นต้องขออธิบายว่า คำว่า จ้าว นี้ ปรากฏในพจนานุกรมภาษาลาวที่มะหาสิลา วีระวงส์ รวบรวมและพิมพ์ ราว ๒๕๑๐ (ขออภัยจำได้คร่าวๆ) และเพิ่งมีการตีพิมพ์ครั้งที่ ๓ เมื่อไม่กี่ปีมานี้ จริงอยู่ว่านี่อาจจะไม่ใช่ข้ออ้างว่าคำนี้เก่าแก่ คำภาษาลาวมีคำน้อยกว่าคำไทยหลายเท่า  แต่น่าสังเกตว่า คำภาษาลาวเก็บคำตระกูลไท-ไตเก่าๆไว้หลายคำ หลายคำสูญจากภาษาไทยไปแล้ว การสร้างคำใหม่ในภาษาลาวก็มี แต่คำประสมทั้งนั้น โดยปกติการสร้างคำใหม่ที่เป็นคำเดี่ยวในภาษาไท-ไต ไม่ใช่สิ่งที่เกิดแล้วคงทนนัก ที่ว่าฐานข้อมูลคำ proto-tai ไม่พบคำว่า เจ้า ที่แปลว่าหุง  ก็เข้าใจว่า ฐานข้อมูลนี้เป็นสิ่งที่เกิดหลังภาษาเกิดขึ้นแล้วนานหลายชั่วอายุคน  และภาษาได้แยกสาขาออกไปมาก  คำหลายคำอาจจะสูญไปจากภาษาที่เคยใช้แล้วก็ได้  ยกตัวอย่างคำว่า เยีย ในโคลงกำสรวล เป็นคำไทยอีกคำที่แทบจะหาความหมายไม่ได้แล้ว โชคดีที่ยังหลักฐานพอสืบความหมายได้ และน่าอัศจรรย์ที่คำว่า เยีย ในโคลงกำสรวลนี้ เคยปรากฏใช้ในความหมายเดียวกับคำว่า เยียะ ในภาษาไทยล้านนา (เยียที่ว่านี้ คำไทแปลว่า ฉาง คลัง เล้า /ทำ แต่อีกความหมายที่เคยใช้ในภาษาไทยดังปรากฏในโคลงกำสรวล ไม่ได้แปลว่า ฉาง คลัง เล้า หรือทำ แต่อย่างใด )แต่จะแปลว่าอะไร ขอเสนอในโอกาสหน้า(ถ้ามีคนสนใจ)

อีกอย่างการจะพิสูจน์ว่าคำใดใช้มานานเท่าใด ไม่ใช่ของง่ายนัก ถึงแม้จะมีเอกสารหลักฐานเก่ายืนยันการใช้คำนั้นๆได้ แต่ก็เป็นเพียงการแสดงว่ามีคำนี้ใช้ในสมัยนั้น คำบางคำอาจจะไม่ปรากฏหลักฐานการใช้ในเอกสารใดๆ เลย แต่อาจจะปรากฏเป็นภาษาพูดมานานแล้ว เพราะภาษาเขียนเกิดทีหลัง ยิ่งสมัยก่อนการจดจารถ้อยคำภาษายิ่งมีไม่มาก ที่เหลือตกทอดมาถึงเรายิ่งมีน้อยลงไปอีก อย่างนี้อาจจะชี้ว่าคำใดเก่าแค่ไหนได้ยากสักหน่อย  แต่ว่า  คำว่า จ้าว ที่แปลว่า หุง นี้ เป็นคำโดด ซึ่งปกติคำโดดในภาษาไท-ไตมักจะเป็นคำเก่ากว่าคำประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะคำประสม คำซ้ำ คำซ้อน ฯลฯ ตรงนี้ยังไม่มีหลักฐานอื่นที่พอจะฟันธงได้ นอกจากหลักฐานในพจนานุกรมลาวของมหาสิลา วีระวงส์

แต่ถ้าข้าวเจ้า เป็นข้าวที่เจ้าเสวยแล้ว สงสัยต่อไปอีกว่า ในภาษาไทยถิ่นอื่นๆ เขาเรียก ข้าวเจ้า เหมือนหรือต่างจากไทยเราหรือไม่ อย่างไร
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 27 ส.ค. 09, 18:34

ตอบคุณ luanglek ครับ

ถึงแหลมสิงห์ สิงขร ชะง่อนงอก
ที่โตรกตรอก เขาเขิน เปนเนินผา
มีหินขาว ยาวใหญ่ ใกล้ชะลา
ทัศนา เพริดพริ้ง เหมือนสิงห์โต
ก็สมคำ สำคัญ มีมั่นเหมาะ
เกิดจำเพาะ ทางประเทศ วิเสศโส
ดูหัวหาย กายยัง ตั้งชะโง
ภอเรือโร่ ออกแถว แนวทะเล

คำว่า ชะโง ผมคิดว่า เป็นการดัดคำให้เข้ากับบทกลอน โดยมาจาก "ชะโงก" คือ ยื่นออกมา เช่น ชะโงกหน้าออกมาดู

หรือ

มาจาก "โง" คือ ตั้งขึ้นมา ภาษาไทยเท่าที่นึกออก เห็นจะใช้อยู่สำนวนเดียวคือ "โงหัวไม่ขึ้น" ส่วนคำว่า "ชะ" น่าจะเป็นคำเติมเต็มเสียง

ส่วนที่คุณ luanglek บอกว่า ค้นเจอแล้วว่าเป็นคำเขมร ผมก็รออ่านอยู่ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 27 ส.ค. 09, 18:58

เรื่องข้าวเจ้านี้ ทางราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า คำว่า เจ้า เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า เปราะ ร่วน ไม่เหนียว

ถ้ายึดตามนี้ ก็แสดงว่า การเกิดคำว่า ข้าวเจ้า - ข้าวเหนียว เป็นการสร้างคำตามคุณลักษณะของข้าวเมื่อหุงสุกแล้ว

ส่วน จ้าว ที่ทางลาว แปลว่า หุง ก็น่าสนใจครับ
อีกประการหนึ่ง คำว่า "หุง" เอง ก็ดูเหมือนว่า จะถูกสงวนไว้กับการปรุงข้าวให้สุก
ดังนั้น ถึงจะนำเอาวิธีปรุงมาผูกเป็นศัพท์ ก็น่าจะเรียกว่า ข้าวหุง

ศัพท์ที่เอาวิธีการปรุงมาผูก ก็มี ข้าวต้ม ข้าวผัด

คำว่า "หุง" พอดีเคยผ่านตา บทความเกี่ยวกับศัพท์ปรุงอาหารของจีน ซึ่งได้อ้างถึงคำว่า "หุง" ในภาษาไทนุงว่า hung
แสดงว่า คำนี้ เก่าพอตัวทีเดียว
บันทึกการเข้า
Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 31 ส.ค. 09, 09:40

ผมนึกได้คำนึง

น้ำส้มสายชู

ชู มาจากภาษาจีนคำว่า ฉู่ 醋 cu3 รึเปล่า

ฉู่ ภาษาจีนแปลว่า น้ำส้มสายชู

ฉาง ที่แปลว่า ยุ้งฉาง

ภาษาจีนมีคำนี้ครับ

倉 cang2 แปลว่า ยุ้งฉาง

ส่วนข้าวเจ้า อาม่าเล่าให้ฟังว่าคนจีนกินข้าวเจ้าเหมือนกัน แต่ไม่นิยมกิน ส่วนใหญ่กินบะหมี่ แต่คนไทยสมัยก่อนกินข้าวเหนียว กินแบบเปิบด้วยมือ แกงข้นๆ ต้องกินกับข้าวเหนียวแน่นอน

แต่วัฒนธรรมการกินของจีน ไม่นิยมกินข้าวราดแกง ถ้ากินข้าว ก้เอาข้าวมาผัด เช่น ข้าวห่อใบบัว บะจ่าง นึกได้แค่นี้ครับ^^
หรือเอาข้าวมาทำโจ๊ก(เมนูอาหารแบบจีน ก็ยังไม่เห็นพวกข้าวราดแกง) เห็นแต่แกงกะหรี่ แกงต่างๆ ที่เป็นอาหารจากชาติอื่นเข้ามาในจีน

แต่คนจีน โดยเฉพาะชาวบ้าน สามัญชน เขากินบะหมี่มากกว่ากินข้าวเจ้า 

แล้วการกินข้าวในวัฒนธรรมจีน เอาข้าวมาทำเป็นโจ๊ก-ข้าวต้ม หรือไม่ก็เอามาผัดกิน เพราะคนจีนกินข้าวใช้ตะเกียบ ไม่ใช้ช้อนกิน
เอาข้าวมาผัด ผมว่ายังกินสะดวกกว่านะครับ.......

ผมนึกภาษาจีนได้คำนึง คำว่า ฉ่าว 炒 แปลว่า ผัด ภาษาไทยปัจจุบันใช้คำว่า ฉ่า แปลว่า ผัด

ข้าวเจ้า แปลว่า ข้าวสำหรับผัด ก็ได้นะครับ

炒饭 ฉ่าวฟั่น แปลว่า ข้าวผัด
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 01 ก.ย. 09, 13:20

คำว่า ชะโง ที่อยู่ในนิราศคำกลอนที่ยกมานั้น สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาเขมรว่า จฺรโง (จฺรอโง)หรือ ชฺรโง (จฺรัวโง)แปลว่าผุด โผล่ ผลุบโผล่
นอกจากนี้ยังมีคำเขมรที่ออกเสียงใกล้และมีความหมายใกล้เคียงกับว่าชะโงอีก ดังนี้
จฺรงูว (จฺรอโง็ว)แปลว่า นั่งจ๋อง ยืนเฉยไม่กระดุกกระดิก ใช้ว่า องฺคุยจฺรงูว ณรจฺรงูว
ถฺงูว (โทฺง็ว) แปลว่า กระดกกระดนโด่ คำแปลตามพจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน
โธฺงง (โทฺงง) แปลว่า โผล่ เห็นหัวโด่ เป็นอาทิ
ในภาษาไทย มีคำความหมายใกล้เคียงกับคำว่า ชะโง อยู่ 2-3 คำ คือ โง ชะเง้อ ชะโงก
โง แปลว่า ยก ใช้แก่ศีรษะ ในความหมายโดยปริยายหมายถึง ฟื้นขึ้นจากสภาพตกต่ำ เช่น เศรษฐกิจเพิ่งโงหัวขึ้นได้บ้างหลังจากที่เกิดวิกฤติการเงินครั้ง
ใหญ่
ชะโงก แปลว่า ยื่นหน้าหรือส่วนหน้าออกไป เช่นเด็กชะโงกหน้ามองดูเพื่อน เป็นต้น
ชะเง้อ แปลว่า ชูคอขึ้นดู เช่น เด็กพยายามชะเง้อคอดูการแสดงดนตรีอยู่หลังพวกผู้ใหญ่ที่ยืนบังอยู่
ความหมายคำว่า ชะเง้อ ออกจะใกล้เคียง ชะโง ในความของนิราศที่ยกมา
สันนิษฐานต่อว่า  ชะโง ที่อยู่ในนิราศคงจะเป็นคำเขมรที่อยู่ในภาษาถิ่นคนจันทบุรี เพราะมีอาณาเขตติดต่อกัน จึงมีคำบางคำใช้ร่วมกัน
คำว่า ชะโง  พจนานุกรมราชบัณฑฺตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ยังไม่ได้เก็บไว้


มีคำอีกคำหนึ่ง อยากให้ช่วยสันนิษฐานความหมายหน่อย

สาชลพฤกษ์พร่างขึ้น   ไขเสดิง
นองท่านางนองสนาน   สนั่นหล้าย
สายสินธ์ุุ์สำเริงฟอง     ฟัดฟาด  ฝั่งเอย
นองย่านนางคล้ายคล้าย คลั่งไหล ฯ

คำว่า ไขเสดิง แปลว่าอะไร ดคลงบทนี้ มาจาก โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อย ของพระยาตรัง บทที่ ๒๔ จะเป็นภาษาถิ่นใต้หรือเปล่า ใครทราบบ้าง
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 01 ก.ย. 09, 14:42

ส่วนใหญ่หลายๆ คำที่เป็นสระเอา / -aw/ ทำไมคนไทยภาคกลางมักออกเสียงเปน อาว /-a:w/ เสียส่วนมาก (ยกเว้นคำว่า ว่าว)

จ้าว แปลว่าร่วน

ส่วนคำว่า หุง ภาษาไทยใหญ่ แปลว่า การทำให้สุก เช่น หุงข้าวหุงผัก (ผักแปลว่า อาหารที่กินกับข้าวทั้งหมด)
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 02 ก.ย. 09, 08:28

ในพจนานุกรม ภาษาไทยอาหม มีคำว่า จาว ที่มีความหมายดังนี้
จาว ๑ มีความหมายเหมือน เจา ๑ แปลว่า  เทวดา นาย เจ้าของ กษัตริย์ มหาบุรุษ พระเจ้า ร่างกาย และการแสดงความเคารพ
จาว ของไทยอาหมนั้นมีความหมายเหมือน เจ้า คำไทย
จาว ๒  แปลว่า ต้มข้าว สัญญา เกิดขึ้นทันใด เกลี่ยข้าวที่ตากให้แห้ง เห้นไม่ตรงกัน
         กับแปลว่า ใหญ่ มหัศจรรย์
จาว ๒ นี้ ความหมายว่า ต้มข้าว เหมือน จ้าว ในภาษาลาว ที่แปลว่า หุง ดังที่เคยเสนอไว้
เป็นอันว่า ตอนนี้มีอย่างน้อย  ๒ ภาษาที่มีคำว่า จ้าว ที่แปลว่า หุง (ทำให้ข้าวสุกด้วยการต้ม)
อีกนิดหนึ่ง ภาษาไทยอาหม ไม่มีรูปวรรณยุกต์ แตกต่างภาษาไทยภาษาลาวที่มีรูปวรรณยุกต์
รูปคำที่พ้องกันอาจจะแยกความต่างกันได้ด้วยเสียงวรรณยุกต์ในเวลาพูดเพื่อแยกคำแยกความหมาย
ข้อมูลจากพจนานุกรมไทยอาหม-ไทย ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร แปลจากพจนานุกรมของ RAI SAHIB GOLAP CHANDRA BORUA

ส่วน จ้าว ที่แปลว่า เปราะ แตกหักง่าย ปรากฎในภาษาไทฉาน (ไทใหญ่)ด้วย เขียน จว์ หรือ จิว์ ออกเสียง จ้าว
ภาษาไทยใหญ่ไม่มีรูปวรรณยุกต์และเสียงสระสั้นยาวต้องสังเกตจากการออกเสียงของเจ้าของภาษา
ลำพังดูจากรูปเขียนจะเห็นคำที่มีรูปคำพ้องกันเยอะมาก
ข้อมูลจาก  A Shan and English Dictionary ของ J.N.Cushing

ตอนนี้อยากทราบว่า มีภาษาตระกูลไท-ไต ภาษาอะไรบ้าง ที่มีคำข้าวเจ้า ข้าวเหนียว
และมีเอกสารภาษาไทยเรื่องอะไรที่เก่าที่สุด ที่ปรากฏคำว่าข้าวเจ้า ข้าวเหนียว
บันทึกการเข้า
Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 09 ต.ค. 09, 06:26

เรื่อง ห่วย โชห่วย นี้ ได้ยินมาว่าเป็นคำจีนแต้จิ๋วครับ

เนื่องจาก ผมไม่มีความรู้ภาษาจีน ก็ได้แต่จดๆ จำๆ ผู้รู้เค้าว่ากันมานะครับ ยังไงถ้าคุณ CrazyHOrse ผ่านมา ก็ช่วยแนะนำด้วยอีกแรงนะครับ

"ห่วย" เข้าใจว่ามาจาก 壞 (坏) หมายถึง ไม่ดี, ร้าย, เสีย, แย่

ผมไม่แน่ใจว่า คำนี้ เป็นคำเดียวกับ "หวย" หรือเปล่า เพราะใน "ประชุมพระนิพนธ์  สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" อธิบายว่า "ฮวยหวย"   คือ การเล่นพนันชนิดหนึ่ง

"หวย" ที่เราพูดๆ กันในปัจจุบันก็คงย่อมาจากคำว่า "ฮวยหวย" นี่แหละครับ โดยหารู้ไม่ว่า "ฮวยหวย" (好壞 หรือ 好坏 = hao3 huai4) แปลว่า good and bad; advantageous and disadvantageous นั่นคือ "หวย" แปลว่า "เสีย (เงิน)" นั่นเอง  ยิงฟันยิ้ม

==================

ผมกลับคิดว่าคำนี้มาจาก 花會 หมายถึงการพนัน
อ้างอิงจาก ดร.นริศ วศินานนท์
บันทึกการเข้า
Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 09 ต.ค. 09, 06:48

มีคำนึงน่าสนใจ คำว่า แต่งงาน

ผมสะดุดคำนึง 奠雁

ภาษาจีนให้ความหมายว่า

亦作“ 奠雁 ”。 1.古代婚礼,新郎到女家迎亲,献雁为贽礼,称“奠鴈”。《仪礼·士昏礼》:“主人升,西面;宾升,北面,奠鴈,再拜稽首。”《仪礼·士昏礼》:“下达,纳采,用鴈” 郑玄 注:“用鴈为贄者,取其顺阴阳往来。” 北周 庾信 《尉迟氏墓志铭》:“奠鴈迎门,濡苹入俎。” 唐 李端 《送黎兵曹往陕府结婚》诗:“奠雁逢良日,行媒及仲春。”《醒世恒言·张孝基陈留认舅》:“少不得问名纳綵,奠雁传书,贄入 过 家。”《清史稿·礼志八》:“壻既至,入门再拜。奠雁,出。”

(2).古代卿大夫相见,执雁为礼。《仪礼·聘礼》:“大夫奠鴈,再拜。上介受。” 郑玄 注:“不言卿,卿与大夫同执鴈。”

เพลงยาว คือ คำไทย+คำจีน
ยาว คือ 謠 หมายถึงเพลงพื้นบ้าน เพลงลูกทุ่ง

เปาบุ้นจิ้น
ตอนแรกคิดว่า บุ้นจิ้น มาจาก 文進
แต่พอคิดดูอีกที สมัยก่อนพวกคนดังๆ มีตัวอักษร เหวิน"文"แทรกอยู่
เปาบุ้นจิ้น ชื่อจริงว่า เปาเจิ้ง包拯 แต้จิ๋วอ่านว่า จิ้ง
เปาบุ้นจิ้น คือ 包文拯

ผอมโซ
โซ เสียงใกล้เคียงกับ โซ่ว 瘦 แปลว่า ผอม

อ้วนพี
พี เสียงใกล้เคียงกับ เฝย แต้จิ๋วอ่าน ปุ๋น ฮกเกี้ยนอ่าน ป๋า 肥
บันทึกการเข้า
manit peuksakondh
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 09 ต.ค. 09, 10:43

เข้าไป"แจม"ด้วยไม่ได้เลย ครับ เพราะ เยอะแยะ ตาแป๊ะ เหลือเกิน ต้องขอไป "ปริ้นท์" ออกมาอ่านก่อน นะครับ เพื่อดูว่ามีคำไหนที่ผมเคยใช้แล้วยังไม่มีท่านใด สาธยาย ไว้  แต่ "การันตี" ว่ามีแน่ๆ ครับผม
มานิต
บันทึกการเข้า
Ngao_Mak
อสุรผัด
*
ตอบ: 45


ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 09 ต.ค. 09, 11:37

พิมพ์ผิด

อ้วนพี
พี เสียงใกล้เคียงกับ เฝย แต้จิ๋วอ่าน ปุ๋น ฮกเกี้ยนอ่าน ป๋า 肥

ปุ๋น แก้เป็น ปุ๋ย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.126 วินาที กับ 19 คำสั่ง