semudara
อสุรผัด

ตอบ: 8
|
ความคิดเห็นที่ 300 เมื่อ 30 พ.ค. 09, 13:14
|
|
ดีๆๆๆๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
semudara
อสุรผัด

ตอบ: 8
|
ความคิดเห็นที่ 301 เมื่อ 30 พ.ค. 09, 13:54
|
|
อันที่จริงเเล้วภูเก็ตก็มาจ่ากากคำว่าบูกิตนั่นนแหละ เพียงแต่บางคนยังข้องใจว่า เก็ต เป็นสระเอะ เเต่ กิต เป็นสระอิ เเต่เมื่อเราลองเข้าไปดูวัฒนธรรมทางภาษาของชาวมลายูโดยเฉพาะ มลายูเกดดาห์ คำว่าบูกิต เขาจะออกเสียงว่า บูเก็ต ตรงตัว อย่างไม่มีข้อโต้เเย้ง เเละเมื่อดูชื่อบ้านนามเมืองรอบๆๆเกาะภุเก้ต ยังมีอีกมากมายที่เป็นภาษามลายู เช่นหาดราไวย์(เบ็ดราวแบบปักของชาวมลายู) เกาะละวะเเบ็ดราวอีกชนิดหนึ่งของชาวมลายู) หาดในทอน(หาดที่มีน้ำตื้น) คลองกะลา(กัวลา แปลว่าปากน้ำ) บางเจ๊ะเลา(หมู่บ้นช่องน้ำ) บางม่าเหลา เกาะปายู(เกาะพายุ ) เกาะนาคา(เกาะนาค) กมลา(ปากน้ำผู้โชคร้าย เเต่เดิมเขียนเป็น กำมะรา) บ้านพารา บางคนฑี เกาะสิเหร่ (พลู) เกาะลัง (แปลว่าขวาง) เกาะมะพร้าว (เดิมชื่อเกาะยอร์ เเปลว่ามะพร้าว) เเหละหงา ( แปลว่าเเหลม กลาง ) เกาะปันหยีพังงา (แปลว่าเกาะ ที่มีรูปร่างเหมือนธงสามเหลี่ยม) เกาะพีพี (เดิมชื่อว่าปูเลาปีปี) เกาะเหลาลาดิง เหลาปิเหละ(เหลา=ปูเลา ปิเละ=ห้อง) กำลังถูกเรียกชื่อภาษาไทยว่าเกาะห้องแล้วตอนนี้ ดูเเค่นี้เราก็น่าจะรู้ได้เเล้วว่าที่มาของชื่อภูเก็ตน่าจะมาจากที่ได ดูเเล้วน่าจะเป็นการทับศัพเสียมากกว่า เป็นที่รู้กันดีว่าชื่อบ้านนามเมืองใหญ่ๆๆเเถวภาคให้มักมีชื่อเป็นภาษามลายู ทั้งนั้นเเล้วภูเก็ตจะเหลือหรอ และอีกอย่างคนโบราณ เเถบนี้ก็ไม่นิยมตั้งชื่อเมืองที่มีความหมายลึกซึ้งอะไร เห็นอะไรก็ตั้งไปตามนั้น จริงมั้ย อีกอย่างภูเก็ตไม่ไช่ชื่อเกาะนี้ในสมัยโบราณ เเต่ถลางตะหากเป็นชื่อของเกาะนี้ ดังนั้นถ้าเอาเหตุผลการเรียกชื่อเกาะนี้ว่าเกาะภูเก็ตก็มีเเค่คำตอบเดียวคือ เมืองภูเก็ตใหญ่มาทีหลังเเละสำคัญจากการทำเเร่ดีบุกเมื่อ200 ปีมานี้เอง จึงกลายเป็นชื่อเกาะชื่อใหม่เเทนชื่อถลางไป ส่วนที่ว่าคนเห็นเกาะว่ามีภูเขาเเล้วตั้งชื่อเป็นเกาะบูกิ๊ตนั้นเห็นจะไม่ไช่ เพราะเกาะนี้มีชื่ออย่ก่อนเเล้วก่อนที่ภูเก็ตจะบูมขึ้นมาทีหลังเสียอีก เกาะนี้จึงมีชื่อเดียวคือเกาะถลาง นั่นเอง ส่วนภูเก็ตนั้นก็มีการพัฒนาทางประวัตศาสตร์อีกอย่างหนึ่งอีก ต้องเเยกออกมาให้ชัด เพราะเดี๋ยวจะมั่ว ส่วนเรื่องเมืองมนิกกิมัม หรือมนิกครามอะไรนั่น เป็นการตีความหมายไปเองว่าเป็นชื่อเดิมของที่นี่ ทั้งที่ศิลาจารึกนี่ก็พบที่ตะกั่วป่า เเละเรื่องราวก็ดูเหมือนว่าจะเป็นชาวทมิฬกลุ่มหนึ่งทะทะเลาะกันมาจากที่อื่นเสียด้วย ดังนั้นเรื่องชื่อเมืองที่กล่าวถึงจึงเป็นเพียงเเค่ เมืองที่อยู่บนฝั่งอินเดียตะหาก สังเกตุว่าผู้ว่ามีคำว่า พระวังหน้า ข้อนี้ก็รู้เเล้วว่าเป็นเจ้านายของเขาที่อินเดียนะเเหละ ไม่ไช่ที่ตะกั่วป่า หรือที่เกาะถลาง เเต่อย่างใด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
semudara
อสุรผัด

ตอบ: 8
|
ความคิดเห็นที่ 303 เมื่อ 31 พ.ค. 09, 15:09
|
|
เรียนคุณ CrazyHOrse กอ่นนะค่ะ คืออยากทราบว่าคำที่คุณต้องการทราบนั้นว่าเป็นชื่อของอะไร ที่มาที่ไปของการสงสัยคืออะไร จะได้หาเเนวทางของคำตอบที่ถูกต้อง เพราะเวลาเราเปดพจนานุกรมมีคำมากมายที่เราเจอตรงกันด้วยเสียงที่ มีจำนวนไม่น้อยที่มีความหมายหรื คำตอบไม่ตรงกับที่เราต้องการ ดังนั้นจึงขอทราบที่มาของคำนี้ว่าคุณได้มาอย่างไร จากไหน เป็นชื่อของ อะไร จะได้มีเเนวทางในการศึกษาที่ชัดเจนขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 304 เมื่อ 01 มิ.ย. 09, 10:02
|
|
มีคำที่สงสัยจะถาม ใครก็ได้ช่วยไขให้หน่อย
ถึงแหลมสิงห์สิงขรชะง่อนงอก ที่โตรกตรอกเขาเขินเปนเนินผา มีหินขาวยาวใหญ่ใกล้ชะลา ทัศนาเพริดพริ้งเหมือนสิงห์โต ก็สมคำสำคัญมีมั่นเหมาะ เกิดจำเพาะทางประเทศวิเสศโส ดูหัวหายกายยังตั้งชะโง ภอเรือโร่ออกแถวแนวทะเล จากนิราศจันทบุรี - กรุงเทพฯ หลวงบุรุษประชาภิรมย์ (กี้ บุณยัษฐิติ)
คำว่า ชะโง หรือ ตั้งชะโง แปลว่าอะไร มีที่มาจากภาษาอะไร ฝากด้วยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 305 เมื่อ 01 มิ.ย. 09, 10:55
|
|
กาหรั่น ที่ว่านั้น คุณ Navarat.C ได้ค้นมาให้ดูว่าหมายถึงกระเดืองที่อยู่ในรูป คคห. 53 ในลิงก์ที่ผมยกมาให้ก่อนหน้านี้ครับ ผมเปิดพจนานุกรมมลายู แปล garan ว่า handle ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะหมายถึงกระเดืองในรูปดังกล่าวได้หรือไม่ หรือ กาหรั่น นี้จะเป็นคำที่ไทยเรียกย่นย่อมาจากจักกรั่นครับ (คำจักกรั่นนี้ไม่น่าสงสัยว่าจะมาจาก Cakaran แน่)
ส่วนคำว่า ชะโง ของคุณ luanglek ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนครับ เข้าใจว่ากลอนพาไปมากกว่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
semudara
อสุรผัด

ตอบ: 8
|
ความคิดเห็นที่ 306 เมื่อ 02 มิ.ย. 09, 19:07
|
|
อ๋ออย่างนี้นี่เอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 307 เมื่อ 02 มิ.ย. 09, 20:18
|
|
แฮ่ๆ อย่าอ๋อแล้วหายไปสิครับ มาช่วยกันก่อน ผมทำได้แค่เปิดพจนานุกรม แต่ไม่รู้ว่าคำว่า garan ในชีวิตจริงเขาใช้กันยังไง จะเป็นกระเดื่องอย่างในรูปที่ว่าได้หรือไม่ ขอความรู้หน่อยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
semudara
อสุรผัด

ตอบ: 8
|
ความคิดเห็นที่ 308 เมื่อ 02 มิ.ย. 09, 21:21
|
|
เดี๋ยวไปดูก่อนนะ เเต่ไหนๆๆก็เข้ามาเเล้วก็ฝากความรู้เรื่องหนึ่งให้อ่านเเล้วกัน เป้นกระทู้ที่ต้องการเปิดปมที่คาใจของกระทู้บางกระทู้ในหน้า11 ที่ สงสัยที่มาที่ไปของชื่อภูเก็ตหน่อยนะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
semudara
อสุรผัด

ตอบ: 8
|
ความคิดเห็นที่ 309 เมื่อ 02 มิ.ย. 09, 21:22
|
|
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าภูเก็ต เป็นชื่อเกาะที่มีมาทีหลัง แต่เดิมชื่อของภูเก็ตในเอกสารสยามทั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา( อันเป็นสมัยแรกที่ปรากฏชื่อในเอกสารของสยาม ) และสมัยรัตนโกสินทร์เรียกว่าเกาะถลาง ส่วนหลักฐานทางต่างประเทศเรียกว่า Junk selon บ้าง jank salam บ้าง ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่ทับศัพท์ไปจาการไต่ถามชาวพื้นเมือง ทั้งสิ้น ไม่ปรากกฎว่า ชื่อเกาะมีชื่อว่าเกาะภูเก็ตมาก่อนเลย เพิ่งมาเรียกกันตั้งแต่ยุบรวมเมืองถลางกับเมืองภูเก็ตเข้าด้วยกัน เกาะนี้ก็เลยต้องโดนเรียกชื่อใหม่ว่าเกาะภูเก็ตตามความสำคัญของเมืองใหญ่กว่าที่เพิ่งขึ้นจากการมีความมั่งคั่งของสินแร่ดีบุก ที่เพิ่งเจริญขึ้นมาเมื่อ 200 ปี ดังนั้นการที่เราตีความว่าภูเก็ตเป็นชื่อเกาะนี้มาแต่โบราณนั้นมีอันต้องล้มเลิก เพราะแรกเริ่มภูเก็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเกาะที่มีชื่อว่า เกาะถลางตามเอกสารสยาม อันนี้ถึงจะเป็นชื่อจริงของเกาะนี้ ในสมัยก่อน เพราะฉะนั้นเราต้องคิดแยกกัน จะนำเอาเรื่องการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของแต่ละเมืองทั้งสองมารวมกันไม่ได้ แม้ว่า จะมีประวัติศาสตร์ที่กี่ยวข้องกัน เเต่ก็มีส่วนที่มีความเป็นตัวของตัวเอง ของแต่ละเมือง และมีจุดเริ่มไม่เท่ากัน เป็นอันรู้กันดีว่าเมืองถลางเกิดก่อนภูเก็ต ดังนั้นการที่มีคนวิเคราะตีความที่ว่า เมืองภูเก็ต แปลว่าภูเขาจริงก็ไม่น่าใช่เพราะ ภูเก็ตแปลว่าภูเขา แต่ภูเก็ตเป็นเกาะ เห็นจะต้องถอยหลังกลับมาคิดกันใหม่ตามที่ได้อธิบายไว้แล้วด้านบน เพราะถ้าศึกษาประวัติศาสตร์ของเกาะนี้จะเห็นได้ว่าภูเก็ตในสมัยโบราณเป็นแค่หมู่บ้านหนึ่งของเมืองถลางต่อมาเจริญขึ้น คนในทะเลก็ไม่ได้รู้ว่ามีหมู่บ้านกี่หมู่บ้านบนเกาะแห่งนี้ และภูเก็ตก็ไม่ได้เป็นหมู่บ้านเดียวด้วย เพราฉะนั้นหมู่บ้านก็ต้องมีหลากลายและมีชื่อแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ ไม่ไช่ว่าในสมัยโบราณชื่อภูเก็ต เป็นชื่อทั้งหมดของเกาะนี้ซะหน่อย เมื่อไม่ถึง200 ปีนี่ตะหากที่เพิ่งกลายเป็นชื่อเกาะทั้งหมดไปก็เพราะกลายเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่ที่สุดในเวลาต่อมาเท่านั้นเอง ที่นี้หวังว่าคงเข้าใจ ในความจริงแล้ว ว่าเหตุผลที่ต้องเข้ามาแนะนำนี้ต้องการสิ่งใด นั่นก็คือการของแย้งความคิดในหน้า11 ที่ว่า “เมืองภูเก็ตเป็นเกาะมาแต่ไหนแต่ไร ชื่อเก่าไม่มี ถ้าภูเก็ตมาจาก บูกิตจริง มันก็ไม่น่าจะใช่ เพราะนี่เป็นเกาะ ไม่ใช่เขาหรือถ้าเป็นเขาก็ต้องเขาในน้ำทะเล” ที่นี้คงเข้าใจ ว่าการด่วนสรุปอะไรง่ายๆๆนั้น เป็นการที่ไม่น่าจะทำอย่างยิ่งเพราะจะทำให้คำตอบที่ได้อาจมีข้องบกพร่องมากกว่าปกติ จึงขอตอบเลยว่า ภูเก็ตมาจากภาษามลายูนั้นถูกแล้ว เพราะบริเวณ “หมู่บ้าน”ที่เป็นที่ตั้งเมืองภูเก็ตเก่านั้นคือบริเวณบ้านสะปำ และบ้านเกาะแก้วในปัจจุบัน อันมีชาวมลายูมุสลิมเป็นประชากรหลักดั้งเดิม และมีชาวจีนโพ้นทะเล ที่เพิ่งเข้ามาเป็นประชากรรอง ดังนั้น ชื่อภูเก็ตจึงมาจากภาษามลายู อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะเกิดจากการเรียกหมู่บ้านของขานั่นเอง โดยที่เขาก็ไม่นึกว่าหมู่บ้านของเขาจะเป็นแหล่งแร่ ดีบุกทีสำคัญ แต่เมื่อทางขุนนางท้องถิ่นสำราจพบ ก็ได้มาตั้งทำแร่นะบริเวณนี้ จนกลายเป็นแหล่งแร่สำคัญในเวลาต่อมา และบังเกิดความเจริญขึ้น จนกระทั่งกลายเป็นเมืองหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของ “เมืองถลาง”อันเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในขณะนั้น โดยที่มีเมืองภูเก็ตเป็นแหล่งแร่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง เมื่อเกิดเป็นเมืองขึ้นก็ต้องมีชื่อเมืองที่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงเกิดคำว่า ภูเก็จ ขึ้น อันเป็นการทัพศัพท์มลายูให้เป็นคำไทยที่มีความหมาย (ไม่แปลก เพราะคนไทยชอบทับศัพท์ เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว และ ภาคใต้ก็ไม่ได้มีชื่อเมืองที่ เลิดเลอเพอเฝ็ก เลยแม้แต่จังหวัดเดียว เช่น ระนอง พังงา ตรัง สตูล ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง เห็นได้ว่าไม่ได้เพราะพริ้งแต่อย่างใด ความหมายตามตัว ทั้งทางไทยที่แปลความหมายออกมายากเหลือหลาย ทั้งความหมายที่หาแสนง่ายดายในมภาษามลายู ดูแล้วก็เห็นว่า ตั้งๆๆตามทำเลภูมิศาสตร์เสียทั้งสิ้น ) จนกระทั่งเมืองภูเก็ตพัฒนาตัวเองกลายเป็นเมืองใหญ่ที่มีฐานะเทียบเท่าเมืองถลาง ที่มีมาก่อน โดยไม่อยู่ในอานัตของเมืองถลาง จนกระทั่งเมืองถลางต้องกลายเป็นเมืองที่ต้องมาขึ้นกับเมืองภูเก็ตอีกตะหาก จนกระทั่งสุดท้ายก็ถูกยุบก็กลายเป็นอำเภอหนึ่ง ของจังหวัดภูเก็ตไป และชื่อเกาะถลางก็ต้องมีอันเลิกใช้เปลี่ยนมาใช้เป็นชื่อเกาะภูเก็ต อันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะนี้ในเวลาต่อมา ทีนี้เข้าใจจุดกำเนิดของภูเก็ตแล้วยังว่า ไม่จำเป็นว่า บูกิ๊ตจะต้องเป็นชื่อเกาะภูเขาโผล่พ้นทะเล การที่คำว่า ”ภูเก็ต”(ที่มาจาก Bukit ในภาษามลายูกลาง หรือ Buket ในภาษามลายูสตูลหรือมลายูเกดดาห์ ) ได้กลายเป็นชื่อเกาะแห่งนี้ ไม่จำเป็นว่าทั้งเกาะแห่งนี้ต้องมีภูเขาทั้งเกาะจนเขาต้องเรียกเกาะนี้ว่า เกาะบูกิ๊ต เพียงแค่หมู่บ้านเล็กๆหมู่บ้านหนึ่ง ก็สามารถ พัฒนาตัวเอง จากหมู่บ้านเล็กๆ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆๆและกลายเป็นชื่อเกาะไปโดยที่ เขาไม่ต้องมานั่งเนรมิตภูเขาให้โผล่ทุกตารางนิ้วของเกาะเพื่อให้คนมาเรียกเกาะนี้ว่าเกาะบูกิ๊ต หรือ เกาะภูเก็ต แค่มีทรัพยากรแร่ดีบุกเท่านั้นก็สามารถเปลี่ยน ชื่อจากเกาะถลางมาเป็นเกาะภูเก็ตได้โดยไม่ต้องอ้างถึงภูเขาทั้งเกาะ ในกรณีเดียวกันถ้าเกิดดีบุกไปโผล่มากๆๆแถว ป่าตอง เกาะถลางก็คงกลายเป็นเกาะป่าตองไป อันเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของดีบุกนั่นเอง ( การพัฒนาการของชื่อบ้านนามเมืองเช่นนี่มีต่อมาเรื่อย ๆ อย่างเช่นเมืองภูเก็ต เมือ100 กว่าปี ก่อนเขาเรียกว่าเมืองทุ่งคา (อำเภอเมือปัจจุบัน) อันเนื่องมาจาก เนื่องมาจากที่นี่มีดีบุกมาก พระยาวิชิตสงครามจึงย้ายเมืองมาตั้งที่นี่ แต่ตามราชการคงเรียกเมืองภูเก็ตเสมอมา แต่ก็ได้แนบท้ายว่าที่ไหน เช่น เมืองภูเก็ตที่ “เก็ตโฮ่” หรือเมืองภูเก็ตที่ ”ทุ่งคา” เป็นต้น แต่ถ้าถามชาวบ้านที่อยู่ที่นี่เขาชอบที่จะเรียก “เมืองทุ่งคา” ตามที่ที่เขาอยู่มากกว่าที่จะเรียก ภูเก็ต อันเป็นชื่อเก่าก่อนของเมืองภูเก็ตที่ตั้งอยู่ที่ “บ้านบูเก็ต” ที่ตำบลเกาะแก้ว แต่ก็ไม่ได้เรียกร้องเปลี่ยนชื่อเมืองในเอกสารราชการเป็นเมืองทุ่งคาตามที่เขาถนัดเรียก เพราะไม่ว่าจะชื่ออะไรเขาก็ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก และอาจเป็นเพราะข้าราชการไม่อยากเปลี่ยนชื่อเมืองให้ยุ่งยาก อันเนื่องมาจากการติดต่อสื่อสารที่ยากลำบากในสมัยก่อน หากเปลี่ยนชื่อทีหนึ่งคงสื่อสารกันยาก เพราะเมืองภูเก็ตย้ายไปเรื่อยและบ่อยมาก ในรอบ200 ปี ย้ายถึง 3 ครั้ง หากเปลี่ยนชื่อเมืองตามที่ตั้งของเมือง คงได้สร้างความสับสนและความรำคาญแก่ข้าราชการทางส่วนกลางเป็นแน่ เพราะเดี๋ยวเรียก”ภูเก็ต” เดี๋ยวเรียก” เก็ตโฮ่” เดี๋ยวเรียก”ทุ่งคา” ดังนั้นพัฒนการทางประวัติศาสตร์ของชื่อเมือง ภูเก็ต จึงมีที่มาด้วยประการฉะนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
semudara
อสุรผัด

ตอบ: 8
|
ความคิดเห็นที่ 310 เมื่อ 03 มิ.ย. 09, 15:19
|
|
ขอแก้ข้อสงสัยเรื่องจารึกเมืองตันชอร์ก่อนนะคะ คือเรื่องจารึกนี้เราอาจสงสัยว่าเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะน่าเชื่อเท่าไหร่ว่าทางโจฬะจะสาสมารถตีเมืองแถบนี้ได้ทั้งหมด ซึ่งเรื่องนี้ นั้นดูแล้วน่า จะมูลจริงว่าตีได้ไม่หมดอย่างที่สงสัย ก็เพราะว่า จารึกนี้เป็นจารึกที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวของกับการสรรเสริญกษัตริย์ราเชน ทั้งสิ้น จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่จะมีการอรัมภบท เกินกว่าขอบเขตไปบ้าง เพราะเนื้อหาจะจริงหรือไม่จริงทั้งหมด ประชาชนที่นั่นได้อ่านจารึกแล้วก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าจริงหรือไม่ อันเนื่องมาจากว่า สถานที่ที่กษัตริย์ของเขาไปทำสงครามนั้นเป็นอย่างไร เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนองอาราจักร ที่แสนไกลคนละฝั่งทะเล ดังนั้นเมื่อเขียนอะไรลงไปก็มักจะเขียนเกินจริงเป็นเรื่องธรรมดา นี่เป็นธรรมเนียมของศิลาจารึกสมัยนั้น ที่ต้องการแสดงความเป็นใหญ่เหนือ ใคร และต้องการที่จะข่มขู่อาณาจักข้างๆๆของตนในดินแดนอินเดียด้วยกัน ให้ยำเกรงแสนยานุภาพของตนว่าสามารถยกทัพไปตีเมืองที่ไกลได้มากมายทั้งที่จริงก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสียทั้งหมด อาจเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาก็ได้ไม่แปลก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกรเมือง เป็นอันว่าขอจบบทความลงเพียงเท่านี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
semudara
อสุรผัด

ตอบ: 8
|
ความคิดเห็นที่ 311 เมื่อ 03 มิ.ย. 09, 15:59
|
|
แก้ข้อสงสัยเรื่องของชื่อถลาง เเละที่มาของ ยังซีลอน
ต่อมาเป็นเรื่องของชื่อถลางนะคะ ชื่อถลางนั้นเป็นคำไทยที่ทางเมืองหลวง (อยุธยา) เรียกมา โดยที่ทางเมืองหวงเป็นคนตั้งให้ ถ้าถามว่าตั้งใจหรือปล่าวนั้นคงไมไช่เพราะว่าไม่ได้เพราะอะไร คงเป็นเพราะลิ้นของทางชาวอยุธยาออกเสียงแปร่งเพี่ยน ไปจึงทำให้เกิดชื่อถลางขึ้นมา(โปรดติดตามต่อ) ส่วนชื่อโบราณของที่นี่นั้น ต้องถามคนที่ใกล้กับเราและอีทธิพลกับชายฝั่งน่านน้ำแถวนี้มากที่สุด คือไทรบุรี ที่เรียกเกาะนี้ว่า “ ปูเลาสาลัง”ซึ่งมีความหมายตามตัวตรงๆๆ ว่าเกาะ ที่ตั้งอยู่ระหว่างทาง ( จากเอกสาร ชาแอร์สุลต่านเมาลานา สงครามศึกถลางครั้งที่ 2 พ.ศ. 2352 ) ซึ่งในขณะที่ทางมลายูเรียก ปูเลาสาลัง นั้น ในเวลาเดียวกันนั้นเอง ทางสยามหรือ อยุธยาก็เรียก ถลาง ซึ่งไม่มีความหมายที่ชัดเจนและเข้ากับสภาพภูมิศาสตร์ที่แท้จริงจริงที่นี่เลย ดังนั้นที่มาของชื่อเกาะถลางนั้นนี่จังเป็นชื่อที่น่าเชื่อถือที่สุด เนื่องมาจาก ชื่อบ้านนามเมืองตามชายฝั่งทะเลแถบนี้ล้านมีชื่อเป็นภาษมลายูเกดดาห์เกือบทั้งสิ้น ดังนั้นเราต้องถามเจ้าถิ่นเจ้าภาษาของที่นี่ เพราะที่นี้เป็นที่เรียกรู้กันดีว่า “แหลมลายู” สยาม เพิ่งเข้ามามีบทบาทมากเมือสมัยอยุธยาที่เอง อันนี้เราจึงต้องฟังตามมลายูเขา เพราะน่าเชื่อที่สุด และชื่อต่างๆๆที่ฝรั่ง ชาวต่างชาติเรียกเกาะนี้ว่า จังซีลอนนั้น คำตอบ ที่ทุกคนหากันตาเหลือกตาลานว่า มาจากไหนกันน้า มาจาการทับศัพจากถลางก็ไม่แน่ใจ เพราะ ซีลอน เป็นตัว S แต่ถลางเป็นตัว T ทำไมไม่อ่านว่าจังทีลอน แล้วทำไมต้องมี “จัง” หรือ “ยง” หรือ “ยัง”นำหน้าด้วย ทั้งๆที่ทางไทยเรียกว่า เกาะถลาง ไม่ไช่ “เกาะยังถลาง” อันนี้เราก็สามารถเฉลยได้ด้วยภามลายู (และชาติพันธ์ที่อยู่บนเกาะนี้ก่อนไครนั่นก็คือชาวมลายู ซึ่งเป็นประชากรดั้งเดิมของภูมิภาคนี้ และเป็นประชากรอันดับต้น ของเกาะภูเก็ตในปัจจุบัน) อย่าง่ายดายคือ คำว่ายังซีลอนที่ฝรั่งเรียกกันจนเราปวดหัวว่ามาจากที่ไดนั้น คำตอบอยู่ที่พจนานุกรามลายูไทย เล่มโตๆ คือ Ujung , Hujung แปลมว่าแหลมหรือส่วนที่ยื่นออกไปในทะล และคำว่า Selang แปลว่า ช่องระหว่า ง รวมกันแล้วแปลว่าแหลมที่มีช่องอยู่ระหว่าง นั่นเอง สงสัยต่ออีกว่าทำไมเรียกว่าแหลม นั้นก็คือ ในสมัยโบราณเกาะภูเก้ต แ ละจังหวัดพังงาเมื่อหลายร้อยปีก่อนเคยมีบันทึกของนักเดินเรือว่าเป็นส่วนที่ติดกันมาก่อน โดยมีสันทรายเป็นตัวเชื่อมเวลาน้ำลง ทำให้เกิดกลายเป็นแหลม กึ่งเกาะ ทำให้ชาวมลายูในตอนนั้นเรียกที่นี่ว่า Ujung selng ชาวต่างชาติที่ข้ามาสำรวจติดต่อที่นี่ก็ได้ชื่อนี้ไปจากชาวพื้นเมือหาได้มีการเข้าไปถามเอาจากเมืองหลวงไม่ และต่อมาเมื่อเกิดกระบวนการกัดกร่อนมากขึ้นจากกึ่งเกาะกึ่งแหลมก็กลายเป็เกาะโดยสมบูรณ์ ชาวพื้นเมืองจึงเรียกที่นี่ใหม่ ว่า Pulao Selang ที่แปลว่า เกาะ แล้วไม่ไช่แหลม นี่คือที่มาของชื่อ ยังซีลอน ที่เรางง สอบทางไทยยิ่งงงเข้าไปใหญ่ แต่เมื่อดูทางสภาพภูมิศาสตร์และ ชาติพันธ์ ภาษามลายู จึงทำให้เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว แล้วเข้ากับความเป็นจริงมากที่สุด อย่างไม่มีข้อสงสัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 312 เมื่อ 08 มิ.ย. 09, 15:25
|
|
เรียน คุณCrazyHOrse ที่คุณว่า "ส่วนคำว่า ชะโง ของคุณ luanglek ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนครับ เข้าใจว่ากลอนพาไปมากกว่าครับ" ขอให้คุณอ่านให้ดีๆ คำนี้ไม่ใช่ลักษณะการแต่งกลอนอย่างกลอนพาไปแน่นอน มิฉะนั้น คำว่า ตั้งที่อยู่ข้างหน้าชะโง ก็คงเป็นกลอนพาไปด้วย ถ้าเราไม่เคยเห็นคำไหนมาก่อนแล้วบอกว่าเป็นคำกลอนพาไปเสียหมด ระวังจะกลายเป็นกล่าวหาผู้แต่งได้ หลวงบุรุษประชาภิรมย์ (กี้ บุณยัษฐิติ) ที่นิราศเรื่องนี้ ถ้าใครเคยอ่านงานของท่าน จะทราบว่าท่านแต่งกลอนได้ดีทีเดียว ประเภทกลอนพาไปนั้นแทบหาไม่ได้ คำว่า ชะโง นี้ ผมค้นได้แล้วมันมาจากคำภาษาเขมร เอาไว้จะนำมาเสนอให้ทราบต่อไป
ทีนี้ หลายคนเคยสงสัยไหมว่า ข้าวที่เรารับประทานกันมี ๒ ชนิด คือ ข้าวเหนียวอย่างหนึ่ง และข้าวเจ้าอย่างหนึ่ง คำถามคือ ข้าวเจ้า ทำไมเราเรียกว่า ข้าวเจ้า เป็นเพราะมันเป็นข้าวสายพันธุ์ที่เจ้านายพระราชวงศ์เสวยหรือ? เราจึงได้เรียกว่าข้าวเจ้า ใครมีความเห็นดีๆ ช่วยนำเสนอหน่อยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จิรัฏฐ์
อสุรผัด

ตอบ: 17
|
ความคิดเห็นที่ 313 เมื่อ 09 ก.ค. 09, 22:38
|
|
ข้าวเจ้า น่าจะมาจากการที่ข้าวเจ้า เป็นพันธุ์ข้าวที่ขาวสะอาด ร่วน เป็นเมล็ดสวยงาม ไม่แตกหักหรือกระด้างเหมือน ข้าวเหนียวหรือข้าวอื่นๆที่ชาวบ้านหาทานได้ง่ายซึ่งข้าวเจ้าในสมัยก่อนชาวบ้านไม่ค่อยได้ทานกันเพราะที่ดีๆมีปลูกอยู่จำกัด จึงสงวนแก่ผู้มีอันจะกินได้แก่ เจ้านาย และเศรษฐี ขุนนาง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 314 เมื่อ 10 ก.ค. 09, 08:50
|
|
ตามหลักฐานทางโบราณคดี พบหลักฐานที่พอจะสรุปได้ว่าคนไทยโบราณกินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก แต่เฉพาะในพื้นที่ภาคกลางนี้ ถึงสมัยอยุธยา พบว่าสัดส่วนการบริโภคข้าวเจ้าเมื่อเทียบกับข้าวเหนียวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทดแทนข้าวเหนียวในที่สุดครับ ในขณะที่ในเขมร แทบไม่มีการกินข้าวเหนียวเลย เป็นข้าวเจ้าตลอด ข้าวเจ้าจึงเป็นข้าวของเจ้า เหมือนกับที่คำเขมรเป็นคำของเจ้า (ราชาศัพท์)
ปล. ยังรอ "ชะโง" ของคุณ luanglek อยู่นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
|