เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 23
  พิมพ์  
อ่าน: 207809 คำไทยที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 23 พ.ค. 08, 11:06

นุ่งผ้าลอยชาย หรือคะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 23 พ.ค. 08, 12:44

มิได้ครับ
ลอยชายนี้ เริ่มต้นที่เป็นของจริง
แต่ลงปลายแล้ว กลายเป็นสำนวน

ผมเข้าใจว่ามาจากกฏมฆเฑียรบาล ที่ห้ามนุ่งลอยชายเข้าพระราชฐาน
ทุกวันนี้ยังตกค้างอยู่ในการเข้าชมพระบรมมหาราชวัง แต่ก็เพี้ยนไปมากแล้ว
คือปกติขุนนางมักจะนุ่งผ้าปล่อย ไม่เหน็บให้เรียบร้อย เพราะสะบายตัว

พอจะเข้าวังก็ต้องเหน็บให้เรียบร้อย กลายเป็นเครื่องแบบ
แต่แล้วคำว่า "ลอยชาย" ก็กลายมาเป็นสำนวน

หมายถึงอะไร ต้องลองให้คนปัจจุบันมาบอกเล่าดู
สมัยผมเป็นเด็ก ความหมายออกแนวเหยียดหยาม
ประเภทอย่ามาลอยชายแถวนี้นะเฟ้ย......
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 23 พ.ค. 08, 13:03

สำนวนมีอยู่ในขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม   
ขุนช้างลวงพลายงามไปฆ่า แล้วเดินลอยชายทำไม่รู้ไม่ชี้กลับมาเรือน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 01:04

"วัดรอย"

คำนี้ ปัจจุบันเพี้ยนแบบกลบตาละปัตรทีเดียว
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 09:37

       วัดรอย นี้คือหนึ่งในสำนวนที่มาจากรามเกียรติ์หรือเปล่า ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 11:08

หมายถึงตอนทรพีวัดรอยตีนทรพาหรือคะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 11:19

พิมพ์ผิดประจำเลยผม "กลบตาลปัตร"ในความเห็นข้างบน ต้องเปลี่ยนเป็น "กลับตาลปัตร" นะครับ
ขออภัยในความไม่สะดวก

ข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์เมื่อกึ่งพุทธกาล บอกว่า
"ผมไม่วัดรอยท่าน"
เป็นคำพูดของพลเอกสฤษดิ์ เมื่อมีผู้ถามว่า จะล้มรัฐบาลจอมพลป. หรือไม่
ตอนที่ผมโตมา คำนี้ก็เริ่มเพี้ยนนิดหน่อยแล้ว เช่นด่ากันว่า เอ็งจะวัดรอยข้าหรือ
แปลว่า เอ็งจะทำตัวเทียบเท่า

แต่ในความหมายที่แท้จริง วัดรอย = เนรคุณ
จากเรื่องรามเกียรติ ถูกต้องแล้วครับ
เจ้ามหิงสาหนุ่ม เฝ้าวัดรอยตนกับรอยตีนพ่อ ว่าเมื่อไรจะต่อสู้ได้
ตอนจบก็คือลูกฆ่าพ่อ วัดรอยจึงเท่ากับทรพี

แต่ในชาดกนั้น มีกล่าวถึงรอยตีนสัตว์ ที่ไม่ใช่การวัดรอยแบบทรพี
คือท่านเทียบว่า รอยตีนสัตว์เล็ก ย่อมอยู่ในรอยตีนพญาช้าง
ช้างจึงเป็นเจ้าป่า
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 22:01

การนำเรื่องราวจากวรรณคดีไทย (และชื่อตัวละคร) มาใช้ในภาษาพูดชีวิตประจำวันนี้ รู้สึกจะมีมากพอควรครับ โดยเฉพาะจากเรื่องรามเกียรติ์

วัดรอย (เนรคุณ) - รามเกียรติ์
น้ำบ่อน้อย (น้ำลาย) - รามเกียรติ์
ราพณาสูร (ราบคาบ) - รามเกียรติ์
กากี (ผู้หญิงมากชู้) - นิทานชาดก
วันทอง (ผู้หญิงหลายใจ) - ขุนช้างขุนแผน
ขุนแผน (ผู้ชายเจ้าชู้, ผู้ชายหลายเมีย) - ขุนช้างขุนแผน

นึกไม่ออกแล้ว อิอิ  ยิงฟันยิ้ม

===============

ปัจจุบัน เก๋เท่ ตามศัพท์วงการบันเทิงไทย ต้องใช้ คาซาโนว่า - คาซาโนวี่  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 23:30

มาเพิ่มเติม จากวรรณคดีอื่นๆค่ะ
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
จรกา (แปลว่ารูปชั่วตัวดำ)
บุษบา( หมายถึงสวยมาก)
เสี่ยงเทียน   
เรื่องนี้นึกถึงตอนที่พระเฑียรราชา ขุนพิเรนทรเทพ และอีกสองสามคนวางแผนกำจัดขุนวรวงศาฯ  ไปเสี่ยงเทียนกันในโบสถ์
ตามประวัติ   นิทานเรื่องอิเหนาเข้ามาในอยุธยาสมัยพระเจ้าบรมโกศ  นานหลังสมัยพระเจ้าจักรพรรดิสองสามร้อยปี   แต่ธรรมเนียมในเรื่องนี้คล้ายกัน
ทำให้คิดว่าเหตุการณ์ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน น่าจะเป็นธรรมเนียมไทย แทรกเอาไว้ในเรื่องมากกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 25 พ.ค. 08, 00:17

แล้วคำว่า  "สามหาว"  ล่ะครับมาจากวรรณคดีหรือเปล่าครับ  ......... ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 25 พ.ค. 08, 19:09

สามหาว นี่ไม่ทราบครับ แต่ได้ยินจากหนังจีนบ่อยๆ โดยเฉพาะเปาบุ้นจิ้น "วาจาสามหาว" อิอิ

นึกออกอีกคำครับ

สิบแปดมงกุฎ (เจ้าเล่ห์) - รามเกียรติ์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 26 พ.ค. 08, 23:01

เกรียก     หน่วยวัดความยาว

เมื่อวันก่อนได้ฟังรายการสุขภาพทางวิทยุ  โฆษกีอ่านตะกุกตะกัก เพราะไม่คุ้นกับชื่อผักไทยๆ

มีเรื่องหนึ่งคือการชวนเชิญให้ดื่มน้ำผักต่างๆเพื่อสุขภาพ   
มาถึงการนำบรเพ็ดยาวหนึ่งเกรียกมาต้มกับน้ำ    เจ้าหล่อนกระชดกระช้อยบอกว่าไม่ทราบว่ายาวแค่ไหน
สารภาพว่าไม่ทันฟังว่าใช้น้ำปริมาณเท่าใดเพราะสนใจเรื่อง"เกรียก" อยู่



เกรียก ๒ (ราชบัณฑิต ๒๕๔๒  หน้า ๑๔๑)
 ระยะยาวชั่วนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้กางออก เช่นยาวแค่เกรียก


เหวอ....ขอผ่านค่ะ  ไม่ชอบของขม
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 08 ก.ย. 08, 12:48

รีดนาทาเร้น
ไปถามเด็กสาวๆรุ่นนี้ เขาว่าเขาไม่รู้จัก ขนาดที่บ้านทำนา
 ร้องไห้
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 08 ก.ย. 08, 17:10

รีดนาทาเร้น

อ่านหนังสือของจิตร ภูมิศักดิ์ จะเขียนว่า นีดนาทาเร้น อ่านพบหลายครั้งจนมั่นใจว่าไม่ได้พิมพ์ผิด ไม่รู้ว่ามีที่มาอย่างไรนะครับ

แต่สงสัยว่าน่าจะเป็นภาษาเขมรครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 11 ก.ย. 08, 08:46

จะลองไปถามอาจารย์ที่เก่งภาษาเขมรในคณะอักษรฯ จุฬาดูค่ะ คุณเครซี่ฮอร์ส
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง